ขูดมดลูก (d/c)
การขูดมดลูกคือการขูดเนื้อเยื่อภายในมดลูกเพื่อตรวจวินิจฉัยหรือเพื่อรักษาความผิดปกติที่เกิดจากมดลูก
บางกรณีมีวิธีอื่นๆ ทดแทนการขูดมดลูก ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด
รับส่วนลด 50% หรือรับค่ารีวิวสูงสุด 50,000 บาท สมัครเป็นเคสรีวิววันนี้ ขอรายละเอียดที่แอดมินเพิ่มได้เลย!
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
เมื่อไหร่ที่ต้องขูดมดลูก
- เพื่อการหยุดเลือดในรายที่มีเลือดออกผิดปกติจากมดลูก
- เพื่อนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจทางพยาธิวิทยา
- เพื่อยุติการตั้งครรภ์ในกรณีที่การตั้งครรภ์นั้นผิดปกติหรือมีการแท้งบุตร
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
รู้จักมดลูก อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
มดลูก คือ ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ในเพศหญิง ประกอบขึ้นด้วยกล้ามเนื้อสามชั้นเรียงทับกัน มดลูกขนาดปกติจะยาวประมาณ 3 นิ้ว คล้ายลูกแพร์ ด้านในเป็นโพรงสามเหลี่ยม มีทางแยกเล็กๆ แตกออกเป็นสามช่อง คือ ด้านล่างออกออกไปช่องคลอด อีกสองทางด้านบน แยกไปไปปีกมดลูกซ้าย-ขวา
3 โรคที่มักเกิดขึ้นในมดลูก
1. ซีสต์ในมดลูก
เป็นถุงน้ำที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ เมื่อมีประจำเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีเลือดซึมออกมาสะสมในถุงน้ำจนข้นและมีสีคล้ายช็อกโกแลต บางครั้งจึงเรียกกันว่าช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)
2. เนื้องอกในมดลูก
เป็นก้อนเนื้อที่เจริญเติบโตในร่างกายมากกว่าปกติ แต่ไม่ใช่มะเร็ง เกิดได้ที่ผิวด้านนอกผนังมดลูก อยู่ในเนื้อมดลูก หรืออยู่ในโพรงมดลูก เนื้องอกในมดลูกมักเกิดกับผู้หญิงในช่วงวัย 25-30 ปี
3. มะเร็งปากมดลูก
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) มักมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกับผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์หรือแต่งงานแล้ว
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
การขูดมดลูก มีจุดประสงค์ได้ทั้งขูดเพื่อวินิจฉัยโรคและเพื่อการรักษาความผิดปกติของมดลูก ดังนี้
1. ขูดมดลูกเพื่อการวินิจฉัยโรค มักทำในผู้หญิงที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น มีภาวะเลือดออกจากโพรงมดลูก หรือมีความเสี่ยงที่เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ
แพทย์จะนำเนื้อเยื่อไปตรวจหาสาเหตุความผิดปตกิ อาจเป็นได้ทั้งโรคมะเร็งในเยื่อบุโพรงมดลูก ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ มีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกในโพรงมดลูก โดยมากแล้วแบ่งเป็นสองกรณี คือ
- ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีเลือดออกทางช่องคลอดมาก หรือออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบประจำเดือน หรือเลือดออกไม่เป็นรอบตามปกติ
- ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนไปแล้ว แต่มีเลือดออกจากช่องคลอดอีก
2. ขูดมดลูกเพื่อการรักษา โรคหรืออาการผิดปกติ เช่น
- รักษาเนื้องอกที่รกในครรภ์
- รักษาการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
- ยุติการตั้งครรภ์ (จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดข้อกฎหมายและข้อกำหนดเรื่องอายุครรภ์ก่อนทำ เพื่อรับบริการทางการแพทย์อย่างปลอดภัย)
- เพื่อเอาชิ้นเนื้อที่ยังเหลือจากการแท้งบุตรออกมา ทั้งจากการแท้งไม่ครบ (แท้งแต่ยังมีรกหรือชิ้นส่วนของทารกหลงเหลือในมดลูก) หรือการแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (อายุครรภ์น้อยกว่า 22 สัปดาห์ แล้วมีเลือดออกจากโพรงมดลูก และปากมดลูกเปิด)
- รักษาอาการตกเลือดเนื่องจากการแท้งบุตร
- รักษาอาการตกเลือดหลังคลอดบุตรตามปกติ ที่เกิดจากการมีชิ้นเนื้อรกบางส่วนตกค้างในโพรงมดลูก
- รักษาอาการเลือดออกผิดปกติอย่างรุนแรงจากช่องคลอด และไม่สามารถหยุดเลือดได้จากการใช้ยา ในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 40 ปี
รู้จักการผ่าตัดนี้
การขูดมดลูก (Dilation And Curettage: D&C) แพทย์จะใช้เครื่องมือ Curettes ขูดเยื่อบุที่อยู่ข้างในโพรงมดลูกออกมาเพื่อวินิจฉัยหรือรักษาความผิดปกติ โดยอาจมีการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy) ก่อนทำการรักษา
ขั้นตอนการขูดมดลูก
- แพทย์พิจารณาเลือกวิธีระงับปวดหรือยาสลบตามความเหมาะสม
- แพทย์ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วตรวจภายในเพื่อประเมินขนาดและตำแหน่งของมดลูก
- แพทย์ตรวจถ่างช่องคลอดด้วย Bivalve Speculum หรือใช้ ทีนาคูลัม (Tenaculum) จับปากมดลูก จากนั้นใช้ยูเทอรีน ซาวด์ (Uterine Sound) เพื่อวัดความยาวของโพรงมดลูก
- แพทย์จะประเมินรูปากมดลูกของคนไข้ ถ้ามีขนาดเล็กต้องทำการถ่างขยายปากมดลูกด้วย Hegar Dilator
- จากนั้นแพทย์จะใช้ Curettes ที่มีลักษณะคล้ายช้อนเพื่อขูดเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกออกทั้งหมด
- ถ้ายังเหลือเนื้อเยื่อค้างในโพรงมดลูก แพทย์จะขูดมดลูกด้วย Sharp Curette หรือใช้ Ring Forceps ใส่เข้าไปคีบเอาเนื้อเยื่อในโพรงมดลูกออกมา และอาจตรวจ Ultrasound ซ้ำ เพื่อความแน่ใจ จากนั้นจึงเอาเครื่องมือออก
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ขูดมดลูก (Dilatation and Curettage)
- แพทย์ใช้วัดความยาวของโพรงมดลูก และขยายปากมดลูก จากนั้นใช้ Curettes ขูดเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกออกทั้งหมด
ขูดมดลูกแบบแยกส่วน (Fractional curettage)
- มีขั้นตอนทั่วไปเหมือนการถ่างขยายปากมดลูกร่วมกับการขูดมดลูก
- แตกต่างกันที่แพทย์จะทำการขูดเยื่อบุภายในคอของปากมดลูก ก่อนที่จะทำการวัดระยะความยาวของโพรงมดลูก
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนขูดมดลูก แพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- งดอาหารและน้ำ 8 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง ทำให้ไม่เกิดการสำลักอาหารและน้ำออกมาในกรณีที่ดมยาสลบ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อลดความเครียดและวิตกกังวล
- งดแต่งหน้า ทาปาก และทาเล็บ เพื่อความสะอาดและความสะดวกของแพทย์ จะได้ดูการไหลเวียนของเลือดง่ายขึ้น และดูสีของเล็บว่ามีเลือดคั่งหรือไม่
- งดการใส่เครื่องประดับทุกชนิด หรือนำสิ่งของมีค่าติดตัวมา รวมถึงให้ถอดคอนแทคเลนส์ออก หากมีการใส่ฟันปลอมก็ต้องถอดออกด้วย
- ก่อนการขูดมดลูก แพทย์จะตรวจความพร้อมของร่างกาย โดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ วัดความดัน และรายการอื่นๆ ที่จำเป็น
- แพทย์อาจสั่งให้งดยาบางชนิดตามการวินิจฉัย เช่น ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด แอสไพริน สมุนไพรหรืออาหารเสริมที่อาจจะทำให้เกิดเลือดออกมากขึ้น
- ควรเตรียมผ้าอนามัยไปด้วย สำหรับไว้ใช้หลังจากการขูดมดลูกเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่อาจยังมีเลือดออก
- พาญาติมาด้วย เพื่อช่วยพากลับบ้าน และอาจต้องอยู่เฝ้าอาการในกรณีหากต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากการขูดมดลูก และแพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้
- หลังการผ่าตัดควรนอนให้เพียงพออย่างน้อย 1-2 วัน
- คอยเปลี่ยนผ้าอนามัยสม่ำเสมอ
- รักษาความสะอาดร่างกาย รวมจุดซ่อนเร้น โดยจะเช็ดตัวหรืออาบน้ำก็ได้ แต่ไม่ควรสวนล้างทำความสะอาด
- งดการแช่น้ำอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เช่น แช่ในอ่าง ว่ายน้ำ
- งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อที่จะทำให้แผลข้างในช่องคลอดหายได้เร็ว
- หากยังมีเลือดออกมากจนชุ่มผ้าอนามัย 1 แผ่น ตั้งแต่ 30 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง ให้พบแพทย์ทันที
- กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- หากพบอาการผิดปกติบริเวณช่องคลอด ปวดท้องรุนแรง มีไข้ หนาวสั่น มีตกขาวหรือมีกลิ่น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- ไม่ควรทำกิจกรรมหรือทำงานที่ต้องออกแรงอย่างหนัก โดยให้เริ่มจากสิ่งที่ไม่ต้องใช้แรงแล้วค่อยเพิ่มการออกแรงให้มากขึ้น
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้หลังขูดมดลูก ที่ไม่เป็นอันตราย ได้แก่ ประจำเดือนรอบถัดไปมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ ซึ่งมาจากการที่มดลูกสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ เป็นตะคริวอย่างอ่อนๆ มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเล็กน้อย ส่วนความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงอันตรายที่เกิดภายในไม่กี่วันหลังขูดมดลูก ตามปกติแล้วเกิดขึ้นได้น้อยมาก เช่น การติดเชื้อ สังเกตได้จากอาการต่อไปนี้
- มีไข้ขึ้นสูง
- มีอาการเจ็บปวดที่ท้องน้อยเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องเกิน 48 ชั่วโมง
- มีเลือดไหลจากช่องคลอดปริมาณมาก
- มีของเหลวที่มีกลิ่นเหม็นไหลออกจากช่องคลอด
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวหลังขูดมดลูก แต่เกิดได้น้อยมาก ได้แก่ การเกิดพังพืดภายในโพรงมดลูก ซึ่งอาจทำให้ไม่มีประจำเดือน หรือไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หรือหากตั้งครรภ์ อาจมีการฝังตัวของรกที่ลึกเข้าไปในผนังมดลูกหรืออาจจะทะลุออกนอกมดลูก
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พญ. ศันสนีย์ อังสถาพร (หมอแซน)
คุณหมอสูตินรีเวชผู้หญิง เชี่ยวชาญด้านอวัยวะและมะเร็งของผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต
- วุฒิบัตร สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- วุฒิบัตร อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางสาขานรีเวชและมะเร็งนรีเวช
- สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการการผ่าตัดเปิดหน้าท้องในด้านนรีเวช เช่น ก้อนเนื้องอกมดลูก, มดลูก, ท่อนำไข่, ก้อนเนื้อรังไข่, ถุงน้ำรังไข่
- ประสบการณ์สูตินรีเเพทย์มา 4 ปี, มะเร็งนรีเวช 2 ปี จากนั้น ปฏิบัติงานในรพ.รัฐขนาดใหญ่ 1ปี
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
คุณหมอสูตินรีเวช ปริญญาเอกและเกียรตินิยมอันดับ 1 ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับผู้ที่มีบุตรยากหรือมีปัญหาสุขภาพผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา