ผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน
รีบรักษาก่อนที่หลอดเลือดปริแตก อันตรายถึงชีวิต!
ผ่าตัดผ่านสายสวน แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็วกว่าผ่าตัดเปิด
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมักไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบโดยบังเอิญผ่านการเอกซเรย์ การตรวจอัลตราซาวด์ หรือการคลำเจอก้อนที่ช่องท้อง
- ผู้ชายอายุ 65-75 ปีขึ้นไป มีประวัติสูบบุหรี่จัด
- ผู้ชายอายุ 65-75 ปีขึ้นไป มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
- ผู้หญิงและผู้ชายที่อายุ 75 ปีขึ้นไปทุกคน
**แนะนำกลุ่มเสี่ยงตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี **
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจสุขภาพประจำปีได้เลย
การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน แผลอยู่ที่ขาหนีบหรือแขน (ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหลอดเลือดที่โป่งพอง)
- ใส่หลอดเลือดเทียมเข้าไปแทนที่หลอดเลือดโป่งพอง โดยไม่ได้ตัดนำหลอดเลือดที่โป่งพองออกก่อน
- ฟื้นตัวเร็วกว่า เจ็บแผลน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิดที่ต้องเปิดแผลขนาดใหญ่ที่ช่องอกหรือช่องท้อง
- ไม่ต้องใช้หัวใจเทียมและเครื่องปอดช่วยในการผ่าตัด
- เหมาะกับคนไข้สูงอายุที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดค่อนข้างนาน
สัญญาณที่ต้องตรวจ
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมักไม่มีอาการที่แสดงออกมา แต่มักตรวจพบโดยบังเอิญผ่านการเอกซเรย์ การตรวจอัลตราซาวด์ หรือการคลำเจอก้อนที่ช่องท้อง
แพทย์จึงแนะนำให้ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจคัดกรองโรคนี้เมื่ออายุเข้าเกณฑ์มีความเสี่ยงสูง
- ผู้ชายอายุ 65-75 ปีขึ้นไป และมีประวัติสูบบุหรี่จัด
- ผู้ชายอายุ 65-75 ปีขึ้นไป ไม่มีประวัติสูบบุหรี่จัด แต่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
- ผู้หญิงและผู้ชายที่อายุ 75 ปีขึ้นไปทุกคน
- คนไข้โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Artery Disease)
สามารถสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณเตือนดังนี้
- หายใจลำบาก
- หน้ามืด
- กลืนอาหารลำบาก
- เสียงแหบ
- แน่นหน้าอก
- ปวดหลัง
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจร่างกาย เช่น ฟังเสียงหัวใจ ซักประวัติโรคประจำตัว ประวัติโรคประจำตัวคนฝยครอบครัว ประวัติการใช้ยาต่างๆ
- ตรวจสแกนร่างกาย เช่น ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง (Abdominal Ultrasound) ทำ CT Scan และทำ MRI
- ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram หรือ Echocardiography) เพื่อดูขนาดของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพอง และตรวจสอบความผิดปกติของหลอดเลือดใหญ่ที่อยู่ใกล้หัวใจ
- ตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอกซเรย์ (Angiogram)
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
รักษาแบบไม่ผ่าตัด
- กินยาลดความดันโลหิต
- ออกกำลังกาย
- งดสูบบุหรี่
- เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
- ตรวจอัลตราซาวด์และทำ CT Scan กับแพทย์ทุก 3-6 เดือน
รักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดในคนไข้ที่หลอดเลือดโป่งพองจนใกล้ปริแตก หรือมีอาการเจ็บป่วยจากหลอดเลือดที่โป่งพอง เช่น แน่นหน้าอก ปวดท้อง ปวดหลัง
- ใส่หลอดเลือดเทียมเข้าไปเป็นท่อนำส่งเลือดแดงแทนหลอดเลือดที่โป่งพอง
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ตรวจพบหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากกว่า 5-5.5 ซม. หรือโป่งพองขึ้น 3-5 มม. ภายใน 1 ปี
- มีอาการผิดปกติจากโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เช่น แน่นหน้าอก ปวดท้อง ปวดหลัง
- หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองจนใกล้ปริแตก
- เป็นแผลที่หลอดเลือดแดงใหญ่ทรวงอก
- หลอดเลือดแดงใหญ่ได้รับบาดเจ็บ
รู้จักการผ่าตัดนี้
**การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน (Endovascular Aneurysm Repair) **คือ การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่ง โดยใส่หลอดเลือดเทียมเข้าไปทดแทน แผลผ่าตัดขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย และยังเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าเทคนิคการผ่าตัดรูปแบบเดิม
ขั้นตอนการผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลที่ขาหนีบหรือแขน (ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหลอดเลือดที่โป่งพอง) แล้วสอดท่อนำทางผ่านเข้าด้านในหลอดเลือดที่ต้นขาลึกถึงตำแหน่งของหลอดเลือดที่โป่งพอง ในขั้นตอนนี้จะมีเครื่องถ่ายภาพรังสีช่วยนำทางด้วย
- แพทย์ฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจสอบตำแหน่งของหลอดเลือดที่โป่งพองอีกครั้ง
- แพทย์สอดสายสวนสำหรับปล่อยหลอดเลือดเทียมเข้าไปผ่านหลอดเลือดที่ต้นขา โดยส่วนมากใช้เป็นหลอดเลือดเทียมชนิดขวดลวดหุ้มกราฟต์ (Stent Graft)
- แพทย์ปล่อยหลอดเลือดเทียมผ่านสายสวนเข้าไปยังตำแหน่งหลอดเลือดที่โป่งพอง หลอดเลือดเทียมจะขยายตัวในขนาดเท่าหลอดเลือดแดงปกติ และแนบติดกับผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เองโดยไม่ต้องใช้การเย็บติด
- แพทย์ฉีดสารทึบรังสีอีกครั้งเพื่อตรวจสอบรอยรั่วที่อาจเกิดขึ้นที่หลอดเลือด หากไม่มีจะถอดอุปกรณ์ผ่าตัดออกจากแผล และเย็บปิดแผล
- หลังจากนั้นหลอดเลือดที่โป่งพองจะเริ่มหดตัวกลับมาอยู่ในขนาดปกติหรือฝ่อตัวไปเอง
- การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวนใช้เวลาประมาณ 3 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
1. การผ่าตัดแบบเปิด (Aortic Aneurysm Open Repair)
- เป็นวิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
- ต้องใช้หัวใจเทียมและเครื่องปอดช่วยในการผ่าตัด
- เปิดแผลขนาดใหญ่ที่ช่องอกหรือช่องท้อง เพื่อให้เห็นหลอดเลือดแดงใหญ่ได้ชัดๆ
- แพทย์ตัดหลอดเลือดส่วนที่โป่งพองออกก่อน แล้วจึงเย็บต่อหลอดเลือดเทียมเข้าไปแทน
- มีโอกาสเจ็บแผล และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้มากกว่า
2. การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน (Endovascular Aneurysm Repair)
- เปิดแผลที่แขนหรือขาหนีบ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหลอดเลือดที่โป่งพอง
- ใส่หลอดเลือดเทียมเข้าไปแทนที่หลอดเลือดโป่งพอง โดยไม่ได้ตัดนำหลอดเลือดที่โป่งพองออกก่อน
- ฟื้นตัวเร็วกว่า เจ็บแผลน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด
- เหมาะกับคนไข้สูงอายุที่ต้องใช้เวลาฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดค่อนข้างนาน
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- หากมีประวัติเลือดออกง่ายหรือหยุดเลือดยากกว่าปกติ รวมถึงมีผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดที่มีอาการนี้ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย
- ตรวจฟันให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด และแจ้งทันตแพทย์เกี่ยวกับข้อมูลโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองอย่างครบถ้วน เนื่องจากทันตแพทย์อาจพิจารณาจ่ายยาปฏิชีวนะให้ก่อนทำฟัน
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์แนะนำ เช่น ตรวจเลือด ตรวจอัลตราซาวด์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจ CT Scan ตรวจ MRI ตรวจโรคประจำตัวให้แน่ใจถึงความพร้อมในการผ่าตัด
- แพทย์อาจจ่ายยาลดความเครียดหรือยาระงับประสาทก่อนผ่าตัด เพื่อให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายลง
- งดน้ำและงดอาหารล่วงหน้า 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- ถอดเครื่องประดับ ของมีค่า ฟันปลอม แว่นตา คอนแทคเลนส์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- ควรงดสูบบุหรี่อย่างถาวรตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยโรค เพื่อประคองอาการของโรคไม่ให้รุนแรงขึ้นอีก และเพื่อให้การฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วขึ้น
- งดดื่มสุราอย่างน้อย 1 เดือนก่อนผ่าตัด
- แพทย์จะให้คำแนะนำในการโกนขนบริเวณรอบขาหนีบหรือบริเวณที่มีการกรีดเปิดแผล
- แพทย์อาจแนะนำให้ญาติหรือคนสนิทที่มีเลือดกรุ๊ปเดียวกันบริจาคเลือดสำรองไว้ให้คนไข้ เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่เสี่ยงต้องใช้เลือดมาก
- พาญาติมาด้วยในวันผ่าตัด และเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในระหว่างพักฟื้นหลังผ่าตัด
- ลางานล่วงหน้าเพื่อพักฟื้นร่างกายหลังผ่าตัด โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-4 สัปดาห์
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังการผ่าตัดจะต้องพักฟื้นที่รพ. ประมาณ 4 วัน
- งดให้แผลเปียกน้ำและงดอาบน้ำ 24-48 ชม. หลังผ่าตัด หลังจากนั้นแพทย์มักอนุญาตให้อาบน้ำได้ แต่ต้องดูแลแผลผ่าตัดให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ
- พยาบาลจะจ่ายยาแก้ปวดผ่านสายสวนที่สอดอยู่รอบไข้สันหลังส่วนล่าง
- แพทย์จะอนุญาตให้คนไข้ค่อยๆ เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายทีละน้อย เริ่มจากการลุกและเดินรอบเตียงก่อน
- หมั่นเดินเบาๆ ทุกวัน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
- กินยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้หมด
- สามารถกินอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำ
- หลีกเลี่ยงอย่าให้ท้องผูก หากมีอาการท้องผูกบ่อย สามารถขอให้แพทย์จ่ายยาระบายอ่อนๆ ให้ได้
- กลับมาตรวจอัลตราซาวด์และทำ CT Scan ดูหลอดเลือดตามนัดหมายกับแพทย์ทุกครั้ง
- ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก คนไข้มักยังรู้สึกอ่อนเพลียง่าย ให้พักผ่อนให้มากๆ นอนหลับให้เพียงพอเสมอ
- งดขับรถเอง 2-3 สัปดาห์
- งดยกของหนัก ยกออกกำลังกาย งดทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากประมาณ 3 เดือน หรือตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น อาการเจ็บแผลใน 1-2 สัปดาห์แรก การติดเชื้อที่แผล แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออกที่แผล หรือแผลมีเลือดคลั่ง
- อาการที่ต้องรีบกลับมาพบแพทย์โดยทันที ได้แก่
- มีไข้สูง มีอาการหนาวสั่น
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- หายใจลำบาก
- ปวดเจ็บแผลอย่างรุนแรง และอาการไม่บรรเทาลงจากยาแก้ปวด
- แผลบวมแดง มีของเหลวไหล
- แผลปริแตก มีรอยเปิด
- ปวดหลัง น่อง ต้น ขา หรือขาหนีบ ซึ่งเป็นสัญญาณของภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
- ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น แต่มีโอกาสค่อนข้างต่ำ เช่น ภาวะหัวใจวาย ภาวะไตวาย ภาวะเลือดคั่งใต้ผิวหนัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
นพ. ชินะภูมิ วุฒิวณิชย์ (หมอบอส)
ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก เกียรตินิยมอันดับ 1 จุฬา
ข้อมูลของแพทย์
-2558 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 1)
-2564 วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ชินะภัทร์ วุฒิวณิชย์ (หมอเบส)
คุณหมอเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด (หรือที่เรียกว่า หมอเส้นเลือด) เกียรตินิยมอันดับ 1 มหิดล
ข้อมูลของแพทย์
-2558 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (เกียรตินิยมอันดับ 1)
-2563 วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด