ผ่าตัดรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยการใส่สลิง

รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ปัสสาวะเล็ดถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้น้องสาวเป็นแผล มีกลิ่นเหม็น คัน หรือติดเชื้อได้
- ผู้หญิงวัย 35 ปีขึ้นไปเป็นได้บ่อย แต่อายุน้อยก็เป็นได้ถ้ากลั้นปัสสาวะจนเคยชิน
- เกิดได้ทั้งกับคนที่ยังไม่แต่งงานและยังไม่เคยคลอดลูก
ปัสสาวะเล็ดอาจเกิดจากมีนิ่วหรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ผ่าตัดรักษาด้วยการใส่สลิง จะช่วยพยูงท่อปัสสาวะเอาไว้ ลดอาการปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงได้
- แผลผ่าตัดอยู่ในช่องคลอด ไม่มีแผลภายนอกให้กังวล
- หลังทำกลับมามีเพศสัมพันธ์ใน 6 สัปดาห์
ไม่แน่ใจว่าการรักษานี้เหมาะกับเราไหม?
ปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ถ้ามีอาการปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง ไอ จาม จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต แนะนำให้จดบันทึกปริมาณปัสสาวะต่อวัน (Bladder Diary) แล้วไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมได้เลย
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
ถ้ามีอาการภาวะปัสสาวะเล็ดไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้รักษาแบบประคับประคองไปก่อน โดยให้ลดต้นเหตุต่างๆ ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรงหรือการพยุงกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ เช่น
- ลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ฝึกกลั้นปัสสาวะโดยปรับเปลี่ยนท่าทาง
- บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยการหมั่นขมิบช่องคลอด
- ใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด
ถ้ารักษาแบบประคับประคองไม่เห็นผล แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเสริมความแข็งแรงของท่อปัสสาวะ
- ผ่าตัดเปิดแผลทางหน้าท้องเพื่อเย็บช่องคลอดทางด้านหน้ามาช่วยเสริมความแข็งแรงของท่อปัสสาวะ
- ผ่าตัดทางช่องคลอด โดยใช้วัสดุสงเคราะห์ หรือเทปวางใต้ท่อปัสสาวะเพื่อเสริมความแข็งแรง
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยการใส่เชือกสลิง (Midurethral Sling) เป็นวิธีรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงที่เกิดจากการพยุงท่อปัสสาวะผิดปกติ
ขั้นตอนการผ่าตัด
- ระงับความรู้สึกด้วยการบล็อกหลัง
- เปิดแผลทางช่องคลอดแล้วสอดสายคล้องหรือสายสลิงที่ทำมาจากใยสังเคราะห์เข้าไปคล้องใต้ท่อปัสสาวะส่วนกลางอย่างถาวร
- การผ่าตัดรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยการใส่เชือกสลิง ใช้เวลาประมาณ 1 ชม.
สายคล้อง หรือสายสลิงจะทำหน้าที่ช่วยพยุงท่อปัสสาวะเอาไว้ ทำให้เวลาที่ไอ จาม หรือออกกำลังกาย จะไม่เกิดอาการปัสสาวะเล็ด หรือรั่ว สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
- สอดหลังกระดูกหัวหน่าว (Retropubic Slings) : สายสลิงจะอยู่ด้านหลังของกระดูกหัวหน่าว และทะลุผิวหนัง 2 ตำแหน่งเหนือกระดูกหัวหน่าว
- สอดผ่านขาหนีบ (Transobturator Slings) : สายสลิงจะผ่านออกมาทางผิวหนัง 2 ตำแหน่ง บริเวณขาหนีบ
- สอดแผลเดียว (Single Incision Sling) : สายสลิงจะฝังอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ไม่ผ่านออกมาที่ผิวหนัง
*การเลือกจุดที่คล้องสายสลิงขึ้นกับการตกลงระหว่างแพทย์กับคนไข้
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยการใส่เชือกสลิง (Midurethral Sling)
- ผ่าตัดทางช่องคลอด ไม่มีแผลภายนอกให้เห็น
- ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน พักฟื้นประมาณ 2-4 สัปดาห์ก็กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ผ่าตัดแขวนช่องคลอดเพื่อพยุงท่อปัสสาวะ (Burch colposuspension)
- เป็นวิธีรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดขณะออกแรงแบบดั้งเดิม
- เปิดแผลหน้าท้องประมาณ 10-12 ซม. หรือผ่าตัดผ่านกล้อง เข้าไปเย็บเนื้อเยื่อช่องคลอดที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะ แล้วนำไปแขวนยึดกับด้านหลังของกระดูกหัวหน่าว เพื่อพยุงบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะเอาไว้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
ผ่าตัดรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยการใส่เชือกสลิงต้องพักฟื้นกี่วัน?
โดยส่วนใหญ่ จะใช้ระยะเวลาพักฟื้นประมาณ 2-4 สัปดาห์ ถึงจะหายกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ผู้เข้ารับการรักษาบางรายอาจมีอาการเจ็บ หรือเคืองบริเวณขาหนีบ หรือมีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอดได้
- กินยาฆ่าเชื้อและยาบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์สั่ง
- เลี่ยงการยกของหนักและการเล่นกีฬา
- งดการมีเพศสัมพันธ์ การสวนล้างช่องคลอด และแช่น้ำ อย่างน้อย 6 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหายสนิท
- ควรกินอาหารที่มีเส้นใยและดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อลดอาการท้องผูก
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- อาจมีอาการท้องผูกในช่วงแรกหลังผ่าตัด
- ในบางรายอาจรู้สึกเจ็บปวด หรือไม่สบายใจขณะมีเพศสัมพันธ์
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกรุนแรง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะ ท่อไตได้รับบาดเจ็บขณะผ่าตัด หรือลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดของขา หรือปอด
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.นพ. เกรียงศักดิ์ ศิริศักดิ์พาณิชย์ (หมอเล็ก)
สูตินรีแพทย์ เฉพาะทาง เวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม ต่อยอด ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ นครสวรรค์
- สูติศาสตร์ นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- Certificate of Urogynecology Department of Obstetrics and Gynecology, Chang Gung Memorial Hospital (Taiwan)
- Certificate of International Fellowship Program in the Department of Urogynecology, Kameda Medical Center (Japan)

สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ

