ผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าเข่า ACL (แบบส่องกล้อง)
ข้อเข่าผิดรูป บิดเบี้ยว ห้ามกด ดัน ปรับเข้าที่เอง แนะนำดามจนกว่าจะถึงมือหมอ
ผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็ก ฟื้นตัวไว
หลังผ่าตัดงอเข่าได้ในวันแรก และกลับไปเล่นกีฬาได้ใน 1 ปี
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด ถ้าไม่รักษา อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมหรือเอ็นฉีก
- เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าไม่สามารถประสานเองเหมือนเส้นเอ็นอื่นๆ
- เอ็นขาดแล้วทำให้ข้อเข่าไม่มั่นคง เวลาเดินรู้สึกเข่าหลวม ปวดในเข่า ทำให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น
- มีเสียงลั่นในข้อ ปวดข้อเข่ารุนแรง หัวเข่าบวมปูดทันทีหรือภายในไม่กี่ชั่วโมง
ไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นใช่เอ็นไขว้หลังข้อเข่าขาดไหม?
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
ผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็ก กลับมาเดินได้ใน 1 วัน
- แบบส่องกล้องเจาะแค่ 2-3 รู แล้วใช้อุปกรณ์เย็บซ่อม
- แผลเล็กกว่าแบบเปิด พักฟื้นไม่นาน กลับมาเดินได้ใน 1 เดือน
- กลับมาเล่นกีฬาได้ใกล้เคียงปกติใน 1 ปี
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ก่อนอาการจะลุกลาม
รู้จักโรคนี้
เอ็นไขว้หน้าข้อเข่า คืออะไร?
เอ็นไขว้หน้าข้อเข่า (Anterior Cruciate Ligament: ACL) คือ เส้นเอ็นขนาดใหญ่ที่อยู่ภายในเข่า เกาะอยู่ระหว่างปลายกระดูกต้นขากับต้นกระดูกหน้าแข้ง ทำหน้าที่เสริมความมั่นคงให้กับข้อเข่า ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของหัวเข่าและหน้าแข้งให้เคลื่อนไหวได้ในองศาถูกต้อง และป้องกันการเกิดอันตรายจากการเหยียดเข่าเกินองศา
เอ็นไขว้หน้าข้อเข่า มีความสำคัญต่อข้อเข่าอย่างมาก เพราะหากได้รับบาดเจ็บหรือฉีกขาดอย่างถาวร จะทำให้ข้อเข่าขาดความมั่นคงอย่างหนัก ทำให้เวลาเดินรู้สึกเข่าหลวม ปวดภายในเข่า ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิมและกระตุ้นให้เกิดเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้นด้วย
ปัจจัยที่ทำให้เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าบาดเจ็บ หรือฉีกขาด
สาเหตุหลักที่ทำให้เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด คือ การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอล วอลเลย์บอล หรือบาสเกตบอล จนทำให้เกิดการบิดหมุนที่หัวเข่าอย่างรุนแรง ส่งผลให้เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าได้รับบาดเจ็บหรือฉีกขาดได้
นอกจากการเล่นกีฬาแล้ว สาเหตุอื่นที่ทำให้เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าได้รับบาดเจ็บแต่พบได้น้อย ได้แก่ อุบัติเหตุต่างๆ เช่น การหกล้ม การตกบันได หรือการเดินสะดุด
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- รู้สึกว่ามีเสียงลั่นในข้อเข่า เหมือนมีอะไรขาดหรือดีดในขา
- ข้อเข่ามีอาการบวมปูดอย่างเห็นได้ชัด
- รู้สึกว่าข้อเข่าหลวม หรือไม่มั่นคงในขณะทำกิจกรรมต่างๆ
- รู้สึกเจ็บ หรือปวดบริเวณข้อเข่า จนเดินลงน้ำหนักหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ไม่ได้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
- ตรวจเอกซเรย์
- ตรวจ MRI
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าในปัจจุบันใช้วิธีการส่องกล้องผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า (Arthroscopic ACL reconstruction) และใช้เส้นเอ็นจากตำแหน่งอื่นมาทำเอ็นไขว้หน้าใหม่ ซึ่งพบว่า 95% ของผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดสามารถกลับไปใช้ชีวิตและเล่นกีฬาได้เหมือนเดิม
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
เมื่อเกิดอาการเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดจะต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที เนื่องจากเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าไม่สามารถประสานกันเองได้เหมือนกับเส้นเอ็นอื่นๆ โดยลักษณะอาการที่บ่งบอกว่าเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด มีดังนี้
- หลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ จะมีเสียงลั่นในข้อ ร่วมกับมีอาการปวดข้อเข่ารุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมอย่างอื่นได้ และหัวเข่าบวมปูดทันทีหรือภายในไม่กี่ชั่วโมง
- ในบางราย เมื่ออาการดีขึ้นแล้ว จะสามารถกลับมาเดินได้ แต่ไม่สามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เหมือนเดิมเพราะสูญเสียความมั่นคงของข้อเข่า มีอาการข้อเข่าทรุดหรือข้อเข่าหลวม
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic ACL Reconstruction) แพทย์จะนำเส้นเอ็นส่วนอื่นของร่างกายมาทดแทน เช่น เอ็นสะบ้าเข่า หรือเอ็นแฮมสตริง โดยแพทย์จะเจาะกระดูกแข้งและกระดูกต้นขาในตำแหน่งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า เพื่อใส่อุปกรณ์และกล้องสำหรับส่องเข้าไปในข้อ แล้วทำการร้อยเอ็นที่เอามาทดแทนตามช่องที่เจาะไว้ และยึดตรึงเอ็นให้เข้าที่
ข้อดีของการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าด้วยการส่องกล้อง
- แผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็ก ช่วยให้คนไข้สามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
- มีโอกาสติดเชื้อต่ำกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
- เป็นการรักษาที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดภายในผ่านจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน
- สามารถดูส่วนประกอบอื่นๆ ภายในข้อเข่าว่ามีพยาธิสภาพร่วมด้วยหรือไม่ เช่น หมอนรองข้อเข่า เอ็นไขว้หลัง กระดูกอ่อนผิวข้อ เพื่อที่จะได้รักษาพร้อมกันในคราวเดียว
ขั้นตอนการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าด้วยการส่องกล้อง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการบล็อกหลัง
- แพทย์เปิดแผลเล็กที่กระดูกแข้งและกระดูกต้นขาในตำแหน่งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า เพื่อใส่อุปกรณ์และกล้องสำหรับส่องเข้าไปในข้อ แล้วร้อยเอ็นที่ขาดด้วยเอ็นสะบ้าเข่า หรือเอ็นแฮมสตริง และยึดตรึงเอ็นให้เข้าที่
- แพทย์ทำการเย็บปิดแผลให้เรียบร้อย
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- คนไข้ต้องตรวจประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัดให้เรียบร้อย
- ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้ดีขึ้น และลดโอกาสในการติดเชื้อหลังผ่าตัด
- งดการสูบบุหรี่อย่างน้อย 3-6 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะนิโคตินในบุหรี่จะส่งผลกระทบต่อการหายของบาดแผล
- งดการใช้ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด เช่น ยาแอสไพริน ยาวาร์ฟาริน หรือยาในกลุ่มระงับอาการปวด
- งดการใช้ยาสมุนไพร อาหารเสริม หรือวิตามินบางประเภท ที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น น้ำมันปลา โอเมก้า 3 น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส หรือโคเอนไซม์คิวเทน เป็นต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
- งดรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างที่ได้รับยาระงับความรู้สึก
- หลังจากผ่าตัดแล้ว จะต้องนอนพักฟื้นต่อที่โรงพยาบาล 4-5 วัน จึงควรเตรียมเสื้อผ้าและข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นไปให้เรียบร้อย
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน คนไข้จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- รับประทานยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- งดการว่ายน้ำ แช่อ่างอาบน้ำ ออกกำลังกาย ยกสิ่งของหนัก และเล่นกีฬา จนกว่าแพทย์จะอนุญาต
- เข้ารับกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องจนกว่าข้อเข่าจะสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-9 เดือน
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุน้อยที่ต้องการกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน หรือเล่นกีฬาได้ใกล้เคียงกับปกติ แต่อาจไม่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่ต้องทำกิจกรรมที่ใช้หัวเข่ามากนัก การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะกับเข่าที่ไม่สามารถบิดหมุนรุนแรงได้จะเหมาะสมกว่า
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าด้วยการส่องกล้อง
การผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าด้วยการส่องกล้อง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- เจ็บปวดบริเวณที่ผ่าตัดในช่วง 2-3 วันแรก ซึ่งแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณรอบเส้นประสาทส่วนปลาย เพื่อระงับความรู้สึกไว้
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. ชานนท์ กนกวลีวงศ์ (หมอนนท์)
ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (หมอกระดูกและข้อ) เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์กีฬา
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ สาขาเวชศาสตร์การกีฬา
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์กีฬา