ผ่าตัดบายพาสหัวใจ เทคนิคหัวใจไม่หยุดเต้น (Off-Pump CABG)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ผ่าตัดบายพาสหัวใจ เทคนิคหัวใจไม่หยุดเต้น (Off-Pump CABG) ไม่ใช้ปอดและหัวใจเทียม (On-Pump CABG) เหมือนในอดีต
- เสียเลือดน้อยกว่า เพราะใช้ยาละลายลิ่มเลือดน้อยกว่าแบบหยุดหัวใจ และไม่ต้องให้เลือดเพิ่มระหว่างผ่าตัด
- ฟื้นตัวเร็วหลังผ่าตัด เพราะการใช้ปอดและหัวใจเทียมอาจทำให้เกิดการอักเสบทั่วร้างกาย
การผ่าตัดที่ซับซ้อน ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ผู้ชำนาญการของ HDcare วันนี้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- เจ็บเค้นที่อก เจ็บหนักๆ เหมือนมีอะไรมาทับหรือรัดที่กลางหน้าอก หรือใต้กระดูกกลางหน้าอก อาจเจ็บร้าวไปถึงคอ กราม ไหล่ และแขน 2 ข้าง โดยเฉพาะข้างซ้าย และเป็นมากตอนออกแรง ครั้งละประมาณ 2-3 นาที ถ้านั่งพักหรืออมยาขยายหลอดเลือดใต้ลิ้นอาการจะดีขึ้น
- เหนื่อยง่ายขณะออกแรงหรือออกกำลังกาย อาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันใน 1-2 สัปดาห์ หรือเป็นเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป
- หายใจหอบ เหนื่อย นอนราบไม่ได้ แน่นอึดอัด หายใจไม่เต็มปอด อาจเจ็บเค้นหน้าอกหรือไม่มีก็ได้
- หน้ามืดเวียนศีรษะ เป็นลม ร่วมกับแน่นหน้าอก เกิดขึ้นจากความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
- หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ เช่น ประวัติคนในครอบครัว ประวัติการสูบบุหรี่ การกินอาหาร การออกกำลังกาย โรคประจำตัว
- ตรวจเอกซเรย์ทรวงอก
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
- ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)
- ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
- ตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomographic Angiography)
- ตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด (Cardiac Enzyme Test)
- สวนหัวใจหรือฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization or Coronary Angiogram)
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย คุมอาหาร หลีกเลี่ยงความเครียด
- กินยา เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด ยาขยายหลอดเลือด ยาควบคุมการเต้นหัวใจ ยาลดไขมัน ยาควบคุมความดันโลหิต
- รักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวน เป็นการขยายหลอดเลือดด้วยการทำบอลลูนร่วมกับใส่ขดลวด (Stent) ค้ำยันผนังหลอดเลือด
- ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
รู้จักการผ่าตัดนี้
การทำบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) หรือเรียกอีกชื่อว่า “การผ่าตัดทำทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจ” เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหลอดหัวใจตีบ ด้วยการสร้างทางเบี่ยงเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจ แทนหลอดเลือดเดิม โดยใช้หลอดเลือดที่ย้ายมาจากส่วนอื่นของร่างกาย เช่น หลอดเลือดหลังกระดูกหน้าอก หลอดเลือดระหว่างข้อมือและข้อศอก หลอดเลือดที่ขา
การทำบายพาสหัวใจแบบเดิม แพทย์จะหยุดหัวใจผู้ป่วยเอาไว้ชั่วคราวในระหว่างการผ่าตัด และใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On-Pump CABG) เป็นตัวช่วยให้หลอดเลือดนำส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ เทคนิคหัวใจไม่หยุดเต้น (Off-Pump Coronary Artery Bypass: OPCAB) คือ การผ่าตัดทำทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจโดยที่หัวใจยังคงเต้นทำงานอยู่ ไม่มีการใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมเข้ามาเป็นตัวช่วยในการผ่าตัด โดยใช้ “Local Stabilizer” เข้ามาหยุดพื้นที่ของหัวใจที่ต้องเชื่อมต่อทางเบี่ยงให้หยุดนิ่งเท่านั้น แต่พื้นที่ส่วนอื่นๆ ของหัวใจจะยังสูบฉีดเลือดตามปกติ
- ลดโอกาสเสียเลือดระหว่างผ่าตัดได้มากกว่า
- ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการหยุดหัวใจไว้ชั่วคราว เช่น ภาวะอัมพาต ภาวะอักเสบทั่วร่างกาย การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
- ระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดสั้นขึ้น
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ เทคนิคหัวใจไม่หยุดเต้น นิยมใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจที่สูงอายุ และคนที่มีแนวโน้มเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายหลังผ่าตัด รวมถึงผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีโรคประจำตัวอื่นจนเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดเรื้อรัง โรคไต โรคตับ
ขั้นตอนการผ่าตัดบายพาสหัวใจ เทคนิคหัวใจไม่หยุดเต้น
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลเพื่อเก็บหลอดเลือดส่วนที่แข็งแรงมาไว้ใช้ทำเป็นทางเบี่ยง
- แพทย์เปิดแผลที่หน้าอก แล้วใช้ Local Stabilizer เพื่อหยุดตำแหน่งของหัวใจที่ต้องผ่าตัด ให้หยุดขยับตัวชั่วคราว แล้วใช้สายรัดหรือเทปสำหรับผ่าตัด หยุดการไหลเวียนของหลอดเลือดที่ตีบหรืออุดตัน
- แพทย์ต่อปลายหลอดเลือดที่ใช้เป็นทางเบี่ยงเข้ากับหลอดเลือดแดงใหญ่ ส่วนปลายอีกด้านต่อเข้ากับหลอดเลือดที่อุดตัน
- แพทย์ถอดสายรัดหรือเทปออก เลือดจากหลอดเลือดส่วนที่ตีบหรืออุดตันจะไหลเข้าไปในหลอดเลือดที่เป็นทางเบี่ยงแทน
- แพทย์เย็บปิดแผล
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนรับการผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบไม่หยุดหัวใจ ได้แก่
- แจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา ยาประจำตัว วิตามินเสริม อาหารเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิดให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
- งดยาตามรายการที่แพทย์แนะนำ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์แนะนำ เช่น ตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจ ตรวจเอกซเรย์ปอด แพทย์อาจให้เจาะเลือดไว้เพื่อเป็นเลือดสำรองไว้ด้วย
- งดสูบบุหรี่และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 4 สัปดาห์ล่วงหน้า
- เดินทางมานอนพักที่โรงพยาบาลล่วงหน้า 1 คืน
- ถอดของมีค่า เครื่องประดับไว้ที่บ้าน เพื่อป้องกันการสูญหาย
การดูแลหลังผ่าตัด
- ห้ามไม่ให้แผลโดนน้ำประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- งดการออกกำลังกายที่หนักหน่วง รวมถึงการยกของหนักจนกว่าแพทย์จะอนุญาต โดยทั่วไปจะอยู่ในระยะเวลา 4-6 เดือนหลังจากนั้นจึงค่อยเริ่มกลับทำกิจกรรมได้ตามปกติ
- พักผ่อนให้มากๆ แพทย์อาจแนะนำให้หยุดงานหรือทำงานอยู่กับบ้านประมาณ 1 เดือน
- งดขับรถเองประมาณ 2-3 เดือน
- งดมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราว แต่โดยทั่วไปแพทย์จะอนุญาตให้กลับมาทำกิจกรรมทางเพศได้ภายใน 1 เดือน
- เดินทางกลับมาตรวจแผลและตรวจสุขภาพหัวใจกับแพทย์ตามนัดหมายอยู่เรื่อยๆ
- ต้องงดสูบบุหรี่และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบถาวรตลอดชีวิต
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด รสเค็ม รสหวาน หรือมีไขมันสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงฝึกกายบริหาร ทำกายภาพบำบัดตามคำแนะนำของแพทย์
- หลีกเลี่ยงการเกิดภาวะความเครียด
ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
นพ. คุณัช สถาผลเดชา (หมอบิว)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ดูงานการผ่าตัดบายพาสหัวใจ เทคนิคหัวใจไม่หยุดเต้น (OPCAB หรือ Off-Pump CAB) ที่ประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- อาจารย์แพทย์ ประจำศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
- ประสบการณ์การผ่าตัดหัวใจมาแล้วกว่า 500+ เคส
- ประสบการณ์ผ่าตัดบายพาสหัวใจ เทคนิคหัวใจไม่หยุดเต้น (OPCAB หรือ Off-Pump CAB) มากกว่า 80+ เคสต่อปี