ผ่าตัดมะเร็งเต้านม ด้วยการเสริมเต้านม พร้อมตัดต่อมน้ำเหลือง (แบบเปิด)
รีบรักษาแต่เนิ่นๆ ตัดก้อนมะเร็งพร้อมเสริมใหม่ได้เลย
การตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลเพื่อตรวจยืนยันว่ามะเร็งกระจายไปต่อมน้ำเหลืองอื่นไหม ถ้าไม่กระจายจะหยุดตัดเลาะต่อมน้ำเหลือง
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย
- การตรวจเจอความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาทำได้ง่ายขึ้น
- เนื้องอกเต้านม ตอนสัมผัสจะกลิ้งไปมาได้ อาจเป็นเนื้อหรือของแข็ง อาจมีขนาดเท่าเดิม หดเล็กจนหายไปเอง หรือมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้ แต่จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงช้าๆ มักโตขึ้นช่วงใกล้รอบเดือนและจะเล็กลงหลักจากรอบเดือนมาแล้ว
- แต่มะเร็งเต้านมจะโตขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาอันสั้น!!
ไม่แน่ใจว่าที่เป็นอยู่คือมะเร็งเต้านม หรือเนื้องอกเต้านม
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมใกล้บ้านที่นี่
ตรวจเจอมะเร็งแต่เนิ่นๆ สามารถตัดรักษาและเสริมสร้างเต้านมใหม่ได้เลย
- มะเร็งต้องเป็นก้อนเล็ก ระยะไม่ลุกลาม
- เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมยังไม่ได้รับความเสียหายจากการฉายแสง หรือมีบาดแผล
- แผลผ่าตัดจะเป็นแผลเดียวกับที่ผ่าตัดมะเร็ง
รีบรักษาแต่เนิ่นๆ ตัดก้อนมะเร็งพร้อมเสริมใหม่ได้เลย
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล (Sentinel Lymph Node) คือ ต่อมน้ำเหลืองแรกที่รับน้ำเหลืองจากเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เกี่ยวข้อง เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายมามากที่สุด
- ถ้ามะเร็งกระจายมายังต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลก็จะผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด ถ้ามะเร็งไม่แพร่กระจาย ก็จะหยุดเลาะต่อมน้ำเหลืองออกทันที
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านมหรือรักแร้
- ขนาดหรือรูปร่างเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม
- มีรอยบุ๋มที่เต้านม คล้ายลักยิ้มหรือผิวเปลือกส้ม
- มีน้ำหรือของเหลวไหลออกจากหัวนม
- มีแผลบริเวณหัวนมแล้วรักษาไม่หาย
- เจ็บหรือปวดเต้านมโดยไม่เกี่ยวกับประจำเดือน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง (ควรทำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงหลังมีประจำเดือนวันที่ 7-10) [ดูวิดีโอแนะนำที่นี่]
- ตรวจเต้านมโดยแพทย์
- รตรวจอัลตราซาวด์เต้านม (Ultrasound)
- ตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือที่เรียกว่า “Breast MRI” มักใช้ตรวจคัดกรองกรณีที่ผลตรวจอัลตราซาวด์และแมมโมแกรมไม่ชัดเจน
- ตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) เพื่อวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
อายุเท่าไหร่ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม?
- ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญการทุก 3 ปี
- ผู้หญิงอายุ 40-69 ปี ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญการทุก 1 ปี และตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
- ผู้หญิงอายุ 70 ปีขึ้นไป ความถี่ในการเข้ารับการตรวจขึ้นกับการประเมินของแพทย์
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ผู้หญิงที่เข้าวัย 40 ปีจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) ร่วมกับตรวจอัลตราซาวด์ (Breast Ultrasound) อย่างสม่ำเสมอทุกปี
- ถ้าตรวจเจอก้อนเนื้อหรือความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจพิสูจน์ประเภทของก้อนเนื้อด้วยการใช้เข็มเจาะนำชิ้นเนื้อไปส่งตรวจวินิจฉัยว่าเป็นก้อนมะเร็งหรือไม่
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดมะเร็งเต้านม และการเสริมเต้านมแบบเปิด (Open Breast Reconstruction by Prosthesis) คือ วิธีรักษาเนื้องอกเต้านมแบบดั้งเดิม โดยแพทย์จะผ่าตัดเปิดแผลให้มีขนาดเท่ากับก้อนเนื้อ หรือใหญ่กว่า เพื่อจะได้มีช่องทางเข้าไปตัดเอาก้อนเนื้อที่เต้านมออก จากนั้นจะซ่อนแผลไว้ตามตำแหน่งต่างๆ ของเต้านม เพื่อให้ยังคงมีความสวยงามอยู่
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมแบบเปิด รักษาได้ทั้งเนื้องอกชนิดธรรมดา เพื่อป้องกันไม่ให้ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น และเนื้องอกชนิดที่เป็นมะเร็ง เพื่อไม่ให้มีมะเร็งเหลือที่เต้านม และควบคุมไม่ให้โรคกลับมาเป็นซ้ำอีก
ต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล (Sentinel Lymph Node) คือ ต่อมน้ำเหลืองแรกที่รับน้ำเหลืองจากเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะส่งต่อไปยังต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ โดยต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้มักจะเป็นบริเวณแรกที่มะเร็งเต้านมจะแพร่กระจายมามากที่สุด การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กับการผ่าตัดเต้านม เพื่อที่แพทย์จะได้ดูว่ามีมะเร็งเต้านมแพร่กระจายหรือไม่ และสามารถตัดต่อมน้ำเหลืองที่มีการแพร่กระจายของโรคออกไปจากร่างกายด้วย
ขั้นตอนการผ่าตัดมะเร็งเต้านม และเสริมสร้างเต้านม (แบบเปิด) พร้อมตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลออก (แบบเปิด)
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลผ่าตัดขนาดเท่ากับหรือใหญ่กว่าก้อนเนื้องอก จากนั้นเอาเนื้องอกส่วนเกินพร้อมเนื้อเยื่อข้างเคียงออก
- แพทย์จะฉีดสารนำร่องเพื่อหาทางเดินของน้ำเหลืองว่ามะเร็งเคลื่อนที่ไปตามทางเดินน้ำเหลืองใดบ้าง แล้วทำการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลออกมาตรวจแบบเร่งด่วนใน 30-40 นาที
- ถ้ามะเร็งกระจายมายังต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลก็จะทำการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมดตามวิธีมาตรฐาน แต่ถ้าไม่แพร่กระจาย ก็จะหยุดเลาะต่อมน้ำเหลืองออกทันที
- แพทย์ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ให้ผู้ป่วย
- การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2 ชม. ขึ้นไป ขึ้นกับว่ามีการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ด้วยหรือไม่
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมแบบเปิดมี 2 แบบคือ
- ผ่าตัดเนื้องอกเต้านมออกบางส่วน เป็นการตัดเอาก้อนเนื้อและเนื้อเยื่อเต้านมบางส่วนที่อยู่รอบๆ ก้อนเนื้อ และที่อยู่ด้านบนของกล้ามเนื้อหน้าอกออก
- ผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด เป็นการตัดเต้านมออกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ก้อนเนื้อ เนื้อเต้านม และปานนม
โดยทั่วแล้วคนเราจะมีต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ประมาณ 10-50 ต่อม
- ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้มักจะเป็นบริเวณแรกที่มะเร็งเต้านมจะแพร่กระจายมามากที่สุด
- การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ต้องทำคู่กับการผ่าตัดเต้านม เพื่อจะได้ดูว่ามีมะเร็งเต้านมแพร่กระจายหรือไม่ และสามารถตัดต่อมน้ำเหลืองที่มีการแพร่กระจายของโรคออกไปจากร่างกายได้
การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองมี 2 แบบคือ
- ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด (Axillary Lymph Node Dissection : ALND) เป็นวิธีผ่าตัดมาตรฐาน เลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมดไปพร้อมๆ กับการผ่าตัดเต้านม
- เหมาะกับคนที่มะเร็งเต้านมมีขนาดใหญ่กว่า 2 ซม. ขึ้นไป
- ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล (Sentinel Lymph Node Biopsy : SLNB) เป็นการผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองต่อมแรกที่รับน้ำเหลืองจากมะเร็ง มีชื่อเรียกว่า “ต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล” แล้วตรวจดูว่ามีการกระจายของโรคมะเร็งหรือไม่
- ถ้ามะเร็งกระจายมายังต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลก็จะผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมดตามวิธีมาตรฐาน
- ถ้ามะเร็งไม่แพร่กระจาย ก็จะหยุดเลาะต่อมน้ำเหลืองออกทันที
การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมมี 2 แบบคือ
- ผ่าตัดโดยการย้ายกล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหลัง หรือกล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้องมาใส่แทน
- ผ่าตัดโดยใช้เต้านมเทียม หรือถุงซิลิโคนมาทดแทนเต้านมที่ตัดทิ้งไป
การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมทำได้ 2 ช่วงเวลาคือ
- ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม พร้อมกับผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม ทำได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะแรก (Early Stage) เท่านั้น หรือผู้ป่วยที่ยังไม่จำเป็นต้องรักษาโรคมะเร็งด้วยการฉายแสง
- ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมหลังจากรักษามะเร็งเต้านมแล้ว โดยส่วนมากจะทิ้งระยะห่างประมาณ 1-2 ปีหลังการรักษา
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการทำหัตถการเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการหัตถการ ทำให้การทำหัตถการเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- แจ้งให้แพทย์ หรือพยาบาลทราบเกี่ยวกับภาวะสุขภาพต่างๆ รวมถึงอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาอย่างละเอียด
- ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้ดีขึ้น
- งดการใช้ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด เช่น ยาแอสไพริน ยาวาร์ฟาริน หรือยาในกลุ่มระงับอาการปวด
- งดการใช้ยาสมุนไพร อาหารเสริม หรือวิตามินบางประเภท ที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น น้ำมันปลา โอเมก้า 3 น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส หรือโคเอนไซม์คิวเทน เป็นต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
- เตรียมเสื้อผ้าและข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นติดตัวไปด้วย เนื่องจากจะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 1-5 คืน
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังการผ่าตัดจะต้องพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 3 วัน ถ้าไม่มีอาการผิดปกติแพทย์จะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ โดยผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- ระมัดระวังไม่ให้มีวัตถุ หรือเครื่องประดับมารัดแขนข้างที่ผ่าตัด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสความร้อนและแสงแดดจัด
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การออกแรงทำกิจกรรมซ้ำๆ และการสะพายของ หรือแบกของบนไหล่ในข้างที่ผ่าตัด
- ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือติดเชื้อบริเวณแขนและมือข้างที่ผ่าตัด
- หลีกเลี่ยงการวัดความดันโลหิต ฉีดยา เจาะเลือด หรือให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในข้างที่ทำการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก
- ทำความสะอาดแผลผ่าตัดตามที่แพทย์แนะนำ และหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำจนกว่าแพทย์จะอนุญาต ถ้าหากมีอาการเจ็บปวด หรือบวมแดง จะต้องไปพบแพทย์ทันที
- สามารถนวดแขนตัวเองเพื่อลดอาการแขนบวมได้ โดยให้ยกแขนข้างที่ผ่าตัดขึ้น แล้วค่อยๆ นวดไล่จากปลายมือลงไปที่ต้นแขนอย่างเบามือ ประมาณ 20 ครั้งต่อรอบ 3-4 รอบต่อวัน ซึ่งจะต้องนวดตั้งแต่แขนเริ่มบวมในระยะแรกๆ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนมีลักษณะแข็ง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมแบบเปิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการทำหัตถการ เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- เกิดการสะสมของน้ำเหลือง หรือเลือดบริเวณใต้ผิวหนัง
- แผลหายช้าจากการที่ขอบแผลมีเลือดมาหล่อเลี้ยงได้น้อย และทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสี
- หัวไหล่ติด ยกแขนได้ไม่สุด เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ชั่วคราว สามารถรักษาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด
- แผลไม่หายเป็นปกติ โดยจะทำให้เกิดแผลเป็น แดง และเจ็บ
- แขนบวมข้างที่ทำการผ่าตัด เป็นผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปจากการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออก
- เซลล์มะเร็งกลับมาก่อตัวอีกครั้ง ถ้าหากตรวจพบ จะต้องรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด ฉายแสงรังสี หรือทำการผ่าตัดเพิ่มเติม
- มีอาการปวดเรื้อรังบริเวณที่ผ่าตัด สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด
- มีความรู้สึกกังวลและซึมเศร้า จึงควรเข้ารับการปรึกษาทางจิตเวชทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. วรเทพ กิจทวี (หมอเชน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2548 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- 2553 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป แพทยสภา
- 2556 ประกาศนียบัตร อนุสาขาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- Certificate of Visiting Fellowship in Minimal Invasive and Endoscopic Breast Surgery, Kameda Medical Center (Japan)
- Masterclass in Endoscopic and Robotic Breast Surgery (Taiwan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