ผ่าตัดพังผืดที่มือ (Open Carpal Tunnel Release)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ถ้าเป็นเรื้อรังมากกว่า 6 เดือน ควรรักษาด้วยการผ่าตัด เพราะเสี่ยงเส้นประสาทถูกทำลายถาวรหรือกล้ามเนื้อฝ่อลีบลงทำให้ใช้มือทำงานไม่ได้
- เลือกผ่าตัดได้ทั้งแบบเปิดและส่องกล้อง แพทย์จะดูจากอาการที่เป็นและความต้องการของผู้ป่วย
- การผ่าตัดแบบเปิด ข้อดีคือ แพทย์เห็นเส้นประสาทได้ชัด ลดโอกาสบาดเจ็บต่อเส้นประสาท และผ่าตัดเพื่อรักษาอาการอื่นพร้อมกันได้
- การผ่าตัดส่องกล้อง ข้อดีคือ แผลเล็ก หายเร็ว เกิดพังผืดได้น้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด
ไม่แน่ใจผ่าแบบไหนดี? ปรึกษาหมอพั้นช์ก่อนได้
ปรึกษาเรื่องพังผืดที่มือ กับหมอพั้นช์ พ.ต.ต.นพ. วรพล เจริญพร
- ประสบการณ์ผ่าตัดและดูแลคนไข้จากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
- กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
- ชำนาญด้านการผ่าตัดอาการมือชาจากพังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือเเละข้อศอก ผ่าตัดนิ้วล็อค ผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอกาเเวง) ผ่าตัดโรคข้อศอกเทนนิส ผ่าตัดรักษาโรคข้อเสื่อม
คำถามที่พบบ่อย
ผ่าตัดพังผืดที่มือเบิกประกันได้ไหม?
โดยทั่วไปแล้ว การผ่าตัดพังผืดที่มือเพื่อรักษาโรคพังผืดที่ข้อมือกดทับเส้นประสาท (Carpal Tunnel Syndrome) สามารถเบิกประกันได้ ถ้าคุณมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว สามารถทักพยาบาลที่ปรึกษาของเราเพื่อให้เช็กความคุ้มครองก่อนตัดสินใจรับบริการได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ พยาบาลที่ปรึกษาจะแจ้งรายละเอียดว่าคุณจะเบิกได้เท่าไหร่ ครอบคลุมค่าผ่าตัดทั้งหมดหรือไม่ ต้องจ่ายอะไรเพิ่มบ้าง ตามแผนประกันของคุณ เราจะคอยประสานงานและดูแลเรื่องเอกสารประกันให้คุณจนจบ สามารถเลือกชำระเงินค่าผ่าตัดแบบผ่อน 0% ระยะเวลา 10 เดือน (แบ่งจ่ายด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิตหลายใบได้) หรือเบิกประกันโดยไม่ต้องสำรองจ่ายก็ได้ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมธรรม์และโรงพยาบาลกำหนด) สำหรับสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ เช่น ประกันสังคม บัตรทอง บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิข้าราชการ ยังไม่สามารถใช้กับการผ่าตัดกับ HDcare ได้
รู้จักโรคนี้
รู้จักโรคพังผืดที่ข้อมือกดทับเส้นประสาท (Carpal Tunnel Syndrome)
กลุ่มอาการที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทมีเดี้ยนในช่องลอดของข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) หรือที่มักเรียกกันว่า โรคพังผืดที่ข้อมือกดทับเส้นประสาท เป็นโรคที่กำให้เกิดความเจ็บ ปวด ชาบริเวณนิ้วมือ มักเกิดในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่อยู่ในท่าเดิมนานๆ หรือมีการเคลื่อนไหวมือและข้อมืออย่างจำกัดในท่าเดิมซ้ำๆ
จะรู้จักสาเหตุของโรค ต้องรู้จักโครงสร้างของข้อมือกันก่อน
ตามปกติ เส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) และเส้นเอ็นซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลือนไหวของนิ้วมือจะมีทางผ่านลักษณะเป็นโพรงอยู่บริเวณข้อมือ เรียกว่า Carpal Tunnel โพรงนี้รองรับด้วยกระดูกข้อมือและมีเส้นเอ็นใหญ่อีกเส้นพาดขวาง เมื่อไหร่ที่บริเวณข้อมือเกิดอาการบาดเจ็บหรือตึง เนื้อเยื่อในโพรง Carpal Tunnel อาจบวมจนกดทับเส้นประสาทมีเดียน ก่อให้เกิดอาการชามือ ปวด ถ้าทิ้งไว้นาน ไม่รักษา อาจใช้งานมือได้ไม่เหมือนเดิม
ในอดีต แพทย์มีความเห็นว่าโรคนี้เกิดจากการทำงานที่มือและข้อมือมักอยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ นานๆ เท่านั้นแต่ปัจจุบันมีข้อมูลเพิ่มแสดงให้เห็นว่าอาจเป็นโรคจากพันธุกรรมด้วย ซึ่งทำให้บางคนมีโพรงประสาทข้อมือเล็กกว่าคนทั่วไป การที่เนื้อเยื่อจะกดทับเส้นประสาทมีเดียนจึงเกิดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
อย่างไรก็ตาม โรคพังผืดที่ข้อมือกดทับเส้นประสาทยังอาจเกิดจากการบาดเจ็บ เช่น ข้อมือพลิก กระดูกข้อมือแตก นอกจากนี้ตัวโรคพังผืดที่ข้อมือกดทับเส้นประสาทยังมีความเกี่ยวข้องกับภาวะตั้งครรภ์ เบาหวาน โรคไทรอยด์ และรูมาตอยด์อีกด้วย
โรคพังผืดที่ข้อมือกดทับเส้นประสาทส่วนมากพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือนานๆ งานที่ต้องยกของหนัก หรือต้องใช้เครื่องมือที่มีลักษณะสั่นสะเทือนต่อเนื่อง
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- อาการชา ปวด หรือรู้สึกยิบๆ ที่ข้อมือ ฝ่ามือ และนิ้วมือ
- รู้สึกเหมือนนิ้วหนาขึ้น
- รู้สึกเหมือนไฟฟ้าช็อตบริเวณปลายนิ้วมือ
- อาการชาที่หัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว ทางฝั่งฝ่ามือ
- การเคลื่อนไหวในฝ่ามือจำกัด เช่น กำมือไม่สุด เขียนหนังสือลำบาก
- กล้ามเนื้อ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อฝ่อลีบ
อาการโรคพังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาทมักค่อยๆ เกิดอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ แย่ลง โดยเฉพาะบริเวณมือด้านหัวแม่โป้ง
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
การตรวจอาการของพังผืดทับเส้นประสาท ทำได้หลายวิธีดังนี้
- ซักประวัติอาการและตรวจร่างกายโดยแพทย์
- เคาะเส้นประสาทที่ข้อมือ เพื่อทดสอบความผิดปกติ
- ทดลองงอข้อมือข้างที่มีอาการ เพื่อสังเกตอาการชา และความปวดที่เกิดขึ้น
- วัดความไวต่อความรู้สึกที่ปลายนิ้วและมือ
- ตรวจสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
- ตรวจด้วยไฟฟ้าวินิจฉัย (Electrodiagnosis) สำหรับผู้ป่วยที่ได้ผลตรวจไม่ชัดเจน แพทย์จะแนะนำให้ตรวจด้วยไฟฟ้าวินิจฉัย
- วัดความเร็วการนำกระแสประสาท ของเส้นประสาทที่มีปัญหา เพื่อยืนยันอาการของโรคพังผืดทับเส้นประสาท และแยกโรคอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการชาในบริเวณเดียวกัน
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
รักษาโดยไม่ผ่าตัด
- ดามประคองข้อมือ ส่วนใหญ่ใช้ในระยะเริ่มต้น
- ใช้ยาต้านการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวดในระยะสั้นๆ
- ฉีดสเตียรอยด์ ต้านการอักเสบ และระงับอาการปวด
- การกายภาพบำบัด สามารถทำได้หลายวิธี
รักษาโดยการผ่าตัด
- ผ่าตัดแบบเปิด เพื่อคลายพังผืดที่กดทับเส้นประสาทออกผ่านทางการเปิดแผลปกติ โดยแผลจากการผ่าตัดมีความยาวประมาณ 3-4 ซม. บริเวณกลางฝ่ามือ
- ผ่าตัดแบบส่องกล้อง ใช้กล้องส่องเข้าไปดูพังผืดที่เป็นปัญหาและผ่าตัดคลายพังผืดที่ข้อมือผ่านกล้อง
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- รักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล
- อาการของโรคพังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาทเรื้อรังจนกล้ามเนื้อโคนนิ้วมืออ่อนแรงและฝ่อลีบลง
- มีอาการของโรคพังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาทต่อเนื่องและไม่ดีขึ้นในระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดพังผืดที่มือ (Carpal Tunnel Release) เพื่อรักษาพังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท เป็นการผ่าตัดเส้นเอ็นตลอดแนวที่กดทับโพรง Carpal Tunnel บริเวณข้อมือ จะช่วยปลดปล่อยแรงกดที่เส้นประสาทมีเดียน ทำให้อาการที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบรรเทาลงจนรักษาหายในที่สุด
ขั้นตอนการผ่าตัดพังผืดที่มือแบบเปิด (Open Carpal Tunnel Release)
- ระงับความรู้สึกด้วยยาชาเฉพาะที่บริเวณมือและข้อมือ
- แพทย์เปิดแผลที่ข้อมือ ยาวประมาณ 3-4 ซม.
- ใช้อุปกรณ์ผ่าตัดเส้นเอ็นที่พาดขวางโพรง Carpal Tunnel ให้แยกออกจากกัน
- เย็บปิดแผลแล้วใส่เฝือกเพื่อป้องกันไม่ให้เคลื่อนไหวข้อมือมากไป
ผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือใช้เวลาเท่าไหร่?
การผ่าตัดพังผืดที่มือจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดแพทย์จะให้พักสังเกตอาการจนแน่ใจว่าไม่มีปัญหาแทรกซ้อน จากนั้นก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
แม้ว่าจะไม่ต้องนอนค้างที่ รพ. แต่ควรเตรียมตัวงดใช้มือข้างที่ผ่าตัดจนกว่าแพทย์จะอนุญาต โดยแพทย์จะใส่เฝือกเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวข้อมือประมาณ 1-2 สัปดาห์
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดพังผืดที่มือ
- บริหารนิ้วมือ ข้อศอก ไหล่ ตามที่แพทย์แนะนำเพื่อป้องกันข้อติดแข็ง
- ยกมือสูงระหว่างนอน เพื่อลดบวม
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผ่าตัดพังผืดมืออาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- ชานิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง
- เกิดแผลเป็นแข็ง กดเจ็บ ปวดข้อมือ เจ็บและชามือ
- บาดเจ็บรุนแรง ข้อติดแข็ง จนถึงมือใช้การไม่ได้ (แต่มักไม่เกิดขึ้นถ้าการผ่าตัดเป็นไปด้วยดีและบริหารข้อต่อหลังผ่าตัดตามแพทย์แนะนำสม่ำเสมอ)
สาขาออร์โธปิดิกส์
พ.ต.ต.นพ. วรพล เจริญพร (หมอพั้นช์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2560 แพทย์ประจำบ้านออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2561 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยามหิดล
- 2565 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดการผ่าตัดระยางค์ส่วนบน Massachusetts General Hospital, Harvard Medical School (USA)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิกทางจุลศัลยกรรม Osaka Hospital (Japan)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิคด้านการผ่าตัดส่องกล้อง Sanno Hospital (Japan)
- ปัจจุบัน กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม
-ชำนาญการพิเศษด้านการผ่าตัดส่องกล้องและการผ่าตัดแผลเล็กรักษาข้อและกระดูก
-กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
-ชำนาญด้านการผ่าตัดอาการมือชาจากพังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือเเละข้อศอก ผ่าตัดนิ้วล็อค ผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอกาเเวง) ผ่าตัดโรคข้อศอกเทนนิส ผ่าตัดรักษาโรคข้อเสื่อม
-ประสบการณ์ผ่าตัดและดูแลคนไข้จากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. วัชระ มณีรัตน์โรจน์ (หมอแจ๊ค)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-2005: แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-2012: ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
-2017: ศัลยศาสตร์บูรณสภาพในข้อสะโพกและข้อเข่า, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
-ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม โดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดหรือคอมพิวเตอร์นำวิถี
-ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโดยใช้เทคนิคเข้าทางด้านหน้า ไม่ตัดกล้ามเนื้อ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและข้อเข่าเทียมโดยใช้เทคนิคแผลเล็กบาดเจ็บน้อย
-การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วนโดยใช้เทคนิคและข้อเทียมชนิดอ๊อกซฟอร์ด
-การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ และคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด
-การผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บและกระดูกหัก
สาขาออร์โธปิดิกส์