ผ่าตัดถุงน้ำหรือซีสต์รังไข่
ถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์รังไข่ มี 3 ประเภทคือช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst), Dermoid Cyst และ Functional Cyst
รีบรักษาป้องกันความเสี่ยงมีลูกยาก ลุกลามเป็นมะเร็ง หรือต้องตัดมดลูกออก ทำให้มีลูกไม่ได้
ผ่าตัดแบบเปิด รักษาถุงน้ำได้ทุกขนาด
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
เช็กก่อน เป็นถุงน้ำรังไข่รึเปล่านะ?
- ปวดท้องน้อยหรือปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น มาไม่ตรง ไม่มา หรือมามากไป
- ท้องใหญ่ขึ้น ถึงจะกินเท่าเดิม
- คลำเจอก้อนที่หน้าท้อง
- หรือบางคนอาจจะไม่มีอาการเลย
ทีม HDcare เลยอยากจะแนะนำให้คุณตรวจภายในเป็นประจำทุกปี รวมถึงอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ (TVS) ด้วย ยิ่งเจอเร็ว ยิ่งไม่รุนแรง และอาจรักษาได้โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด เช็กโปรตอนนี้ที่นี่ [คลิกเลย]
มีถุงน้ำรังไข่ ก็ยังมีลูกได้
- ถ้ามีถุงน้ำรังไข่ อาจจะทำให้มีบุตรยากหรือมีความเสี่ยงมีเกิดความผิดปกติระหว่างท้อง เช่น ตั้งครรภ์นอกมดลูก คุณจึงควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาทางให้คุณมีโอกาสท้องได้อย่างปลอดภัยทั้งคุณแม่และคุณลูกให้ได้มากที่สุด
- ถ้าเป็นถุงน้ำแบบที่ไม่รุนแรงมาก คุณหมอสามารถผ่าตัดเอาถุงน้ำรังไข่ออกอย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องผ่าตัดเอามดลูกออก ทำให้คุณยังมีลูกได้
- ถ้าถุงน้ำมีขนาดใหญ่ รุนแรง โตเร็ว หรือถ้าคุณไม่ได้ต้องการมีลูกแล้ว คุณหมอ**อาจพิจารณาผ่าตัดมดลูกออกด้วย **
ถุงน้ำรังไข่ ยิ่งรีบรักษา ยิ่งมีหวังสร้างครอบครัว ทักแอดมินเพื่อทำนัดปรึกษาคุณหมอของ HDcare ได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย
มีถุงน้ำรังไข่ ไม่ผ่าตัดได้ไหม?
- แล้วแต่ประเภท ขนาด และความรุนแรงของถุงน้ำ
- ถ้าเป็นถุงน้ำธรรมดา (Functional Cyst) ปกติยุบเองได้ ไม่ต้องรักษา แต่อาจทำให้ปวดท้อง
- ถ้าเป็นถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) และช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst หรือ Endometrioma) มักจะไม่ยุบเอง
- ถุงน้ำทั้ง 3 แบบ ถ้าแตกหรือบิดขั้ว อาจทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรงและมีเลือดออกภายใน มีโอกาสติดเชื้อและเสียชีวิตได้
- ถ้าทิ้งไว้ไม่รักษา ถุงน้ำอาจกลายเป็นเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้
ผ่าตัดรังไข่แบบส่องกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย
- ถ้าคุณต้องผ่าตัด ตอนนี้วิธีการผ่าตัดที่นิยมที่สุด คือการผ่าตัดรังไข่แบบส่องกล้อง แผลเล็กแค่ 0.5-1 ซม. ประมาณ 3-4 จุด เจ็บน้อย พักฟื้นไม่นาน [ดูรายละเอียด]
- ถ้าทิ้งไว้ไม่รีบรักษาจนเนื้องอกใหญ่กว่า 15 ซม. อาจจะต้องผ่าตัดรังไข่แบบเปิดหน้าท้อง มีแผลยาว 10-15 ซม. เพราะว่าแผลใหญ่กว่า เสียเลือดมากกว่า เจ็บมากกว่า ต้องพักฟื้นนานกว่า และมีโอกาสแผลติดเชื้อมากกว่า
รู้จักโรคนี้
“ภาวะถุงน้ำที่รังไข่” ภัยเงียบที่ผู้หญิงต้องระวัง
ภาวะถุงน้ำที่รังไข่ (Ovarian Cyst) หรือที่คุ้นหูกันดีในชื่อ “ซีสต์รังไข่” คือ ภาวะที่มีถุงน้ำเกิดขึ้นภายในรังไข่ หรือบริเวณรอบรังไข่ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การทำงานผิดปกติของรังไข่ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงที่มีประจำเดือน หรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
ถุงน้ำที่รังไข่เป็นหนึ่งในอาการทางสูตินรีเวชที่พบบ่อยในผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์
ชนิดของถุงน้ำที่รังไข่
ถุงน้ำที่รังไข่ มีทั้งชนิดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย สามารถฝ่อได้เอง และชนิดที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และอาจจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่ออก โดยชนิดของถุงน้ำที่รังไข่ที่พบบ่อยมีดังนี้
1. ถุงน้ำที่เกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง (Functional cyst)
เป็นถุงน้ำที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่ เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธ์ุของเพศหญิง มักเกิดขึ้นพร้อมกับรอบเดือน จากนั้นจะค่อยๆ ยุบตัวและฝ่อลงไปโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
2. ถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst)
เป็นถุงน้ำที่รังไข่ที่จัดอยู่ในเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง และไม่ใช่ชนิดเดียวกับมะเร็ง เกิดจากการที่เซลล์มีการแบ่งตัวผิดปกติ
ภายในถุงน้ำมักตรวจพบน้ำ ไขมัน เส้นผม กระดูก หรือฟันอยู่ด้วย สามารถตรวจพบได้ด้วยการเอกซเรย์ หรือตรวจอัลตราซาวด์
3. ถุงน้ำที่มีลักษณะคล้ายเนื้องอก (Endometrioma)
เป็นถุงน้ำที่เกิดจากการที่เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่บริเวณรังไข่จนทำให้เกิดการอักเสบ และกลายเป็นถุงน้ำที่มีของเหลวภายในคล้ายเลือดเก่า สีข้นคล้ายช็อกโกแลต ทำให้มีอีกชื่อเรียกว่า “ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)”
สัญญาณที่ต้องตรวจ
อาการของโรคขึ้นกับชนิดของถุงน้ำ บางคนอาจไม่มีอาการ หรืออาจมีอาการเล็กน้อย ดังนี้
- คลำเจอก้อนที่หน้าท้อง
- ปวดหน่วงที่ท้องน้อย
- ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มากะปริดกะปรอย หรือมามากผิดปกติ
- ท้องอืด แน่นท้อง
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดจากมีถุงน้ำรังไข่แตก หรือมีการบิดของถุงน้ำ หากเป็นในกรณีนี้ควรรีบพบแพทย์
อาการที่เกิดจากการก้อนถุงน้ำกดเบียดอวัยวะอื่น
- เบื่ออาหาร อิ่มเร็ว
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องบวม แน่นท้อง คลำก้อนได้
- ปัสสาวะบ่อย ท้องเสียหรือท้องผูกเรื้อรัง
**อาการจากภาวะอื่นๆ ที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อน **เช่น
- **ภาวะที่มีการบิดขั้วของรังไข่ **และตัดการไหลเวียนของเลือดไปยังรังไข่ เนื้อเยื่อตายและ/หรือมีเลือดออก ทำให้มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
- ภาวะถุงน้ำหรือก้อนรังไข่แตก อาจทำให้มีเลือดออกภายในช่องท้อง เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง หรือช็อค (อ่อนแรง เวียนศีรษะ มือ เท้า และตัวเย็น) ความเสี่ยงที่ถุงน้ำในรังไข่แตกจะสูงขึ้นถ้าก้อนขนาดใหญ่ขึ้น มีการกระแทกบริเวณท้องน้อย หรือออกกำลังหนัก
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติการมีประจำเดือน และความผิดปกติอื่นๆ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยง
- ในคนที่มีอาการ แพทย์จะซักรายละเอียดของอาการ เช่น ระยะเวลาที่เริ่มเป็น ความรุนแรง ความสัมพันธ์กับประจำเดือน สิ่งที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น กิจกรรม ท่าทาง หรือยา
- ในเด็กหรือคนที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แพทย์จะตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ที่ท้องน้อย โดยให้กลั้นปัสสาวะถึงจะเห็นมดลูกและรังไข่ได้ชัดเจน บางคนอาจจำเป็นต้องตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ
ถ้าสงสัยว่ามีถุงน้ำในรังไข่ หรือซีสต์ในรังไข่ แพทย์จะตรวจประเมินลักษณะของก้อน
- ตรวจอัลตราซาวด์
- ตรวจ CT Scan หรือ MRI เพื่อประเมินตำแหน่ง ขนาดและลักษณะของถุงน้ำว่ามีส่วนประกอบของก้อนเนื้อหรือของเหลว/เนื้อตายที่อาจบ่งชี้ภาวะความเป็นมะเร็งของก้อน มดลูกและสิ่งผิดปกติอื่น ในอุ้งเชิงกราน
- ตรวจการตั้งครรภ์
- ตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- ถ้าซีสต์หรือถุงน้ำในรังไข่มีขนาดเล็ก แพทย์จะให้เฝ้าสังเกตอาการและตรวจติดตามเป็นระยะๆ
- ถ้าอาการไม่รุนแรง แพทย์จะใช้ยาปรับประจำเดือนหรือยาปรับฮอร์โมน และติดตามอย่างใกล้ชิด
- ถ้าใช้ยาแล้วไม่ได้ผล หรือมีอาการรุนแรง หรือแพทย์ประเมินว่ารักษาด้วยยาไม่ได้ จะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ออก
การผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่มี 2 วิธี คือ การผ่าตัดเปิดหน้าท้องหรือการผ่าตัดแบบดั้งเดิม และการผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่โดยการส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ถุงน้ำรังไข่มีขนาดใหญ่ขึ้น โตเร็ว หรือมีอาการมากในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ยังมีประจำเดือน โดยเฉพาะถ้าระบุไม่ได้ว่าเป็น Functional Cysts หรือเนื้องอก
- ถุงน้ำรังไข่คงอยู่หรือโตขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน
- ถุงน้ำรังไข่ที่เกิดจากความผิดปกติอื่นที่ไม่ใช่เนื้องอก แต่มีขนาดใหญ่และ/หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
- เป็นเนื้องอกของรังไข่ ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือเนื้องอกชนิดร้าย (มะเร็ง) จำเป็นต้องผ่าตัดรักษาเอาก้อนออก
รู้จักการผ่าตัดนี้
**การผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่แบบเปิด **หรือภาษาอังกฤษ Open Ovarian Cystectomy คือ การผ่าตัดเลาะเอาถุงน้ำที่รังไข่ออกข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ซึ่งจะมีทั้งการผ่าตัดเอาถุงน้ำที่รังไข่ออกอย่างเดียว หรือผ่าตัดนำรังไข่ หรือตัดมดลูกออกไปด้วย ขึ้นกับอายุผู้ป่วย ชนิดและขนาดของถุงน้ำ รวมถึงความจำเป็นที่จะมีบุตรในอนาคต
ข้อดีของการผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่ (แบบเปิด)
- ผ่าตัดถุงน้ำได้ทุกขนาด
- มองเห็นความผิดปกติของอวัยวะข้างเคียงได้ชัดเจน
ขั้นตอนการผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่ (แบบเปิด)
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลที่หน้าท้องประมาณ 12-20 ซม. แล้วตัดถุงน้ำที่รังไข่ออก
- หลังจากที่ผ่าตัดเสร็จแล้ว แพทย์จะทำการเย็บแผลให้เรียบร้อย และให้ไปนอนสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้นต่อประมาณ 1-2 ชั่วโมง ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนก็จะส่งผู้เข้ารับการผ่าตัดกลับไปพักต่อที่หอผู้ป่วย
- ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องใส่สายสวนปัสสาวะอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด โดยจะใส่นานแค่ไหน ขึ้นกับชนิดของการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างผ่าตัด
การผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่ (แบบเปิด) ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่?
การผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่แพทย์จะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดถุงน้ำหรือซีสต์รังไข่ (แบบส่องกล้อง)
- แผลเล็ก 0.5-1 ซม. 1-4 จุด
- เจ็บน้อยกว่าแบบเปิด
- หลังผ่าตัด 1 วัน ลุกเดินได้เลย พักฟื้นที่รพ. 2 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ ก็กลับไปทำงาน และใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ผ่าตัดถุงน้ำหรือซีสต์รังไข่ (แบบเปิดหน้าท้อง)
- แผลที่หน้าท้องประมาณ 12-20 ซม.
- แผลมีขนาดใหญ่ โอกาสการติดเชื้อสูง
- หลังผ่าตัดต้องพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 3 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1-2 สัปดาห์
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่แบบเปิด ต้องพักฟื้นกี่วัน?
หลังผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่แบบเปิด แพทย์แนะนำให้นอนพักฟื้นที่ รพ. 1-3 วัน และพักฟื้นที่บ้านต่ออีกประมาณ 1-2 สัปดาห์
** หลังผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่แบบเปิด แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้**
- ทำความสะอาดแผล กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- งดการว่ายน้ำ แช่อ่างอาบน้ำ ออกกำลังกายหนัก ยกสิ่งของหนัก และขับรถ อย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือจนกว่าที่แพทย์สั่ง
- งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหายดี ประมาณ 6-8 สัปดาห์ หรือตามแพทย์สั่ง
- เปลี่ยนอิริยาบถช้าๆ และลุกเดินบ่อยๆ เพื่อลดโอกาสการเกิดพังผืดในช่องท้องจากแผลผ่าตัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่อาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาระงับความรู้สึก เช่น อาการคันตามตัว คันตามใบหน้า คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องอืด โดยอาการจะเป็นมากในวันแรก หลังจากนั้นอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเองจนหายกลับมาเป็นปกติ
- หลังผ่าตัดเสี่ยงเกิดอาการท้องผูก หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่าย ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และเน้นกินอาหารที่มีเส้นใยสูง
- หลังผ่าตัดอาจมีเลือดออกจางๆ ในช่วงเดือนแรก ถ้ามีเลือดออกมากเหมือนประจำเดือน หรือตกขาวที่มีกลิ่นเหม็นต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
- หากมีอาการแผลอักเสบ บวมแดง ไข้สูง มีเลือดออกจำนวนมาก หรือหนองออกจากช่องคลอด ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงวันนัดหมาย
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พญ. ศันสนีย์ อังสถาพร (หมอแซน)
คุณหมอสูตินรีเวชผู้หญิง เชี่ยวชาญด้านอวัยวะและมะเร็งของผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต
- วุฒิบัตร สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- วุฒิบัตร อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางสาขานรีเวชและมะเร็งนรีเวช
- สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการการผ่าตัดเปิดหน้าท้องในด้านนรีเวช เช่น ก้อนเนื้องอกมดลูก, มดลูก, ท่อนำไข่, ก้อนเนื้อรังไข่, ถุงน้ำรังไข่
- ประสบการณ์สูตินรีเเพทย์มา 4 ปี, มะเร็งนรีเวช 2 ปี จากนั้น ปฏิบัติงานในรพ.รัฐขนาดใหญ่ 1ปี
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
คุณหมอสูตินรีเวช ปริญญาเอกและเกียรตินิยมอันดับ 1 ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับผู้ที่มีบุตรยากหรือมีปัญหาสุขภาพผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.นพ. เกรียงศักดิ์ ศิริศักดิ์พาณิชย์ (หมอเล็ก)
หมอสูตินรีเวช เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดส่องกล้อง
ข้อมูลของแพทย์
- 2534 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- 2540 สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ นครสวรรค์
- 2541 สูติศาสตร์ นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- 2556 Certificate of Urogynecology Department of Obstetrics and Gynecology, Chang Gung Memorial Hospital (Taiwan)
- 2557 Certificate of International Fellowship Program in the Department of Urogynecology, Kameda Medical Center (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดส่องกล้อง
- โรคและหัตถการที่ชำนาญ สูตินรีเวชทั่วไป, โรคนรีเวชทางเดินปัสสาวะ, กระบังลมหย่อน (มดลูกหย่อน), การควบคุมปัสสาวะผิดปกติ, ปัสสาวะเล็ด, ผ่าตัดโรคกระบังลมหย่อน, ผ่านทางหน้าท้องด้วยวิธีส่องกล้อง, ผ่าตัดรักษาโรคกระบังลมหย่อนทางช่องคลอดโดยการใช้ตาข่ายช่วยยึด, ผ่าตัดโรคปัสสาวะเล็ดโดยการใช้ตาข่ายยกท่อปัสสาวะ
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา