
รายละเอียด
การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแบบไร้เลือด (Stapler Circumcision)
การขริบไร้เลือด เป็นเทคนิคการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายด้วยอุปกรณ์เฉพาะ ช่วยให้ขริบอย่างรวดเร็ว แผล เล็ก เจ็บน้อย

ไม่แน่ใจ ต้องผ่าตัดมั้ย? ถ้าผ่าตัด มีขั้นตอนยังไง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? ปรึกษาอาการหรือขอความเห็นที่สองทางออนไลน์กับแพทย์ได้เต็มที่ ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่จำกัดเวลา

สารบัญเนื้อหา
การขริบไร้เลือดคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร?
ใครควรขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายบ้าง?
การขริบไร้เลือด มีขั้นตอนอย่างไร?
หลังขริบหนังหุ้มปลายต้องพักฟื้นประมาณกี่วัน
การเตรียมตัวก่อนขริบไร้เลือด
การดูแลตัวเองหลังการขริบไร้เลือด
ข้อดีของการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายมีอะไรบ้าง
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากขริบหนังหุ้มปลา
ขั้นตอนการรับบริการ
-
1
สอบถามหรือทำนัด
แอดมินของ HDcare พร้อมตอบทุกข้อสงสัยและทำนัดให้คุณได้ปรึกษาคุณหมอ
-
2
ปรึกษาและประเมิน
เลือกพบคุณหมอได้ทั้งแบบออนไลน์หรือที่โรงพยาบาล ไม่จำกัดจำนวนครั้งจนคุณมั่นใจ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนั้น
-
3
ผ่าตัด
อุ่นใจมีพยาบาลที่ปรึกษาดูแลตลอดจนการผ่าตัดเรียบร้อย ตั้งแต่อำนวยความสะดวกที่โรงพยาบาล ประสานงานกับบริษัทประกัน ไปจนถึงให้คำแนะนำก่อนและหลังผ่าตัด
การขริบไร้เลือดคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร?
-
การขริบไร้เลือด คือการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายออกบางส่วนด้วยเครื่องมือเฉพาะซึ่งจะทั้งนํา หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออกพร้อมเย็บปิดแผลด้วยในคราวเดียว อย่างไรก็ตาม ถึงมักเรียกกันโดยทั่วไป ว่า “ขริบไร้เลือด” แต่ในการผ่าตัดก็ยังอาจมีเลือดออกบ้างเล็กน้อย
ข้อดีหลักๆ ของการขริบไร้เลือด เปรียบเทียบกับการขริบปลายอวัยวะเพศชายแบบใช้ใบมีด หรือแบบเปิด คือ การขริบไร้เลือดช่วยถนอมเนื้อเยื่อรอบๆ ปลายอวัยวะเพศได้ดีกว่า ใช้เวลาผ่าตัดน้อยกว่า เจ็บน้อย กว่า โอกาสติดเชื้อหลังผ่าตัดน้อยกว่า และระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดสั้นกว่า
ใครควรขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายบ้าง?
คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าการขริบหนังหุ้มปลายจะทําในผู้ทีมีข้อบ่งชี้ทางศาสนาเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วผู้ชาย
ทุกคนและทุกช่วงวัยสามารถขริบหนังหุ้มปลายได้ เพื่อสุขอนามัยทางเพศที่ดี
นอกจากนี้การขริบหนังหุ้มปลายยังแนะนําให้ทําในกลุ่มทีมีความผิดปกติดังต่อไปนี้ด้วย
เด็กแรกเกิดที่มีภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายปิด และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาครีมสเตียรอยด์
เด็กที่อายุเกินสี่ปีแล้ว แต่ยังรูดหนังหุ้มปลายไม่ได้
ผู้ที่มีประวัติรูดหนังหุ้มปลายลงแล้วรูดกลับขึ้นไม่ได้
ผู้ที่ปัสสาวะลําบาก มีการโป่งพองของหนังหุ้มปลายขณะปัสสาวะ
ผู้ที่มีการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ มักเกิดในผู้ที่หนังหุ้มปลายรูดเปิดยาก
ผู้ที่มีอาการหนังหุ้มปลายรัดองคชาติ ทําให้ปวด และบวม
ผู้ที่มีหนังหุ้มปลายหนาเกินไปจนไม่สามารถเปิดออกเองได้ ในบางรายอาจเกิดความเจ็บปวดเวลาอวัยวะเพศแข็งตัว
ผู้ที่หลังปัสสาวะแล้ว ไม่ค่อยรูดเปิดทําความสะอาด ทําให้มีการสะสมของเชื้อโรคจนทําให้เกิดการอักเสบทีปลายอวัยวะเพศ โดยในบางรายอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนได้
การขริบไร้เลือด มีขั้นตอนอย่างไร?
ก่อนนัดผ่าตัดขริบไร้เลือด แพทย์อาจนัดหมายตรวจเลือดและร่างกายผู้จะรับการขริบอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าการผ่าตัดจะสําเร็จลุล่วงเรียบร้อยการตรวจก่อนขริบปลายอวัยวะเพศชาย เช่น
- 1ตรวจดูสารคัดหลังที่ออกมาจากปลายองคชาติ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อราหรือแบคทีเรียใดหรือไม่
- 2ตรวจเลือด เพื่อดูค่านํ้าตาลในเลือด การไหลและการแข็งตัวของเลือด
เมื่อผ่านการตรวจร่างกายต่างๆ แล้ว การผ่าตัดจะเริ่มจากขั้นตอนการวางยาระงับความรู้สึก ซึ่งอาจเป็นยาชาเฉพาะที่หรือยาสลบ เมื่อยาออกฤทธิ์ดีแล้ว แพทย์จะทําความสะอาดอวัยวะเพศของคนไข้ แล้วสวมอุปกรณ์ขริบให้พอดีกับขนาดองคชาติ จากนั้นจึงบังคับให้อุปกรณ์ทํางาน ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวจะทําทั้งขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศและเย็บแผลด้วยคลิปไปในครั้งเดียว
หลังจากขริบหนังหุ้มปลายพร้อมเย็บแผลเรียบร้อย แพทย์จะคลายอุปกรณ์แล้วนําออก แล้วใช้ผ่าก๊อซหรือพลาสเตอร์ปิดแผล จากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาคนไข้ไปพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการสักครู่แล้วจึงให้กลับบ้านได้
หลังขริบหนังหุ้มปลายต้องพักฟื้นประมาณกี่วัน
โดยปกติแล้ว หลังจากขริบไร้เลือดและพักดูอาการเสร็จ คนไข้สามารถกลับบ้านได้เลยในวันนั้น แล้วแพทย์ค่อยนัดหมายเปิดพลาสเตอร์และติดตามผลการผ่าตัดในอีก 2-3 วันให้หลัง
ตัวคลิปที่รัดแผลจะหลุดออกเองภายใน 10-14 วัน เมื่อแผลหายเรียบร้อยหลังขริบไร้เลือดประมาณ 2 สัปดาห์ แผลมักหายสนิทและคนไข้ฟื้นตัวเต็มที่
การเตรียมตัวก่อนขริบไร้เลือด
ก่อนขริบไร้เลือด คนไข้ควรเตรียมตัวดังนี้
แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่รับประทานเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด หากแพทย์แนะนําให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ควรเตรียมให้มีผู้รับกลับจากสถานพยาบาลหลังผ่าตัด
งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
งดสูบบุหรี่
เตรียมวันลาประมาณ 2 วันหลังผ่าตัด
การดูแลตัวเองหลังการขริบไร้เลือด
หลังจากขริบไร้เลือด คนไข้ควรดูแลตัวเองดังนี้
สวมใส่กางเกงหลวมๆ เพื่อป้องกันการเสียดสีหรืออักเสบ
ไม่สัมผัสหรือถูบริเวณแผลผ่าตัดแรงๆ ขณะอาบนํ้า ควรใช้วิธีทําความสะอาดด้วยนํ้าอุ่นและให้ผ้าสะอาดซับเบาๆ
งดเว้นการมีกิจกรรมทางเพศ ซึ่งรวมถึงการช่วยตัวเอง อย่างน้อย 1 เดือน
งดออกกําลังกายหนักที่ต้องออกแรงกล้ามเนื้อบริเวณใกล้ๆ อวัยวะเพศ เช่น ยกน้ำหนัก วิ่ง เพราะอาจทําให้แผลหายช้า
ข้อดีของการขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายมีอะไรบ้าง
- ทําความสะอาดอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งองคชาต
- ลดการนําเชื้อโรคไปสู่ผู้หญิงทีมีเพศสัมพันธ์ด้วย ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้เป็นหนึ่งในสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก
- ลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กเล็ก
- ลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (แต่ยังคงควรใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง)
- ป้องกันการเกิดภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากขริบหนังหุ้มปลาย
การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- แผลบวมแดง ร้อน มีเลือดคั่ง ปวดแผลมาก มีไข้สูง หรือปัสสาวะไม่ออก
- ความไวในการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ลดลงในช่วง 2 เดือนแรก
- ผิวหนังส่วนหัวของอวัยวะเพศแห้ง
- หนังหุ้มปลายม้วนตัว ขณะมีเพศสัมพันธ์
การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากช่วยให้ทําความสะอาดอวัยวะเพศได้ง่ายและสะดวก รวมทั้งลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเกี่ยวกับอวัยวะเพศ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยขึ้น ช่วยให้ระยะเวลาการผ่าตัดสั้นลง เจ็บแผลน้อยลงผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนลดลงด้วย
- รู้จักแพทย์ผู้ผ่าตัด
-
นพ. ปริญญา วิจิตรวรวงศ์
- แพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
สาขาศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เลือกโรงพยาบาลที่คุณต้องการเข้ารับการผ่าตัด


-
โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
- 35/2 หมู่ 12 ถนนบางนา-ตราด ซอย 64 ตำบล บางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540