ตรวจสวนหัวใจ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
การตรวจสวนหัวใจหรือที่เรียกว่า “ฉีดสีหัวใจ” เพื่อตรวจดูว่าหลอดเลือดแดงตีบตันหรือไม่
- ตรวจได้แม่นยำ แผลเล็ก ไม่ต้องพักฟื้นนาน
- ถ้าตรวจเจอหลอดเลือดตีบ ใช้บอลลูนและขดลวดในการรักษาต่อได้ทันที
อย่าปล่อยให้อาการรุนแรง
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
หลอดเลือดตีบ ไม่ว่าส่วนไหนในร่างกายต้องรีบรักษา ถ้าปล่อยไว้จะส่งผลกระทบกับอวัยวะต่างๆ และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
- หลอดเลือดอุดตันจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่ได้
- แขนขาขาดเลือดขั้นวิกฤต ทำให้ปวดมากแม้ว่าจะอยู่เฉยๆ
- แนะนำให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อคัดกรองความเสี่ยง
- ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจสุขภาพให้คุณวันนี้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
หากคุณมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้เข้ารับการตรวจสวนหัวใจเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม
- เจ็บ หรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ
- หัวใจเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ
- มีอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม โดยเฉพาะในเวลาที่ต้องออกแรงหนักๆ
- รู้สึกเวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลมบ่อยๆ
- มีอาการบวมตามแขน ขา นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอกลางดึก
- หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน
- มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ หรือมีอาการวูบไม่รู้สึกตัวกะทันหัน
- มีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
แนวทางการรักษาโรคหัวใจจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจที่เป็น และระดับความรุนแรง แต่โดยทั่วไปจะเริ่มจากการให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรครุนแรงขึ้น ร่วมกับการใช้ยาต่างๆ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาขยายหลอดเลือด ยาลดไขมัน ยาควบคุมความดันโลหิต หรือยาต้านเกล็ดเลือด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในรายที่ไม่สามารถรักษาด้วยยา หรือมีอาการรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัด เช่น
- การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดถ่างขยาย ในคนไข้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
- การจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง หรือใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นในอัตราความเร็วปกติ สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ได้เพียงพอ
- การผ่าตัดบายพาสหัวใจ เป็นการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบรุนแรง โดยจะทำการผ่าตัดทำทางเบี่ยงเส้นเลือดหัวใจ โดยใช้เส้นเลือดแดงส่วนอื่น ๆ เช่น เส้นเลือดแดงบริเวณหน้าอก ข้อมือ หรือเส้นเลือดดำบริเวณขา เพื่อช่วยให้มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเพียงพอ
รู้จักการผ่าตัดนี้
การตรวจสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography : CAG) หรือที่เรียกว่า “ฉีดสีหัวใจ” คือ การใส่สายสวนเข้าไปทางเลือดแดงที่บริเวณแขนและขาหนีบ และฉีดสารทึบรังสีเข้าไป เพื่อตรวจดูว่าหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบ หรือตันหรือไม่
ตรวจสวนหัวใจเหมาะกับใคร
- คนที่มีอาการแน่นหน้าอกรุนแรง หายใจหอบเหนื่อย เหงื่อท่วม หมดแรง ใจสั่น หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม และปวดร้าวหรือชาไปที่แขน ไหล่ และกราม
- คนที่ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจสุขภาพหัวใจด้วยวิธีต่างๆ เช่น เอกซเรย์หน้าอก ตรวจ ECHO ตรวจ EKG หรือตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย
- คนที่มีความเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น เป็นโรคเบาหวาน มีภาวะความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่เป็นประจำ ไม่ออกกำลังกาย หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
- คนที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว มีปัญหาลิ้นหัวใจรั่ว
- คนที่ต้องการวัดความดันของห้องหัวใจ
- คนที่ต้องตรวจเพื่อเตรียมการผ่าตัดหัวใจ
ข้อดีของการตรวจสวนหัวใจ
- เป็นวิธีตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่แม่นยำ
- ตรวจภายใต้การฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลบ สะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาเพียง 20-30 นาทีเท่านั้น
- หากพบว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวดต่อได้ทันที
ขั้นตอนการตรวจสวนหัวใจ
- แพทย์จะทำความสะอาดและฉีดยาชาบริเวณแขน หรือขาหนีบที่จะทำการสอดสายสวน
- แพทย์จะเจาะ สอดท่อนำ และใส่สายสวนขนาดเล็กเข้าไปตามหลอดเลือดแดงจนถึงหลอดเลือดหัวใจ (ในระหว่างที่ตรวจ ผู้เข้ารับการตรวจจะรู้สึกตัวตลอดเวลา แต่ไม่รู้สึกเจ็บ)
- หลังจากนั้นจะฉีดสารทึบรังสี และถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นชุดอย่างรวดเร็ว
- เมื่อเก็บภาพเอกซเรย์เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะดึงสายสวนออก และใช้พลาสเตอร์ปิดแผลเพื่อห้ามเลือด แล้วส่งไปห้องพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการประมาณ 1-2 วัน ถ้าไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ตามปกติ
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การเอกซเรย์หน้าอก (Chest X-ray: CXR)
- ฉายรังสีเอกซ์ไปที่ส่วนของหน้าอก โดยภาพจากการฉายรังสีจะถูกบันทึกลงในแผ่นฟิล์ม
- ตรวจหาความผิดปกติของรูปร่าง โครงสร้าง หรือตำแหน่งของหัวใจและหลอดเลือด
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram: ECHO)
- ส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในทรวงอก และสะท้อนกลับมาเป็นภาพบนจอมอนิเตอร์
- ดูประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ หรือดูตำแหน่งของหลอดเลือดต่างๆ ที่เข้า-ออกจากหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG หรือ EKG)
- ใช้อุปกรณ์ติดตามร่างกายเพื่อตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจที่ปล่อยออกมาในแต่ละจังหวะการเต้น หรือการบีบและคลายตัว
- ตรวจหาความผิดปกติ หรือวินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง หรือหัวใจล้มเหลว
การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST)
- ใช้อุปกรณ์ติดตามร่างกายเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการเต้นของชีพจร ระหว่างที่ให้ผู้เข้ารับการตรวจเดินบนลู่วิ่ง (Treadmill) หรือขี่จักรยานอยู่กับที่ (Cycling) ขณะทำการตรวจ
- ตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือสาเหตุเบื้องต้นของอาการเจ็บหน้าอกได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- เข้ารับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์อย่างละเอียด
การดูแลหลังผ่าตัด
- งดงอแขน หรือขาข้างที่ทำการสวนหัวใจ 4-6 ชั่วโมง
- ในกรณีที่ใส่สายสวนผ่านขาหนีบ จะต้องนอนราบประมาณ 6 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการใช้งานหนักบริเวณแขน หรือขาที่ทำการตรวจสวนหัวใจ 2-4 สัปดาห์
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- ผิวหนังอาจมีรอยช้ำและจ้ำเขียวบริเวณที่ตรวจสวนหัวใจ สามารถหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์
- หากมีอาการแผลบวม ปวดแผลมาก แน่นหน้าอก หรือนอนราบไม่ได้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
สาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ
พญ. กิตติมา กังวิวรรธน์ (หมอกิ๊ก)
ข้อมูลของแพทย์
-สาขาที่เชี่ยวชาญ: อายุรศาสตร์โรคหัวใจ