ผ่าตัดนิ้วล็อค
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
อาการแบบไหนคือนิ้วล็อค?
- โคนนิ้วปวดบวมตึง ข้อต่อนิ้วติดขัดในขณะเหยียดหรืองอ
- เป็นบ่อยช่วงตื่นนอนตอนเช้าหรือตอนที่ใช้งานมือหนักต่อเนื่อง
- ถ้าข้อต่อบริเวณนิ้วแข็ง ติดขัด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
เช็กอาการนิ้วล็อคด้วยตัวเอง [ดูวิดีโอที่นี่]
อาการนิ้วล็อคทั้ง 4 ระยะ
ระยะที่ 1 : ปวดตึงและงอนิ้วสะดุดเป็นบางครั้ง กดโคนนิ้วทางด้านหน้าแล้วเจ็บ ยังงอเหยียดนิ้วมือได้เต็มที่
ระยะที่ 2 : เวลาขยับนิ้ว งอ หรือเหยียดจะมีสะดุดจนรู้สึกได้ และปวดมากขึ้น
ระยะที่ 3 : นิ้วมือล็อค เหยียดออกไม่ได้ ต้องใช้มืออีกข้างช่วยง้างออก
ระยะที่ 4 : มีอาการบวม อักเสบ นิ้วมือบวมจะอยู่ในท่างอ ไม่สามารถเหยียดตรงได้ ปวดมากเมื่อพยายามใช้มืออีกข้างช่วยให้เหยียดตรง
อย่าปล่อยให้เรื้อรัง รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ตรวจและรักษานิ้วล็อคง่ายๆ ไม่ถึง 5 นาที [ดูวิดีโอที่นี่]
1. ผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเปิด
- เปิดแผล 1 ซม. แล้วตัดคลายปลอกหุ้มเอ็น ใช้เวลา 5-10 นาที วิธีนี้แพทย์มองเห็นจุดที่เป็นปัญหาชัดเจน ลดโอกาสเสี่ยงเส้นประสาทรอบๆ เสียหาย
2. ผ่าตัดนิ้วล็อกแบบเจาะผ่านผิวหนังหรือที่เรียกกันว่า แบบสะกิด - ใช้เครื่องมือพิเศษเจาะเข้าไปตัดปลอกหุ้มเอ็น แผลมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 2 มม. เหมาะกับคนที่ระบุจุดที่ปวดได้ชัดเจน
คำถามที่พบบ่อย
เมื่อมีอาการนิ้วล็อค สามารถรักษาแบบผ่าตัดเลยได้ไหม?
แนะนำให้เข้ามาให้แพทย์ตรวจประเมินอาการก่อน เนื่องจากนิ้วล็อคสามารถรักษาได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานยาลดอาการอักเสบ การทำกายภาพบำบัด หรือการฉีดยาสเตียรอยด์ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดก็ได้
หลังผ่าตัดนิ้วล็อค จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ไหม?
หลังผ่าตัดนิ้วล็อคแล้ว หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยังคงมีการใช้แรงงอนิ้วมากๆ หรือกำนิ้วแน่นมากๆ บ่อยๆ เป็นประจำ ก็จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้
ผ่าตัดนิ้วล็อค เบิกประกันได้ไหม?
ถ้าคุณมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว และต้องการผ่าตัดนิ้วล็อคกับ HDcare หลังจากชำระเงินค่าผ่าตัดเรียบร้อย (เลือกผ่อนจ่าย 0% สูงสุด 10 เดือนได้) คุณสามารถนำเอกสารจากโรงพยาบาลไปเบิกประกัน โดยจะเบิกได้เท่าไหร่ ครอบคลุมค่าผ่าตัดทั้งหมดหรือไม่ ต้องจ่ายอะไรเพิ่มบ้าง ขึ้นอยู่กับแผนประกันของคุณ สามารถทักพยาบาลที่ปรึกษาของเรา เพื่อให้ช่วยเช็กข้อมูลการเบิกประกันเบื้องต้นได้ ก่อนตัดสินใจผ่าตัด ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ จากนั้นเมื่อเข้าสู่กระบวนการผ่าตัดแล้ว ทาง HDcare ก็ยังจะคอยดูแลเรื่องเอกสารต่างๆ ของคุณต่อจนจบ สำหรับสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ เช่น ประกันสังคม บัตรทอง บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิข้าราชการ ยังไม่สามารถใช้กับการผ่าตัดจาก HDcare ได้
รู้จักโรคนี้
โรคนิ้วล็อค เกิดจากการอักเสบระหว่างปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ในการงอนิ้วบริเวณโคนนิ้วมือ ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น ส่งผลให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านไม่สะดวกจนเกิดอาการนิ้วมือล็อค สะดุดเวลางอนิ้ว หรือไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้
โรคนิ้วล็อค พบบ่อยในคนทำงาน เพราะพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบที่บริเวณปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นเป็นประจำ เช่น
- การใช้งานสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์มากเกินไป หรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เกิดอาการเกร็งที่นิ้วมือ
- การหิ้วของหนัก หรือออกแรงที่นิ้วมือเป็นประจำ
- การทำงานที่ต้องเกร็งนิ้วมือ หรืองอเหยียดนิ้วมือบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น แม่บ้าน คนสวน พนักงานออฟฟิศ คนทำอาหาร นักดนตรี ช่างฝีมือ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า แพทย์ หรือทันตแพทย์
โรคนิ้วล็อคมีโอกาสเกิดในผู้หญิง คนที่เป็นโรครูมาตอยด์ โรคเบาหวาน และโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ได้มากกว่าปกติด้วย
สัญญาณที่ต้องตรวจ
หากคุณเริ่มมีอาการนิ้วล็อค ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้มีอาการนิ้วล็อครุนแรง โดยความรุนแรงของอาการนิ้วล็อคจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 : มีอาการปวดตึงและงอสะดุดเป็นบางครั้ง กดเจ็บบริเวณข้อโคนนิ้วทางด้านหน้า ยังสามารถงอเหยียดนิ้วมือได้เต็มที่
- ระยะที่ 2 : เมื่อขยับนิ้ว งอ หรือเหยียดตรง จะมีอาการสะดุดจนรู้สึกได้ และมีอาการปวดที่เพิ่มมากขึ้น
- ระยะที่ 3 : มีอาการนิ้วมือล็อค ไม่สามารถเหยียดออกเองได้ ต้องใช้มืออีกข้างช่วยง้างออก
- ระยะที่ 4 : มีอาการบวม อักเสบ โดยนิ้วมือบวมจะอยู่ในท่างอ ไม่สามารถเหยียดตรงได้ และมีอาการปวดมากเมื่อพยายามใช้มืออีกข้างช่วยในการเหยียดตรง
อย่าปล่อยให้เรื้อรัง รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักการผ่าตัดนี้
ขั้นตอนการผ่าตัดนิ้วล็อค
- ทำความสะอาดฆ่าเชื้อบริเวณที่จะทำการผ่าตัด ระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชา
- เปิดแผลตามแนวปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่นิ้ว แล้วค่อยทำการตัดปลอกหุ้มเอ็น
- ระหว่างผ่าตัด คนไข้จะต้องงอและเหยียดนิ้วตามที่แพทย์สั่ง เพื่อดูว่ายังคงมีอาการนิ้วล็อคอยู่หรือไม่
- เมื่อไม่มีอาการนิ้วล็อคแล้ว แพทย์จะเย็บแผลและปิดด้วยผ้าพันแผลให้เรียบร้อย
การผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเจาะผ่านผิวหนังหรือแบบสะกิด สามารถผ่าตัดที่ห้องตรวจได้เลย ไม่จำเป็นต้องไปผ่าตัดในห้องผ่าตัด
การผ่าตัดนิ้วล็อคใช้ระยะเวลาเท่าไหร่?
การผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเปิดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 15-30 นาที
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเปิด (Open Trigger Finger Release Surgery)
- เป็นวิธีการผ่าตัดนิ้วล็อกแบบดั้งเดิม
- ฉีดยาชาที่ฝ่ามือของคนไข้ แล้วผ่าตามแนวปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่นิ้วให้เปิดกว้างและทำการตัดปลอกหุ้มเอ็น
- แผลมีขนาดประมาณ 1.5 ซม.
ผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเจาะผ่านผิวหนัง หรือแบบสะกิด Percutaneous Trigger Finger Knife)
- เป็นวิธีการผ่าตัดนิ้วล็อคแบบใหม่
- ใช้เครื่องมือพิเศษช่วยในการผ่าตัด มีดมีลักษณะปลายเล็กและมน ขนาดประมาณ 2 มม. เจาะผ่านผิวหนังเข้าไปตัดปลอกหุ้มเอ็นได้โดยตรง
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก ไม่ต้องเย็บแผล (ประมาณ 2 มม.)
- ระยะเวลาพักฟื้นน้อยกว่าแบบเปิด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การผ่าตัดนิ้วล็อคทั้งแบบเปิดและแบบเจาะผิวหนังไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือน้ำดื่ม คนไข้สามารถมาผ่าตัดนิ้วล็อคได้เลย
ถ้ามีโรคประจำตัว มีอาการแพ้ยา หรือกำลังกินยารักษาโรคประจำตัวอยู่ จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน คนไข้จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้
- ถ้าผ่าตัดแบบเปิด งดโดนน้ำและงดการใช้มือประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือจนกว่าแพทย์จะอนุญาต
- กินฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- งดการทำกิจกรรมที่สร้างภาระให้กับนิ้วมือ เช่น ยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนัก อย่างน้อย 3 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือจนกว่าที่แพทย์สั่ง
- ถ้าผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเปิด หากมีอาการบวม เขียว หรือชา ให้คลายผ้าพันแผลออก แล้วพันใหม่ให้หลวมกว่าเดิม และถ้าหากมีเลือดซึมมาก หรือมีเลือดซึมตลอดเวลา ให้รับไปพบแพทย์ทันที และจะต้องไปตัดไหมตามที่แพทย์นัดหมายด้วย
- หมั่นบริหารข้อมือและยืดกล้ามเนื้อแขน มือ นิ้วมือ ตามที่แพทย์แนะนำเป็นประจำทุกวัน
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผ่าตัดนิ้วล็อคอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- อาจเกิดรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติแผลเป็นคีลอยด์
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ อาการชาบริเวณที่ทำการผ่าตัด เส้นเอ็นฉีกขาด ภาวะเอ็นปูดจากการงอนิ้ว หรือกลับมามีอาการนิ้วล็อคซ้ำที่จุดเดิม
สาขาออร์โธปิดิกส์
พ.ต.ต.นพ. วรพล เจริญพร (หมอพั้นช์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2560 แพทย์ประจำบ้านออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2561 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยามหิดล
- 2565 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดการผ่าตัดระยางค์ส่วนบน Massachusetts General Hospital, Harvard Medical School (USA)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิกทางจุลศัลยกรรม Osaka Hospital (Japan)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิคด้านการผ่าตัดส่องกล้อง Sanno Hospital (Japan)
- ปัจจุบัน กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม
-ชำนาญการพิเศษด้านการผ่าตัดส่องกล้องและการผ่าตัดแผลเล็กรักษาข้อและกระดูก
-กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
-ชำนาญด้านการผ่าตัดอาการมือชาจากพังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือเเละข้อศอก ผ่าตัดนิ้วล็อค ผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอกาเเวง) ผ่าตัดโรคข้อศอกเทนนิส ผ่าตัดรักษาโรคข้อเสื่อม
-ประสบการณ์ผ่าตัดและดูแลคนไข้จากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. วัชระ มณีรัตน์โรจน์ (หมอแจ๊ค)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-2005: แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-2012: ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
-2017: ศัลยศาสตร์บูรณสภาพในข้อสะโพกและข้อเข่า, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
-ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม โดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดหรือคอมพิวเตอร์นำวิถี
-ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโดยใช้เทคนิคเข้าทางด้านหน้า ไม่ตัดกล้ามเนื้อ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและข้อเข่าเทียมโดยใช้เทคนิคแผลเล็กบาดเจ็บน้อย
-การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วนโดยใช้เทคนิคและข้อเทียมชนิดอ๊อกซฟอร์ด
-การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ และคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด
-การผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บและกระดูกหัก
สาขาออร์โธปิดิกส์