ตัดติ่งเนื้อปากช่องคลอด (แบบส่องกล้อง)
ติ่งเนื้อปากช่องคลอด อาจเรียกว่าติ่งเนื้อช่องคลอด ติ่งเนื้อโพรงมดลูก หรือติ่งเนื้อมดลูกได้
ผ่าตัดติ่งเนื้อช่องคลอด ด้วยการส่องกล้อง เหมาะกับติ่งเนื้อที่ขนาดไม่เกิน 3 มม.
แนะนำให้ตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่างๆ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
- ติ่งเนื้อช่องคลอด หรือที่เรียกว่า “ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก” หรือ “ติ่งเนื้อในมดลูก” มีขนาดเล็กเท่าเมล็ดงาไปจนถึงใหญ่กว่าลูกกอล์ฟ รูปร่างกลม หรือเป็นวงรีมีก้าน
- แนะนำให้ตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่างๆ
- การผ่าตัดติ่งเนื้อช่องคลอด แพทย์จะนำติ่งเนื้อไปตรวจสอบว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ หากติ่งเนื้อโตขึ้นอีกจำเป็นต้องได้รับการรักษาซ้ำ
อาการของติ่งเนื้อช่องคลอด
- มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์
- มีเลือดออกในช่วงที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน หรือในวัยหมดประจำเดือน
- มีประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ
- มีความรู้สึกปวดท้องหน่วงๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีภาวะมีบุตรยาก
ผ่าตัดติ่งเนื้อช่องคลอด ด้วยการส่องกล้อง
- เหมาะกับติ่งเนื้อที่ขนาดไม่เกิน 3 มม.
รู้จักโรคนี้
ติ่งเนื้อช่องคลอด คืออะไร?
ติ่งเนื้อช่องคลอด หรือที่เรียกว่า “ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก” หรือ “ติ่งเนื้อในมดลูก” เป็นติ่งเนื้อที่เกิดจากการการที่เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตมากเกินไป มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อยื่นออกมา มีขนาดเล็กเท่าเมล็ดงาไปจนถึงใหญ่กว่าลูกกอล์ฟ โดยจะมีลักษณะรูปร่างกลม หรือเป็นวงรีมีก้าน
สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อช่องคลอด
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดแน่ชัด แต่คาดว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านี้
- ระดับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายที่สูงกว่าปกติ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาในช่วงที่มีประจำเดือน
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่รับประทานยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen) ที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม
- ผู้ที่ใช้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน
สัญญาณที่ต้องตรวจ
อาการของติ่งเนื้อช่องคลอด
โดยปกติแล้ว ติ่งเนื้อช่องคลอดจะไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ แต่สามารถทำให้เกิดอาการในบางรายได้ดังนี้
- มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์
- มีเลือดออกในช่วงที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน หรือในวัยหมดประจำเดือน
- มีประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ
- มีความรู้สึกปวดท้องหน่วง ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีภาวะมีบุตรยาก
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
เมื่อไหร่ที่ต้องผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอด
หากคุณมีอาการที่เข้าข่ายติ่งเนื้อในช่องคลอด เช่น มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกในช่วงที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน ประจำเดือนมามากกว่าปกติ แนะนำให้พบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ หากเกิดจากติ่งเนื้อช่องคลอด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดติ่งเนื้อช่องคลอดออกทันที
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอด คืออะไร?
การผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอด คือ การผ่าตัดโดยการใช้อุปกรณ์ผ่าตัดที่มีกล้องขนาดเล็ก สอดเข้าไปทางรูที่เจาะไว้บริเวณช่องท้อง หรือผ่านเข้าไปทางช่องคลอดโดยตรง เพื่อทำการผ่าตัดติ่งเนื้อช่องคลอดออกมา
โดยกล้องจะทำหน้าที่แทนดวงตาของแพทย์ คอยบันทึกภาพและส่งมายังจอรับภาพ ทำให้แพทย์สามารถผ่าตัดได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลยาว
การผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอดนั้น จะมีข้อดีตรงที่แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก กระทบต่ออวัยวะภายในน้อย ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเกิดพังผืดหลังผ่าตัดได้มาก นอกจากนี้ยังเจ็บน้อยกว่า หายไวกว่า พักฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลที่หน้าท้อง
ขั้นตอนการผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอดเป็นอย่างไร?
การผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอด มีขั้นตอนดังนี้
- วิสัญญีแพทย์จะทำการระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์ทำการผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอด
- หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว แพทย์จะใช้พลาสเตอร์ปิดแผลผ่าตัดไว้ และส่งผู้เข้ารับการรักษาไปนอนพักสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้น
การผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอดใช้ระยะเวลาเท่าไหร่?
การผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอดใช้ระยะเวลาประมาณ 30-60 นาที
การผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอดต้องพักฟื้นนานเท่าไหร่?
โดยทั่วไป หลังจากที่ผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอดเสร็จแล้ว จะสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติภายใน 1-2 สัปดาห์
ข้อจำกัดในการเข้ารับการผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอด
การผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอดอาจไม่สามารถทำได้ในผู้ที่มีติ่งเนื้อในช่องคลอดขนาดใหญ่กว่า 3 มิลลิเมตร
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะตรวจประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัดให้เรียบร้อย
- ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้ดีขึ้น และลดโอกาสในการติดเชื้อหลังผ่าตัด
- งดการสูบบุหรี่อย่างน้อย 3-6 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะนิโคตินในบุหรี่จะส่งผลกระทบต่อการหายของบาดแผล
- งดการใช้ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด เช่น ยาแอสไพริน ยาวาร์ฟาริน หรือยาในกลุ่มระงับอาการปวด
- งดการใช้ยาสมุนไพร อาหารเสริม หรือวิตามินบางประเภท ที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น น้ำมันปลา โอเมก้า 3 น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส หรือโคเอนไซม์คิวเทน เป็นต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
- งดรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างที่ได้รับยาระงับความรู้สึก
- หลังจากผ่าตัดแล้ว อาจจะต้องนอนพักฟื้นต่อที่โรงพยาบาล 1 วัน แนะนำให้เตรียมเสื้อผ้าและข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นไปให้เรียบร้อย
- ควรเตรียมผ้าอนามัยไปด้วย เพราะอาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลังจากผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- รับประทานยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- งดการว่ายน้ำ แช่อ่างอาบน้ำ ออกกำลังกายหนัก ยกสิ่งของหนัก และขับรถ อย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือจนกว่าที่แพทย์สั่ง
- งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหายดี ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรือจนกว่าที่แพทย์สั่ง
- หลังจากขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะจะต้องล้างทำความสะอาดและซับให้แห้งทุกครั้ง
- สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แต่ห้ามสวนล้างช่องคลอดโดยเด็ดขาด
- ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยให้บ่อยๆ เพื่อป้องกันการอับชื้นและการสะสมของเชื้อโรคจนนำไปสู่การติดเชื้อ หรือแผลอักเสบ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดส่องกล้องตัดติ่งเนื้อช่องคลอดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย (พบได้น้อย) เช่น การติดเชื้อหรือมีเลือดออกจากช่องคลอด ปากมดลูกเสียหาย มีภาวะพังผืดในโพรงมดลูก หรือมดลูกทะลุ
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกจำนวนมาก หรือหนองออกจากช่องคลอด มีไข้ หนาวสั่น ปวดท้องรุนแรง หรือตกขาวมีกลิ่นออกมา จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงวันนัดหมาย
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
คุณหมอสูตินรีเวช ปริญญาเอกและเกียรตินิยมอันดับ 1 ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับผู้ที่มีบุตรยากหรือมีปัญหาสุขภาพผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.นพ. เกรียงศักดิ์ ศิริศักดิ์พาณิชย์ (หมอเล็ก)
หมอสูตินรีเวช เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดส่องกล้อง
ข้อมูลของแพทย์
- 2534 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- 2540 สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ นครสวรรค์
- 2541 สูติศาสตร์ นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- 2556 Certificate of Urogynecology Department of Obstetrics and Gynecology, Chang Gung Memorial Hospital (Taiwan)
- 2557 Certificate of International Fellowship Program in the Department of Urogynecology, Kameda Medical Center (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดส่องกล้อง
- โรคและหัตถการที่ชำนาญ สูตินรีเวชทั่วไป, โรคนรีเวชทางเดินปัสสาวะ, กระบังลมหย่อน (มดลูกหย่อน), การควบคุมปัสสาวะผิดปกติ, ปัสสาวะเล็ด, ผ่าตัดโรคกระบังลมหย่อน, ผ่านทางหน้าท้องด้วยวิธีส่องกล้อง, ผ่าตัดรักษาโรคกระบังลมหย่อนทางช่องคลอดโดยการใช้ตาข่ายช่วยยึด, ผ่าตัดโรคปัสสาวะเล็ดโดยการใช้ตาข่ายยกท่อปัสสาวะ
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา