ผ่าตัดไทรอยด์ 2 ข้าง (แบบเปิด)
ก้อนไทรอยด์ขนาดใหญ่ ผ่าตัดด้วยวิธีอื่นไม่ได้
รีบรักษาป้องกันความเสี่ยงก้อนกลายเป็นมะเร็ง
หมอแมค ผ่าตัดรักษาไทรอยด์และพาราไทรอยด์มาแล้วกว่า 2,000+ เคส
รับส่วนลด 50% หรือรับค่ารีวิวสูงสุด 50,000 บาท สมัครเป็นเคสรีวิววันนี้ ขอรายละเอียดที่แอดมินเพิ่มได้เลย!
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
มีก้อนที่คอ ไม่แน่ใจว่าเป็นไทรอยด์รึเปล่า
- เช็กก้อนที่คอด้วยตัวเอง [คลิกที่นี่]
- ตรวจคัดกรองไทรอยด์ การันตีถูกที่สุดแค่ 500 บาท [คลิกที่นี่]
ก้อนที่ไทรอยด์ ไม่จำเป็นต้องผ่าทุกครั้ง แล้วแบบไหนต้องผ่า?
- เป็นมะเร็งไทรอยด์
- เป็นเซลล์ที่ผิดปกติแบบก้ำกึ่ง ซึ่งเพิ่มโอกาสของการเป็นมะเร็ง
- เป็นเนื้องอกชนิดดี แต่ก้อนมีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 2-4 ซม. ขึ้นไป หรือมีหลายก้อน หรือมีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดลม หลอดอาหาร
ผ่าตัดไทรอยด์มีแบบไหนบ้าง?
- ผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด ผ่าได้ทุกขนาด ก้อนใหญ่ก็ผ่าได้ แต่จะมีแผลที่คอ 5-8 ซม.
- ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง แผลอยู่ในช่องปาก มองไม่เห็นจากภายนอก พักฟื้นไม่นาน [คลิกดูรายละเอียดที่นี่]
- รักษาด้วยคลื่นไมโครเวฟ ทางเลือกใหม่ ใช้คลื่นไมโครเวฟส่งพลังงานทำให้ก้อนเนื้องอกเล็กลงแทนการผ่าตัด เหมาะกับก้อนขนาด 1-10 ซม.
ไม่แน่ใจว่าก้อนไทรอยด์ที่เป็นอยู่ ควรรักษาแบบไหน - ปรึกษาหมอแมคได้ที่นี่
รู้จักโรคนี้
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland)
คือต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณกลางลำคอส่วนหน้า ใต้ลูกกระเดือก มีลักษณะคล้ายกับปีกผีเสื้อ มีความสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย เพราะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมระบบการเผาผลาญหรือระบบเมตาบอลิซึมของร่างกาย ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายในหลายระบบ โดยความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มี 3 ประการหลักๆ ดังนี้
-
โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid)
คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จนทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูง ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ อาการที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่น น้ำหนักลดลงผิดปกติ กระสับกระส่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ผมร่วง หัวใจเต้นเร็ว ท้องเสีย มือสั่น ตาโปน ต่อมไทรอยด์โต ประจำเดือนผิดปกติเป็นต้น -
โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroid
คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ อาการจึงมักตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เช่น น้ำหนักขึ้น อ่อนเพลีย ทำอะไรเชื่องช้า ขี้หนาว ท้องผูก เบื่ออาหาร หน้าบวม หนังตาบวม ผิวแห้ง เป็นตะคริวบ่อย ความจำเสื่อม ชีพจรเต้นช้า ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น -
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Nodule)
เป็นภาวะต่อมไทรอยด์โตขึ้นผิดปกติ เมื่อคลำที่ลำคอจะพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ โดยจะสังเกตเห็นได้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากเมื่อกลืนน้ำลาย ก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะขยับขึ้นลง โดยก้อนที่ต่อมไทรอยด์นี้ มีทั้งก้อนเดี่ยวและหลายก้อน ทั้งยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภทย่อยๆ ได้แก่ ก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง และก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็ง -
ก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง ก้อนเนื้อประเภทนี้ แบ่งได้อีกหลายชนิด ได้แก่
-
ก้อนซีสต์หรือถุงน้ำ ภายในก้อนจะมีของเหลวอยู่
-
เนื้องอกชนิดธรรมดา เกิดขึ้นในต่อมไทรอยด์
