ผ่าตัดรักษาเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด (แบบส่องกล้อง)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด ถ้าไม่รักษาอาจทำให้ใช้การไหล่ไม่ได้อีกถาวร
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อ่อนแรง ข้อไหล่ติด ข้อไหล่เสื่อม
- ถ้าข้อไหล่เสื่อม จะปวดมาก และเคลื่อนไหวหรือใช้งานได้ไม่ปกติ ต้องเปลี่ยนเป็นข้อเทียมแทน
- ถ้าเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเอ็นหดร่น เสียคุณภาพของกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมเส้นเอ็นไม่ได้ถาวร
ปวดไหล่มากกว่า 3 วัน ไม่แน่ใจว่าเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดรึเปล่า?
ปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ผู้สูงอายุต้องระวัง ถ้าเอ็นหัวไหล่ฉีก อาจไม่มีอาการอะไร แต่ใช้งานแขนได้ปกติ
แนะนำตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจสุขภาพร่างกายประจำปีใกล้บ้านได้ที่นี่
การผ่าตัดเอ็นหัวไหล่ไม่น่ากลัวและยุ่งยากอย่างที่คิด
- ผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก ปวดหลังผ่าตัดน้อย
- พักฟื้นที่ รพ. ไม่นานก็กลับมาใช้งานแขนได้ปกติ
รู้จักโรคนี้
ภาวะเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดคืออะไร?
ภาวะเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear) คือ ภาวะเมื่อเส้นเอ็นบริเวณหัวไหล่ ซึ่งเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ห่อหุ้มกระดูกไขข้อที่หัวไหล่เกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบ ส่งผลให้ฉีกขาดออกจากกระดูกหัวไหล่ และเกิดอาการปวดหรือทำให้ไม่สามารถใช้งานไหล่และท่อนแขนได้อย่างเต็มที่
น้ำหนองจะมีปริมาณมากขึ้นจนลุกลามเซาะไปตามชั้นกล้ามเนื้อตรงตำแหน่งรอบทวารหนัก และทะลุขึ้นมาที่ชั้นผิวหนังของรูทวารหนัก ทำให้ลักษณะรอยโรคเป็นเหมือนโพรงทางเชื่อมระหว่างทวารหนักกับผิวหนังชั้นนอกบริเวณใกล้เคียง
ปัจจัยที่ทำให้ภาวะเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดมีอยู่หลายประการ โดยส่วนมากที่พบได้บ่อย คือ
- ความเสื่อมของเส้นเอ็นตามอายุ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุหรือผู้ที่สูบบุหรี่จัด จนร่างกายอ่อนแอเสื่อมโทรมลงง่ายกว่าคนทั่วไป
- มีหินปูนไปเกาะที่ข้อไหล่ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเช่นกัน
- ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนักและต่อเนื่อง ส่งผลให้เส้นเอ็นหัวไหล่เสื่อมตัวเร็วขึ้นหรือบาดเจ็บง่าย
- ประสบอุบัติเหตุ จนไหล่ได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดเวลานอน โดยเฉพาะตอนนอนตะแคงทับแขนข้างที่เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด
- ปวดเวลายกแขนขึ้นลงในบางท่า
- ไม่มีแรงหรืออ่อนแรงตอนยกหรือหมุนหัวไหล่
- มีเสียงตอนขยับไหล่บางท่า
- ขยับหัวไหล่ในบางท่าไม่ได้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
- ตรวจเอกซเรย์
- ตรวจ MRI
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- กินยาและทำกายภาพบำบัด
- ฉีดยาสเตียรอยด์หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
- การผ่าตัด
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
ผ่าตัดเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด โดยการใช้กล้อง ต้องผ่าเมื่อไร?
