ผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายผ่านสายสวน
แผลเล็กมากประมาณ 1.6 มม. เท่านั้น
เจ็บน้อย พักฟื้นไม่นานก็กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
หลอดเลือดตีบ ไม่ว่าส่วนไหนในร่างกายต้องรีบรักษา ถ้าปล่อยไว้จะส่งผลกระทบกับอวัยวะต่างๆ และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
- หลอดเลือดอุดตันจะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่ได้
- แขนขาขาดเลือดขั้นวิกฤต ทำให้ปวดมากแม้ว่าจะอยู่เฉยๆ
- แนะนำให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อคัดกรองความเสี่ยง
- ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจสุขภาพให้คุณวันนี้
ผ่าตัดผ่านสายสวนรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
- แผลเล็กมาก แค่ 1.6 มม. เท่านั้น
- เจ็บน้อย พักฟื้นไม่นานก็กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- หลังผ่าตัดแล้วจะไม่กลับมาเป็นซ้ำที่เดิม เพราะใส่ขดลวด (Stent) ค้ำยันเอาไว้
อย่าปล่อยให้อาการรุนแรง
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
คำถามที่พบบ่อย
Q: หลังจากรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบแล้ว จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำไหม?
A: หากยังทำพฤติกรรมที่กระตุ้นให้หลอดแดงส่วนปลายตีบ เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้ง
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดเท้า ปวดน่อง เวลาเดินหรือออกกำลังกาย และอาการดีขึ้นเมื่อหยุดพัก
- เท้าชา หรือสีซีดลง และในบางคนอาจมีอุณหภูมิที่ผิวหนังเย็นลง
- เป็นแผลที่เท้า หรือส้นเท้าเรื้อรัง ในบางคนแผลอาจลุกลามจนเกิดเนื้อเน่าตายได้
- ปวดขาเฉียบพลัน และปวดตลอดเวลาแม้ในขณะพัก
- บางคนอาจเห็นว่าเท้ามีสีคล้ำลง ผิวหนังรอบแผลมีสีดำ และตรวจคลำชีพจรที่ข้อเท้าไม่ได้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
ตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือด หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ตรวจ ABI” (Ankle Brachial Index) สามารถเข้ารับการตรวจได้เลย ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร หรือยา
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรคและความรุนแรง ถ้ามีอาการไม่หนัก แพทย์อาจรักษาด้วยการจ่ายยาต่าง ๆ เช่น ยาลดคอเลสเตอรอล ยาความดันโลหิตสูง ยาควบคุมการอุดตันของเลือด ร่วมกับออกกำลังกาย
ในคนที่เป็นมาก จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวด แต่ถ้ามีอาการรุนแรงมากจนไม่สามารถรักษาด้วยบอลลูนได้ จะต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดแดงส่วนปลายแทน
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายผ่านสายสวน (Percutaneous Transluminal Angioplasty: PTA) เป็นวิธีรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบที่รุกรานน้อย แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก ทำให้ไม่เจ็บ และพักฟื้นไว
แพทย์จะใส่สายสวนเข้าที่หลอดเลือดแดงส่วนปลายเพื่อหาตำแหน่งที่ตีบตัน แล้วใส่บอลลูนเข้าไปดันกลุ่มไขมันที่อุดตันให้ชิดกับผนังหลอดเลือด และใส่ขดลวด (Stent) ค้ำยันไว้ ทำให้เลือดกลับมาไหลเวียนได้ดีอีกครั้ง
ข้อดีของการผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายผ่านสายสวน
แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 1.6 มม. เท่านั้น โดยส่วนใหญ่แผลจะปิดสนิทภายใน 6-8 ชม. ทำให้ใช้เวลาพักฟื้นสั้น และเจ็บแผลผ่าตัดน้อยมาก
ขั้นตอนการผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายผ่านสายสวน
- แพทย์ระงับความรู้สึกด้วยยาชาเฉพาะจุด
- แพทย์ใส่สายสวนผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ เพื่อฉีดสีดูตำแหน่งที่เกิดการตีบตัน พร้อมกับทำการเอกซเรย์ดูภาพประกอบ
- เมื่อพบตำแหน่งที่ตีบตัน แพทย์จะใส่บอลลูนเข้าไปและทำให้พองขึ้นในหลอดเลือดเพื่อดันกลุ่มไขมันที่อุดตันให้ชิดกับผนังหลอดเลือด แล้วเก็บบอลลูนออกมา
- แพทย์ใส่ขดลวด (Stent) ค้ำยันหลอดเลือด เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาตีบตันอีกครั้ง และทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ในระหว่างที่ผ่าตัด ผู้เข้ารับการรักษาจะรู้สึกตัวตลอดเวลา หากมีอาการผิดปกติ สามารถแจ้งแพทย์และพยาบาลให้ทราบได้ทันที
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
- เหมาะกับคนที่หลอดเลือดแดงตีบรุนแรง และไม่สามารถรักษาด้วยบอลลูนและขดลวดได้
- แพทย์จะผ่าตัดเอาหลอดเลือดที่ตีบตันมาสร้างเส้นทางเลือดใหม่เพื่อให้เลือดกลับมาไหลเวียนได้ตามปกติ
- หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว จะต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และจะกลับมาเป็นปกติภายใน 12 สัปดาห์
ผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายผ่านสายสวน
- เหมาะกับคนที่หลอดเลือดแดงตีบไม่รุนแรงมาก
- แพทย์จะใส่สายสวนเข้าที่หลอดเลือดแดงส่วนปลายเพื่อหาตำแหน่งที่ตีบตัน แล้วใส่บอลลูนเข้าไปดันกลุ่มไขมันที่อุดตันให้ชิดกับผนังหลอดเลือด และใส่ขดลวด (Stent) ค้ำยันไว้ ทำให้เลือดกลับมาไหลเวียนได้อีกครั้ง
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและน้ำดื่มอย่างน้อย 6 ชม. ก่อนการผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
- รับประทานยาฆ่าเชื้อ และยาบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์สั่ง
- หลังผ่าตัดจะต้องนอนราบ และห้ามงอแขน หรือขาข้างที่ผ่าตัด ประมาณ 2 -6 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำ อย่างน้อย 3 วัน
- หลีกเลี่ยงการออกแรงขา หรือแขนข้างที่ทำหัตถการ 1 สัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็น การยกของหนัก ขับรถ หรือปั่นจักรยาน
- สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ให้งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่จนกว่าแพทย์จะอนุญาต
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- หากแผลผ่าตัดมีการอักเสบ ปวด บวม แดง หรือมีไข้ หรือมีอาการปวด ชา ปลายเท้าเย็น หรืออ่อนแรงข้างที่ทำหัตถการ ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. วัชระ อัครชลานนท์ (หมอตี๋)
แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์หลอดเลือดหรือ "หมอเส้นเลือด"
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศัลยศาสตร์ทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด
ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
นพ. ชินะภูมิ วุฒิวณิชย์ (หมอบอส)
ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก เกียรตินิยมอันดับ 1 จุฬา
ข้อมูลของแพทย์
-2558 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 1)
-2564 วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ชินะภัทร์ วุฒิวณิชย์ (หมอเบส)
คุณหมอเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด (หรือที่เรียกว่า หมอเส้นเลือด) เกียรตินิยมอันดับ 1 มหิดล
ข้อมูลของแพทย์
-2558 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (เกียรตินิยมอันดับ 1)
-2563 วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด