ผ่าตัดไส้เลื่อน (แบบเปิด) // ใช้ยาสลบ
ถ้าเป็นไส้เลื่อนแบบดันกลับไม่ได้ ยังไงก็ต้องผ่า เป็นวิธีรักษาเดียวที่ได้ผล
ไส้เลื่อนที่อักเสบรุนแรง ต้องผ่าตัดแบบเปิดเท่านั้น
เลือกใช้ยาชาแทนยาสลบได้
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
รักษาไส้เลื่อน ต้องผ่าตัดเท่านั้น!
- ผู้ชายอายุ 75 ปีขึ้นไป กว่า 50% มักเป็นไส้เลื่อนขาหนีบ
- ผู้ชายเป็นไส้เลื่อนขาหนีบได้มากกว่าผู้หญิง 7 เท่า
- ไส้เลื่อนหายเองไม่ได้ เพราะเกิดจากลำไส้เลื่อนเข้าออกผ่านรู้ที่ผนังหน้าท้องที่อ่อนแอ
- วิธีการรักษาต้องผ่าตัดเสริมความแข็งแรงผนังหน้าท้อง ถึงจะป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นไส้เลื่อนอีกครั้ง
- เช็กด่วน อาการแบบไหนคือไส้เลื่อน [ดูวิดีโอเลย]
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
ไส้เลื่อน ถ้ายังดันกลับเข้าไปเองได้ ยังไม่อันตรายถึงกับต้องผ่าตัด แต่จะปวดและรำคาญ
- ถ้าดันกลับเข้าไปไม่ได้แล้ว ควรผ่าตัด เพราะจะปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ และอาจติดเชื้อจนไส้เน่า เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นวิธีที่นิยมที่สุดตอนนี้
- แผลเล็กกว่า เจ็บน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด
- ไม่ต้องผ่าตัดผ่านกล้ามเนื้อเข้าไป และใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
วิธีที่ราคาถูกที่สุดตอนนี้ คือการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบเปิด
- ไม่ค่อยนิยมเพราะทำให้เกิดแผลใหญ่ที่ขาหนีบ
- ถ้าอักเสบรุนแรงจะต้องผ่าตัดแบบเปิดเท่านั้น
- ดูรายละเอียดการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบเปิด [คลิกที่นี่]
วิธีที่แผลเล็กและเจ็บน้อยที่สุดตอนนี้
- ราคาสูงกว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้อง คือการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องแผลเดียว
- ดูรายละเอียดการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องแผลเดียว [คลิกที่นี่]
ไม่มั่นใจ ต้องผ่าตัดไส้เลื่อนแบบไหน ปรึกษาทีมแพทย์ HDcare ได้ฟรี!
คำถามที่พบบ่อย
ผ่าตัดไส้เลื่อน เบิกประกันได้หรือไม่?
โดยทั่วไปแล้วเบิกได้ แต่จะเบิกได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแผนประกันและเงื่อนไขกรมธรรม์ของคุณ ถ้าคุณมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว และต้องการผ่าตัดไส้เลื่อนกับ HDcare สามารถทักมาสอบถามพยาบาลที่ปรึกษาของเราเพื่อให้ช่วยเช็กข้อมูลประกัน ว่าครอบคลุมวงเงินกี่บาท ต้องจ่ายเพิ่มเองกี่บาท โดยยอดที่คุณต้องชำระเองนั้นสามารถจ่ายด้วยวิธีผ่อนชำระด้วยบัตรเครดิตได้ 0% 10 เดือน (ผ่อนใช้บัตรเครดิตหลายใบรวมกันได้) การปรึกษาพยาบาล HDcare ก่อนตัดสินใจผ่าตัดไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ จากนั้นเมื่อเข้าสู่กระบวนการผ่าตัดแล้ว ทาง HDcare ก็ยังจะคอยดูแลเรื่องเอกสารต่างๆ ของคุณต่อจนจบ สำหรับสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ เช่น ประกันสังคม บัตรทอง บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิข้าราชการ ยังไม่สามารถใช้กับการผ่าตัดจาก HDcare ได้
การผ่าตัดไส้เลื่อน จะส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศไหม?
โดยทั่วไปการผ่าตัดไส้เลื่อน ไม่ส่งผลกระทบใดๆ หรือไม่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางเพศเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแข็งตัว ขนาด ปริมาณอสุจิ หรือความสามารถในการมีบุตร นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อระบบสืบพันธุ์ด้วย เช่น ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตบริเวณอัณฑะทั้งสองมีความสมดุลกัน ลดการเจ็บขาหนีบ ขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่บางหัตถการอาจมีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ได้บ้าง เช่น ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดผังพืดไปรบกวนเส้นประสาทบริเวณขาหนีบ ซึ่งเป็นส่วนที่นำโลหิตไปเลี้ยงองคชาต และอัณฑะได้ แต่โอกาสค่อนข้างน้อย ไส้เลื่อนเป็นภาวะที่ไม่อันตราย แต่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะผนังช่องท้องอาจเกิดการรัดตัว จนทำให้ลำไส้ขาดเลือดได้ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉินอย่างเร็วที่สุด เพราะอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่กำลังป่วยเป็นไส้เลื่อน ควรเข้ารับการผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์ และควรเลือกผ่าตัดกับแพทย์ผู้ชำนาญการ ในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
ถ้าผ่าแล้วต้องพักฟื้นนานไหมคะ
หลังจากผ่าตัดไส้เลื่อนแล้ว แพทย์มักให้พักฟื้นใน รพ. ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านอีกประมาณ 1 สัปดาห์ หรืออาจมากกว่า ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
จริงๆผ่าแบบเปิดกับส่องกล้องมันต่างกันมากแค่ไหนคะ
การผ่าตัดแบบเปิดจะเปิดรอยแผลขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร แต่การผ่าตัดแบบส่องกล้องจะเปิดแผลเพียง 0.5-1 เซนติเมตรประมาณ 3 แผล ทำให้มีอาการเจ็บแผลน้อยกว่า และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าค่ะ
เล่นกีฬา ทำให้เป็นไส้เลื่อนหรือไม่ ?
กีฬาไม่ได้ทำให้เป็นไส้เลื่อน ไม่ว่าจะวิ่ง กระโดด หรือออกกำลังกาย แต่กีฬาที่ต้องเกร็งหน้าท้องมากๆ อาจจะทำให้เกิดความดันในช่องท้องได้ เช่น ยกน้ำหนัก ทุ่มน้ำหนัก
สวมกางเกงในรัด ทำให้เป็นไส้เลื่อนจริงหรือ?
ผู้ชายหลายคนกลัวว่าตัวเองจะเป็นไส้เลื่อนถึงขนาดไม่ยอมสวมกางเกงในและสวมการเกงบ็อกเซอร์แทน ซึ่งนั่นเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการสวมกางเกงในแบบบิกินีไม่ได้ส่งผลให้เกิดความดันในช่องท้องจนทำให้เป็นไส้เลื่อนได้ ควรสวมแบบที่สวมใส่สบายไม่อึดอัดหรือหลวมจนเกินไปจะดีกว่า
ไส้เลื่อนผ่าแล้วเป็นอีก ได้หรือไม่
หลังการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนขาหนีบ ผู้ป่วยมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกทั้งข้างเดิม และเป็นใหม่อีกข้างหนึ่ง
รู้จักโรคนี้
ไส้เลื่อนคืออะไร เกิดบริเวณใดได้บ้าง?
ไส้เลื่อน (Hernia) คือ ภาวะที่อวัยวะภายในเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติจากความดันในช่องท้อง จนไหลเลื่อนออกนอกช่องท้อง ทางรูกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อ
ไส้เลื่อนสามารถเกิดได้หลายตำแหน่งระหว่างหน้าอกกับสะโพก เช่น ช่องในผนังหน้าท้อง ขาหนีบ ข้างหัวหน่าว หรือในถุงอัณฑะ อาจพบในบริเวณอื่นนอกเหนือจากนี้แต่มีโอกาสน้อยมาก
สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อน
บางคนอาจเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า “เป็นไส้เลื่อนเพราะไม่ใส่กางเกงใน” แต่นั่นไม่เป็นความจริง แม้ว่าอวัยวะภายที่ไหลเลื่อนออกจากตำแหน่งปกติอาจออกมาอยู่บริเวณช่องท้อง หรือถุงอัณฑะ แต่ที่จริงต้นเหตุเกิดที่อวัยวะภายใน มาจากการไหลออกจากรูที่อยู่ข้างในช่องท้อง ไม่ว่าจะสวมหรือไม่สวมกางเกงในจึงไม่มีผลกับการเป็นไส้เลื่อนเลย
สาเหตุของไส้เลื่อนจริงๆ แล้วได้แก่
- เกิดความผิดปกติในช่องท้องแต่กำเนิด
- การตั้งครรภ์ ภาวะอ้วน ไอ จาม ยกของหนัก ออกกำลังกายหนัก รวมถึงการเบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ ซึ่งส่งผลให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้น
- อายุที่เพิ่มขึ้น โดยพบว่าเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นไส้เลื่อนมากขึ้น
- มีภาวะผนังช่องท้องอ่อนแอ ซึ่งอาจมาจากเคยผ่านการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง หรือประสบอุบัติเหตุ
อันตรายของไส้เลื่อน
โดยทั่วไปภาวะไส้เลื่อนมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตโดยทันที และบางกรณีภาวะไส้เลื่อนอาจเกิดขึ้นชั่วคราวแล้วเคลื่อนกลับสู่ตำแหน่งเดิมเอง
อย่างไรก็ตาม ถ้ารู้สึกถึงความผิดปกติ สงสัยว่าตัวเองอาจเป็นไส้เลื่อน เช่น คลำพบก้อนปูดบริเวณขาหนีบหรือผนังหน้าท้อง ปวดท้องหน่วงๆ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะถ้าลำไส้ไม่เคลื่อนกลับคืนที่เดิมเอง ลำไส้อาจเกิดอาการอุดตันหรือขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้ลำไส้ตายและเน่า เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้
ผู้หญิงก็เป็นไส้เลื่อนได้
แม้ว่า ไส้เลื่อน มักพบในเพศชาย เนื่องจากมีช่องถุงอัณฑะซึ่งจะเป็นบริเวณที่อ่อนแรงได้ง่าย แต่ผู้หญิงก็สามารถเป็นไส้เลื่อนได้เช่นกัน โดยจะเกิดที่บริเวณช่องเชิงกราน สะดือ หรือใต้ขาหนีบ
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- แน่นท้องหรือปวดแสบปวดร้อนที่ช่องท้อง
- เจ็บหรือปวดที่ก้อน โดยเฉพาะเวลาไอ จาม ยกของหนัก หรือทำกิจกรรมที่เพิ่มแรงดันในช่องท้อง
- มีก้อนนูนแถวช่องท้อง อาจนิ่มหรือแข็งก็ได้ สามารถยุบได้เองเมื่อนอนราบ
- ถ้ามีก้อนนูนไม่ยุบ และปวดท้องมาก อาจมีภาวะลำไส้อุดตันภายในไส้เลื่อน (Incarcerated Hernia) และทำให้มีภาวะลำไส้ขาดเลือด (Strangulated Hernia) และต้องผ่าตัดฉุกเฉิน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจร่างกายทั้งในท่านอน ท่ายืน และให้ออกแรงเบ่ง
- อาจใช้การตรวจอัลตราซาวด์ตรวจวินิจฉัยสำหรับไส้เลื่อนช่องเชิงกราน ซึ่งมักคลำไม่เจอก้อน แต่จะมีอาการของลำไส้อุดตันเป็นๆ หายๆ
- อาจใช้การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan หรือ MRI เพื่อตรวจยืนยันสำหรับไส้เลื่อนบางชนิด
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การรักษาไส้เลื่อน ต้องอาศัยการผ่าตัด เพื่อนำลำไส้หรืออวัยวะอื่นให้กลับไปอยู่ตำแหน่งเดิม และเย็บปิดรู หรือเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหรือพังผืดที่เป็นจุดอ่อนไม่ให้ไส้เลื่อนเคลื่อนที่ออกได้อีก
