ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ เพื่อลดน้ำหนัก
ลดน้ำหนักที่ต้นเหตุ หิวน้อยลง อิ่มไวขึ้น ไม่โหย ไม่ทรมาน
คุณน่าจะลดได้เท่าไหร่? ปรึกษาคุณหมอฟรีวันนี้! (ส่วนใหญ่ลดประมาณ 50% ใน 2 ปี)
ใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ เมื่อเข้ารับบริการที่ รพ.วิภาราม
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
กินคลีน ทำ IF ทำคีโต หรือจะออกกำลังกายยังไง น้ำหนักก็ยังไม่ลงจนท้อ และเริ่มมีโรคและอาการต่างๆ ตามมา เหนื่อยง่าย ปวดเข่า นอนกรน จนเริ่มกลัว อยากกลับมาสุขภาพดี มีแรงใช้ชีวิตอย่างมั่นใจ ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาจช่วยได้
แต่ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ลองศึกษาและปรึกษาคุณหมอดูก่อน ทีมแพทย์และ HDcare พร้อมดูแลให้ข้อมูลคุณทุกขั้นตอน
น้ำหนักเท่านี้ ผ่าตัดกระเพาะได้มั้ย คำนวณได้จากค่า BMI
- ค่า BMI มากกว่า 37.5
- ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
ให้แอดมินคำนวณค่า BMI ให้คุณ [คลิกที่นี่]
ผ่าตัดกระเพาะหรือใส่บอลลูนดี?
- ทั้งผ่าตัดกระเพาะและใส่บอลลูน เป็นวิธีที่ทำให้กระเพาะรับอาหารได้น้อยลงเหมือนกัน
- ใส่บอลลูน เหมาะกับคนที่หนักไม่มาก ใส่บอลลูนแค่ 12 เดือนแล้วเอาออก ข้อดีคือไม่ต้องผ่าตัด แต่หลายคนกลัวอาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงร่างกายปรับตัว และกลัวน้ำหนักขึ้นหลังเอาบอลลูนออก
- ผ่าตัดกระเพาะ ทำให้กินได้น้อยลง ลดฮอร์โมนความหิว ทำให้ไม่โหยและไม่ทรมาน อิ่มเร็วและอิ่มนาน เห็นผลดีกว่า
ผ่าตัดกระเพาะแต่ละเทคนิคต่างกันยังไง?
- ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Sleeve Gastrectomy: SG) เอากระเพาะออกประมาณ 80% เป็นวิธีไม่ซับซ้อน มีความเสี่ยงน้อย
- ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Roux-en-Y Gastric Bypass) เย็บกระเพาะส่วนบนให้เป็นถุงเล็กๆ แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
- ผ่าตัดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะออกแล้วทำบายพาส (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy Plus Proximal Jejunal Bypass) ผ่าตัดกระเพาะให้เล็กลง แล้วต่อลำไส้เล็กเพื่อสร้างทางเดินอาหารใหม่ ให้อาหารออกจากกระเพาะแล้วเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนกลาง ข้ามลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีการดูดซึมอาหารมากที่สุดไป
ผ่าตัดกระเพาะ เบิกประกันได้มั้ย?
- ถ้าคุณมีประกันสุขภาพ ให้ HDcare เช็กความคุ้มครองให้ได้ ทักเราเลย!
- ถ้าไม่มีประกันสุขภาพ เลือกผ่อน 0% ด้วยบัตรเครดิตกับ HDcare ได้
คำถามที่พบบ่อย
หลังผ่าแล้วต้องพักฟื้นนานไหมครับ ต้องหยุดงานนานแค่ไหน
ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่พักฟื้นใน รพ. หลังผ่าตัดประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นอาจต้องให้แพทย์ประเมินเป็นรายบุคคลไปค่ะ
ผ่าแล้วมันลดพุงได้ไหมคะ?
ผู้รับบริการส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักลดประมาณ 40-50% ภายในระยะเวลา 2 ปีหลังผ่าตัดกระเพาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง และรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ใช้บริการด้วยค่ะ
ระหว่างผ่าตัดกระเพาะออก กับใส่บอลลูนกระเพาะ อันไหนดีกว่าคะ
ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ การผ่าตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออก "จะช่วยให้พื้นที่ในกระเพาะเล็กลง" หิวน้อยลง และฮอร์โมนเกี่ยวกับความหิวน้อยลงด้วย ส่วนการใส่บอลลูนกระเพาะอาหารจะช่วยให้กระเพาะเต็มจากบอลลูนที่บรรจุน้ำเกลือ หากถอดบอลลูนออกแล้วก็จะสามารถกลับมากินอาหารได้ปริมาณเท่าเดิม แต่ทั้ง 2 วิธีขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาด้วยค่ะว่าเหมาะกับวิธีไหนมากกว่า
ผ่าแล้วมันลดพุงได้ไหมคะ?
ผู้รับบริการส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักลดประมาณ 40-50% ภายในระยะเวลา 2 ปีหลังผ่าตัดกระเพาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง และรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ใช้บริการด้วยค่ะ
รู้จักโรคนี้
โรคอ้วน คือ ภาวะที่มีน้ำหนักตัวหรือสัดส่วนไขมันในร่างกายมากผิดปกติ โดยใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนด คำนวณค่า BMI ด้วยตัวเอง [คลิกที่นี่]
โรคอ้วนหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องของน้ำหนักและขนาดตัวที่มากขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาจากโรคอ้วนคือ "โรคร่วมจากความอ้วน" ซึ่งเกิดจากไขมันที่สะสมตามอวัยวะต่างๆ และยิ่งอ้วนมากก็ยิ่งมีโอกาสเสียชีวิตได้เร็วกว่าคนทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 7-10 ปี
โรคที่เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
- ฮอร์โมนและเมตาบอลิค – ความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดที่สอง ไขมันในเลือดสูง
- สมอง – โรคซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤต อัมพาต
- คอ – นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea; OSA)
- ระบบการหายใจ – หอบหืด เหนื่อยง่าย ความดันปอดสูง
- ระบบไหลเวียนโลหิต – โรคหัวใจ เช่น หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
- ทางเดินอาหาร – ไขมันเกาะตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งตับ มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้
- ทางเดินปัสสาวะ – ปัสสาวะติดเชื้อบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
- ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง – ถุงน้ำรังไข่ ประจำเดือนผิดปกติ ภาวะมีบุตรยาก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก
- ระบบสืบพันธุ์เพศชาย – มะเร็งต่อมลูกหมาก
- กระดูกและข้อ – ปวดข้อ ข้อเสื่อมก่อนวัย โดยเฉพาะข้อรองรับน้ำหนัก เช่น หลัง สะโพก เข่า ข้อเท้า
- ผิวหนัง – สิว ขนดก ผิวหนังติดเชื้อ อักเสบ เป็นฝีบ่อย เชื้อรา มีกลิ่นตัว
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
โรคอ้วน คือ ภาวะที่มีน้ำหนักตัวหรือสัดส่วนไขมันในร่างกายมากผิดปกติ โดยใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนด คำนวณค่า BMI ด้วยตัวเอง [คลิกที่นี่]
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- ปรับพฤติกรรมด้วยตัวเอง ทั้งด้านการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวัน
- ควบคุมน้ำหนักโดยใช้ยา โดยจะต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์อย่างใกล้
- ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ทำในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีข้อบ่งชี้ และแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถตัดกระเพาะได้
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
น้ำหนักเท่านี้ ผ่าตัดกระเพาะได้มั้ย คำนวณได้จากค่า BMI
- ค่า BMI มากกว่า 37.5
- ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ เพื่อลดน้ำหนัก ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Laparoscopic Sleeve Gastrectomy หรือ LSG จะผ่าตัดเอากระพุ้งกระเพาะอาหาร หรือที่เรียกว่าฟันดัส (Fundus) ออกไป ทำให้กระเพาะมีขนาดเล็กลงและมีรูปร่างเหมือนกล้วยหรือแขนเสื้อ เป็นที่มาของชื่อ “Sleeve Gastrectomy”
พื้นที่ส่วนใหญ่ของกระพุ้งกระเพาะอาหารจะผลิตฮอร์โมนเครลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อความหิว การตัดกระเพาะส่วนนี้ออกไปจึงช่วยทำให้ความหิวลดน้อยลง
ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ
- หิวน้อยลง เพราะตัดส่วนที่ผลิตฮอร์โมนความหิวออกไปด้วย
- น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าใส่บอลลูนในกระเพาะ
- ช่วยลดอาการโรคเรื้อรังที่เกิดจากความอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต หยุดหายใจขณะหลับ ไขมันในเลือดสูง หรืออาจหายขาดได้
- เป็นวิธีที่ซับซ้อนน้อยกว่าเทคนิคอื่นๆ
- มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัดน้อยกว่าเทคนิคอื่นๆ
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟเหมาะกับใคร?
- คนที่มีภาวะน้ำหนักเกินมากหรือมีภาวะสุขภาพที่เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน และไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยวิธีทั่วไปอย่างควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายได้
- คนที่ต้องผ่าตัดลดขนาดกระเพาะด้วยเทคนิคอื่นๆ อาจต้องผ่าตัดแบบสลีฟเพื่อให้ลดน้ำหนักได้ระดับหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อยรับการผ่าตัดด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนกว่า
ขั้นตอนการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เจาะรู้เล็กๆ 4-5 รู ขนาดประมาณ 1-2 ซม. เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องเข้าไปทางหน้าท้อง
- แพทย์ตัดเอากระเพาะเนื้อที่ประมาณ 80% ของทั้งหมดออกมาแล้วปิดแผล
- หลังผ่าตัด ทีมแพทย์จะดูแลให้คนไข้ฟื้นจากยาสลบอย่างปลอดภัย และนัดตรวจติดตามผลเป็นระยะ
ระยะเวลาในการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟใช้ระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 2 ชม.
ผลลัพธ์ของการผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ
คนไข้ส่วนใหญ่จะลดน้ำหนักตัวไปประมาณ 40-50% ใน 2 ปีหลังผ่าตัด จากนั้นจะค่อยๆ น้อยลงในแต่ละปี ผู้รับการผ่าตัดต้องปรับวิถีชีวิต เช่น วางแผนการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่อย่างนั้นน้ำหนักตัวอาจเพิ่มกลับมาใหม่ได้
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ เพื่อลดน้ำหนัก
- ตัดเอากระพุ้งกระเพาะอาหาร (Fundus) ซึ่งเป็นที่ผลิตฮอร์โมนความหิวออก เพื่อให้กระเพาะเล็กลงและหิวน้อยลง
- เปิดแผลเล็กๆ เพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปผ่าเอากระเพาะออกประมาณ 80%
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 2 วัน
- ซับซ้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าลดกระเพาะเทคนิคอื่น
- ส่วนใหญ่ลดน้ำหนักได้ 40-50% ภายใน 2 ปี
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก [คลิกดูรายละเอียด]
- เย็บกระเพาะส่วนบนให้เป็นถุงขนาดเล็ก แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2-3 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 1-2 วัน
- ส่วนใหญ่ลดน้ำหนักได้ 70% ภายใน 2 ปี
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟพลัสบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก [คลิกดูรายละเอียด]
- ตัดเอากระพุ้งกระเพาะอาหาร (Fundus) ซึ่งเป็นที่ผลิตฮอร์โมนความหิวออก แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ
- เป็นเทคนิคที่รวมการตัดกระเพาะแบบสลีฟ และแบบบายพาสเข้าไว้ด้วยกัน
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 2-3 วัน
- ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่าเทคนิคอื่น ให้ผลดีกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า
- อาจลดน้ำหนักได้ 80-90% ภายใน 2 ปี
ใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร [คลิกดูรายละเอียด]
- ใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหาร แล้วใส่น้ำเกลือเข้าไปในบอลลูนให้ขยายตัว เพื่อลดพื้นที่ในกระเพาะ ทำให้รู้สึกอิ่มตลอดเวลา
- กระเพาะอาหารมีขนาดเท่าเดิม หลังเอาบอลลูนออก ถ้าไม่ปรับพฤติกรรมน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นอีกได้
- เหมาะกับคนที่มี BMI เกิน 30 (หากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หยุดหายใจขณะหลับ)
- ใช้เวลาทำประมาณ 15-20 นาที และพักฟื้นที่ รพ. 1 วัน
- ใส่บอลลูน 6-12 เดือน ลดน้ำหนักได้ประมาณ 20 กก. ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ตรวจร่างกายโดยละเอียด เช่น ตรวจเลือด อัลตราซาวด์ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสมรรถภาพปอด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง ในบางคน แพทย์อาจพิจารณาให้ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารก่อน
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 7-14 วันก่อนผ่าตัด
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- ก่อนผ่าตัด 8 ชั่วโมง พยาบาลจะฉีดยาเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาต้องพักฟื้นกี่วัน?
ใช้เวลาพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2-5 วัน ขึ้นกับแต่ละคน
หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้
- งดออกกำลังกายหนัก 2 สัปดาห์ และงดยกของหนัก 1 เดือน
- เปิดพลาสเตอร์ปิดแผลออกได้หลังจากผ่าตัดครบ 7 วัน
หลังผ่าตัดกระเพาะ แนะนำให้ปรับพฤติกรรมการกินดังนี้
- ควรจิบน้ำเปล่าระหว่างวันบ่อยๆ แต่ไม่ควรดื่มน้ำก่อนและหลังอาหาร 30-45 นาที
- หยุดกินทันทีที่รู้สึกอิ่ม
- ตัดอาหารชิ้นเล็ก เคี้ยวให้ละเอียดจนเหลวก่อนกลืน โดยทั่วไปคาดหวังว่าจะเคี้ยงอย่างน้อย 30 ครั้งก่อนกลืน
- เลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง โดยจำกัดปริมาณน้ำตาล 15 กรัม หรือน้อยกว่าต่อ 1 มื้ออาหาร
- ควรกินอาหารประเภทโปรตีน 60-90 กรัมต่อวัน
- เลี่ยงอาหารประเภทแป้งและไขมัน
- กินวิตามินและแร่ธาตุเสริม ตามคำแนะนำของแพทย์
หลังผ่าตัดกระเพาะ กินอะไรได้บ้าง?
- สัปดาห์ที่ 1-2 อาหารเหลว เช่น น้ำซุปใส น้ำผัก น้ำผลไม้ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นโจ๊ก
- สัปดาห์ที่ 3 อาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ไข่ตุ๋น ข้าวต้ม
- สัปดาห์ที่ 4 อาหารธรรมดา แต่เน้นปรุงสุกและเน้นโปรตีนสูง
- สัปดาห์ที่ 5 กินอาหารได้ตามปกติ แต่ควรกินในปริมาณน้อย และเคี้ยวให้ละเอียด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
หลังผ่าตัดกระเพาะ พื้นที่กระเพาะอาหารที่เหลือน้อยอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ในช่วงเดือนแรกที่ยังปรับตัวไม่ได้ ส่วนอาการแทรกซ้อนอื่นๆ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย ดังนี้
- มีเลือดออกจากแผลผ่าตัด
- ติดเชื้อ
- แผลผ่าตัดรั่ว
- อวัยวะภายในบาดเจ็บ
- ลำไส้อุดตัน
- ลิ่มเลือดอุดตัน
ในกรณีที่การผ่าตัดมีปัญหา อาจต้องทำการผ่าตัดซ้ำ แต่โอกาสเกิดน้อยประมาณ 1%
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. สุทธิเกียรติ จรดล (หมอเบิ้ล)
คุณหมอเฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน ผู้ก่อตั้งคลินิกรักษาโรคอ้วน รพ. พระนั่งเกล้า
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศัลยศาสตร์เฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยศาสตร์เฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ผู้ก่อตั้งและดำเนินการคลินิกรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. เสฐียรพงษ์ จันทวิบูลย์ (หมอฟงฟง)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน ผ่าตัดมาแล้วกว่า 2,000+ เคส
ข้อมูลของแพทย์
- ศัลยศาสตร์ทั่วไป ราชวิทยาลัยศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย
- ศัลยศาสตร์เฉพาะทาง ผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ศัลยศาสตร์ผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและโรคอ้วน โรงพยาบาลราชวิถี วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ชำนาญการด้านการผ่าตัดลดน้ำหนัก การผ่าตัดไส้เลื่อน การผ่าตัดทางเดินอาหารส่วนบน และการผ่าตัดส่องกล้อง
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ประสบการณ์ดูแลผ่าตัดผู้ป่วยโรคอ้วน น้ำหนักสูงสุด 320 kg
- ประสบการณ์ผ่าตัดผ่านกล้องรักษาโรคอ้วน นิ่วถุงน้ำดี และไส้เลื่อนขาหนีบ มากกว่า 2,000 ราย
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ณัฐพล อภิกิจเมธา (หมอณัฐ)
อาจารย์แพทย์ด้านการผ่าตัดส่องกล้อง ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,500+ เคส
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศัลยศาสตร์ทั่วไป โรงพยาบาลชลบุรี
- ผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง (Minimally invasive surgery) โรงพยาบาลตำรวจ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- อาจารย์แพทย์ ด้านการผ่าตัดส่องกล้อง
- จบการศึกษาการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูงโดยตรง
- ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องไทรอยด์ทางช่องปาก ผ่าตัดส่องกล้องไส้เลื่อน ผ่าตัดส่องกล้องนิ่วถุงน้ำดี ผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคเหงื่อออกมือ ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักรักษาโรคอ้วน และส่องกล้องทางเดินอาหาร มีประสบการณ์มากกว่า 2,500 เคส
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ธนเดช วงศ์จารุกร (หมอเจมส์)
ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10+ ปี รวมผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- 2550 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2557 วุฒิบัตรเฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- 2560 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2561 Certificate of Training of Endoscopic and Laparoscopies Surgery, Fukuoka Red Cross Hospital (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy) ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 5 ปี
- ประสบการณ์ผ่าตัดถุงน้ำดีมากกว่า 600 เคส ผ่าตัดไส้เลื่อนมากกว่า 500 เคส
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. พรรควุธ จันทร์สว่างภูวนะ (หมอโอ๊ค)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญการส่องกล้องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
ข้อมูลของแพทย์
-วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป
-ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาการผ่าตัดผ่านกล้อง
-ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญการส่องกล้องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ปวัน จันท์แสนโรจน์ (หมอยิ้ง)
ข้อมูลของแพทย์
-แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก
-มีประสบการณ์การผ่าตัดกระเพาะอาหารด้วยการส่องกล้องมากกว่า 1,000 เคส