รักษาโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน ด้วยการใส่ขดลวด
ถ้าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ จะขาดออกซิเจนและรุนแรงถึงขั้นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
รีบรักษาก่อนอาการจะแย่ ส่งผลกระทบกับระบบต่างๆ ของร่างกาย
ใส่ขดลวด (Stent) เป็นผ่าตัดแผลเล็กที่ขาหนีบ ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ถ้าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ จะขาดออกซิเจนและรุนแรงถึงขั้นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
- ถ้าหลอดเลือดอุดตัน มีโอกาสที่สมองจะขาดเลือดในเวลา 2 ปี
- สมองขาดเลือด ทำให้เซลล์สมองตาย หรืออาจเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- ไขมันอุดตันในหลอดเลือด มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดสะสม และเข้าไปอุดตันในเส้นเลือดสมองที่มีขนาดเล็ก ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมองได้
แนะนำตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มันใจว่าไม่มีไขมันอุดตันในเส้นเลือด
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจสุขภาพประจำปีให้คุณวันนี้
การใส่ขดลวด (Stent) ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
- ไม่ต้องดมยาสลบ
- ไม่ต้องผ่าตัดแผลใหญ่
- หลังทำกลับบ้านได้เลย
เป็นแล้วก็ไม่ต้องกลัว รักษาเร็ว รักษาได้
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักโรคนี้
หลอดเลือดแคโรติด (Carotid) เป็นหลอดเลือดแดงใหญ่ อยู่บริเวณสองข้างของลำคอ ที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองของคนเรา
หลอดเลือดแดงแคโรติดมีโอกาสเกิดคราบไขมันอุดจนตีบตัน กลายเป็นโรคหลอดเลือดแคโรติดตีบ (Carotid artery disease) ทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด นำไปสู่โรคหลอดหลอดสมอง (Stroke)
โรคหลอดเลือดสมองมักเกิดอย่างฉับพลัน ไม่มีอาการแสดงใดๆ บ่งบอกให้รู้ล่วงหน้า ถือเป็นภาวะฉุกเฉินซึ่งอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือทำให้เป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตได้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คออุดตันระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการใดให้เห็น แต่แพทย์อาจสังเกตพบได้เบื้องต้นจากการตรวจชีพจร
เมื่อเริ่มมีการอุดตันมากขึ้น คนไข้อาจมีอาการเหมือน “ปวดศีรษะนำก่อนเกิดการแตกของหลอดเลือดสมอง” หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งอาการได้แก่
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรงมากอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อนในชีวิต
- มองเห็นไม่ชัด หรือมองไม่เห็น
- รู้สึกสับสน
- มีปัญหาด้านการจดจำ
- ชา หรืออ่อนแรง ที่ร่างกายข้างใดข้างหนึ่ง
- มีปัญหาด้านการคิด การใช้เหตุผล การจดจำ การพูด
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจอัลตราซาวด์ เป็นเทคนิคการตรวจดูการไหลเวียนของเลือดที่หลอดเลือดแดงแคโรติด ว่ามีคราบไขมันสะสมที่ผนังด้านในของหลอดเลือดหรือไม่ ปริมาณของคราบนั้นมากน้อยแค่ไหน
- ทำ CTA (Computed Tomography Angiography) เป็นเทคนิคการตรวจโดยฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดแดง ร่วมกับใช้รังสีเอกซ์ สร้างภาพรายละเอียดของเส้นเลือดออกมา
- ทำ MRA (Magnetic Resonance Angiography) เป็นเทคนิคการตรวจที่ใช้สนามแม่เหล็กกำลังสูงร่วมกับคลื่นความถี่วิทยุ เพื่อสร้างภาพโครงสร้างภายในหลอดเลือด ทำให้เห็นการอุดตันของหลอดเลือดแดงแคโรติด
- ฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดแดงแคโรติด เป็นเทคนิคการตรวจโดยใช้สายสวนหลอดเลือดสวนเข้าไปจนถึงหลอดเลือดแดงแคโรติด แล้วฉีดสารทึบรังสี ร่วมกับถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ เพื่อให้ได้ตำแหน่งของหลอดเลือดที่ตีบตัน ให้ภาพ 3 มิติที่คมชัด
รู้จักการผ่าตัดนี้
การรักษาโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน ด้วยการทำบอลลูนและใส่ขดลวด Carotid Artery Angioplasty and Stenting (CAS) คือการขยายหลอดเลือด เพื่อรักษาหรือป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โดยการขยายหลอดเลือดแดงคาโรติดพร้อมกับใส่ขดลวด (Stent) เพื่อค้ำยันผนังหลอดเลือดและลดความเสี่ยงที่กลับมาตีบซ้ำ
ขั้นตอนการทำบอลลูนและใส่ขดลวด
- แพทย์ทำการระงับความรู้สึกเฉพาะที่
