รักษาหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยการใส่ขดลวดหรือกาวอุดหลอดเลือด
หลอดเลือดสมองโป่งพองมักไม่แสดงอาการ จะรู้อีกทีคือหลอดเลือดสมองแตก และอันตรายถึงชีวิต รีบตรวจก่อนจะสายเกินไป!
25% ของคนที่หลอดเลือดสมองแตก จะเสียชีวิตภายใน 24 ชม. และอีก 25% จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตภายใน 6 เดือน
รักษาหลอดเลือดโป่งพองด้วยวิธีฉีดสี อุดหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยขดลวด ทำให้เกิดลิ่มเลือดและหลอดเลือดอุดตัน
อย่ารอจนหลอดเลือดสมองแตก ต้องผ่าตัดเปิดกะโหลกเท่านั้น
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
หลอดเลือดสมองโป่งพองมักไม่แสดงอาการ จะรู้ก็ต่อเมื่อหลอดเลือดสมองแตกไปแล้ว แต่ถ้าหลอดเลือดโป่งพองมากจนกดเนื้อเยื่อสมองหรือเส้นประสาทในสมอง อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้
- ปัญหาการมองเห็น เช่น มองไม่เห็น หรือเห็นภาพซ้อน
- เจ็บปวดบริเวณเหนือหรือรอบดวงตา
- ใบหน้าข้างในข้างหนึ่งไร้ความรู้สึก หรืออ่อนแรง
- พูดลำบาก
- ปวดศีรษะ
- เสียการทรงตัว
- ปัญหาการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาด้านความจำระยะสั้น
อย่านิ่งนอนใจกับอาการผิดปกติที่หาสาเหตุไม่ได้
รีบปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare ก่อนจะสายเกินไป
10-30% ของคนที่เป็นหลอดเลือดสมองโป่งพอง มักจะเป็นมากกว่า 1 จุด ส่วนใหญ่เป็นหลอดเลือดโป่งพองขนาดเล็ก และไม่มีอาการผิดปกติ
- กระเปาะของหลอดเลือดโป่งพองที่ใหญ่กว่า 7 มม. มีโอกาสแตกสูง
- ถ้าหลอดเลือดโป่งมากจนเกินไป ผนังหลอดเลือดจะบางถึงขั้นแตกและสุดท้ายเลือดจะออกในสมอง
- ถ้าหลอดเลือดในสมองแตก ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หรืออาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
- 25% ของคนที่หลอดเลือดสมองแตก จะเสียชีวิตภายใน 24 ชม. และอีก 25% จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตภายใน 6 เดือน
อย่าปล่อยให้หลอดเลือดสมองโป่งพองจนรักษาไม่ได้
รีบปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
- ใช้วิธีฉีดสี อุดหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยขดลวด โดยขดลวดจะเหนี่ยวนำให้เกิดลิ่มเลือด ทำให้กระเปาะหลอดเลือดที่โป่งพองอุดตัน ไม่มีเลือดไหลเวียนมายังจุดนี้อีก ไม่ต้องดมยาสลบ ใช้แค่ยาชา ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
- ใช้กาวอุดหลอดเลือดที่โป่งพอง โดยกาวจะแข็งตัวอย่างรวดเร็วและติดอยู่กับที่ถาวร ไม่มีเลือดไหลเวียนมาจุดนี้อีก [ดูรายละเอียด]
ไม่แน่ใจว่าเราเหมาะกับวิธีไหน
ปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare ก่อนได้
รู้จักโรคนี้
รู้จักโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
หลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm) เป็นภาวะที่ผนังหลอดเลือดในสมองเกิดการขยายตัวโป่งออกเฉพาะจุด เนื่องจากผนังเส้นเลือดส่วนนั้นเสื่อมจนบางลง เมื่อเลือดไหลเวียนสู่กระเปาะที่โป่งพองนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ กระเปาะดังกล่าวก็จะยิ่งโป่งพองมากขึ้นจนคล้ายบอลลูน ทำให้ผนังหลอดเลือดยิ่งบางลง จนในที่สุดอาจถึงขั้นแตก ตามมาด้วยเลือดออกในสมองได้ในเวลาต่อมา
บริเวณหลอดเลือดสมองที่มีโอกาสเสื่อม บาง โป่งพองและแตก คือ ขั้วของหลอดเลือดที่แตกแขนงในสมอง
ผู้มีหลอดเลือดสมองโป่งพองราวๆ 10-30% มีหลอดเลือดสมองโป่งพองหลายมากกว่า 1 ตำแหน่ง โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นหลอดเลือดโป่งพองขนาดเล็ก และไม่ทำให้เกิดอาการแสดงที่ผิดปกติใดๆ
สัญญาณที่ต้องตรวจ
หลอดเลือดสมองโป่งพองมักไม่แสดงอาการ โดยทั่วไปจะมีอาการอย่างเฉียบพลันเมื่อหลอดเลือดสมองโป่งจนแตกออก แต่ถ้าหลอดเลือดโป่งพองมากจนไปกดเนื้อเยื่อสมองหรือเส้นประสาทในสมอง อาจทำให้เกิดอาการต่อไปนี้
- ปัญหาการมองเห็น เช่น มองไม่เห็น หรือเห็นภาพซ้อน
- เจ็บปวดบริเวณเหนือหรือรอบดวงตา
- ใบหน้าข้างในข้างหนึ่งไร้ความรู้สึก หรืออ่อนแรง
- พูดลำบาก
- ปวดศีรษะ
- เสียการทรงตัว
- ปัญหาการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาด้านความจำระยะสั้น
แม้ว่าหลอดเลือดสมองที่โป่งพองจะไม่แตกในทันที แต่ถ้ามีสัญญาณที่น่าสงสัยว่าอาจจะเป็น ก็ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน เพราะถ้าปล่อยให้เส้นเลือดในสมองแตกจะกลายเป็นภาวะฉุกเฉินที่ทำให้เสียชีวิต หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้
อาการเส้นเลือดในสมองแตก
- ปวดศีรษะมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน บางรายอธิบายว่าเหมือนถูกตีด้วยของหนัก
- คอแข็ง ปวดคอ เคลื่อนไหวคอลำบาก
- มีปัญหาการมองเห็น เช่น แพ้แสง มองเห็นภาพเบลอหรือภาพซ้อน หนังตาตก ม่านตาขยาย รู้สึกปวดบริเวณเหนือหรือด้านหลังลูกตา
- รู้สึกสับสนขึ้นมาอย่างกะทันหัน
- หมดสติ
- ชัก
- อวัยวะหรือร่างกายข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง
- อาเจียน
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- รักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยวิธีผ่าตัด
- รักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยวิธีฉีดสี อุดหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยขดลวด (Coiling Ambolizations)
- รักษาหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยวิธีฉีดสี อุดหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยกาวอุดหลอดเลือด (Glue Ambolizations)
- รักษาหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยวิธีเปลี่ยนทางไหลเวียนเลือด
รู้จักการผ่าตัดนี้
รักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยวิธีฉีดสี อุดหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยขดลวด (Coiling Ambolizations) เป็นทางเลือกในการรักษาหลอดเลือดในสมองโป่งพองโดยไม่ผ่าตัด ขดลวดจะเหนี่ยวนำให้เกิดลิ่มเลือด ทำให้กระเปาะหลอดเลือดที่โป่งพองอุดตัน ไม่มีเลือดไหลเวียนมายังจุดนี้อีก
ขั้นตอนการฉีดสีอุดหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยขดลวด
- แพทย์ทำความสะอาดจุดที่จะสอดสายสวน ส่วนมากจะทำที่ขาหนีบ ข้อมือ หรือข้อพับแขน และมักจะทำทางด้านขวามากกว่า
- แพทย์จะระงับความรู้สึกเฉพาะจุดด้วยยาชา แล้วสอดสายสวนเข้าไปยังหลอดเลือดแดง โดยใช้ลวดนำการสอดท่อ ร่วมกับการใช้เครื่องฉายภาพรังสีระหว่างการรักษา (Fluoroscopy) เพื่อให้สายสวนเข้าไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง
- เมื่อสายเข้าไปในจุดที่ถูกต้อง แพทย์จะฉีดสารทึบรังสี หรือที่เรียกว่า ฉีดสี เข้าไป แล้วถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์
- เพื่อให้ได้ภาพการไหลเวียนเลือดภายในสมองอย่างชัดเจน จากนั้นกระเปาะหลอดเลือดที่โป่งพองจะถูกวัดขนาด รูปร่าง และบันทึกผล
- จากนั้นแพทย์จะสอดสายสวนเล็กๆ อีกอันเข้าไปด้านในสายสวนอันแรกจนถึงตำแหน่งที่กระเปาะหลอดเลือดโป่งพอง แล้วค้างเอาไว้แบบนั้น จากนั้นเอาอุปกรณ์อื่นๆ ออกจากร่างกาย โดยอาจมีการบันทึกภาพด้วยรังสีเอกซ์อีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าขดลวดได้เข้าไปปิดการไหลเวียนของเลือดเรียบร้อยแล้ว
- ขดลวดจะเหนี่ยวนำให้เกิดลิ่มเลือด ทำให้กระเปาะหลอดเลือดที่โป่งพองอุดตัน ไม่มีเลือดไหลเวียนมายังจุดนี้อีก
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
รักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยวิธีผ่าตัด (Surgical Clipping)
- แพทย์จะพิจารณาให้ผ่าตัดในคนไข้ที่เสี่ยงหลอดเลือดสมองจะแตกสูงเท่านั้น
- ต้องผ่าเปิดกะโหลกศีรษะแล้วเข้าผ่าตัดที่สมอง
- แพทย์จะติดคลิปโลหะขนาดจิ๋วเพื่อปิดทางไหลเวียนของเลือด ไม่ให้ไปเลี้ยงหลอดเลือดที่โป่งพอง
- การผ่าตัดอาจทำให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- หลังทำต้องนอน รพ. 1-2 วัน และพักฟื้นประมาณ 4-6 สัปดาห์ ขึ้นกับพิจารณาของแพทย์
- รักษาในคนไข้ที่หลอดเลือดสมองแตกได้ แต่ต้องพักฟื้นนานกว่าเดิม
รักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยวิธีฉีดสี อุดหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยขดลวด (Coiling Ambolizations)
- รักษาโดยไม่ผ่าตัด มีความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องเปิดแผลที่กะโหลกศีรษะ
- ใช้การระงับความรู้สึกเฉพาะจุด
- เปิดแผลที่ขาหนีบเพื่อใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือด แล้วฉีดสีเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน จากนั้นใส่ขดลวดไปทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นมาอุดตันหลอดเลือดที่โป่งพอง เพื่อไม่ให้เลือดไหลไปจุดนั้นได้อีก
รักษาหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยวิธีฉีดสี อุดหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยกาวอุดหลอดเลือด (Glue Ambolizations)
- รักษาโดยไม่ผ่าตัด มีความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องเปิดแผลที่กะโหลกศีรษะ
- ใช้การระงับความรู้สึกเฉพาะจุด
- ใช้สารที่คล้ายกาว (เรียกว่า n-Butyl Cyanoacrylate) เข้าไปอุดเส้นเลือดที่โป่งพอง แต่จะแข็งตัวอย่างรวดเร็วและติดอยู่กับที่ถาวรเมื่อสัมผัสกับสารประกอบอื่นๆ เช่น เลือด ผนังหลอดเลือด
รักษาหลอดเลือดสมองโป่งพอง ด้วยวิธีเปลี่ยนทางไหลเวียนเลือด (Flow Diversion)
- เปลี่ยนทางไหลเวียนเลือด (Flow Diversion) ด้วยตาข่ายลวด (Stent) เพื่อไม่ให้เลือดไปเลี้ยงจุดที่โป่งพอง
- ตาข่ายลวดยังช่วยเตรียมร่างกายให้สร้างเซลล์ใหม่
- เหมาะกับหลอดเลือดโป่งพองที่ใหญ่เกินกว่าจะรักษาด้วยวิธีอื่น
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
ถ้าต้องวางยาสลบ แพทย์จะให้งดเครื่องดื่มและอาหารก่อน เพื่อป้องกันการสำลักระหว่างรักษา
การดูแลหลังผ่าตัด
กรณียังไม่มีเส้นเลือดในสมองแตก หลังจากฉีดสีอุดหลอดเลือดสมองโป่งพอง คนไข้อาจจะต้องพักสังเกตอาการในโรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน ช่วง 12-24 ชั่วโมงแรก คนไข้ควรนอนราบบนเตียง
โดยพยาบาลจะคอยตรวจวัดสัญญาณชีพ บริเวณใส่สายสวนหลอดเลือดแดง รวมถึงสังเกตการไหลเวียนของเลือด และคอยวัดความรู้สึกบริเวณขา
ถ้าผลการรักษาเป็นไปด้วยดี ไม่มีความผิดปกติแทรกซ้อน แพทย์จะให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน ตามปกติอาการควรค่อยๆ ดีขึ้น โดยอาจเป็นหลักวันหรือไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ถ้าผ่านไป 3 สัปดาห์แล้วอาการไม่ดีขึ้นเลย หรือยิ่งแย่ลง ควรปรึกษาแพทย์
โดยทั่วไปมักสามารถรับประทานอาหารปกติได้เลย เว้นแต่ว่าแพทย์แนะนำเป็นอย่างอื่น
ถ้ามีอาการเจ็บปวด สามารถรับประทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่งได้
เมื่อกลับไปบ้านแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด พร้อมกับสังเกตอาการเหล่านี้ หากมีให้ติดต่อแพทย์ทันที
- มีไข้ หนาวสั่น
- บริเวณที่ใส่สายสวนมีอาการเจ็บปวดมากขึ้น แดง บวม มีเลือดหรือของเหลวอื่นใดไหลออกมา
- รู้สึกหนาว ชา หรือเจ็บแปลอย่างแรงขึ้นมาอย่างไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะมาก ชัด ไม่รู้สึกตัว
จากฉีดสีอุดหลอดเลือดสมองโป่งพองประมาณ 1 เดือน แพทย์มักนัดตรวจด้วยวิธี ตรวจหลอดเลือดสมองโป่งพองด้วยวิธีฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ แคโรติด (Cerebral angiography) เพื่อให้แน่ใจว่าการรักษาได้ผลดี
นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งตรวจด้วยเทคนิคอื่นร่วมด้วย เช่น ทำ MRI MRA
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การฉีดสีอุดหลอดเลือดสมองด้วยขดหลวดหรือกาวอุดหลอดเลือด จัดเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับการรักษาแบบผ่าตัด แต่ก็เหมือนการทำหัตถการทุกชนิดที่สามารถเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ เช่น
- อาจเกิดหลอดเลือดแดงบาดเจ็บจากขดลวดนำหรือสายสวนหลอดเลือด ซึ่งทำให้มีเลือดออก หลอดเลือดอุดตัน หรือเกิดลิ่มเลือดขึ้นได้
- แพ้สารทึบรังสีหรือแพ้กาวอุดหลอดเลือด
- ติดเชื้อ
- สารทึบรังสีส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้ไตเสียหาย (อาจเกิดได้กับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือเป็นโรคไตอยู่ก่อน)
อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้จัดว่าพบได้น้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อทำโดยผู้ชำนาญการ มีประสบการณ์ และเตรียมตัวก่อนตรวจเป็นอย่างดี
ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง
นพ. จักรี ธัญยนพพร (หมอเบนซ์)
ศัลยแพทย์ระบบประสาท ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10+ ปี
ข้อมูลของแพทย์
-2547 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)
-2549 ประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์
-2553 สาขาประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
-2557 สาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ระบบประสาทผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์หลอดเลือดสมอง ตัดต่อหลอดเลือดสมอง
- รังสีร่วมรักษาระบบประสาท สำหรับผู้ป่วย stroke หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน หลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดสมองเชื่อมต่อผิดปกติ