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- คนที่ไส้เลื่อนที่ยังไม่เกิดภาวะไส้เลื่อนติดคา ควรรีบผ่าตัดให้เร็วที่สุด เพราะไส้เลื่อนมีโอกาสติดคาได้ทุกเมื่อ
- คนที่เกิดภาวะไส้เลื่อนติดคา แนะนำให้รีบผ่าตัด เพราะอาจเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดไปเลี้ยงและลำไส้เน่าตายได้ (ถ้าลำไส้ขาดเลือดไปเลี้ยง จะใช้เวลา 6 ชม. ก่อนที่ลำไส้จะเน่าและต้องตัดทิ้ง)
- ไส้เลื่อนช่องเชิงกรานหรือไส้เลื่อนกระบังลมชนิด Paraesophageal Hernia ปกติจะคลำก้อนไม่ได้ แต่ถ้าตรวจเจอก็แนะนำให้รีบผ่าตัด
- ไส้เลื่อนกระบังลม ชนิด Sliding Hiatal Hernia ถ้ามีอาการรุนแรงหรือเรื้อรังแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด
- เด็กที่เป็นไส้เลื่อนที่สะดือ หรือสะดือจุ่น สามารถรอดูอาการจนถึงอายุ 2 ขวบ แล้วค่อยผ่าตัดรักษา
รู้จักการผ่าตัดนี้
การรักษาไส้เลื่อนสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อนำลำไส้กลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิม พร้อมป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำ ด้วยการวางตาข่ายสังเคราะห์เพื่อเสริมความแข็งแรงให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้น
ขั้นตอนการผ่าตัดไส้เลื่อนแบบเปิด
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบหรือยาชา
- แพทย์เปิดแผลที่หน้าท้องขนาดประมาณ 6-8 ซม. และดันลำไส้เข้าไปในช่องท้อง
- เย็บผูกถุงไส้เลื่อน และซ่อมแซมช่องทางที่ผิดปกติของผนังช่องท้อง มีทั้งการเย็บเนื้อเยื่อเข้าหากันและใช้แผ่นสังเคราะห์ซึ่งจะลดโอกาสเป็นซ้ำได้ดี
- เย็บปิดแผลให้เรียบร้อย
- ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบเปิด ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบเปิด (Open Technique)
- เปิดแผลเป็นแนวยาวประมาณ 6-8 ซม.
- หลังผ่าตัดอาจปวดแผลมาก ต้องพักฟื้นนาน กว่าจะกลับไปใช้ชีวิตปกติ
- นอน รพ. 3-5 วัน พักฟื้นต่อที่บ้าน 2-3 สัปดาห์
ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Technique) [ดูรายละเอียดที่นี่]
- แผลมีขนาดเล็ก ประมาณ 0.5-1 ซม. ประมาณ 3-5 จุด
- รักษาไส้เลื่อนขาหนีบได้ทุกชนิดในการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว
- แผลมีขนาดเล็ก เจ็บปวดแผลน้อย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย
- นอน รพ. แค่ 1-2 วัน กลับไปใช้ชีวิตตามปกติใน 1 สัปดาห์ เล่นกีฬาออกกำลังกายหนักใน 2-4 สัปดาห์
ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องแผลเดียว (Single Incision Laproscopic Surgery) [ดูรายละเอียดที่นี่]
- มีแผลเดียวที่สะดือ ประมาณ 2 ซม. แทบมองไม่เห็น
- รักษาไส้เลื่อนขาหนีบพร้อมกัน 2 ข้างได้ในครั้งเดียว
- แผลมีขนาดเล็ก เจ็บปวดแผลน้อย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย
- นอน รพ. แค่ 1-2 วัน กลับไปใช้ชีวิตตามปกติใน 1 สัปดาห์ เล่นกีฬาออกกำลังกายหนักใน 2-4 สัปดาห์
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- รักษาหรือควบคุมอาการจากโรคประจำตัวก่อนเข้าผ่าตัดไส้เลื่อน
- ระหว่างรอผ่าตัดไส้เลื่อน ควรระมัดระวังไม่ให้ไส้เลื่อนอยู่ในภาวะติดและดันกลับไม่ได้ (Incarcerated Hernia) เช่น ไม่ยกของหนัก ไม่เบ่งการขับถ่าย
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดไส้เลื่อนแบบเปิด ต้องพักฟื้นกี่วัน?
- พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2 วัน
- พักฟื้นที่บ้านประมาณ 2-3 สัปดาห์
- กลับไปเล่นกีฬาและออกกกำลังหนักได้ใน 2-4 สัปดาห์
หลังผ่าตัดไส้เลื่อน แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้
- งดยกของหนัก
- งดการออกกำลังกายหนัก เช่น การกระโดด ยกน้ำหนัก หรือออกกำลังกล้ามเนื้อท้องในช่วง 2 เดือนแรก
- งดเบ่งถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ หรือไอจามรุนแรง
- ห้ามให้แผลผ่าตัดโดนน้ำจนกว่าแผลจะแห้ง
- ห้ามแกะ เกาบริเวณแผล เพื่อลดการติดเชื้อหรือเป็นหนอง
- ควรลดน้ำหนักในผู้ที่มีโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน การระวังไม่ให้มีน้ำหนักเกิน
- กินผัก ผลไม้ และดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อป้องกันท้องผูก
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดไส้เลื่อนอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- อาการข้างเคียงจากยาชาหรือยาสลบ
- หลังการผ่าตัดประมาณ 1-2 วัน จะรู้สึกเจ็บและตึงบริเวณแผล สามารถกินยาแก้ปวดได้ตามคำแนะนำของแพทย์
- เส้นประสาทผิวหนังถูกทำลาย ผิวหนังไม่มีความรู้สึก หรือชาที่ผิวหนังบริเวณใกล้เคียงกับแผลผ่าตัด
- มีอาการปวดเรื้อรังบริเวณแผลผ่าตัด แต่พบได้น้อยมาก
- มีลิ่มเลือดที่แผลผ่าตัด หรือแผลติดเชื้อ
- การบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียง
- หากพบว่าแผลมีความผิดปกติ เช่น มีหนอง หรือเลือดไหลออกมาจากแผล หรือมีอาการปวดรุนแรงขึ้น ควรรีบพบแพทย์
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. จิตรภาณุ วงศ์ยงศิลป์ (หมอจี้)
ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์
- ประกาศนียบัตร การผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร การส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร สาขาโรคเต้านม
- Certification of Endoscopic and Laparoscopic Surgery, Japanese Red Cross Hospital (Japan)
- Certification of Clinical Fellowship at Department of Gastroenterological Surgery, Tokyo Women's Medical University (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการผ่าตัดโรคไส้เลื่อน (Hernia Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง (Advanced Endoscopy)
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. วิบูลย์ ชัยยะมงคล (หมอแบน)
ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 20+ ปี
ข้อมูลของแพทย์
- 2536 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2540 ศัลยศาสตร์ กรมการแพทย์ราชวิถี
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ทั่วไปประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 20 ปี
-หัตถการที่ชำนาญ: ผ่าตัดริดสีดวงทวาร ผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อน ผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. บัณฑวิช พลกล้า (หมอปี)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-ปี 2553: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ปี 2558: วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
-ปี 2564: วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. วรัญญู จิรามริทธิ์ (หมอเต้ย)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลตำรวจ
-วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ: การผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง, การส่องกล้องทางเดินอาหาร
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ณธีพัฒน์ เอื้อนิธิเลิศ (หมอตั้ม)
ข้อมูลของแพทย์
- อดีตอาจารย์แพทย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป
- แพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยกรรม ศัลยแพทย์ผ่าตัดประสบการณ์มากกว่า 4 ปี ผ่านเคสผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย
- โรค/หัตถการที่ชำนาญ การผ่าไส้เลื่อนแบบเปิด, การผ่าตัดริดสีดวง, การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง, การผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดและแบบรูแผลซ่อนในสะดือ, การส่องกล้องลำไส้และทางเดินอาหาร
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. พรรควุธ จันทร์สว่างภูวนะ (หมอโอ๊ค)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญการส่องกล้องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
ข้อมูลของแพทย์
-วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป
-ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาการผ่าตัดผ่านกล้อง
-ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญการส่องกล้องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก