ผ่าตัดรักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ตรวจฟินเคิลสไตน์ (Finkelstein Test) ใช้ตรวจว่าปลอกหุ้มเอ็นอักเสบหรือไม่
- กำมือ
- สอดนิ้วโป้งเข้าไปตรงกลางฝ่ามือ
- เอียงข้อมือลงไปฝั่งนิ้วก้อย
ถ้าทำแล้วมีอาการเจ็บ ปวด หรือทำลำบาก อาจเป็นโรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ
อาการปวดเล็กๆ น้อยๆ รบกวนชีวิตประจำวันรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด
ปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นอักเสบเป็นผ่าตัดเล็ก
- การผ่าตัดจะขยายปลอกเอ็นเพื่อลดการกดทับและเสียดสีลง
- ฉีดยาชาเฉพาะที่
- ใช้เวลาเพียง 10-15 นาที
- ทำเสร็จแล้วกลับบ้านได้ทันที
ปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
คำถามที่พบบ่อย
วิธีรักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ มีอะไรบ้าง?
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ สามารถรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำกายภาพบำบัด การรับประทานยาแก้อักเสบ การฉีดยาสเตียรอยด์ และการผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบสามารถหายได้เองไหม?
ในกรณีที่อยู่ในระยะเริ่มต้น การพักงานใช้งานข้อมือ ร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากยังมีการกระตุ้นอยู่เรื่อยๆ ใช้ข้อมือในท่าที่ไม่เหมาะสมซ้ำๆ อาการปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบอาจรุนแรงมากขึ้น จนทำให้ขยับข้อมือลำบาก มีอาการปวดข้อมือ นิ้วล็อก ปวดร้าว หรืออาการชาได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะดีกว่า
ฉีดยาสเตียรอยด์แล้วอาการไม่ดีขึ้น ต้องทำอย่างไร?
ในกรณีที่รักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์ครบ 2 ครั้งแล้วอาการไม่ดีขึ้น นั่นแสดงว่าความรุนแรงของโรคเกินกว่าที่จะรักษาด้วยยาได้แล้ว จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบแทน
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ?
ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ได้แก่ คนที่ต้องใช้งานข้อมือเป็นประจำ เช่น พนักงานออฟฟิศ นักกีฬา แม่บ้าน คนส่งของ ผู้หญิงจะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเบาหวาน และโรคเกาต์
รู้จักโรคนี้
โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ คืออะไร?
โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ หรือที่เรียกว่า “โรคเดอกาแวง” (de Quervain’s Stenosing Tenosynovitis) คือ อาการเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อมือเกิดการอักเสบเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้งานข้อมือด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือใช้งานหนักจนเส้นเอ็นข้อมือบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือเสียดสีกับปลอกหุ้มเส้นเอ็นบ่อยๆ และทำให้เกิดการอักเสบ
ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบได้ เช่น การตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน โรคเกาต์ การประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อมือ หรือภาวะอักเสบในร่างกายอย่างข้ออักเสบรูมาตอยด์
ตรวจวินิจัยฉัยโรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบได้อย่างไร
แพทย์จะใช้วิธีตรวจที่มีชื่อว่า “ตรวจฟินเคิลสไตน์” (Finkelstein Test) โดยให้ผู้เข้ารับการรักษากำมือโดยสอดนิ้วโป้งเข้าไปตรงกลางฝ่ามือ และเอียงข้อมือลงไปฝั่งนิ้วก้อย
ถ้าทำแล้วมีอาการเจ็บ ปวด หรือทำลำบาก อาจแสดงว่าเป็นโรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
- รู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ หรือเวลาที่หยิบจับสิ่งของ
- ขยับข้อมือ นิ้วมือ ลำบาก
- มีอาการอักเสบของเส้นเอ็น โดยจะบวม แดง ร้อน บริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
- มีอาการปวดร้าวลงไปปลายนิ้ว หรือขึ้นมาถึงข้อศอก
- มีอาการชาที่นิ้วหัวแม่มือและโคนนิ้วหัวแม่มือ
- คลำเจอก้อนบริเวณข้อมือฝั่งนิ้วหัวแม่มือ
- รู้สึกปวดเมื่อกดบริเวณใต้รอยต่อข้อมือ
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
แพทย์จะใช้วิธีตรวจที่มีชื่อว่า “ตรวจฟินเคิลสไตน์” (Finkelstein Test)
- กำมือ
- สอดนิ้วโป้งเข้าไปตรงกลางฝ่ามือ
- เอียงข้อมือลงไปฝั่งนิ้วก้อย
ถ้าทำแล้วมีอาการเจ็บ ปวด หรือทำลำบาก อาจเป็นโรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- กินยา และพักการใช้มือ
- ใส่สนับข้อมือที่คลุมล็อคนิ้วหัวแม่มือ
- ฉีดยาเสตียรอยด์
- ผ่าตัด
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain's Release) เป็นการผ่าตัดขยายปลอกเอ็นเพื่อลดการกดทับและเสียดสีลง โดยแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วใช้มีดเปิดแผลแยกเยื่อหุ้มเอ็นที่บีบรัดเส้นเอ็นอยู่ให้แยกจากกัน จากนั้นจะปิดแผล และพันมือผู้เข้ารับการรักษาด้วยผ้าพันยางยืด
ขั้นตอนการผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ
- แพทย์ระงับความรู้สึกด้วยยาชาเฉพาะจุด
- เปิดแผลแยกเยื่อหุ้มเอ็นที่บีบรัดเส้นเอ็นให้แยกจากนั้น
- ปิดแผล
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
แนะนำให้ผู้ที่ต้องเข้ารับปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ เตรียมตัวดังนี้
- แจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีโรคประจำตัว หรือกำลังรับประทานยารักษาโรค วิตามิน หรืออาหารเสริมใดๆ อยู่
- หากต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตสูง สามารถรับประทานในวันผ่าตัดได้ตามปกติ แต่ให้จิบน้ำเล็กน้อย ไม่เกิน 30 cc
- งดรับประทานน้ำและอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพราะแพทย์อาจเลือกระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบแทนได้
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย โดยแนะนำให้ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ ดังนี้
- ระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดเปียกน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้
- รับประทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่งให้ครบ เพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อ
- ในกรณีที่มีเลือดซึมออกมาจากผ้าพันแผล ให้ไปทำแผลที่โรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านทันที
- เริ่มทำแผลในวันที่สองหลังผ่าตัด โดยทำวันละครั้ง และทำจนกว่าจะตัดไหม
- เข้ารับการตัดไหมตามที่แพทย์นัดหมาย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 7-10 วันหลังผ่าตัด
- หมั่นบริหารมือโดยการกำและเหยียดนิ้วมือบ่อยๆ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการทำหัตถการ เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- หลังจากที่พักฟื้นจนหายดี อาจมีอาการปวดข้อมืออยู่ ซึ่งเกิดจากการผ่าตัดปลอกหุ้มเอ็นไม่หมด เนื่องจากบริเวณนี้จะมีปลอกหุ้มเอ็นหลายอัน
- มีอาการปวดและมีเสียงคลิกเวลาขยับนิ้วโป้ง เกิดจากเส้นเอ็นเคลื่อนหลุดจากการผ่าตัดผิดวิธี
สาขาออร์โธปิดิกส์
พ.ต.ต.นพ. วรพล เจริญพร (หมอพั้นช์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2560 แพทย์ประจำบ้านออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2561 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยามหิดล
- 2565 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดการผ่าตัดระยางค์ส่วนบน Massachusetts General Hospital, Harvard Medical School (USA)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิกทางจุลศัลยกรรม Osaka Hospital (Japan)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิคด้านการผ่าตัดส่องกล้อง Sanno Hospital (Japan)
- ปัจจุบัน กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม
-ชำนาญการพิเศษด้านการผ่าตัดส่องกล้องและการผ่าตัดแผลเล็กรักษาข้อและกระดูก
-กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
-ชำนาญด้านการผ่าตัดอาการมือชาจากพังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือเเละข้อศอก ผ่าตัดนิ้วล็อค ผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอกาเเวง) ผ่าตัดโรคข้อศอกเทนนิส ผ่าตัดรักษาโรคข้อเสื่อม
-ประสบการณ์ผ่าตัดและดูแลคนไข้จากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
สาขาออร์โธปิดิกส์