ผ่าตัดรักษาเส้นเลือดขอดที่ขา
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
อาการแบบไหนที่ต้องรีบรักษาเส้นเลือดขอด?
- เส้นเลือดขอดมีสีม่วงเข้ม หรือสีน้ำเงิน
- เส้นเลือดขอดมีลักษณะบิด และโป่งพอง
- มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวที่บริเวณรอบๆ เส้นเลือดขอด
- รู้สึกเจ็บ ปวด บริเวณที่ขาและน่อง
- รู้สึกขาหนัก และอึดอัด
- รู้สึกแสบร้อน ปวดกล้ามเนื้อ และข้อเท้าบวม โดยอาการจะแย่ลงหลังจากที่นั่ง หรือยืนเป็นระยะเวลานาน
- รู้สึกคันและผิวแห้งบริเวณรอบ ๆ เส้นเลือดขอด
- เป็นตะคริวที่ขา โดยเฉพาะตอนกลางคืน
อย่าปล่อยทิ้งไว้จนลุกลาม รีบรักษาตอนอาการยังน้อย รักษาง่ายกว่า
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
เส้นเลือดขอด รักษาได้หลายวิธี
- รักษาเส้นเลือดด้วยคลื่นวิทยุ RFA ใช้อุปกรณ์สอดเข้าไปในหลอดเลือดดำ แล้วปล่อยคลื่นวิทยุสร้างความร้อน ทำให้เส้นเลือดขอดฝ่อตัว และสลายตัวไปเอง รักษาได้เฉพาะรายที่เส้นเลือดขอดมีขนาดไม่ใหญ่มาก
- ผ่าตัดเส้นเลือดขอดด้วยคลื่นวิทยุ ฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ไม่ต้องฉีดยาชาหลายจุดเหมือนการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยคลื่นวิทยุแบบปกติ แพทย์จะหาเส้นเลือดด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ แล้วสอดอุปกรณ์ไปปล่อยคลื่นวิทยุ ทำให้เส้นเลือดขอดฝ่อตัว และสลายตัวไปเอง รักษาได้เฉพาะรายที่เส้นเลือดขอดมีขนาดไม่ใหญ่มาก
- รักษาด้วยการผ่าตัด ทำได้ 2 วิธีคือ (1) รักษาเส้นเลือดขนาดใหญ่ที่อยู่ชั้นลึก โดยเปิดแผลที่ขาหนีบ 4-5 ซม. และใต้เข่า 1-2 ซม. เพื่อผูกและตัดหลอดเลือดดำที่โป่งพอง (2) เจาะเอาเส้นเลือดขอดที่ตื้นๆ ออก โดยใช้เครื่องมือเจาะเปิดแผลและดูดเส้นเลือดขอดที่โป่งนูนออก ไม่ต้องเย็บแผล ไม่ต้องตัดไหม
- รักษาเส้นเลือดขอดด้วยกาวทางการแพทย์ เปิดเส้นเลือดใต้เข่าหรือเหนือข้อเท้า แล้วใส่สายสวนขึ้นไปบริเวณขาหนีบหลังเพื่อหยอดสารยึดติดทางการแพทย์ (กาว) เข้าไปปิดเส้นเลือดดำที่มีปัญหา อาการเส้นเลือดขอดดีขึ้นทันทีหลังทำ มีแผลขนาดเล็กแค่จุดเดียว ไม่ต้องพักฟื้น หลังทำเสร็จแล้วสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ และไม่ต้องสวมถุงน่องหลังทำเหมือนวิธีอื่น
ไม่ว่าจะปัญหาแบบไหน หรือวิธีไหน HDcare ก็พร้อมดูแล
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
ร่างกายของคนเรามีหลอดเลือดดำอยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งจะถูกล้อมรอบด้วยกล้ามเนื้อที่คอยบีบหลอดเลือดดำเพื่อส่งเลือดดำกลับสู่หัวใจ หากวาล์วที่อยู่ในหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติจะทำให้มีเลือดดำตกค้าง ส่งผลให้หลอดเลือดดำบวม ขยายเป็นก้อน หรือผิดรูปจนกลายเป็นเส้นเลือดขอดนั่นเอง
โรคเส้นเลือดขอดจะพบบ่อยที่สุดที่บริเวณขา ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้วาล์วในหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ แต่คาดว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านี้
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้วาล์ว หรือลิ้นเล็กๆ ที่อยู่ในหลอดเลือดดำ ซึ่งคอยทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดเกิดการเสื่อมสภาพ
- ฮอร์โมน ฮอร์โมนเพศหญิงอาจส่งผลให้ความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือดดำลดลง
- กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีพ่อแม่ หรือบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นเส้นเลือดขอด จะมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ
- น้ำหนักตัวที่มากเกินไป จะส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อเส้นเลือดมากกว่าปกติ
- พฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำงานที่ต้องยืน หรือนั่งเป็นระยะเวลานานๆ การนั่งไขว่ห้าง หรือใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ
- ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดขอดมากขึ้น
- มีประวัติหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ เช่น เคยมีลิ่มเลือดอุดตัน
- ผลข้างเคียงจากภาวะที่ส่งผลให้เกิดการกดดันที่ช่องท้อง เช่น การตั้งครรภ์ ท้องผูก หรือเนื้องอก
อาการเส้นเลือดขอด แบ่งเป็นกี่ระยะ?
อาการเส้นเลือดขอด จะแบ่งเป็น 6 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 เส้นเลือดขอดมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม เป็นเส้นเลือดขอดในระยะเริ่มต้น มักไม่มีอาการแสดง นอกจากการส่งผลกระทบเรื่องความสวยงาม
- ระยะที่ 2 เส้นเลือดเริ่มปูดเป็นตัวหนอน มีขนาดใหญ่มากกว่า 3 มิลลิเมตร และทำให้เกิดอาการปวดเมื่อใช้งานอวัยวะที่มีเส้นเลือดขอดเป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่ง เดิน หรือยืน
- ระยะที่ 3 คล้ายระยะที่ 2 แต่จะทำให้เกิดอาการขาบวมและปวดมากขึ้น ถึงแม้จะใช้งานในระยะเวลาสั้นๆ
- ระยะที่ 4 บริเวณที่มีเส้นเลือดขอดเปลี่ยนเป็นสีดำเข้ม ซึ่งหมายถึงการเกิดภาวะอักเสบของผิวหนัง
- ระยะที่ 5 เป็นระยะที่แผลหายจากการรักษาแล้ว แต่ผิวหนังจะเปลี่ยนสีเป็นสีดำ
- ระยะที่ 6 เกิดแผลบริเวณหลอดเลือดดำ เช่น ขอบแผลแดง
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
หากคุณเริ่มมีเส้นเลือดขอด โดยเฉพาะเส้นเลือดขอดที่ขา แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเส้นเลือดขอดในระยะแรกๆ สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และไม่ต้องพักฟื้นนาน ซึ่งจะช่วยป้องกันผลข้างเคียงของเส้นเลือดขอดในระยะท้ายๆ ได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่มีเส้นเลือดขอดแต่ยังไม่ได้รับการรักษา จะต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าหากเกิดอาการเหล่านี้จะต้องไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนของเส้นเลือดขอดที่อันตรายได้
- เส้นเลือดขอดมีสีม่วงเข้ม หรือสีน้ำเงิน
- เส้นเลือดขอดมีลักษณะบิด และโป่งพอง
- มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวที่บริเวณรอบ ๆ เส้นเลือดขอด
- รู้สึกเจ็บ ปวด บริเวณที่ขาและน่อง
- รู้สึกขาหนัก และอึดอัด
- รู้สึกแสบร้อน ปวดกล้ามเนื้อ และข้อเท้าบวม โดยอาการจะแย่ลงหลังจากที่นั่ง หรือยืนเป็นระยะเวลานาน
- รู้สึกคันและผิวแห้งบริเวณรอบ ๆ เส้นเลือดขอด
- เป็นตะคริวที่ขา โดยเฉพาะตอนกลางคืน
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดเส้นเลือดขอด (Open Varicose Vein Surgery) เป็นวิธีรักษาเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยา หรือการรักษาด้วยคลื่นวิทยุได้ โดยจะแบ่งเป็น 2 วิธีหลักคือ
- ผ่าตัดลอกเอาเส้นเลือดขอดออก (High Ligation and Stripping) แพทย์เปิดแผลที่ขาหนีประมาณ 4-5 ซม. และใต้เข่าประมาณ 1-2 ซม. แล้วผูกและตัดหลอดเลือดดำที่โป่งพองออก
- การเจาะเอาเส้นเลือดขอดที่ตื้นๆ ออก (Phlebectomy) ใช้เครื่องมือพิเศษดูดเจาะเส้นเลือดขอดที่โป่งนูนออก ไม่ต้องเย็บแผล ไม่ต้องตัดไหม ทำเสร็จกลับบ้านได้เลย
ขั้นตอนการผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออก
- วิสัญญีแพทย์ทำการระงับความรู้สึกคนไข้ด้วยการดมยาสลบ หรือบล็อคหลัง
- แพทย์ทำการผ่าตัดเส้นเลือดขอดออก ซึ่งวิธีการผ่าตัดแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน โดยพิจารณาจากลักษณะเส้นเลือดขอดขอคนไข้
- หลังผ่าตัดเส้นเลือดขอดเสร็จแล้ว แพทย์จะให้คนไข้นอนพักฟื้น 1-2 วัน เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ ถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
- แพทย์นัดตรวจติดตามอาการ และนัดตัดไหมในอีก 14 วันหลังผ่าตัด
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยคลื่นวิทยุ
- ใส่สายไฟเบอร์ออพติกเข้าไปในหลอดเลือดดำ แล้วปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุเข้าไปสร้างความร้อน ทำให้ผนังด้านในของเส้นเลือดขอดเสียหาย เกิดการฝ่อตัว และสลายตัวไปเอง
- แผลเล็ก ฟกช้ำน้อย
- ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องพักฟื้นที่ รพ. หลังทำเสร็จกลับบ้านได้เลย
การผ่าตัดเส้นเลือดขอด ทำได้ 2 วิธี
- ผ่าตัดลอกเอาเส้นเลือดขอดออก (High Ligation and Stripping) แพทย์เปิดแผลที่ขาหนีประมาณ 4-5 ซม. และใต้เข่าประมาณ 1-2 ซม. แล้วผูกและตัดหลอดเลือดดำที่โป่งพองออก
- การเจาะเอาเส้นเลือดขอดที่ตื้นๆ ออก (Phlebectomy) ใช้เครื่องมือพิเศษดูดเจาะเส้นเลือดขอดที่โป่งนูนออก ไม่ต้องเย็บแผล ไม่ต้องตัดไหม ทำเสร็จกลับบ้านได้เลย
รักษาเส้นเลือดขอด ด้วยกาวประสานเลือด
- ใช้กาวทางการแพทย์ปิดเส้นเลือดขอดที่เป็นปัญหา
- หลังทำจะดีขึ้นทันที ไม่มีแผลฟกช้ำ ไม่ต้องพักฟื้น
- เป็นวิธีที่ไม่ต้องสวมถุงน่องหลังทำ (วิธีอื่นๆ ต้องสวมอย่างน้อย 1-3 สัปดาห์)
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- ตรวจประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัดให้เรียบร้อย
- ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้ดีขึ้น และลดโอกาสในการติดเชื้อหลังผ่าตัด
- งดการสูบบุหรี่อย่างน้อย 3-6 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะนิโคตินในบุหรี่จะส่งผลกระทบต่อการหายของบาดแผล
- งดการใช้ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด เช่น ยาแอสไพริน ยาวาร์ฟาริน หรือยาในกลุ่มระงับอาการปวด
- งดการใช้ยาสมุนไพร อาหารเสริม หรือวิตามินบางประเภท ที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น น้ำมันปลา โอเมก้า 3 น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส หรือโคเอนไซม์คิวเทน เป็นต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
- งดรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างที่ได้รับยาระงับความรู้สึก
- หลังจากผ่าตัดแล้ว จะต้องนอนพักฟื้นต่อที่โรงพยาบาล 1-2 วัน จึงควรเตรียมเสื้อผ้าและข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นไปให้เรียบร้อย
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว คนไข้จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- สวมใส่ถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอด ประมาณ 7-14 วันหลังการรักษา
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่างๆ ที่กระตุ้นต่อเส้นเลือดขอด เช่น ยกของหนัก เดินบ่อย นอน หรือนั่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี หรือครีมทาผิวที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อบริเวณที่ทำการรักษา
- งดการว่ายน้ำ แช่อ่างอาบน้ำ ออกกำลังกายหนัก อย่างน้อย 3 สัปดาห์หลังการรักษา หรือจนกว่าที่แพทย์สั่ง
- เมื่อแผลหายดีแล้ว ให้ดูแลตนเองโดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดเส้นเลือดขอด ได้แก่ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการนั่ง หรือนอนนานๆ และหมั่นขยับข้อเท้าขณะนั่งอยู่เสมอ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดเส้นเลือดขอด
การผ่าตัดเส้นเลือดขอดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการรักษา เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- เจ็บและปวดแผลบริเวณที่รักษา ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวดให้
- อาจมีอาการชาตามแนวเส้นเลือดที่ทำการรักษา ซึ่งอาการจะหายได้เองภายใน 3 - 6 เดือน
- เส้นเลือดขอดอาจไม่ได้หายไปทั้งหมด และอาจจำเป็นต้องฉีดยารักษาเส้นเลือดขอดที่เหลืออยู่เพิ่มเติม
- อาจมีรอยจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง ซึ่งจะสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
- อาจเกิดแผลเป็นบริเวณที่ผ่าตัดเส้นเลือดขอด