-
ก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็ง หรือเรียกว่ามะเร็งไทรอยด์ ก้อนเนื้อประเภทนี้พบได้ประมาณร้อยละ 7-15 ของผู้ป่วยที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ทั้งหมด ในระยะเริ่มต้นส่วนใหญ่ก้อนจะมีขนาดเล็ก จากนั้นจะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ หากปล่อยทิ้งไว้เซลล์มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด และ กระดูก เป็นต้น
สัญญาณที่ต้องตรวจ
**ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรรีบตรวจไทรอยด์ด่วนๆ **
- **อาการเสี่ยงไทรอยด์เป็นพิษ **น้ำหนักลดผิดปกติ กระสับกระส่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย ผมร่วง หัวใจเต้นเร็ว ท้องเสีย มือสั่น ตาโปน ต่อมไทรอยด์โต ประจำเดือนผิดปกติ
- **อาการเสี่ยงต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย **น้ำหนักขึ้น อ่อนเพลีย ทำอะไรเชื่องช้า ขี้หนาว ท้องผูก เบื่ออาหาร หน้าบวม หนังตาบวม ผิวแห้ง เป็นตะคริวบ่อย ความจำเสื่อม ชีพจรเต้นช้า ประจำเดือนผิดปกติ
**วิธีตรวจดูความผิดปกติของก้อนต่อมไทรอยด์ด้วยตัวเอง **[ดูวิดีโอสอนตรวจที่นี่]
- ยืนตัวตรงส่องกระจก ยืดลำคอ แล้วหันทางซ้ายและทางขวาช้าๆ เพื่อสังเกตลำคอว่ามีก้อนบวมผิดปกติหรือไม่
- ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้าง ค่อยๆ กดคลำตรงลำคอพร้อมๆ กันของแต่ละข้าง จากบนลงล่าง และจากด้านหลังไปด้านหน้า
- ขณะที่กำลังคลำอยู่ คอยสังเกตว่ามีเจอก้อนเนื้อที่ลำคอหรือไม่
หากมีอาการเหล่านี้ หรือสังเกตเห็นก้อนผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์หรือลำคอ คอนูนผิดปกติ กลืนอาหารลำบาก ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยด่วน
- ตรวจคัดกรองไทรอยด์ การันตีถูกที่สุดแค่ 500 บาท [คลิกที่นี่]
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
การตรวจความผิดปกติของต่อมไทรอยด์สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
- ตรวจคัดกรองไทรอยด์ การันตีถูกที่สุดแค่ 500 บาท [คลิกที่นี่]
1. ตรวจฮอร์โมน โดยสามารถดูระดับฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีน (Triiodothyronine: T3) และฮอร์โมนไทรอกซีน (Thyroxine: T4)
- หากผลเลือดที่ได้เป็น T3 หรือ T4 สูงกว่าปกติ แต่ TSH ต่ำกว่าปกติ แปลว่าร่างกายมีไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินไป จะเรียกว่าเป็นโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
- หากผลเลือดที่ได้ เป็น T3 หรือ T4 ต่ำกว่าปกติ แต่ TSH สูงกว่าปกติ แปลว่า ร่างกายเกิดอาการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน จะเรียกว่าเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
**2. ตรวจเลือดวัดระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Antibodies) **ซึ่งมีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย เพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัสและแบคทีเรียโดยเฉพาะ หากค่าแอนติบอดีผิดปกติ จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องและทำให้เกิดต่อมไทรอยด์อักเสบ
**3. ตรวจต่อมไทรอยด์ด้วยอัลตราซาวด์ (Ultrasound Thyroid) **เป็นการตรวจต่อมไทรอยด์ เพื่อดูว่ามีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Nodule) ถุงน้ำ (Cyst) หรือหินปูนที่ก้อนเนื้อ (Calcification) กี่ก้อน และตรวจดูที่ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอมีความผิดปกติหรือไม่
**4. การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ **โดยการใช้สารเภสัชรังสีไอโอดีนร่วมกับการใช้เครื่องสแกน (Thyroid Scan) เพื่อดูว่ามีการอักเสบหรือไม่ มีการผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนมากขึ้นหรือไม่ และก้อนที่ต่อมไทรอยด์ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งหรือไม่
**5. การใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์ (Fine Needle Aspirate: FNA) **เป็นวิธีการตรวจเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ และซีสต์หรือไม่ โดยการใช้เข็มที่มีระบบพิเศษในการตัดชิ้นเนื้อเล็กๆเพื่อนำส่งตรวจต่อไป
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์มีแบบไหนบ้าง
