ผ่าตัดเสริมเต้านมด้วยเนื้อไขมัน สำหรับผู้ที่สูญเสียเต้านมจากมะเร็ง
เสริมด้วยไขมัน แต่งรูปทรงได้สวย ดูเป็นธรรมชาติ
ไขมันจะช่วยฟื้นฟูผิวเต้านมที่เสียจากการฉายรังสี
แพ็กเกจนี้เป็นการระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย
- การตรวจเจอความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาทำได้ง่ายขึ้น
- เนื้องอกเต้านม ตอนสัมผัสจะกลิ้งไปมาได้ อาจเป็นเนื้อหรือของแข็ง อาจมีขนาดเท่าเดิม หดเล็กจนหายไปเอง หรือมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้ แต่จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงช้าๆ มักโตขึ้นช่วงใกล้รอบเดือนและจะเล็กลงหลักจากรอบเดือนมาแล้ว
- แต่มะเร็งเต้านมจะโตขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาอันสั้น!!
ไม่แน่ใจว่าที่เป็นอยู่คือมะเร็งเต้านม หรือเนื้องอกเต้านม
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมใกล้บ้านที่นี่
ตรวจเจอมะเร็งแต่เนิ่นๆ สามารถตัดรักษาและเสริมสร้างเต้านมใหม่ได้เลย
- มะเร็งต้องเป็นก้อนเล็ก ระยะไม่ลุกลาม
- เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมยังไม่ได้รับความเสียหายจากการฉายแสง หรือมีบาดแผล
- แผลผ่าตัดจะเป็นแผลเดียวกับที่ผ่าตัดมะเร็ง
รีบรักษาแต่เนิ่นๆ ตัดก้อนมะเร็งพร้อมเสริมใหม่ได้เลย
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
เสริมสร้างเต้านมด้วยเนื้อไขมันคือ การดูดเอาไขมัน เช่น หน้าท้อง ต้นขา หรือสะโพก มาปั่นแยกเอาเฉพาะเซลล์ไขมันแล้วฉีดเสริมสร้างเต้านมใหม่
- ทำง่าย แต่งรูปทรงได้สวย ดูเป็นธรรมชาติ
- ไขมันจะช่วยฟื้นฟูผิวเต้านมที่เสียจากการฉายรังสี
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านมหรือรักแร้
- ขนาดหรือรูปร่างเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม
- มีรอยบุ๋มที่เต้านม คล้ายลักยิ้มหรือผิวเปลือกส้ม
- มีน้ำหรือของเหลวไหลออกจากหัวนม
- มีแผลบริเวณหัวนมแล้วรักษาไม่หาย
- เจ็บหรือปวดเต้านมโดยไม่เกี่ยวกับประจำเดือน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง (ควรทำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงหลังมีประจำเดือนวันที่ 7-10) [ดูวิดีโอแนะนำที่นี่]
- ตรวจเต้านมโดยแพทย์
- ตรวจอัลตราซาวด์เต้านม (Ultrasound)
- ตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือที่เรียกว่า “Breast MRI” มักใช้ตรวจคัดกรองกรณีที่ผลตรวจอัลตราซาวด์และแมมโมแกรมไม่ชัดเจน
- ตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) เพื่อวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
อายุเท่าไหร่ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม?
- ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญการทุก 3 ปี
- ผู้หญิงอายุ 40-69 ปี ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญการทุก 1 ปี และตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
- ผู้หญิงอายุ 70 ปีขึ้นไป ความถี่ในการเข้ารับการตรวจขึ้นกับการประเมินของแพทย์
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ผู้หญิงที่เข้าวัย 40 ปีจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) ร่วมกับตรวจอัลตราซาวด์ (Breast Ultrasound) อย่างสม่ำเสมอทุกปี
- ถ้าตรวจเจอก้อนเนื้อหรือความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจพิสูจน์ประเภทของก้อนเนื้อด้วยการใช้เข็มเจาะนำชิ้นเนื้อไปส่งตรวจวินิจฉัยว่าเป็นก้อนมะเร็งหรือไม่
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักการผ่าตัดนี้
เสริมสร้างเต้านมด้วยเนื้อไขมัน (Delayed Breast Reconstruction by Fat Grafting Lipofilling) คือ การดูดเอาไขมันส่วนอื่น เช่น หน้าท้อง ต้นขา หรือสะโพก มาปั่นแยกเอาเฉพาะเซลล์ไขมันแล้วฉีดเสริมสร้างเต้านมใหม่
- ทำได้ง่าย
- ปรับแต่งเต้านมให้ได้รูปทรงที่สวยงามดูเป็นธรรมชาติ
- ไขมันจะช่วยฟื้นฟูผิวเต้านมที่เสียจากการฉายรังสี
การเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยการฉีดไขมันได้จะต้องรักษามะเร็งเต้านมจนหายดีแล้วเท่านั้น
- ถ้ายังอยู่ในระหว่างการรักษามะเร็งเต้านม เช่น ทำรังสีรักษา หรือเคมีบำบัดอยู่ จะไม่แนะนำให้ทำ เพราะจะส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตของเซลล์ไขมันได้
ขั้นตอนการเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยการฉีดไขมัน
- แพทย์กำหนดตำแหน่งดูดไขมันก่อน เช่น หน้าท้อง ต้นขา สะโพก หรือบั้นเอว
- ฉีดสารละลายผสมยาชาแล้วทำการดูดไขมันโดยเปิดแผลประมาณ 2-3 มม. ตามตำแหน่งที่กำหนด
- แพทย์จะดูดไขมันออกมามากกว่าปริมาณที่ต้องการ 30-40% เพื่อทดแทนการสูญสลายของไขมันหลังจากที่ฉีดเสริมสร้างเต้านมใหม่
- นำไขมันไปปั่นแยกเอาเฉพาะเซลล์ไขมันบริสุทธิ์ และทำการเย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย
- นำเซลล์ไขมันที่ได้มาฉีดเสริมสร้างเต้านม โดยแต่ละคนจะใช้ปริมาณไขมัน และมีตำแหน่งฉีดที่แตกต่างกัน
- แพทย์จะฉีดไขมันเสริมสร้างเต้านมในลักษณะกระจายตัว ไม่ฉีดกองรวมที่ใดที่หนึ่ง เพื่อป้องกันไขมันไปรวมตัวกันเป็นถุงไขมัน หรือมีการตายตัวจนจับเป็นหินปูน และจะเลือกฉีดในตำแหน่งที่ไม่รบกวนการตรวจอัลตราซาวด์และตรวจแมมโมแกรมในอนาคต
- หลังจากที่ฉีดไขมันเสริมสร้างเต้านมเสร็จแล้ว ก็จะเย็บปิดแผลบริเวณที่ฉีด
- เสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยการฉีดไขมัน จะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชม.
*แพ็กเกจนี้เป็นการระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
เสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยการฉีดไขมันภายใต้การฉีดยาชา
- ระหว่างการผ่าตัดจะรู้สึกตัวตลอดเวลา
- เหมาะกับคนที่มีข้อจำกัดในการดมยาสลบ
เสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยการฉีดไขมันภายใต้การดมยาสลบ
- ระหว่างผ่าตัดจะอยู่ภายใต้ยาสลบและดูแลโดยวิสัญญีแพทย์
- เหมาะกับคนที่กลัวการผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังการผ่าตัดจะต้องพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 1-2 วัน หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้วจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- กินยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่งให้ครบ เพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อ
- ทำความสะอาดแผลผ่าตัดตามที่แพทย์แนะนำ และจะต้องเปลี่ยนผ้าปิดแผล 1-2 ครั้งต่อวัน ในช่วง 3 วันแรก
- งดอาบน้ำในช่วง 3 วันแรกหลังฉีดไขมันเสริมสร้างเต้านม
- งดใส่ชุดชั้นในและยกทรงทุกชนิดในสัปดาห์แรกหลังฉีดไขมันเสริมสร้างเต้านม
- งดอาหารร้อน เผ็ด และเค็ม ในช่วงสัปดาห์แรกหลังฉีดไขมันเสริมสร้างเต้านม
- นอนหงาย หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ นอนตะแคง หรือกระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณเต้านมในช่วง 1 เดือนแรก
- หลังครบ 3 เดือนแล้ว ขนาดของเต้านมจะเริ่มคงที่ สามารถกลับมาใส่ยกทรงได้ตามปกติ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยการฉีดไขมันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการทำหัตถการ เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- เกิดการสะสมของน้ำเหลือง หรือเลือดบริเวณใต้ผิวหนัง
- มีความเสี่ยงที่จะเกิดการสลาย หรือตายของเซลล์ไขมันในระยะยาว
- หากเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังฉีดไขมันเสริมสร้างเต้านม ได้แก่ แผลบวม ปวดมากขึ้น มีไข้ แขนบวม ข้อไหล่ติด จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. วรเทพ กิจทวี (หมอเชน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2548 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- 2553 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป แพทยสภา
- 2556 ประกาศนียบัตร อนุสาขาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- Certificate of Visiting Fellowship in Minimal Invasive and Endoscopic Breast Surgery, Kameda Medical Center (Japan)
- Masterclass in Endoscopic and Robotic Breast Surgery (Taiwan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