ผ่าตัดรักษาภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ด้วยการใส่ท่อระบายน้ำจากโพรงสมองเข้าสู่ช่องท้อง
ถ้าไม่รีบรักษา เสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม และเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้
ผ่าตัดใส่สายระบายครั้งเดียว ปรับความดันของน้ำได้เรื่อยๆ ไม่ต้องกลับมาผ่าตัดซ้ำอีก
แผลเล็ก ผลข้างเคียงและโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง คือ ภาวะที่น้ำไขสันหลังมีปริมาณมากเกินจนทำให้โพรงน้ำขยายตัว สมองเลยเกิดความผิดปกติจนลุกลามทำให้เกิดอาการทางกายและทางสติปัญญา
- ถ้ารักษาช้า อาจทำให้เป็นสมองเสื่อมโดยสมบูรณ์ และเป็นผู้ป่วยติดเตียง
- ทำให้กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ ส่งผลต่อสุขอนามัย และเสี่ยงติดเชื้อโรคต่างๆ
- เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจนพิการ ร่างกายบาดเจ็บรุนแรง เช่น กระดูกหัก เส้นประสาทกดทับ และเกิดภาวะแทรกซ้อนอีกหลายอย่าง
แนะนำรีบรักษาโดยด่วน ก่อนจะกระทบกับการใช้ชีวิต
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
การใส่ท่อระบายน้ำจากโพรงสมองเข้าสู่ช่องท้อง รักษาภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองได้ดี
- ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน ประมาณ 1 ชม. แต่ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพสูง
- แผลเล็ก ผลข้างเคียงและโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ
- ปรับความดันของน้ำได้เรื่อยๆ ไม่ต้องกลับมาผ่าตัดซ้ำอีกครั้ง
การผ่าตัดไม่น่ากลัวและยุ่งยากอย่างที่คิด
ให้ทีม HDcare ดูแลทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ
รู้จักโรคนี้
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง คืออะไร?
โดยปกติสมองของมนุษย์จะมีน้ำหล่อเลี้ยงเนื้อสมองและไขสันหลังอยู่ตลอดเวลา หรือที่เรียกว่า “น้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid: CSF)” ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงสมอง รวมถึงป้องกันสมองกับไขสันหลังจากการปะทะหรือแรงกระแทกจากการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus) คือ ภาวะที่น้ำไขสันหลังมีปริมาณมากเกินไป จนทำให้โพรงน้ำซึ่งเป็นที่เก็บและเป็นทางเดินของน้ำไขสันหลังเกิดการขยายตัว ทำให้สมองเกิดความผิดปกติจนลุกลามทำให้เกิดอาการทางกายและทางสติปัญญา เช่น
- มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม
- พูดน้อยลง หรือพูดจาสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ได้
- ตอบสนองช้า คิดช้าลง ดูเซื่องซึม
- ก้าวขาไม่ออก ก้าวเดินได้ช้าลง
- ทรงตัวไม่อยู่ เดินเซ หกล้มบ่อย
- กลั้นปัสสาวะลำบาก
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองเกิดจากอะไร?
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองโดยส่วนมากเกิดจากความผิดปกติ หรืออาการบาดเจ็บที่กระทบกระเทือนไปถึงสมอง เช่น
- การดูดซึมของน้ำในโพรงสมองลดลง
- ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง
- ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ภาวะเยื่อหุ้มสมองติดเชื้อ
- มีเนื้องอกในสมอง
- การตกจากที่สูง
- การได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงที่สมอง
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- มีอาการหลงลืม ความจำเสื่อม
- พูดน้อยลง หรือพูดจาสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ได้
- ตอบสนองช้า คิดช้าลง ดูเซื่องซึม
- ก้าวขาไม่ออก ก้าวเดินได้ช้าลง
- ทรงตัวไม่อยู่ เดินเซ หกล้มบ่อย
- กลั้นปัสสาวะลำบาก
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- การตรวจร่างกาย ร่วมกับการวิเคราะห์การเคลื่อนไหว (Gait Analysis)
- การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการทำ CT Scan
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กกไฟฟ้า MRI (Magnetic Resonance Imaging)
- การเจาะน้ำจากช่องไขสันหลัง (Lumber Puncture Cerebrospinal Fluid Examination)
- การทดสอบทางประสาทจิตวิทยา (Neuropsychological Testing)
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดรักษาภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ด้วยการใส่ท่อระบายน้ำจากโพรงสมองเข้าสู่ช่องท้อง (Lumbro-Peritoneal Shunt Surgery: LPS) คือ การรักษาภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ด้วยการผ่าตัดใส่ท่อขนาดเล็กพร้อมกับวาล์วความดันเพื่อเป็นที่กักเก็บและทางเดินใหม่ของน้ำไขสันหลัง ช่วยให้สามารถระบายปริมาณน้ำไขสันหลังส่วนที่มากเกินไปออกไปจากร่างกายได้
แพทย์จะต่อสายระบายจากช่องไขสันหลังที่หลังส่วนล่าง แล้วร้อยสายระบายจากด้านในผิวหนังไปเชื่อมกับสายระบายที่ตำแหน่งช่องท้อง ซึ่งโดยปกติช่องท้องของเราจะมีลักษณะเป็นถุงและมีอวัยวะต่างๆ อยู่ภายใน เช่น ตับ ม้าม ไต ลำไส้ หลังจากน้ำไขสันหลังไหลผ่านสายระบายเข้ามาที่ช่องท้อง ก็จะไปรวมตัวอยู่กับอวัยวะเหล่านี้ที่อยู่ด้านในช่องท้อง จากนั้นจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และระบายออกจากร่างกายในรูปของปัสสาวะ
สายระบายน้ำไขสันหลังแบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ สายระบายที่ปรับความดันไม่ได้ (Non Programmable Valve หรือ Fixed-Pressure Valve) และสายระบายที่ปรับความดันได้ (Programmable Valve หรือ Adjustable-Pressure Valve)
การผ่าตัดใส่สายระบายจากไขสันหลังสู่ช่องท้องจะนิยมใช้สายระบายที่ปรับความดันได้มากกว่า เพื่อป้องกันโอกาสที่น้ำไขสันหลังจะยังระบายออกได้ไม่มากพอหรือมากเกินไปหลังผ่าตัด จนทำให้เกิดภาวะสมองบวมหรือยุบตัวมากเกินไป
ขั้นตอนการใส่ท่อระบายน้ำจากโพรงสมองเข้าสู่ช่องท้อง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลขนาดเล็กที่หลังส่วนล่าง แล้วใช้เข็มสอดเข้าไปเพื่อเปิดช่องว่างสำหรับใส่สายระบาย
- แพทย์เปิดแผลอีกตำแหน่งที่ช่องท้อง และใส่สายระบายเข้าไป ร้อยไปตามแนวกระดูกสะโพกหรือกระดูกซี่โครง
- แพทย์ทดสอบว่าน้ำไขสันหลังสามารถไหลผ่านสายระบายได้ดีหรือไม่ จากนั้นต่อสายระบายเข้ากับวาล์วเปิด-ปิดซึ่งจะติดตั้งอยู่ด้านในผิวหนังตรงส่วนเอว
- แพทย์เย็บปิดแผล
- แพทย์ปรับความดันน้ำในสายระบายผ่านอุปกรณ์แม่เหล็กไร้สาย จากนั้นส่งตัวผู้ป่วยไปเฝ้าดูอาการต่อที่ห้องพักฟื้น
การปรับความดันของน้ำจากสายระบาย แพทย์จะใช้อุปกรณ์แม่เหล็กไร้สายในการปรับความดันน้ำผ่านวาล์วที่ติดตั้งไว้กับสายระบาย เป็นการปรับความดันน้ำจากภายนอกร่างกาย ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัด
โดยทั่วไปสายระบายน้ำไขสันหลังจะเป็นวัสดุทางการแพทย์ที่ไม่จำเป็นต้องถอดเปลี่ยนภายหลัง นอกจากแพทย์ตรวจพบความเสียหายของสายระบาย หรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่ทำให้ต้องผ่าตัดเปลี่ยนสายระบายอีกครั้ง
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ผู้เข้ารับบริการแจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา รายการยาประจำตัว วิตามินเสริม อาหารเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพกับแพทย์ล่วงหน้า
- แพทย์และพยาบาลตรวจประเมินระบบประสาทของผู้เข้ารับบริการเพิ่มเติมก่อนผ่าตัด เช่น อาการเวียนศีรษะ ประสิทธิภาพการทรงตัวและการเดิน ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงอาจแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการตรวจสุขภาพและตรวจร่างกายเพิ่มเติม
- งดรายการยาและวิตามินเสริมตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- งดน้ำและงดอาหารล่วงหน้า 6-8 ชั่วโมง
- อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดก่อนเดินทางมาโรงพยาบาล และก่อนเข้าห้องผ่าตัด แพทย์อาจให้ผู้เข้ารับบริการอาบน้ำหรือชะล้างผิวกายอีกครั้งด้วยสบู่ฆ่าเชื้อพิเศษสำหรับผู้ป่วยที่จะรับการผ่าตัดเสียก่อน
- งดทาเล็บ งดใส่คอนแทคเลนส์ และถอดฟันปลอมก่อนเดินทางมาผ่าตัด
- ควรถอดเครื่องประดับและของมีค่าเก็บไว้ที่บ้าน
- ลางานล่วงหน้าเพื่อเผื่อเวลาพักฟื้น 1 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
- พาญาติมาด้วยในวันผ่าตัด เพื่อให้ช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างพักฟื้นที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีการปัญหาด้านสมรรถภาพร่างกายจากภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองอยู่แล้ว
การดูแลหลังผ่าตัด
- ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อระบายชนิดปรับความดันได้ ให้ระมัดระวังอย่าเข้าใกล้วัตถุหรืออุปกรณ์ที่มีแม่เหล็กกำลังสูง หรือหากจำเป็นต้องตรวจสุขภาพที่มีการใช้แม่แม่เหล็กไฟฟ้า เช่น การทำ MRI ให้แจ้งแพทย์ล่วงหน้าก่อน
- ในผู้ป่วยที่สมรรถภาพร่างกายยังไม่แข็งแรงหรือมีอาการกล้ามเนื้อออกแรง ให้ทำกายภาพบำบัดกับนักกายภาพบำบัด รวมถึงทำกายภาพบำบัดเองที่บ้านตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ
- หมั่นขยับขาออกกำลังกายบนเตียงเบาๆ เพื่อป้องกันแผลกดทับ และกระตุ้นการไหลเวียนของหลอดเลือด รวมถึงลดอาการท้องอืด
- ในช่วงแรกๆ เวลาขยับตัว อาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่ชินกับสายระบายที่ติดอยู่แถวช่องท้องได้บ้าง
- ฝึกหายใจตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อป้องกันภาวะปอดอักเสบ
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทำให้แผลได้รับความกระทบกระเทือน
- สามารถกินอาหารได้ตามปกติ โดยไม่ต้องวิตกกังวลถึงสายระบายที่ติดอยู่ในช่องท้อง
- งดออกกำลังกายหนักๆ งดยกของหนัก งดทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก 6-12 สัปดาห์ หรือขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ แต่ในส่วนของการออกกำลังกายเบาๆ การทำกายบริหารมักจะกลับมาเริ่มทำได้หลังผ่าตัดได้ 6 สัปดาห์
- งดว่ายน้ำ อย่าให้แผลโดนน้ำหรือทำให้เปียกชื้น รวมถึงอย่าให้พลาสเตอร์ปิดแผลหลุดออกจนกว่าจะกลับมาตัดไหมผ่าตัดกับแพทย์ ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 7 วันหลังผ่าตัด
- แพทย์จะนัดหมายให้กลับมาตรวจเช็กระดับน้ำไขสันหลังภายหลังการผ่าตัดอยู่เป็นระยะๆ รวมถึงตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของอาการผิดปกติที่มีตั้งแต่ก่อนผ่าตัดว่าดีขึ้นหรือไม่
- หลีกเลี่ยงการปรับความดันน้ำที่วาล์วเอง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- หากพบอาการไข้สูง แผลบวมแดง รู้สึกว่าแผลร้อน ปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยทันที
- สายระบายน้ำมีการระบายน้ำไขสันหลังออกมากเกินไป เสี่ยงทำให้เกิดภาวะเลือดไหลที่เยื่อหุ้มสมองได้ และก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปลุกให้ตื่นยาก เซื่องซึม แขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน หรือชักเกร็ง หากพบกลุ่มอาการเหล่านี้ ให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยเร็ว
- สายระบายน้ำไม่ทำงาน ผู้ป่วยจึงจะมีอาการผิดปกติจากภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองเหมือนเดิม หรืออาจอาการแย่ลง หากหลังจากผ่าตัดยังพบว่าอาการยังไม่มีการเปลี่ยแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ให้เดินทางกลับมาพบแพทย์
ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง
นพ. จักรี ธัญยนพพร (หมอเบนซ์)
ศัลยแพทย์ระบบประสาท ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10+ ปี
ข้อมูลของแพทย์
-2547 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)
-2549 ประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์
-2553 สาขาประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
-2557 สาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ระบบประสาทผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์หลอดเลือดสมอง ตัดต่อหลอดเลือดสมอง
- รังสีร่วมรักษาระบบประสาท สำหรับผู้ป่วย stroke หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน หลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดสมองเชื่อมต่อผิดปกติ