รายละเอียด
ผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Cholecystectomy)
นิ่วถุงน้ำดี เป็นภาวะที่เกิดเม็ดแข็งขึ้นในถุงน้ำดี เม็ดนิ่วเหล่านี้อาจเคลื่อนที่ไปอุดตันท่อหรือทางเดินในระบบย่อยอาหาร ทำให้เกิดความผิดปกติหรืออาการเจ็บปวดคล้ายโรคกระเพาะอาหารได้
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีสลายเฉพาะก้อนนิ่วออกจากถุงน้ำดี ดังนั้นแนวทางการรักษาหลักจึงเป็นผ่าตัดนำถุงน้ำดีทั้งหมดออก ซึ่งหลังจากนั้นร่างกายจะสามารถปรับสภาพได้ เพียงแต่คนไข้อาจต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารบ้างตามแพทย์แนะนำ
การผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดีแบบดั้งเดิมคือการผ่าแบบเปิด แต่ปัจจุบันพัฒนามามีทางเลือกเพิ่ม คือ การผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง และยิ่งกว่านั้นยังมีการผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเดียวโดยเจาะรูทางสะดือคนไข้ ทำให้เสียเลือดน้อยมาก คนไข้ฟื้นตัวเร็ว เมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ และแทบไม่เห็นแผลเป็นจากการผ่าตัดเลย

ไม่แน่ใจ ต้องผ่าตัดมั้ย? ถ้าผ่าตัด มีขั้นตอนยังไง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? ปรึกษาอาการหรือขอความเห็นที่สองทางออนไลน์กับแพทย์ได้เต็มที่ ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่จำกัดเวลา กดเพื่อดูรายละเอียดการเข้ารับบริการ

สารบัญเนื้อหา
เกิดก้อนนิ่วในถุงน้ำดีได้อย่างไร?
สัญญาณบอกโรคนิ่วถุงน้ำดี อาการเหล่านี้ถ้าเป็นแล้วไม่ควรนิ่งนอนใจ
รักษานิ่วถุงน้ำดีทำอย่างไร จำเป็นต้องผ่าตัดเท่านั้นไหม?
หน้าที่ของถุงน้ำดีและผลกระทบเมื่อผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปแล้ว
เช็ก 3 อาการนิ่วถุงน้ำดี ที่ควรรับการผ่าตัดโดยด่วน
เทคนิคการผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดี
ผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Cholecystectomy) เทคนิคที่แทบไม่เหลือแผลเป็นให้เห็นหลังผ่าตัด
ขั้นตอนการรับบริการ
-
1
สอบถามหรือทำนัด
แอดมินของ HDcare พร้อมตอบทุกข้อสงสัยและทำนัดให้คุณได้ปรึกษาคุณหมอ
-
2
ปรึกษาและประเมิน
เลือกพบคุณหมอได้ทั้งแบบออนไลน์หรือที่โรงพยาบาล ไม่จำกัดจำนวนครั้งจนคุณมั่นใจ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนั้น
-
3
ผ่าตัด
อุ่นใจมีพยาบาลที่ปรึกษาดูแลตลอดจนการผ่าตัดเรียบร้อย ตั้งแต่อำนวยความสะดวกที่โรงพยาบาล ประสานงานกับบริษัทประกัน ไปจนถึงให้คำแนะนำก่อนและหลังผ่าตัด
เกิดก้อนนิ่วในถุงน้ำดีได้อย่างไร?

นิ่วถุงน้ำดี เป็นเม็ดแข็งที่อาจเล็กขนาดมากประมาณเม็ดทราย ไปจนถึงใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ ที่เกิดในถุงน้ำดี คนไข้อาจมีนิ่วเพียงก้อนเดียวหรือมีหลายก้อนก็ได้
สาเหตุของการเกิดนิ่วถุงน้ำดีมาจากสารละลายหลักในถุงน้ำดีเสียสมดุล ซึ่งสารละลายเหล่านั้น ได้แก่ คอเลสเตอรอล ไขมัน ฟอสเฟต และกรดน้ำดี หินปูนหรือคอเลสเตอรอลจึงตกตะกอนกลายเป็นนิ่วในที่สุด
สัญญาณบอกโรคนิ่วถุงน้ำดี อาการเหล่านี้ถ้าเป็นแล้วไม่ควรนิ่งนอนใจ
เมื่อเกิดนิ่วขึ้นในถุงน้ำดีแล้ว นิ่วอาจเคลื่อนไปอุดกั้นท่อต่างๆ ในระบบย่อยอาหาร ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นในร่างกาย เช่น
นิ่วไหลไปอุดกั้นท่อถุงน้ำดี ทำให้ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย หรือปวดท้องบริเวณชายโครงขวาเป็นเวลานานต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารที่มีไขมัน
นิ่วไหลไปอุดกั้นท่อน้ำดีใหญ่ ทำให้เกิดอาการซีด่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ร่วมกับอาการปวดท้อง
นิ่วขนาดเล็กตกลงไปอุดกั้นท่อตับอ่อน ลำไส้เล็กส่วนตับ อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบ ซึ่งส่งผลให้มีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่อย่างรุนแรงจนถึงปวดร้าวลามไปบริเวณหลัง

รักษานิ่วถุงน้ำดีทำอย่างไร จำเป็นต้องผ่าตัดเท่านั้นไหม?
นิ่วในถุงน้ำดีไม่สามารถรักษาได้ด้วยการสลายเฉพาะเม็ดนิ่ว เนื่องจากเป็นนิ่วคนละแบบกับนิ่วในไตและนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
การรักษามาตรฐานของนิ่วในถุงน้ำดีจึงเป็นการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นว่าเมื่อตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีแล้ว คนไข้จะจำเป็นต้องผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกทันทีทุกรายไป
กรณีที่ตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีตั้งแต่ยังไม่มีอาการผิดปกติ (อาจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี) แพทย์อาจแนะนำให้ยังไม่ต้องผ่าตัด แต่ให้ตรวจติดตามเป็นระยะ ในคนไข้บางรายอาจไม่ต้องรักษานิ่วในถุงน้ำดีเลยตลอดชีวิต

หน้าที่ของถุงน้ำดีและผลกระทบเมื่อผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปแล้ว
ถุงน้ำดี (Gallbladder) เป็นอวัยวะหนึ่งในบริเวณช่องท้องที่มีลักษณะคล้ายลูกแพร์ ปริมาตรประมาณ 50 มิลลิลิตร ขนาดประมาณ 4 นิ้ว อยู่ทางขวาบนของช่องท้อง อยู่ติดกับด้านล่างของตับ มีทางเดินติดกับระบบน้ำดีส่วนกลาง
โดยปกติถุงน้ำดีทำหน้าที่กักเก็บน้ำดีซึ่งสร้างมาจากตับ เมื่ออาหารผ่านกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดีจะบีบตัวให้มีน้ำดีออกไปผสมคลุกเคล้าอาหารนั้น เพื่อช่วยย่อยไขมันให้แตกตัว
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าควรผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปอาจกังวลว่าจะเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาอื่นที่จะสลายเฉพาะตัวนิ่วและกำจัดออกจากร่างกายได้ ดังนั้นการผ่าตัดทั้งถุงน้ำดีออกไปจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่ต้นเหตุ
นอกจากนี้ ถุงน้ำดียังเป็นเพียงที่เก็บพักน้ำดีเท่านั้น แม้ตัดถุงน้ำดีออกไปแล้วร่างกายจึงยังย่อยอาหารได้ โดยน้ำดีจากตับจะลงไปที่กระเพาะหรือลำไส้โดยตรง ไม่ผ่านตัวกักเก็บ
อย่างไรก็ตาม ช่วงที่เพิ่งผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีใหม่ๆ ร่างกายอาจไม่สามารถย่อยอาหารที่เป็นไขมันได้ดีอยู่ช่วงหนึ่ง ต้องอาศัยเวลาสักพักให้ร่างกายปรับตัว

เช็ก 3 อาการนิ่วถุงน้ำดี ที่ควรรับการผ่าตัดโดยด่วน
อาการเหล่านี้บ่งบอกว่ามีเม็ดนิ่วอุดกั้นในท่อรอบๆ ถุงน้ำดี และอาจมีภาวะอักเสบ การผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกก่อนการอักเสบรุนแรง หรือก่อนที่จะมีภาวะอื่นแทรกซ้อน จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการผ่าตัด เช่น ยังสามารถผ่าตัดส่องกล้องได้ รวมถึงเพิ่มผลสำเร็จให้การผ่าตัดให้สูงขึ้นด้วย
3 อาการนิ่วถุงน้ำดี ได้แก่
ปวดท้องหรือเจ็บแปลบบริเวณชายโครงด้านขวามากจนร้าวไปที่หลังหรือไหล่ ในลักษณะปวดบีบๆ ต่อเนื่องยาวนาน
จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่หลังรับประทานอาหาร 2-3 ชั่วโมงเป็นประจำ โดยเฉพาะมื้อที่มีอาหารไขมันสูง หรือเป็นอาหารมื้อใหญ่ จุกแน่นเหมือนเป็นโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน
มีภาวะดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
เทคนิคการผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดี
ปัจจุบันมีทางเลือกในการผ่าตัดรักษานิ่วในถุงน้ำดี 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่
1. ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิด
เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบดั้งเดิม ขั้นตอนคือวิสัญญีแพทย์วางยาสลบระงับความเจ็บปวด จากนั้นศัลยแพทย์จะกรีดเปิดแผลบริเวณหน้าท้องผู้ป่วยขนาดประมาณ 6-7 เซนติเมตร แล้วผ่าตัดเอาถุงน้ำดีทั้งหมดออก ก่อนจะจึงเย็บปิดแผล
วิธีนี้ปัจจุบันมักใช้ในกรณีที่นิ่วเกิดการอักเสบ หรือมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถผ่าตัดแบบส่องกล้องได้
-
ข้อดีของการผ่าตัดแบบเปิด
ทำให้เป็นมุมมองที่กว้าง ทำให้ผ่าตัดง่ายกว่าผ่าแบบส่องกล้อง อีกทั้งเมื่อเปิดแผลแล้วแพทย์สามารถคลำตรวจอวัยวะโดยรอบได้
-
ข้อเสียของการผ่าตัดแบบเปิด
เป็นการผ่าตัดขนาดใหญ่ ต้องผ่าตัดกล้ามเนื้อหน้าท้อง แผลใหญ่ ทำให้ปวดแผลมากกว่าและพักฟื้นนานกว่าการผ่าตัดส่องกล้อง และจะทิ้งแผลเป็นลักษณะเป็นรอยตะขาบที่ผิวหนังหน้าท้อง
2. ผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง
เป็นเทคนิคการผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบัน ขั้นตอนคือวิสัญญีแพทย์วางยาสลบเพื่อระงับความรู้สึก จากนั้นจะผ่าตัดเจาะรูขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตรที่หน้าท้องผู้ป่วย เพื่อสอดเครื่องมือที่มีกล้องติดอยู่ที่ปลายเข้าไปดูบริเวณถุงน้ำดี เพื่อให้ภาพถุงน้ำดีปรากฎที่จอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ในห้องผ่าตัด
จากนั้นจะมีการเจาะรูหน้าท้องคนไข้อีก 3-4 รู ขนาดประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร เพื่อสอดเครื่องมือผ่าตัดเข้าไปตัดขั้วและเลาะถุงน้ำดีให้หลุดออกจากตับ แล้วนำใส่ถุงที่ออกแบบเป็นพิเศษ ก่อนนำออกตรงรูที่เจาะไว้แล้ว
หลังจากที่ห้ามเลือดด้วยคลิปหนีบและแพทย์ตรวจสอบจนแน่ใจว่าการผ่าตัดทุกขั้นตอนข้างต้นเรียบร้อยดี ก็จะถึงขั้นตอนสุดท้าย คือนำเครื่องมือทุกอย่างออกจากท้องผู้ป่วยแล้วเย็บปิดแผล
-
ข้อดีของการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
เป็นการผ่าตัดเล็ก แผลมีขนาดเล็ก ทำให้เจ็บน้อย ร่างกายบอบช้ำน้อย แผลเป็นมีขนาดเล็ก และใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ทั้งโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนก็น้อยกว่า
-
ข้อเสียของการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
ถ้าทิ้งไว้นานจนเกิดพังผืดหรือเกิดการอักเสบมาก อาจจะทำให้การผ่าตัดส่องกล้องไม่สำเร็จ ต้องเปลี่ยนเป็นการผ่าตัดแบบเปิดแทน ซึ่งโอกาสเกิดน้อยกว่า 5% อย่างไรก็ตาม ศัลยแพทย์จะทำการแจ้งความเสี่ยงในการเปลี่ยนการผ่าตัดก่อนทุกครั้ง

ผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Cholecystectomy) เทคนิคที่แทบไม่เหลือแผลเป็นให้เห็นหลังผ่าตัด
ปัจจุบันมีอีกทางเลือกสำหรับการผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดี คือ การผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Cholecystectomy) ซึ่งเป็นการผ่าตัดส่องกล้องด้วยการเปิดแผลเพียงรูเดียวที่รูสะดือขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร ถึง 1 เซนติเมตร แล้วใส่อุปกรณ์ลักษณะเป็นวงกลมมีช่องหลากหลายขนาดเข้าไป เพื่อเป็นช่องทางใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดี

- 1ขณะผ่าตัดจะมีการให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สู่ช่องท้องเพื่อขยายพื้นที่ กล้องกำลังขยายสูงขนาดเล็กที่ถูกใส่เข้าไปในช่องท้องจะฉายภาพสู่จอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ในห้องผ่าตัด ทำให้แพทย์เห็นภาพอวัยวะภายในอย่างชัดเจน และผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกอย่างแม่นยำ
- 2การผ่าตัดนี้ระงับความรู้สึกด้วยวิธีวางยาสลบ ใช้เวลาผ่าตัดทั้งสิ้นประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
- 3หลังผ่าตัด แพทย์มักให้คนไข้พักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล 1-2 วัน แล้วจึงให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน หลังผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์คนไข้มักปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
การผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีผ่านกล้องแผลเดียวเป็นเทคนิคที่คนไข้จะเสียเลือดน้อยกว่าผ่าตัดด้วยเทคนิคอื่นมาก เนื่องจากมีการเปิดแผลขนาดเล็กเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น และหลังผ่าตัดแทบไม่เหลือแผลเป็นให้สังเกตเห็นเลย
