ผ่าตัดก้อนถุงน้ำหรือซีสต์ที่ข้อมือ (Carpal Ganglion)

รายละเอียด
HDcare สรุปให้
การเจาะก้อนถุงน้ำข้อมือ มีโอกาสเป็นซ้ำสูง 70-80% แต่การผ่าตัดโอกาสเป็นซ้ำแค่ 3-5% เท่านั้น!
รีบผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ก่อนถุงน้ำจะโตจนไปเบียดเส้นประสาทและหลอดเลือดใกล้เคียง หรือเมื่อมีอาการเหล่านี้
- ควรรีบผ่าตัดเมื่อมีอาการปวด ข้อมือชา เสียวข้อมือ
- รู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่มบริเวณรอบถุงน้ำ
- เคลื่อนไหวข้อมือไม่สะดวกจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ไม่แน่ใจว่าเป็นก้อนถุงน้ำหรือมะเร็ง ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
คำถามที่พบบ่อย
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือจะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำไหม?
หลังจากการผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือแล้ว คนไข้จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกประมาณ 5-15% แต่ก็ถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ โดยการรักษาก้อนถุงน้ำที่ข้อมือด้วยการกดให้ก้อนแตก หรือเจาะดูดน้ำในก้อนออก จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำสูงถึง 35-70%
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือมีโอกาสพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายไหม?
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือเป็นเนื้องอกธรรมดา ไม่ใช่ก้อนเนื้อร้าย และไม่ได้กลายเป็นมะเร็งในระยะเวลาต่อมาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ หรือมีอาการที่น่าสงสัยอื่น ๆ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการรุนแรงตามมาได้
รู้จักโรคนี้
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ คืออะไร?
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Ganglion Cyst) คือ เนื้องอกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณเส้นเอ็น หรือข้อต่อ มักพบที่บริเวณข้อมือด้านหน้าและด้านหลัง
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือมีลักษณะเป็นก้อนนูน ค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ และส่วนใหญ่จะกดแล้วไม่เจ็บ แต่อาจทำให้มีอาการปวดเมื่อย ปวดข้อมือ หรือเคลื่อนไหวข้อมือได้ไม่สะดวก เนื่องจากก้อนถึงน้ำไปกดเบียดเส้นเอ็น หรือเยื่อบุข้อ
สาเหตุที่ทำให้เกิดก้อนถุงน้ำข้อมือ
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดก้อนถุงน้ำข้อมือที่แน่ชัด แต่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่
- มีประวัติบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก
- ทำงานที่ต้องยกของหนัก หรือเวทเทรนนิ่งเป็นประจำ
- เคลื่อนไหวที่ข้อมือบ่อยๆ โดยเฉพาะการกระดกข้อมือขึ้นลง
- มักพบในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ถ้าที่ข้อมือมีก้อนปูดนูนขึ้นมา พอเอานิ้วกดลงแล้วมีของเหลวอยู่ข้างใน ก้อนมักปูดนูนเห็นได้ชัดเวลางอข้อมือลง และเล็กลงเวลากระดกข้อมือขึ้น ถือเป็นข้อบ่งชี้ของถุงน้ำที่ข้อมือ ควรตรวจและวางแผนการรักษากับแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ก้อนนูนจะไปกดทับเส้นประสาทหรือหลอดเลือด
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- แพทย์จะตรวจดูลักษณะก้อนนูน และอาจใช้เข็มขนาดเล็กเจาะตรวจของเหลวที่อยู่ภายในก้อนถุงน้ำด้วย
- ตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
- ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือ CT-Scan
- ตรวจ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ข้อมือ
ถ้ายังไม่แน่ใจว่าก้อนปูดนูนดังกล่าวเป็นก้อนถุงน้ำหรือก้อนมะเร็ง แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) เพื่อช่วยแยกประเภทของก้อนนูนที่เกิดขึ้นอย่างแม่นยำขึ้น
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- สังเกตอาการ ถ้าก้อนถุงน้ำไม่ใช่มะเร็ง มีขนาดเล็ก และไม่สร้างความรำคาญ แพทย์อาจให้เฝ้าสังเกตขนาดของก้อนถุงน้ำไปก่อน
- เจาะของเหลวในก้อนถุงน้ำออก แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะระบายของเหลวภายในก้อนถุงน้ำ และฉีดยาสเตียรอยด์ป้องกันการอักเสบ วิธีนี้มักมีโอกาสทำให้ก้อนถุงน้ำกลับมานูนอีกครั้ง
- ใส่เฝือกที่ข้อมือ เพราะการขยับใช้งานข้อมือบ่อยๆ อาจทำให้เกิดก้อนถุงน้ำได้ การใส่เฝือกจะช่วยลดการใช้งานข้อมือและมีโอกาสทำให้ก้อนถุงน้ำมีขนาดเล็กลงได้
- ผ่าตัดก้อนถุงน้ำ เพื่อกำจัดของเหลวและตัวก้อนถุงน้ำออกจากข้อมือจนหมด ลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง และยังสามารถผ่าตัดเพื่อตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อในก้อนถุงน้ำไปส่งตรวจเพิ่มเติมได้
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ก้อนถุงน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ใช้งานข้อมือได้ลำบาก หรือเริ่มทำให้ปวดข้อมือเมื่อทำท่ากระดกข้อมือ วิดพื้น หรือใช้ข้อมือรับน้ำหนักมากๆ
- มีอาการชา ปวดจนร้าว หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณข้อมือ เป็นสัญญาณที่ก้อนถุงน้ำเริ่มไปกดเบียดเส้นประสาทและหลอดเลือดที่อยู่ใกล้เคียง
- แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นก้อนถุงน้ำหรือก้อนเนื้อชนิดอื่น และต้องการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจเพิ่มเติม
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือเหมาะสำหรับคนที่มีก้อนถุงน้ำขนาดใหญ่มากและมีหลายก้อน หรือคนที่เคยรักษาด้วยการกดให้ก้อนถุงน้ำแตก หรือเจาะดูดน้ำในก้อนออกแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Carpal Ganglion) เป็นหนึ่งในวิธีรักษาก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ซึ่งมีชื่อเรียกการผ่าตัดหลายชื่อ เช่น Open Carpal Ganglion Cyst Removal Surgery หรือ Surgical Excision of Ganglion Cysts of the Hand & Wrist
โดยแพทย์จะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อให้แขนข้างที่ทำการผ่าตัดไม่รู้สึกเจ็บ แล้วทำการผ่าตัดเลาะก้อนถุงน้ำออก
ขั้นตอนการผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
- ระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเฉพาะจุดที่ข้อมือ
- เปิดแผลเหนือถุงน้ำ แล้วผ่าตัดเลาะก้อนถุงน้ำ โดยจะต้องเลาะลงไปถึงทางติดต่อถึงช่องข้อเพื่อเอาผนังถุงน้ำออกให้มากที่สุด ช่วยลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำ
- เย็บปิดแผลให้เรียบร้อย แล้วทำการพันผ้าและใส่เฝือกให้ชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมือมีการเคลื่อนไหว
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือใช้ระยะเวลาเท่าไหร่?
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือจะใช้ระยะเวลาประมาณ 45-60 นาที หลังผ่าตัดเสร็จสิ้นผู้เข้ารับบริการสามารถกลับบ้านได้ทันที
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การผ่าตัดถุงน้ำที่ข้อมือแบบเปิด
- เปิดแผลเหนือถุงน้ำเพื่อระบายของเหลวด้านในแล้วเย็บปิดแผล
- ขนาดแผลขึ้นกับขนาดของก้อนถุงน้ำ
การผ่าตัดถุงน้ำที่ข้อมือแบบส่องกล้อง
- ใช้กล้องผ่าตัดขนาดเล็กและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไประบายของเหลวและตัดก้อนถุงน้ำออก
- ขนาดแผลประมาณ 2 มม. 2 จุด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
- ในวันผ่าตัด แนะนำให้สวมใส่เสื้อกระดุมหน้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อสวมใส่และถอดได้ง่าย
การดูแลหลังผ่าตัด
- กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ และทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์แนะนำ
- หลีกเลี่ยงการขยับข้อมือข้างที่ผ่าตัด 10-14 วัน
- ยกแขนขึ้นสูง กำนิ้วมือสลับกับเหยียดนิ้วมือบ่อยๆ เพื่อบรรเทาอาการบวม
- งดยกของหนัก งดการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ใช้ข้อมือมากประมาณ 2-6 สัปดาห์
แพทย์จะนัดกลับมาตรวจติดตามผลการรักษา ถอดเฝือก และตัดไหม หลังผ่าตัดไปแล้ว 10-14 วัน ในระหว่างนี้ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้มีอะไรมากระทบแขนข้างที่ใส่เฝือก
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- อาการปวดเจ็บแผล สามารถกินยาแก้ปวดบรรเทาอาการได้
- แผลมีรอยบวมช้ำ
- มีสะเก็ดเลือดหรือมีเลือดไหลซึมเล็กน้อย
- การเกิดแผลเป็นนูนที่แผล สามารถทายา ฉีดยาสเตียรอยด์ หรือยิงเลเซอร์เพื่อลดรอยแผลได้
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน (พบได้น้อย) เช่น เส้นประสาท เส้นเลือด หรือเส้นเอ็นบริเวณโดยรอบได้รับความเสียหาย
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. วัชระ มณีรัตน์โรจน์ (หมอแจ๊ค)
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ต่อยอด ศัลยศาสตร์บูรณสภาพในข้อสะโพกและข้อเข่า
ข้อมูลของแพทย์
-2005: แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-2012: ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
-2017: ศัลยศาสตร์บูรณสภาพในข้อสะโพกและข้อเข่า, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
-ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม โดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดหรือคอมพิวเตอร์นำวิถี
-ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโดยใช้เทคนิคเข้าทางด้านหน้า ไม่ตัดกล้ามเนื้อ

นพ. นวพงศ์ อนันตวรสกุล (หมอตุลย์)
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ต่อยอด ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- วุฒิบัตร ออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics) (สถาบันออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน)
- Hand and Microsurgery Fellowship (สถาบันออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิดสิน)
- Fellowship in Elbow Surgery (Roth McFarlane Hand & Upper Limb Center, St Joseph’s Hospital, Ontario, Canada)
- Orthopaedic Hand Fellowship (Massachusetts General Hospital, Harvard Medical School, Boston, USA)

นพ. ประกฤต สุวรรณปราโมทย์ (หมอออย)
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ต่อยอด เนื้องอกกระดูกและระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์, โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- วุฒิบัตรแพทย์เฉพาะทาง สาขาออร์โธปิดิกส์, โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา
- Musculoskeletal Oncology, โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
- Orthopedic Oncology, Graduated School of Medical Science, Kanazawa University

นพ. ธีภพ ธีรกานต์อนันต์ (หมอธี)
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ต่อยอดศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics)
- ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