- แพทย์เปิดแผลขนาดเล็กประมาณ 2.6 มม. ที่ขาหนีบ แล้วใส่สายสวนขนาดเล็กเข้าที่หลอดเลือดแดง จากนั้นดันสายสวนเข้าไปจนถึงหลอดเลือดแคโรติดที่มีการอุดตัน โดยปลายสายสวนมีอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้คราบไขมัน หรือลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงหลุดเข้าไปในเส้นเลือดสมองอยู่
- แพทย์ควบคุมให้บอลลูนที่ติดอยู่ปลายสายสวนขยายตัวออก ทำให้คราบไขมันถูกกดเบียดติดกับผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดกลับมาสูบฉีดเหมือนเดิม
- แพทย์ฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดแดงเพื่อดูตำแหน่งของบอลลูน แล้วใส่ขดลวดค้ำยัน (Stent) เข้าไปค้ำผนังหลอดเลือดที่เคยตีบ เพื่อเสริมความแข็งแรงให้หลอดเลือด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
ก่อนใส่ขดลวดค้ำยันในหลอดเลือดแคโรติด แพทย์จะตรวจร่างกายคนไข้อย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถรักษาด้วยเทคนิคนี้ได้อย่างปลอดภัย
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากใส่ขดลวดค้ำยันในหลอดเลือดแคโรติดเสร็จใหม่ๆ แพทย์มักให้คนไข้พักสังเกตอาการในโรงพยาบาลก่อน โดยคาสายสวนหลอดเลือดไว้ที่ขาหนีบประมาณ 4 ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดโดยไม่มีสัญญาณแสดงถึงความผิดปกติใดๆ จึงนำสายสวนออก
หลังจากนั้นคนไข้ยังควรนอนราบต่อไปอีกประมาณ 6-10 ชั่วโมง โดยห้ามงอขาข้างที่ใส่สายสวน หรือตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ
ช่วงพักฟื้นในโรงพยาบาล คนไข้จะได้รับการตรวจสอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด
ถ้าคนไข้มีอาการต่อไปนี้ ต้องติดต่อแพทย์ทันที เนื่องจากอาจบ่งบอกว่าการรักษาเกิดความซับซ้อนขึ้น
- แน่นหน้าอก
- เหนื่อยหอบ
- นอนราบไม่ได้
- เวียนศีรษะ
- มีไข้
- รู้สึกอุ่นๆ ชื้นๆ
- มีเลือดออก
- รู้สึกมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณขาหนีบที่ใส่สายสวน
ตามปกติ หลังจากพักในโรงพยาบาลอยู่ 1 วัน แพทย์มักอนุญาตให้คนไข้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน
เมื่อกลับบ้านแล้ว คนไข้ควรปฏบัติดังนี้
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน โดยอาจมียาต้านเกล็ดเลือด ซึ่งแพทย์จ่ายให้เพื่อป้องกันเกล็ดเลือดเกาะขดลวด
- ประกอบกิจวัตรประจำวัน เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ ตามปกติ แต่หลีกเลี่ยงการนั่งงอข้อสะโพกประมาณ 1 สัปดาห์
- ไปตามนัดตรวจติดตามการรักษาทุกครั้ง
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นโรคหลอดเลือดแคโรติดตีบซ้ำ เช่น ออกกำลังกาย ลดการรับประทานอาหารไขมันสูง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การใส่ขดลวดค้ำยันในหลอดเลือดแคโรติดจัดเป็นการรักษาหลอดเลือดแคโรติดตีบที่ปลอดภัย ได้ผลลัพธ์ที่ดี และโอกาสที่หลอดเลือดจะกลับมาตีบซ้ำค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับการรักษาแบบดั้งเดิม แต่เนื่องจากขั้นตอนการรักษามีการใส่สายสวนหลอดเลือด (ซึ่งนำเข้าไปด้วยลวดนำสายสวน) มีการฉีดสารทึบรังสี จึงอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น
- ผนังหลอดเลือดได้รับความเสียหายจากการใส่สายสวน
- ติดเชื้อจากการใส่สายสวน
- เกิดอาการแพ้สารทึบรังสี
- คนไข้ที่เป็นโรคไตอยู่แล้วเกิดความผิดปกติที่เกิดจากการระบายสารทึบรังสีออกทางไต
- ขดลวดอุดตัน (มักเกิดในกรณีที่คนไข้ไม่ได้รับประทานยาตามแพทย์แนะนำ หรือรับประทานไม่ครบ)
เพื่อเตรียมตัวป้องกันผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์เหล่านี้ คนไข้จึงควรแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนเองให้แพทย์ทราบอย่างครบถ้วน ไม่ปิดบังอาการใดๆ ถ้ามีข้อสงสัยหรือความกังวลควรสอบถามแพทย์อย่างละเอียด
ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง
นพ. จักรี ธัญยนพพร (หมอเบนซ์)
ศัลยแพทย์ระบบประสาท ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10+ ปี
ข้อมูลของแพทย์
-2547 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)
-2549 ประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์
-2553 สาขาประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
-2557 สาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ระบบประสาทผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์หลอดเลือดสมอง ตัดต่อหลอดเลือดสมอง
- รังสีร่วมรักษาระบบประสาท สำหรับผู้ป่วย stroke หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน หลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดสมองเชื่อมต่อผิดปกติ