เมื่อเกิดภาวะเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด วิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น หากอยู่ในระดับไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจใช้วิธีรักษาเป็นการฉีดยาร่วมกับให้ทำกายภาพบำบัดเพิ่มเติม
แต่หากภาวะฉีกขาดที่เกิดขึ้นมีความรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดหรือรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือเส้นเอ็นฟื้นตัวช้า แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซนเส้นเอ็นให้กลับมาสมานตัวติดกันเหมือนเดิม
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด โดยการใช้กล้อง (Arthroscopic Rotator Cuff Repair) คือ เทคนิคการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด ด้วยการใช้อุปกรณ์กล้องผ่าตัดขนาดเล็กเข้าไปซ่อมแซมเส้นเอ็นที่ฉีกขาด และเย็บเส้นเอ็นส่วนนั้นให้แนบติดกับกระดูกหัวไหล่อีกครั้ง
- แผลมีขนาดเล็กมาก ประมาณ 1 ซม. ประมาณ 2-4 แผล
- ลดโอกาสสร้างความเสียหายให้กับกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อโดยรอบได้ดีกว่า
- โอกาสเสียเลือดระหว่างผ่าตัดมีน้อยกว่า
- ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
- ลดโอกาสเกิดอาการเจ็บปวดแผลมาก รวมถึงปัญหาแผลบวมหลังผ่าตัด
- ระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าตัดสั้นขึ้น ทำให้กลับไปทำงานและใช้ชีวิตประจำวันได้เร็ว
ขั้นตอนการผ่าตัดเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด โดยการใช้กล้อง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลขนาดเล็กประมาณ 1 ซม. ประมาณ 2-4 แผล ขึ้นอยู่กับความเสียหายของเอ็นหัวไหล่ที่ฉีกขาด
- แพทย์สอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปยังชั้นกล้ามเนื้อ จากนั้นตัดนำเนื้อเยื่อของเส้นเอ็นส่วนที่ขาดและตายแล้วออกไปก่อน จากนั้นเย็บเส้นเอ็นที่ฉีกขาดให้แนบเข้าหากัน
- แพทย์ใส่อุปกรณ์เย็บติด (Suture Anchor) เข้าไปยังรูด้านใน หลังจากนั้นเย็บระหว่างเส้นเอ็นหัวไหล่ที่ฉีกออกจากกระดูกเข้ากับอุปกรณ์เย็บติดด้านในกระดูก
- เย็บปิดแผล
หลังการผ่าตัด คนไข้ต้องทำกายภาพบำบัดและดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อกระตุ้นให้กระบวนการฟื้นตัวของร่างกายกลับมาได้เร็วขึ้น
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์แนะนำก่อน เช่น เจาะเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเอกซเรย์ปอด รวมถึงตรวจ MRI หรือตรวจสแกนร่างกายตามที่แพทย์สั่ง เพื่อให้แพทย์สามารถระบุตำแหน่งของเส้นเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บอย่างชัดเจนได้ก่อนผ่าตัด
- แจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว ยาประจำตัว วิตามินเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิดที่กินอยู่ให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
- แพทย์อาจส่งตัวไปพบกับนักกายภาพบำบัดก่อนผ่าตัด เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับกระบวนการทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด
- งดยาและวิตามินเสริมตามคำแนะนำของแพทย์ล่วงหน้า เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- งดน้ำและงดอาหารล่วงหน้า 6-8 ชั่วโมง
- งดทำกิจกรรมที่ทำให้อาการบาดเจ็บที่หัวไหล่รุนแรงขึ้น
- งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ควรลางานล่วงหน้าประมาณ 3-5 วัน เพื่อเผื่อเวลานอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังผ่าตัด หรือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับระยะเวลาที่เหมาะสมในการลางานเพื่อพักฟื้นอีกครั้ง
- ควรพาญาติมาที่โรงพยาบาลด้วย เพื่อให้ช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างและหลังผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- ในช่วง 6 สัปดาห์แรก แพทย์จะให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดใส่ที่คล้องไหล่เพื่อรอให้เส้นเอ็นที่ฉีกขาดกลับมาสมานตัวติดกัน ในระหว่างนี้ให้งดการใช้แขนชั่วคราว แต่นักกายภาพบำบัดอาจแนะนำให้ถอดที่คล้องไหล่ออกบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อออกกำลังกายและทำกายภาพบำบัด
- หากมีอาการปวด ให้ประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการได้
- ทำกายภาพบำบัดอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ตามระยะเวลาที่แพทย์และนักกายภาพบำบัดแนะนำ
- ในระหว่างที่ยังฟื้นตัวอยู่ ให้ระมัดระวังในการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากๆ งดการยกของหนัก งดการออกกำลังกายหนักๆ เพื่อลดโอกาสบาดเจ็บซ้ำ
- กินยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
- พักผ่อนให้มากๆ
- หมั่นดูแลแผลให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ แพทย์อาจใช้พลาสเตอร์แบบกันน้ำให้เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการสามารถอาบน้ำได้
- หลังจากถอดที่คล้องไหล่และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ หากต้องการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ให้อบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อก่อนทุกครั้ง รวมถึงอย่าใช้หัวไหล่ในการออกกำลังหนักหน่วงมากเกินไป
- หมั่นหาเวลาบริการกล้ามเนื้อเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ยืดหยุ่นให้เส้นเอ็นและกระดูกอยู่เสมอ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
โดยทั่วไปโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหลังผ่าตัดเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดโดยการใช้กล้องจะพบได้น้อย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่ เช่น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- แผลบวมแดงและมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง
- แผลด้านในข้อต่อมีเลือดออกมาก
- มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น อาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด
- มีอาการแพ้ยาสลบ เช่น คลื่นไส้อาเจียน หายใจลำบาก ตัวบวม
- มีอาการไขข้อติด ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างจำกัด
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. ชานนท์ กนกวลีวงศ์ (หมอนนท์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ สาขาเวชศาสตร์การกีฬา
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์กีฬา