ผ่าตัดไหล่หลุด (แบบส่องกล้อง)
ไหล่หลุด ห้ามขยับต่อเองเด็ดขาด อาจเสี่ยงเส้นเอ็นขาดไม่รู้ตัว
การผ่าตัดเป็นการรักษาให้หายขาด แก้ปัญหาไหล่หลุดซ้ำบ่อยๆ ได้
ผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก พักฟื้นไม่นาน
รีบผ่าตัดก่อนเส้นเอ็นขาด จนทำให้ต้องผ่าตัดแบบเปิด
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ไหล่หลุด ห้ามขยับต่อเองเด็ดขาด!
- คนที่เคยไหล่หลุด โอกาสไหล่หลุดซ้ำสูง
- การผ่าตัดจะแก้ปัญหาไหล่หลุดซ้ำได้
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
การผ่าตัดแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุด เป็นการรักษาให้หายขาด ทำได้ 2 วิธี
- ผ่าตัดแบบเปิด แพทย์เปิดแผลเพื่อผ่าตัดซ่อมแซมเนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่ ผ่าตัดได้กับปัญหาทุกระดับ
- ผ่าตัดแบบส่องกล้อง เปิดแผล 3.4 จุด เพื่อใส่กล้องและอุปกรณ์เข้าไปผ่าตัดเย็บซ่อมแซมเนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่ แผลมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวได้ไว ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่ รพ. หลังทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย
ไม่แน่ใจว่าผ่าตัดแบบไหนดี
ปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักโรคนี้
ภาวะข้อไหล่หลุด คืออะไร?
ภาวะข้อไหล่หลุด คือ ภาวะที่หัวกระดูกข้อไหล่หลุดออกจากเบ้าไหล่ หรืออยู่ไม่ตรงกับเบ้ากระดูก โดยอาจหลุดออกมาทางด้านหน้า ด้านหลัง หรือหลายทิศทาง ข้อไหล่นั้นเป็นข้อที่มีโอกาสเกิดการหลุดได้ง่ายมากที่สุด เพราะเป็นข้อที่มีพิสัยการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกาย ใช้งานบ่อย และมีความยืดหยุ่นมาก
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะข้อไหล่หลุด
- เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชอบหมุนไหล่แรง ๆ หรือทำท่าทางที่เสี่ยงต่อการเกิดข้อไหล่หลุด
- ได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณแขน เช่น ล้ม หรือตกบันไดแล้วใช้แขนดันพื้น หรือขับรถมอเตอร์ไซค์ล้ม
- ได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะเป็น การชน กระแทก หกล้ม หรือมีการกระชากแขนกันในขณะที่เล่นกีฬา
- เกิดจากการที่ร่างกายมีความยืดหยุ่นสูงจนทำให้ข้อไหล่ยืดหยุ่นกว่าปกติ และหลุดได้ง่าย มักพบในนักกีฬาแบตมินตัน นักยิมนาสติก หรือนักว่ายน้ำ
- ผลข้างเคียงจากการเป็นโรคลมชัก หรือโดนไฟดูด จนทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง หรือตึงผิดปกติ และทำให้ข้อไหล่หลุดไปทางด้านหลัง
ลักษณะอาการของภาวะข้อไหล่หลุด
- ข้อไหล่มีรูปร่างผิดปกติ เช่น ด้านข้างของส่วนไหล่แฟบลง และมีก้อนนูนขึ้นมาด้านหน้า ซึ่งเกิดจากข้อไหล่หลุดไปด้านหน้า
- มีอาการปวดบริเวณหัวไหล่มากจนไม่สามารถขยับ หรือเคลื่อนไหวได้ เกิดจากการที่ข้อไหล่เคลื่อนออกจากเบ้านกระดูก และมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อรอบข้อ
- มีอาการชา หรือรู้สึกเจ็บเหมือนมีเข็มทิ่มในบริเวณรอบข้อไหล่ที่หลุด เช่น สะบัก หรือส่วนต้นแขน
- เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อที่บริเวณรอบหัวไหล่ จะทำให้เจ็บและปวดมากขึ้น
สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดภาวะข้อไหล่หลุด
- เมื่อเกิดภาวะข้อไหล่หลุด ห้ามขยับหัวไหล่กลับตำแหน่งเดิมด้วยตนเองโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือทำให้เกิดกระดูกแตกหัก เนื้อเยื่อฉีกขาด จนทำให้ได้รับอาการบาดเจ็บมากกว่าเดิม
- สิ่งที่ควรทำคือ หาอุปกรณ์มาประคองแขน เช่น ที่คล้องแขน หมอน หรือผ้า หรือถ้าไม่สะดวกก็อาจจะใช้มือจับ หรือประคองที่บริเวณข้อศอกไว้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้แขนเคลื่อนไหว หรือขยับมากจนเกินไป
- จากนั้นให้รีบไปแพทย์โดยเร็วที่สุด ในระหว่างนั้นหากรู้สึกเจ็บหรือปวดที่บริเวณไหล่มาก ให้ประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดได้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ถ้าข้อไหล่หลุดต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด
- แพทย์จะทำการดึงข้อไหล่ให้กลับเข้าที่
- ใส่อุปกรณ์พยุงแขนไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์
- ทำกายภาพบำบัดและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ให้แข็งแรง
ถ้าข้อไหล่หลุดซ้ำบ่อยๆ ซึ่งเกิดจากเส้นเอ็นภายในหัวไหล่มีการฉีกขาด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุด เพื่อรักษาอาการให้หายขาด
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
เมื่อไหร่ที่ต้องผ่าตัดแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุด
เมื่อเกิดภาวะข้อไหล่หลุดต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด โดยแพทย์จะทำการดึงข้อไหล่ให้กลับเข้าที่ และใส่อุปกรณ์พยุงแขนไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ จากนั้นจะให้ทำกายภาพบำบัดและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ให้แข็งแรง
อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการภาวะข้อไหล่หลุดซ้ำบ่อยๆ ซึ่งเกิดจากเส้นเอ็นภายในหัวไหล่มีการฉีกขาด แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุด เพื่อรักษาอาการให้หายขาด
