ผ่าถุงน้ำหรือฝีต่อมบาร์โธลิน (ฝีปากช่องคลอดหรือฝีอวัยวะเพศหญิง)
ถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน อาจเรียกว่าฝีต่อมบาร์โธลิน ฝีปากช่องคลอด หรือฝีอวัยวะเพศหญิงได้
ส่วนใหญ่หายเองไม่ได้ ควรรีบรักษาก่อนฝีแตก จนเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้
ถึงฝีแตกเอง ก็ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะว่าส่วนใหญ่ยังมีเชื้อโรคอยู่ ทำให้เกิดฝีใหม่ซ้ำๆ และลุกลามไปยังอวัยวะอื่นได้
การเย็บปากถุงน้ำบาร์โธลินจะช่วยป้องกันการเกิดฝีซ้ำได้
รับส่วนลด 50% หรือรับค่ารีวิวสูงสุด 50,000 บาท สมัครเป็นเคสรีวิววันนี้ ขอรายละเอียดที่แอดมินเพิ่มได้เลย!
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ถุงน้ำบาร์โธลิน หรือเรียกให้เข้าใจง่ายว่า ฝีที่อวัยวะเพศหญิง เกิดจากการอุดตัน ทำให้หลั่งเมือกไม่ได้ และสะสมจนบวมกลายเป็นถุงน้ำ
- รีบรักษาก่อนฝีจะแตก เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด
- ถ้าฝีแตกเองก็ต้องรีบรักษา เพราะอาจจะยังมีเชื้อทำให้เป็นฝีซ้ำๆ หรือลุกลามไปอวัยวะอื่น ทำให้รักษายากและซับซ้อนกว่าเดิม
- หลังผ่าตัดอาจเป็นซ้ำได้ ควรตรวจภายในและตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกวัน และสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ถุงน้ำบาร์โธลินขนาดใหญ่ จะต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น
รู้จักโรคนี้
ต่อมบาร์โธลิน (Bartholin Gland) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณข้างซ้ายและข้างขวาของรอยต่อข้างในแคม ลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว ทำหน้าที่ผลิตสารคัดหลั่งในช่องคลอด
โดยปกติจะไม่สามารถคลำเจอได้ แต่หากเกิดความผิดปกติกับต่อมบาร์โธลินจนทำให้เกิดการอักเสบ จนกลายเป็นก้อนบวมขึ้นมา
ต่อมบาร์โธลิน (Bartholin's Cyst) หรืออาจเรียกว่าฝีต่อมบาร์โธลิน ฝีปากช่องคลอด หรือฝีอวัยวะเพศหญิง เป็นหนึ่งในอาการผิดปกติของต่อมบาร์โธลิน เกิดจากต่อมบาร์โธลินข้างใดข้างหนึ่งเกิดการอุดตัน ทำให้สารคัดหลั่งที่ผลิตขึ้นมาสะสมจนทำให้เกิดอาการบวมและกลายเป็นถุงน้ำ
พอเกิดต่อมบาร์โธลิน จะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อจนทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง ปวด และเป็นหนอง บางคนอาจติดเชื้อลุกลามไปที่เนื้อเยื่อส่วนลึกขึ้น และลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง ทำให้รักษาได้ยากและมีความซับซ้อน
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ต่อมบาร์โธลินเกิดการอุดตันแน่ชัด แต่คาดว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านี้
- การเจริญเติบโตผิดปกติของผิวหนัง
- การได้รับบาดเจ็บ หรือระคายเคือง เช่น สวมกางเกงที่คับและรัดเป้าจนเกินไป หรือชอบปั่นจักรยานบ่อยๆ
- ผลข้างเคียงจากการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม
- การติดเชื้ออีโคไล (E. coli) หรือแบคทีเรียชนิดอื่นๆ
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ถ้าคลำเจอก้อนที่ปากช่องคลอด อาจเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้เร็วที่สุด เพราะต่อมบาร์โธลินในระยะแรกมีขนาดเล็ก สามารถรักษาด้วยการกินยาปฏิชีวนะได้
ถ้าปล่อยทิ้งไว้จนทำให้ต่อมบาร์โธลินใหญ่ขึ้น จะทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง มีหนอง แสบร้อน เป็นไข้หนาวสั่น และปวดอย่างรุนแรง แพทย์จำเป็นที่จะต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต่อมบาร์โธลินอักเสบแทน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกวัย หรือหญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี ควรตรวจภายในเป็นประจำทุกปี
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- ต่อมบาร์โธลินที่มีขนาดเล็ก แพทย์อาจให้กินยาแก้อักเสบฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ)
- ถ้าต่อมบาร์โธลินที่มีขนาดใหญ่ จะต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- คลำเจอก้อนที่ปากช่องคลอด
- มีอาการเจ็บระหว่างขา ขณะทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- การอักเสบจะทำให้ฝีแตก มีหนองออกมา เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าและเย็บต่อมบาร์โธลิน (Marsupialization) แพทย์จะผ่าตัดเปิดปากถุงน้ำออก เพื่อเอาสารคัดหลั่งและหนองออกให้หมด หลังจากนั้นจะเย็บผนังต่อมบาร์โธลินเข้ากับชั้นผิวหนัง ซึ่งจะช่วยให้รูเปิดของต่อมไม่เกิดการอุดตันซ้ำ ร่วมกับการให้ยาฆ่าเชื้อและยาแก้ปวด เป็นหัตถการผ่าตัดเล็กที่สามารถทำได้ทั้งในห้องตรวจและห้องผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าและเย็บต่อมบาร์โธลินอักเสบ
- แพทย์ระงับความรู้สึกด้วยยาชาเฉพาะที่
- แพทย์ผ่าตัดเปิดปากต่อมบาร์โธลินเพื่อระบายหนองออกให้หมด แล้วใช้ไหมละลายเย็บผนังต่อมบาร์โธลินเข้ากับชั้นผิวหนัง
- ตรวจสอบความเรียบร้อยของแผล และให้ไปนอนสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้นประมาณ 1-2 ชม. ถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็กลับไปพักฟื้นที่บ้านได้
ถ้ารักษาด้วยการผ่าและเย็บต่อมบาร์โธลินแล้วไม่เห็นผล คนไข้ยังมีอาการผิดปกติแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเอาต่อมบาร์โธลินออก ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่จะต้องทำในห้องผ่าตัดเท่านั้น
ขั้นตอนการผ่าตัดต่อมบาร์โธลินอักเสบ
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกให้คนไข้
- แพทย์ผ่าตัดเปิดแผลเหนือต่อมบาร์โธลิน แล้วตัดเอาต่อมบาร์โธลินทั้งหมดออก จากนั้นจะเย็บแผลด้วยไหมละลายให้เรียบร้อย
- แพทย์จะตรวจสอบความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด ถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็ไปที่ห้องพักฟื้นได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
- ควรเตรียมผ้าอนามัยไปด้วย เพราะอาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลังจากผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
ต่อมบาร์โธลินอักเสบ ต้องพักฟื้นนานเท่าไหร่?
- หลังผ่าและเย็บต่อมบาร์โธลินสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้
- ถ้าตัดต่อมบาร์โธลินจะต้องพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2-3 วัน หรือขึ้นกับการประเมินจากแพทย์
การดูแลหลังผ่าและเย็บต่อมบาร์โธลินอักเสบ
- 24 ชม. หลังผ่าตัด ควรงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระแทกบริเวณแผลผ่าตัด เช่น การปั่นจักรยาน หรือการนั่งคร่อม
- หลังจากปัสสาวะ หรืออุจจาระแล้ว จะต้องล้างด้วยน้ำสะอาด และใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้งอย่างเบามือ โดยจะต้องเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
- ไม่ใส่กางเกงที่รัดแน่นจนเกินไป
- กินยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
- งดสวนล้างช่องคลอด การแช่ในอ่างอาบน้ำ คูคลอง ทะเล หรือการว่ายน้ำ เพราะเสี่ยงทำให้เกิดแผลติดเชื้อได้
- งดการออกกำลังกายหนัก และการซาวน่า อย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าแพทย์จะสั่ง
- งดการมีเพศสัมพันธ์ อย่างน้อย 7-14 วัน หรือจนกว่าแพทย์จะสั่ง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- 3-5 วันแรก อาจมีเลือดออกบริเวณแผลผ่าตัดเล็กน้อย โดยจะมีลักษณะเป็นสีแดงจางๆ
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง ปวดบริเวณแผลผ่าตัดรุนแรง มีเลือดออกจากแผลผ่าตัดในปริมาณมาก จะต้องไปพบแพทย์ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอวันนัดหมาย
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พญ. ศันสนีย์ อังสถาพร (หมอแซน)
คุณหมอสูตินรีเวชผู้หญิง เชี่ยวชาญด้านอวัยวะและมะเร็งของผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต
- วุฒิบัตร สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- วุฒิบัตร อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางสาขานรีเวชและมะเร็งนรีเวช
- สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการการผ่าตัดเปิดหน้าท้องในด้านนรีเวช เช่น ก้อนเนื้องอกมดลูก, มดลูก, ท่อนำไข่, ก้อนเนื้อรังไข่, ถุงน้ำรังไข่
- ประสบการณ์สูตินรีเเพทย์มา 4 ปี, มะเร็งนรีเวช 2 ปี จากนั้น ปฏิบัติงานในรพ.รัฐขนาดใหญ่ 1ปี
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
คุณหมอสูตินรีเวช ปริญญาเอกและเกียรตินิยมอันดับ 1 ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับผู้ที่มีบุตรยากหรือมีปัญหาสุขภาพผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา