ผ่าตัดรักษาอาการปวดศอกด้านนอก (Tennis Elbow) (แบบส่องกล้อง)

รายละเอียด
HDcare สรุปให้
- เทนนิสเอลโบว์เป็นอาการบาดเจ็บและอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่เกาะยึดบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกข้อศอก เป็นส่วนที่ใช้ยกข้อมือขึ้น
- เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ การใช้งานซ้ำๆ จนทำให้เส้นเอ็นเสื่อม และอุบัติเหตุบริเวณข้อศอก
- การผ่าตัดจะเอาเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บออก แล้วซ่อมส่วนที่ดีให้ยึดเข้ากับกระดูกด้านข้างข้อศอก
ไม่แน่ใจว่าผ่าตัดดีมั้ย
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
เมื่อไหร่ที่ต้องผ่าตัด?
- ปวดด้านข้างข้อศอกหรือปุ่มกระดูก ปวดร้าวลงแขน ต้นแขน หรือปวดจนเหยียดแขนไม่สุด
- เมื่อยล้าหรืออ่อนแรงเวลากำมือ หรือเคลื่อนไหวข้อศอก
อาการแบบไหนต้องรีบผ่าตัด
ปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
โรคเอ็นข้อศอกอักเสบด้านนอก คืออะไร?
โรคเอ็นข้อศอกอักเสบด้านนอก หรือที่เรียกว่า “เทนนิสเอลโบว์” (Tennis elbow) เป็นอาการบาดเจ็บและอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่เกาะยึดบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกข้อศอก เป็นส่วนที่ใช้ยกข้อมือขึ้น
อาการอักเสบจะเกิดจาก 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ การใช้งานซ้ำๆ จนทำให้เกิดการเสื่อมของเส้นเอ็น และการประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อศอก
นอกจากโรคเอ็นข้อศอกอักเสบด้านนอก ยังเกิดอาการปวดข้อศอกด้านใน (Golfer’s Elbow) ได้ด้วย โดยจะมีอาการปวดเหมือนกับเทนนิสเอลโบว์ แต่จะปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านในแทน และมีอาการปวดข้อศอกด้านหลัง (Bursitis) ที่จะทำให้คลำเจอก้อน หรือถุงน้ำบริเวณข้อศอก
ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเอ็นข้อศอกอักเสบด้านนอก
- นักกีฬาที่ต้องใช้งานแขนและข้อศอกซ้ำๆ เช่น นักกีฬาเทนนิส นักแบดมินตัน
- คนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ ต้องกระดกข้อมือพิมพ์คีย์บอร์ดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- ช่างซ่อม หรือช่างฝีมือที่ต้องมีการสะบัด หรือตวัดข้อมือแรงๆ
- แม่ที่ต้องอุ้มเด็กเป็นเวลานาน หรือเป็นประจำ
- อาชีพอื่นที่ต้องใช้ข้อมือจับของบ่อ ๆ เช่น แม่บ้าน หรือเชฟ
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดบริเวณด้านข้างข้อศอก หรือบริเวณปุ่มกระดูก
- ในบางรายอาจปวดร้าวลงไปที่แขน หรือต้นแขน
- ในบางรายอาจปวดมากจนไม่สามารถเหยียดแขนสุดได้
- รู้สึกล้า หรืออ่อนแรงเวลากำมือ หรือเคลื่อนไหวข้อศอก และจะเป็นมากขึ้นเมื่อใช้งานแขนข้างนั้น เช่น ตอนบิดประตู บิดผ้า บิดรถมอเตอร์ไซค์ หรือเล่นกีฬา เป็นต้น
ถ้าหากคุณมีอาการของโรคเอ็นข้อศอกอักเสบด้านนอก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
รักษาโดยไม่ใช้การผ่าตัด (Non-surgical treatment)
- ทำกายภาพบำบัด
- ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug: NSAIDs)
- Platelet Rich Plasma (PRP)
- Shockwave therapy
- High power laser therapy
- Ultrasound therapy
รักษาโดยใช้การผ่าตัด (Surgical treatment)
- ถ้ารักษาด้วยวิธีอื่นแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาและแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
การผ่าตัดจุดเกาะเส้นเอ็นเทนนิสเอลโบโดยการส่องกล้อง (Arthroscopic tennis elbow release) เป็นวิธีรักษาด้วยการส่องกล้องเข้าไปในข้อศอก แล้วขูดเอาเนื้อเยื่อที่เสียออก จากนั้นจะปรับแต่งเส้นเอ็นไม่ให้ตึงเกินไป ช่วยลดอาการปวดข้อศอกด้านนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนผ่าตัดจุดเกาะเส้นเอ็นเทนนิสเอลโบโดยการส่องกล้อง
- แพทย์จะเติมของเหลวเข้าไปบริเวณข้อศอก เพื่อช่วยให้มองเห็นโครงสร้างด้านในได้ชัดเจน
- เปิดแผลเล็กๆ เพื่อใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดเข้าไป แล้วทำการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่เสียออก
- ปรับแต่งเส้นเอ็นให้เรียบร้อย
- เย็บ หรือปิดด้วยเทปผิวหนัง แล้วใส่เฝือกปูนพลาสเตอร์เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อศอก
หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว ต้องพักฟื้นกี่วัน?
พักที่ห้องพักฟื้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง ถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ และนัดให้กลับมาถอดเฝือกในสัปดาห์ถัดไป หลังจากนั้นจะให้ออกกำลังกายข้อศอกและแขนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยระยะเวลาฟื้นตัวจนกลับมาเป็นปกติจะอยู่ที่ประมาณ 6-8 สัปดาห์
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การผ่าตัดจุดเกาะเส้นเอ็นเทนนิสเอลโบแบบเปิด
- แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดแผลบริเวณข้อศอก แล้วใช้มีดผ่าตัดขูดเอาเนื้อเยื่อที่เสียหายออก ปรับแต่งเส้นเอ็นให้เรียบร้อย แล้วทำการเย็บแผลให้เรียบร้อย
- เป็นวิธีผ่าตัดแบบดั้งเดิม มีแผลขนาดใหญ่กว่า จึงทำให้ใช้ระยะเวลาพักฟื้นนานกว่า
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- การบาดเจ็บของเส้นประสาทบริเวณที่ผ่าตัด ทำให้รู้สึกชา หรือเสียวแปลบบริเวณมือ หรือนิ้วมือ
- ในช่วงแรกจะมีความเคลื่อนไหว ความยืดหยุ่น และแข็งแรงลดลง จำเป็นที่จะต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูให้กลับมาใกล้เคียงกับปกติ
- อาจมีรอยแผลเป็นบริเวณที่ผ่าตัดได้ โดยเฉพาะการผ่าตัดจุดเกาะเส้นเอ็นเทนนิสเอลโบแบบเปิด
นพ. นวพงศ์ อนันตวรสกุล (หมอตุลย์)
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ต่อยอด ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- วุฒิบัตร ออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics) (สถาบันออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน)
- Hand and Microsurgery Fellowship (สถาบันออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน)
- Fellowship in Elbow Surgery (Roth McFarlane Hand & Upper Limb Center, St Joseph’s Hospital, Ontario, Canada)
- Orthopaedic Hand Fellowship (Massachusetts General Hospital, Harvard Medical School, Boston, USA)

นพ. ธีภพ ธีรกานต์อนันต์ (หมอธี)
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ต่อยอดศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics)
- ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
