
รายละเอียด
ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะออกแล้วทำบายพาส
Laparoscopic sleeve gastrectomy plus proximal jejunal bypass เป็นเทคนิคใหม่ ที่รวมประโยชน์ของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบผ่ากระเพาะส่วนใหญ่ออก กับการผ่าตัดละลดขนาดกระเพาะและทำบายพาส เข้าไว้ด้วยกัน ลดน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะเทคนิคอื่นๆ

ไม่แน่ใจ ต้องผ่าตัดมั้ย? ถ้าผ่าตัด มีขั้นตอนยังไง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? ปรึกษาอาการหรือขอความเห็นที่สองทางออนไลน์กับแพทย์ได้เต็มที่ ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่จำกัดเวลา
- เลือกจ่ายทีเดียวหรือผ่อน 0% สูงสุด 6 เดือน แบ่งจ่ายด้วยบัตรเครดิตหรือเดบิตหลายใบได้
- เบิกประกันได้ ไม่ต้องสำรองจ่าย* เราเช็กความคุ้มครอง ประสานงาน และจัดการเรื่องเอกสารให้คุณจนจบ!
สารบัญเนื้อหา
ขั้นตอนการรับบริการ
-
1
สอบถามหรือทำนัด
แอดมินของ HDcare พร้อมตอบทุกข้อสงสัยและทำนัดให้คุณได้ปรึกษาคุณหมอ
-
2
ปรึกษาและประเมิน
เลือกพบคุณหมอได้ทั้งแบบออนไลน์หรือที่โรงพยาบาล ไม่จำกัดจำนวนครั้งจนคุณมั่นใจ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนั้น
-
3
ผ่าตัด
อุ่นใจมีพยาบาลที่ปรึกษาดูแลตลอดจนการผ่าตัดเรียบร้อย ตั้งแต่อำนวยความสะดวกที่โรงพยาบาล ประสานงานกับบริษัทประกัน ไปจนถึงให้คำแนะนำก่อนและหลังผ่าตัด
ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมคืออะไร?
-
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบาสพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม คือการผ่าตัดส่วนกระพุ้งกระเพาะ (Fundus) ออก เพื่อทำให้ขนาดกระเพาะเล็กลง จากนั้นตัด-ต่อลำไส้เล็กเพื่อสร้างทางเดินอาหารใหม่ ให้อาหารออกจากกระเพาะแล้วเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนกลาง ข้ามลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีการดูดซึมอาหารมากที่สุดไป
การผ่าตัดนี้มักทำในโรงพยาบาล ระงับความรู้สึกระหว่างผ่าตัดด้วยยาสลบ (General Anesthesia)
ขั้นตอนการผ่าตัด
- 1หลังจากแพทย์วางยาสลบ (General anesthesia) ให้คนไข้ และยาสลบออกฤทธิ์แล้ว แพทย์จะเปิดแผลด้วยการเจาะรูเล็กๆ 5 รู ที่หน้าท้องคนไข้ ตามด้วยใส่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปเพื่อให้ช่องท้องเป่งออก เห็นกระเพาะอาหาร เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายในอย่างชัดเจน
- 2จากนั้นแพทย์จะสอดอุปกรณ์ที่มีกล้องติดอยู่ที่ปลาย และเครื่องมืออื่นๆ เช่น เครื่องมือปกป้องตับ เครื่องมือผ่าตัด ผ่านรูที่หน้าท้องเข้าไปในช่องท้อง แล้วตัดกระเพาะอาหารส่วนกระพุ้ง ซึ่งมีความจุประมาณ 85% ออก จากนั้นทำการบายพาสลำไส้เล็กเจจูนัมส่วนต้นความยาวประมาณ 250 ซม. แล้วจึงนำมาต่อกับลำไส้เล็กส่วนที่ห่างจากจุดรอยต่อของลำไส้เล็กดูโอดีนัมและเจจูนัม 30 ซม.
- 3เมื่อผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะเป่าลมเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้ของคนไข้ รวมทั้งใช้กล้องส่องตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีรูรั่วจากการตัดเย็บ หลังสำรวจความเรียบร้อยเป็นขั้นตอนสุดท้ายเสร็จสิ้นก็จะดึงเครื่องมือและกล้องออก ตามด้วยเย็บปิดแผล
หลังผ่าตัดเสร็จเรียบร้อย แพทย์จะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ยาแผ่นเล็กและให้กลับบ้านได้
ผ่าตัดลดใช้เวลาเท่าไหร่ ต้องพักฟื้นกี่วัน?
โดยทั่วไปแล้วใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชั่วโมง พักฟื้น 2-3 วัน
การผ่าตัดนี้เหมาะกับใคร?
จุดประสงค์ของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ มักเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินอย่างมาก หรือมีภาวะสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะน้ำหนักเกิน โดยไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยวิธีทั่วไปอย่างควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายได้
มักพิจารณาจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ โดยสำหรับชาวเอเชียจะใช้เกณฑ์ดังนี้
ค่า BMI มากกว่า 37.5
ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
ผู้รับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ ควรมีอายุอยู่ระหว่าง 16-65 ปี กรณีอายุน้อยหรือมากกว่านั้น ต้องคุยกับแพทย์ถึงความจำเป็นและความเสี่ยงของการผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้นได้
ที่สำคัญคือ เพื่อให้การผ่าตัดเสร็จสิ้นอย่างปลอดภัย และมีผลลัพธ์ที่ดี ลดน้ำหนักได้จริง คนไข้ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัด และมีความสามารถที่จะดูแลตัวเองหลังผ่าตัดอย่างมีประสิทธิภาพได้
ข้อดีของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม
เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออก หรือผ่าตัดกระเพาะแล้วทำบายพาส การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม เป็นวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่า ให้ผลดีกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการผ่าตัดอีกแบบที่เรียกว่า Duodenal Switch การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมยังมีโอกาสเกิดความซับซ้อนระหว่างและหลังผ่าตัดน้อยกว่า รวมถึงส่วนของลำไส้เล็กที่เหลือยาวว่าจะช่วยได้สามารถดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุได้มากกว่า ทำให้โอกาสขาดวิตามินและสารอาหารลดน้อยกว่าด้วย
ถ้าคนไข้เคยรับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออก มาก่อนแล้ว แต่ผลการลดน้ำหนักยังไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือน้ำหนักกลับมาเพิ่มอีกเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี สามารถรับการผ่าตัดทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมต่อได้
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัด ลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม ควรปฏิบัติดังนี้
หายใจเข้าลึกๆ 5-10 ครั้ง แล้วกลั้นไว้ระยะหนึ่ง ทุกๆ ชั่วโมง เพื่อเป็นการบริหารปอดและทรวงอก
ใส่ปลอกสวมขาป้องกันภาวะแข็งตัวในเส้นเลือดดำตามที่แพทย์แนะนำ และไม่ควรนอนอย่างเดียว ควรลุกนั่งบ้าง ถ้าไม่มีอาการปวดศีรษะให้ขยับและเดินไปรอบๆ เตียงหรือพยายามฝึกทำกิจกรรมตามปกติโดยเร็วที่สุดเพื่อปรับปรุงการไหลเวียนโลหิตและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
ลุกขึ้นเดินวันละ 5-6 ครั้งเพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้
หมั่นสังเกตอาการของตัวเอง เช่น อาการปวด คลื่นไส้อาเจียน ปวดบิดในท้อง ท้องอืด หรือความผิดปกติของแผลผ่าตัด เช่น บวม แดง ร้อน หากมีอาการเหล่านี้ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
ควรรับประทานอาหารตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เช่น หลังผ่าตัดสัปดาห์แรกอาจรับประทานได้เฉพาะอาหารเหลว ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อย อย่างซุปใส น้ำผลไม้ที่ผ่านการกรองกากใย และไม่ใส่น้ำตาล โยเกิร์ต เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 3 หลังผ่าตัดจึงค่อยรับประทานอาหารชิ้นเล็กๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก โดยดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหารประมาณ 15-30 นาที เพื่อเตรียมปรับสู่การรับประทานอาหารปกติ โดยควรเริ่มจากรับประทานปริมาณน้อย เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน แล้วค่อยปรับเป็นรับประทานปกติ
ด้านการออกกำลังกาย สามารถเริ่มออกกำลังเบาๆ ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 หลังผ่าตัด และงดยกของหนักเป็นระยะเวลา 3 เดือน
ผลลัพธ์ของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม
มีผลการศึกษาที่สรุปว่า การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม ทำให้คนไข้ลดน้ำหนักได้มากกว่าการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออก และผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบผ่าตัดกระเพาะส่วนบนมาต่อกับลำไส้เล็ก โดยอาจลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 89-90% หลังผ่าตัด
ความเสี่ยง ผลข้างเคียง ที่เกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม มีความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- เกิดการรั่วซึมของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
- เกิดโพรงฝีในช่องท้อง (Intraabdominal Abscess) สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้และกระเพาะอาหาร ซึ่งหากคนไข้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้มากขึ้น
- เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis: DVT) ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เกิดจากการที่คนไข้ไม่ได้ขยับตัวเป็นเวลานานขณะผ่าตัด หรือขณะผ่ามีการบาดเจ็บของเส้นเลือด ทำให้ร่างกายสร้างลิ่มเลือดขึ้นมา ลิ่มเลือดนี้สามารถหลุดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์จะป้องกันไว้ก่อนด้วยการใส่ปลอกกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ขาทั้งสองข้างของคนไข้
- เลือดออกหลังผ่าตัด
- ติดเชื้อ
- เกิดกรดไหลย้อน ซึ่งมาจากขนาดกระเพาะอาหารที่เล็กแคบลง ทำให้แรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น กรดในกระเพาะอาหารจึงมีโอกาสไหลท้นไปยังหลอดอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นโรคกรดไหลย้อนอยู่เดิม จะมีโอกาสเป็นกรดไหลย้อนซ้ำเพิ่มขึ้นได้
- เกิดภาวะทางเดินอาหารอุดกั้น สามารถเกิดได้ทันทีหลังผ่าตัด เนื่องจากแผลผ่าตัดที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ลำไส้บวมขึ้น หรืออาจเกิดหลังจากผ่าตัดไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากร่างกายสร้างเนื้อเยื่อพังผืดขึ้นมาเพื่อซ่อมแซมแผลที่กระเพาะอาหารมากเกินไป
- มีภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง เนื่องจากพื้นที่ดูดซึมสารอาหารมีน้อยลง ดังนั้นหลังผ่าตัดคนไข้จึงต้องปรับพฤติกรรมการกินและดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ เนื่องจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมเป็นเทคนิคใหม่ จึงทำให้ยังไม่มีการศึกษาผลข้างเคียงในระยะยาวเกิน 5 ปี ดังนั้นก่อนรับการผ่าตัดจึงควรปรึกษาแพทย์และสอบถามถึงความกังวลต่างๆ ให้ครบถ้วน
- รู้จักแพทย์ผู้ผ่าตัด #1
-
นพ. สุทธิเกียรติ จรดล
- ผ่านการเรียนรู้ด้านการดูแลและผ่าตัดรักษาโรคอ้วนแบบครบวงจรจากจุฬาฯ และมีประสบการณ์ในการริเริ่มการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนที่ รพ.พระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี
- แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- รู้จักแพทย์ผู้ผ่าตัด #2
-
นพ. เสฐียรพงษ์ จันทวิบูลย์
- แพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศัลยศาสตร์ทั่วไป ราชวิทยาลัยศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย
- ศัลยศาสตร์เฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน รพ.จุฬาลงกรณ์
- - อาจารย์ประจำหน่วยผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน รพ.ราชวิถี
- ประสบการณ์ดูแลผ่าตัดผู้ป่วยโรคอ้วน น้ำหนักสูงสุด 320 กิโลกรัม และประสบการณ์ผ่าตัดผ่านกล้อง > 2,000 ราย
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดไส้เลื่อนผ่านกล้องแผลเล็ก
- Advanced Laparoscopic and Bariatric Surgery, Minimally Invasive Surgery Unit, Rajavithi Hospital, Rangsit Medical College University, Bangkok
- Specialty in Bariatric & Metabolic Surgery, Hernia Surgery, Upper GI Surgery, Endoscopy



-
โรงพยาบาลวิมุต
- 500 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400















-
ทีมแพทย์ผู้ชำนาญ
วินัจฉัยทั้งโรค และความกังวลของคนไข้ ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ
-
เชื่อมโยงข้อมูลคนไข้ แบบ Real-time
ทุกจุดบริการเห็นข้อมูลเดียวกันและครบถ้วน เพื่อการวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพ
-
เครื่องมือการวินิจฉัยที่ทันสมัย
ลดความเจ็บปวด และระยะเวลาในการรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัย
-
เรื่องเล็กๆ ที่เราใส่ใจ
ใส่ใจแม้รายละเอียดเล็กๆ ของสุขภาพคุณ เพื่อให้คุณกลับบ้านได้อย่างสบายใจ