ตัดชิ้นเนื้อกำหนดระยะโรคมะเร็ง
ผ่าตัดเพื่อประเมินการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
สำหรับมะเร็งทางนรีเวช (มะเร็งมดลูก, ปากมดลูก, รังไข่)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
โรคมะเร็ง ยิ่งตรวจพบได้เร็ว รักษาได้ทันท่วงที จะยิ่งเพิ่มโอกาสและประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองมะเร็งให้คุณวันนี้
การผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะโรค ช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดตามระยะของโรค
- ผ่าตัดเปิดแผลทางหน้าท้อง เปิดแผลเป็นแนวยาวหรือแนวขวาง เพื่อให้มองเห็นอวัยวะได้อย่างชัดเจน สามารถผ่าตัดมะเร็งที่มีขนาดใหญ่ได้ แต่แผลมีขนาดใหญ่ตาม และต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน
- ผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง เปิดแผลเป็นจุดเล็กๆ เพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไป ไม่เหมาะกับการผ่าตัดมะเร็งขนาดใหญ่ แต่แผลมีขนาดเล็ก และฟื้นตัวได้ไว
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
อย่าลืมไปตรวจภายในอย่างน้อยปีละครั้ง รวมถึงตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง หรืออัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ทางช่องคลอด (TVS)
- ไม่แน่ใจ ต้องผ่าไหม? ถ้าต้องผ่าต้องผ่าแบบไหน? ราคาเท่าไหร่? เบิกประกันได้ไหม?
- ทีมแพทย์ HDcare พร้อมให้คำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
- สูตินรีแพทย์เฉพาะทาง ประสบการณ์ 10+ ปี
- เลือกคุณหมอผู้หญิงได้
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
โรคมะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากการที่มีเซลล์ผิดปกติในร่างกาย และเซลล์เหล่านี้เจริญเติบโตรวดเร็วเกินกว่าที่ร่างกายจะควบคุมได้ และเแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง ทำให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด
ตัวอย่างโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชาย: มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งช่องปาก มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งหลอดอาหาร
ตัวอย่างโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง: มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งช่องปาก มะเร็งต่อมไทรอยด์ หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
โรคมะเร็งแบ่งเป็นกี่ระยะ?
โดยทั่วไป ระยะของโรคมะเร็งจะแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1: ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม
- ระยะที่ 2: ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะ
- ระยะที่ 3: ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มลุกลามไปยังเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะข้างเคียง และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะที่เป็นมะเร็ง
- ระยะที่ 4: ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่โตมาก และ/หรือ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะข้างเคียงจนทะลุ และ/หรือ เข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง และ/หรือ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิต หลอดน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะข้างเคียงที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก หรือไขกระดูก เป็นต้น
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- มีเลือดออกที่ช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งนรีเวชหลายอย่าง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกหรือมดลูก มะเร็งช่องคลอด
- ปวดบริเวณเชิงกราน ปวดเป็นประจำ หรือเป็นๆ หายๆ อาจเป็นสัญญาณของอาการมะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกหรือมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด
- ปวดที่ช่องท้อง ท้องบวม หรือปวดหลังบ่อยๆ เป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งรังไข่
- มีลักษณะผิดปกติที่ปากช่องคลอด เช่น ขึ้นผื่น เกิดอาการแสบหรือคัน มีไฝหรือหูดขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งปากช่องคลอด
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
การตรวจภายในเป็นประจำทุกปี จะช่วยให้แพทย์ตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และการรักษาอาจไม่จำเป็นต้องถึงขั้นผ่าตัด
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะโรค (Surgical Staging) เป็นขั้นตอนของการรักษาโรคมะเร็ง โดยแพทย์จะผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะส่วนที่เป็นมะเร็งออกมาตรวจดูว่าอยู่ในระยะไหน มีการแพร่กระจายมากน้อยเพียงใด เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
หลังจากที่แพทย์ตรวจวินิจฉัยแล้วว่า ผู้เข้ารับการรักษาเป็นโรคมะเร็ง แพทย์จะนัดผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะโรคโดยเร็วที่สุด
ขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะโรคจะแตกต่างกันไปตามชนิดของโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ 2 วิธีหลัก ได้แก่
- การผ่าตัดเปิดแผลทางหน้าท้อง: เป็นวิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยจะเปิดแผลบริเวณหน้าท้องเป็นแนวยาว หรือแนวขวาง เพื่อให้สามารถมองเห็นอวัยวะได้อย่างชัดเจน สามารถผ่าตัดมะเร็งที่มีขนาดใหญ่ได้ แต่แผลผ่าตัดมีขนาดใหญ่ และต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน
- การผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง: เป็นการผ่าตัดโดยการเจาะผ่านช่องท้อง หรือผิวหนังที่อยู่ใกล้บริเวณอวัยวะที่ต้องการผ่าตัด เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดที่มีการติดกล้องขนาดเล็กเข้าไปบันทึกภาพ และส่งมายังจอรับภาพ ทำให้สามารถผ่าตัดได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดแผลยาว แผลมีขนาดเล็กและพักฟื้นไม่นาน
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะตรวจประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัดให้เรียบร้อย
- ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้ดีขึ้น และลดโอกาสในการติดเชื้อหลังผ่าตัด
- งดการสูบบุหรี่อย่างน้อย 3-6 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะนิโคตินในบุหรี่จะส่งผลกระทบต่อการหายของบาดแผล
- งดการใช้ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด เช่น ยาแอสไพริน ยาวาร์ฟาริน หรือยาในกลุ่มระงับอาการปวด
- งดการใช้ยาสมุนไพร อาหารเสริม หรือวิตามินบางประเภท ที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น น้ำมันปลา โอเมก้า 3 น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส หรือโคเอนไซม์คิวเทน เป็นต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
- งดรับประทานอาหารและน้ำดื่ม 8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- ควรเตรียมเสื้อผ้า และข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นไปด้วย เพราะจะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- รับประทานยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
- ดูแลรักษาแผลให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
- สวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ เพื่อป้องกันการระคายเคือง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- งดอาบน้ำ สวนล้างช่องคลอด การแช่ในอ่างอาบน้ำ คูคลอง ทะเล หรือการว่ายน้ำ จนกว่าแพทย์จะอนุญาต เพราะเสี่ยงทำให้เกิดแผลติดเชื้อได้
- งดการมีเพศสัมพันธ์ อย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือจนกว่าแพทย์จะสั่ง
- งดการออกกำลังกายหนัก และการซาวน่า อย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือจนกว่าแพทย์จะสั่ง
- สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะโรคอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- หากมีอาการเลือดออก มีน้ำเหลือง หรือหนองไหลออกจากแผล แผลแยก แผลผ่าตัดบวม แดงและร้อน หรือปวดบริเวณแผล จะต้องรับไปพบแพทย์ทันที