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดส่องกล้องแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุด (Arthroscopic Bankart Repair) คือ การผ่าตัดเข้าไปเย็บซ่อมแซมเยื่อหุ้มข้อไหล่ที่เกิดการยืดหรือฉีกขาดให้กลับมาใกล้เคียงกับปกติ โดยแพทย์จะทำการเปิดแผลเล็กๆ 2-3 จุด เพื่อใส่กล้องและอุปกรณ์เข้าไปผ่าตัดเย็บซ่อมแซมเนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่ให้เรียบร้อย
ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุด
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวได้ไว
- ลดโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ
- ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่ รพ. หลังทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย
ถ้ามีภาวะเบ้ากระดูกไหล่สึกเกิน 15-25% หรือเส้นเอ็นขาดมาก หรือมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่ขาด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดแบบเปิดแทน
ขั้นตอนการผ่าตัดส่องกล้องแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุด
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลผ่าตัด 3-4 จุด ขนาดประมาณ 0.5-1 ซม. เพื่อใส่กล้องและอุปกรณ์ผ่าตัด โดยการส่องกล้องจะช่วยให้แพทย์เห็นภาพบริเวณข้อหัวไหล่ได้อย่างชัดเจน
- แพทย์เย็บซ่อมแซมเยื่อหุ้มข้อไหล่ที่ฉีกขาดหรือยืดให้กลับมาใกล้เคียงกับปกติ
- เย็บปิดแผลผ่าตัด
- การผ่าตัดส่องกล้องแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุดใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การผ่าตัดแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุดแบบเปิด
- สำหรับภาวะเบ้ากระดูกไหล่สึกเกิน 15-25%
- ผ่าตัดเพื่อเสริมกระดูกเบ้าหัวไหล่ของคนไข้ด้วยการตัดกระดูกจากกระดูกกลุ่มโคราคอยด์ โพรเซส (Coracoid Process) มาเสริมที่บริเวณเบ้าหัวไหล่ ซึ่งเรียกการผ่าตัดเสริมภาวะเบ้ากระดูกไหล่เสื่อมในลักษณะนี้ว่า Glenoid Reconstruction
การผ่าตัดส่องกล้องแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุด
- แผลเล็ก 0.5-1 ซม. ประมาณ 3-4 จุด
- ผ่าตัดเพื่อเย็บซ่อมปลอกหุ้มข้อและหมอนรองข้อไหล่ที่ฉีกขาด โดยใช้สมอกับไหมเย็บชนิดพิเศษ
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะตรวจประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัดให้เรียบร้อย
- ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้ดีขึ้น และลดโอกาสในการติดเชื้อหลังผ่าตัด
- งดการสูบบุหรี่อย่างน้อย 3-6 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะนิโคตินในบุหรี่จะส่งผลกระทบต่อการหายของบาดแผล
- งดการใช้ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด เช่น ยาแอสไพริน ยาวาร์ฟาริน หรือยาในกลุ่มระงับอาการปวด
- งดการใช้ยาสมุนไพร อาหารเสริม หรือวิตามินบางประเภท ที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น น้ำมันปลา โอเมก้า 3 น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส หรือโคเอนไซม์คิวเทน เป็นต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
- งดรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างที่ได้รับยาระงับความรู้สึก
- หลังจากผ่าตัดแล้ว อาจจะต้องนอนพักฟื้นต่อที่โรงพยาบาล 1 วัน จึงควรเตรียมเสื้อผ้าและข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นไปให้เรียบร้อย
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว คนไข้จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- ทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์แนะนำ
- กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- ในระหว่างที่พักฟื้นอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการขยับแขนให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยให้เส้นเอ็นที่หัวไหล่ซ่อมแซมตัวเองได้อย่างเต็มที่
- งดการว่ายน้ำ แช่อ่างอาบน้ำ ออกกำลังกายหนัก และยกสิ่งของหนัก อย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือจนกว่าที่แพทย์สั่ง
- หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้ทำกายภาพบำบัดได้แล้ว ให้หมั่นบริหารข้อไหล่เองที่บ้านตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดส่องกล้องแก้ไขภาวะข้อไหล่หลุด อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- เจ็บและปวดแผลบริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวดให้
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน (พบได้น้อย) เช่น เส้นประสาท เส้นเลือด หรือเส้นเอ็นบริเวณโดยรอบได้รับความเสียหาย
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. ชานนท์ กนกวลีวงศ์ (หมอนนท์)
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (หมอกระดูกและข้อ) เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์กีฬา
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ สาขาเวชศาสตร์การกีฬา
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์กีฬา