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์มี 2 รูปแบบหลักคือ
- การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดบริเวณลำคอ
- การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง
แต่ละแบบมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน
การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดที่ใช้กล้องผ่าตัดขนาดเล็กที่มีความละเอียดและแม่นยำสูงช่วยในการผ่าตัด ร่วมกับเครื่องมือผ่าตัดพิเศษที่ช่วยให้ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย
แต่วิธีที่ได้รับนิยมที่สุดในปัจจุบันคือ การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก [ดูรายละเอียดที่นี่]
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์มีหลากหลายรูปแบบ และมีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการของโรคและการประเมินของแพทย์ ทั้งการกินยา การกลืนแร่ หรือการผ่าตัด
โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาให้ผ่าตัด เมื่อรักษาวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือไม่สามารถใช้วิธีอื่นรักษาได้ โดยความผิดปกติที่แพทย์มักพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด มีดังนี้
- โรคไทรอยด์เป็นพิษ ที่ไม่ตอบสนองต่อการรับประทานยา หรือการกลืนแร่
- ต่อมไทรอยด์หรือก้อนต่อมไทรอยด์ที่มีขนาดใหญ่ กดเบียดการหายใจและการกลืน ทำให้มีอาการหายใจลำบาก กลืนลำบาก
- ก้อนต่อมไทรอยด์ยื่นลงไปในช่องอก
- ก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง แต่รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือผู้ป่วยอยากนำก้อนออก เช่น มีความกังวลเรื่องความสวยงาม
- ก้อนที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง
- โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดบริเวณลำคอ (Open Thyroid Surgery หรือ Open Subtotal Thyroidectomy)
เป็นการผ่าตัดแบบมาตรฐานที่ใช้มานาน แพทย์จะเปิดแผลที่ลำคอของผู้ป่วย แล้วนำเครื่องมือเข้าไปตัดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ออกมา เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ก้อนไทรอยด์มีขนาดใหญ่ ไม่สามารถผ่าตัดได้ด้วยวิธีอื่น
https://static.hd.co.th/system/image_attachments/images/000/165/841/original/thyroid.jpg
ข้อดีของการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิด
- ผ่าตัดรักษาความผิดปกติได้ทุกกรณี
- ระยะเวลาผ่าตัดสั้นกว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้อง เพราะขั้นตอนน้อยกว่า และเครื่องมือไม่ซับซ้อน
- ราคาถูกกว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
ข้อจำกัดของการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิด
- มีแผลเป็นขนาดใหญ่เป็นแนวขวางอยู่ที่ลำคอ ความยาวประมาณ 5-8 ซม. อาจกระทบต่อความมั่นใจหรือคุณภาพชีวิต
- แผลหายช้า ระยะเวลาพักฟื้นนานกว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ต้องนอน รพ. 1-2 วัน และพักฟื้นที่บ้านประมาณ 5-7 วัน
- ต้องระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ จนกว่าจะหายสนิท
ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิด
ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์แบบเปิดของ รพ. รัฐ ส่วนใหญ่ไม่เกิน 100,000 บาท แต่ รพ. เอกชน ราคาอยู่ที่ 100,000 บาทขึ้นไป
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
รักษาเนื้องอกไทรอยด์ ด้วยคลื่นไมโครเวฟ
- ใช้คลื่นไมโครเวฟปล่อยพลังงานไปลดขนาดก้อนเนื้อให้เล็กลง และไม่ส่งผลกระทบต่อมไทรอยด์ส่วนอื่น
- ไม่ต้องกินฮอร์โมนตลอดชีวิต เพราะเก็บต่อมไทรอยด์เอาไว้ได้
- เป็นการผ่าตัดเล็ก หลังทำกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่ รพ.
- เสียเลือดและเจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว
- เหมาะกับก้อนไทรอยด์ขนาด 1-10 ซม. ได้
การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดบริเวณลำคอ
- เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้มานาน แพทย์จะเปิดแผลบริเวณลำคอ แล้วนำเครื่องมือเข้าไปตัดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ออก เหมาะกับผู้ที่มีก้อนไทรอยด์ขนาดใหญ่ และไม่สามารถผ่าด้วยวิธีอื่น
- สามารถรักษาความผิดปกติได้ทุกกรณี
- ใช้เวลาน้อยกว่า และราคาถูกกว่าแบบส่องกล้อง
- ข้อเสียคือแผลหายช้า มีแผลเป็นขนาดใหญ่ประมาณ 5-8 ซม. ที่ลำคอ
- ต้องนอน รพ. 1-2 วัน และพักฟื้นที่บ้านประมาณ 5-7 วัน
- ต้องระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ จนกว่าจะหายสนิท
การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางปาก
- เป็นการผ่าตัดด้านในริมฝีปากล่างและเหงือก 3 จุดเล็กๆ ขนาดแผลไม่เกิน 1 ซม. ใช้กล้องส่องเข้าไปผ่าไทรอยด์ออกผ่านทางปาก แล้วเย็บด้วยไหมละลาย
- แผลมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย หายเร็ว และไม่มีแผลเป็นที่ผิวหนังที่เห็นได้ชัด
- ระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์สั้นสุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดส่องกล้องบริเวณอื่น
- โอกาสเสียงแหบหลังผ่าตัดน้อย
- นอน รพ. 1-2 วัน พักฟื้นที่บ้าน 2-3 วัน ก็เริ่มรับประทานอาหารได้ตามปกติ
- แไม่เหมาะกับผู้ที่ก้อนหรือต่อมไทรอยด์ขนาดใหญ่
- ผู้ที่เคยผ่าตัด หรือฉายแสงบริเวณลำคอมาก่อน ไม่สามารถทำได้
- ใช้เวลาผ่าตัดนานและราคาสูงกว่าผ่าตัดแบบเปิด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว ประวัติการผ่าตัดเสริมคางหรือฉีดฟิลเลอร์คาง ยาที่กินประจำ รวมถึงวิตามิน อาหารเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิด เพราะอาจต้องมีการงดล่วงหน้าก่อนผ่าตัด
- ตรวจสุขภาพเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด แพทย์จะเป็นผู้ระบุรายการตรวจสุขภาพที่จำเป็นให้แก่ผู้ป่วยเอง เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจโควิด-19
- งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชม. ก่อนผ่าตัด
- พาญาติมาด้วยในวันผ่าตัด เพราะจะต้องมีดมยาสลบ เมื่อผู้ป่วยฟื้นอาจมีอาการมึนเบลอหรือเวียนศีรษะจากยาสลบได้
- สำหรับผู้ที่ต่อเล็บ ทาเล็บเจล ต้องถอดเล็บเจลออกก่อน เพราะระหว่างผ่าตัดต้องสวมเครื่องวัดออกซิเจนที่ปลายนิ้วเพื่อความปลอดภัย
- ถอดฟันปลอม คอนแทคเลนส์ ของมีค่าทุกชนิดก่อนเข้าห้องผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
- แพทย์อาจใส่ท่อระบายจากบริเวณแผลเพื่อลดโอกาสเลือดคั่งบริเวณแผลผ่าตัด แต่หลังจากประเมินว่า ผู้ป่วยกินยาและอาหารได้มากขึ้น มีสารเหลวไหลออกมาจากแผลน้อยลง แพทย์จะนำท่อระบายออก
- งดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เช่น เล่นกีฬา ออกกำลังกายหนัก ยกของหนักในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
- กินยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวด ยาละลายเสมหะที่แพทย์สั่งให้หมด
- พบแพทย์ตามนัดหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อตรวจแผล ติดตามผลการตรวจชิ้นเนื้อ หรือผลลัพธ์จากการผ่าตัดเพิ่มเติม
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ปัจจุบันการผ่าตัดต่อมไทรอยด์มีการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีการผ่าตัดใหม่ๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้การผ่าตัดแม่นยำมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงจัดว่าเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างปลอดภัย ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดนี้ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่โอกาสค่อนข้างต่ำ เช่น
- แผลผ่าตัดติดเชื้อ
- มีอาการเสียงแหบแห้ง หรือเสียงหาย เนื่องจากการการผ่าตัดอาจกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทเสียงได้
- อาจมีอาการไอ สำลักง่าย โดยส่วนใหญ่จะหายเองภายใน 6 เดือน
- บางรายอาจมีอาการชา ต้องรับประทานแคลเซียมเพิ่มเติม
ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด
- อาจมีอาการเสียงแหบชั่วคราว หรือเสียงแหบถาวรได้
- ภาวะเลือดออกที่คอหลังการผ่าตัด โอกาสเกิดน้อยกว่า 1% อาจเกิดจากการไอ จาม หรือเบ่งที่รุนแรงทำให้ไหมที่ผูกเส้นเลือดไว้หลุด
- ภาวะหลอดลมอ่อนตัว โอกาสเกิดประมาณ 1% ส่วนมากเกิดในผู้ป่วยที่มีก้อนไทรอยด์ขนาดใหญ่ มีการกดเบียดหลอดลม หรือผู้ป่วยสูงอายุที่หลอดลมไม่แข็งแรง หากมีอาการนี้ อาจจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจคาไว้ก่อนประมาณ 1-2 วันหลังผ่าตัด เพื่อรอให้หลอดลมแข็งตัว และตรวจหลอดลมอีกครั้งก่อนถอดท่อช่วยหายใจ
- แผลติดเชื้อ โอกาสเกิดน้อยกว่า 1% รักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะร่วมกับการผ่าตัดระบายหนอง
- ต่อมพาราไทรอยด์บาดเจ็บ จนเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มีอาการชาตามร่างกาย เกิดในกรณีต้องผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งสองข้าง และเกิดภาวะต่อมพาราไทรอยด์ช้ำ หรือต้องผ่าตัดออกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดต่อมไทรอยด์เพียงข้างเดียว โอกาสเกิดภาวะแคลเซียมต่ำจนมีอาการนั้น พบได้น้อย
- ภาวะเส้นเสียงไม่ทำงานทั้งสองข้าง เป็นภาวะที่พบได้น้อยกว่า 0.5%
- ภาวะเสียงเปลี่ยนหรือขึ้นเสียงสูงไม่ได้ โอกาสเกิดประมาณ 0.4-3% เกิดจากการที่เส้นประสาทเสียง Superior Laryngea Nerve ได้รับบาดเจ็บ
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล (หมอแมค)
คุณหมอเฉพาะทางไทรอยด์ ประสบการณ์ผ่าตัดมากว่า 10+ ปี ผ่าตัดคุณแม่และภรรยาเองด้วย
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ศัลยศาสตร์ต่อมไร้ท่อ (ไทรอยด์และพาราไทรอยด์) Yale University (USA)
- ศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ เต้านม โรงพยาบาลศิริราช
- ศัลยศาสตร์ทั่วไป โรงพยาบาลตำรวจ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์มีประสบการณ์ผ่าตัดมากว่า 10 ปี ผ่าริดสีดวงมาแล้วกว่า 200 เคส
- ผ่าตัดไทรอยด์ พาราไทรอยด์ มาแล้วกว่า 2,000 เคสรวมถึงผ่าตัดคุณแม่และภรรยาเองด้วย
- เป็นผู้บุกเบิกการรักษาโรคเนื้องอกต่อมไทรอยด์โดยไม่ต้องผ่าตัดโดยการรักษาด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Thyroid Microwave Ablation)
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ธนเดช วงศ์จารุกร (หมอเจมส์)
ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10+ ปี รวมผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- 2550 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2557 วุฒิบัตรเฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- 2560 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2561 Certificate of Training of Endoscopic and Laparoscopies Surgery, Fukuoka Red Cross Hospital (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy) ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 5 ปี
- ประสบการณ์ผ่าตัดถุงน้ำดีมากกว่า 600 เคส ผ่าตัดไส้เลื่อนมากกว่า 500 เคส
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. อธิวุฒิ บวรวัฒนวานิช (หมอตั้ม)
ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2563 วุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี
- 2565 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2565 Certificate of Fellowship Program in Division of Colorectal Surgery, The Catholic University of Korea (Korea)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้อง (Endoscopic Thyroidectomy) ผ่าตัดไส้เลื่อนผ่านกล้อง (Laparoscopic Inguinal Hernia Repair)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. บัณฑวิช พลกล้า (หมอปี)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-ปี 2553: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ปี 2558: วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
-ปี 2564: วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล