ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เพื่อลดน้ำหนัก
ลดน้ำหนักแบบไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผล ฟื้นตัวไว
คุณน่าจะลดได้เท่าไหร่? ปรึกษาคุณหมอฟรีวันนี้! (ส่วนใหญ่น้ำหนักลดประมาณ 10-30% ใน 1 ปี)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
กินคลีน ทำ IF ทำคีโต หรือจะออกกำลังกายยังไง น้ำหนักก็ยังไม่ลงจนท้อ และเริ่มมีโรคและอาการต่างๆ ตามมา เหนื่อยง่าย ปวดเข่า นอนกรน จนเริ่มกลัว อยากกลับมาสุขภาพดี มีแรงใช้ชีวิตอย่างมั่นใจ จะผ่าตัดกระเพาะก็กลัว อยากลองศึกษาและปรึกษาคุณหมอเรื่องใส่บอลลูนเพื่อลดน้ำหนักดูก่อน
ทีมแพทย์และทีมแอดมิน HDcare พร้อมดูแลให้ข้อมูลคุณทุกขั้นตอน
น้ำหนักเท่านี้ ผ่าตัดกระเพาะได้มั้ย คำนวณได้จากค่า BMI
- ค่า BMI มากกว่า 27
ให้แอดมินคำนวณค่า BMI ให้คุณ [คลิกที่นี่]
ผ่าตัดกระเพาะหรือใส่บอลลูนดี?
- ทั้งผ่าตัดกระเพาะและใส่บอลลูน เป็นวิธีที่ทำให้กระเพาะรับอาหารได้น้อยลงเหมือนกัน
- ใส่บอลลูน เหมาะกับคนที่หนักไม่มาก ใส่บอลลูนแค่ 12 เดือนแล้วเอาออก ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลที่หน้าท้อง
- ผ่าตัดกระเพาะ ทำให้กินได้น้อยลง ลดฮอร์โมนความหิว ทำให้ไม่โหยและไม่ทรมาน อิ่มเร็วและอิ่มนาน
ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร อันตรายไหม?
- 1-2 สัปดาห์แรก จะปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ หรืออาเจียน แต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น
- ไม่ต้องกลัวอันตราย หากบอลลูนแตก น้ำในบอลลูนจะออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ และพลาสติกจะออกมาในรูปแบบของอุจจาระ ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
คำถามที่พบบ่อย
หลังจากใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารแล้ว กินอาหารอะไรได้บ้าง?
หลังจากที่ร่างกายปรับตัวให้เข้ากับบอลลูนในกระเพาะอาหารได้แล้ว ผู้เข้ารับบริการสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม แนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มากเกินจำเป็น และอาหารที่มีไขมันสูง เพราะจะทำให้นักหนักตัวเพิ่มมากขึ้นได้ แม้ว่าจะใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารแล้วก็ตาม
หากถอดบอลลูนในกระเพาะอาหารออกแล้ว จะกลับมาอ้วนไหม?
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารจะลดพื้นที่ภายในกระเพาะอาหารแบบชั่วคราวเท่านั้น หลังจากที่ถอดบอลลูนในกระเพาะอาหารออกแล้ว กระเพาะอาหารจะกลับมามีขนาดเท่าเดิม ถ้าไม่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ก็จะทำให้กลับมามีภาวะอ้วนได้อีก
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
โรคอ้วน คือ ภาวะที่มีน้ำหนักตัวหรือสัดส่วนไขมันในร่างกายมากผิดปกติ โดยใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนด คำนวณค่า BMI ด้วยตัวเอง [คลิกที่นี่]
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- ปรับพฤติกรรมด้วยตัวเอง ทั้งด้านการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวัน
- ควบคุมน้ำหนักโดยใช้ยา โดยจะต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์อย่างใกล้
- ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร / ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ทำในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีข้อบ่งชี้ และแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถตัดกระเพาะได้
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
น้ำหนักเท่านี้ ใส่บอลลูนในกระเพาะได้มั้ย คำนวณได้จากค่า BMI
- ค่า BMI มากกว่า 27 ขึ้นไป
รู้จักการผ่าตัดนี้
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร ภาษาอังกฤษ Gastric Balloon คือ การส่องกล้องนำบอลลูนทรงกลมที่ปรับขนาดได้ใส่เข้าไปในกระเพาะอาหารผ่านทางปาก
บอลลูนจะถูกเติมด้วยน้ำเกลือเพื่อให้ขนาดของบอลลูนใหญ่ขึ้น และลดพื้นที่ว่างในกระเพาะอาหาร ทำให้คนที่ใส่บอลลูนรู้สึกอิ่ม และกินอาหารได้น้อยลง
ใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร?
- ลดพื้นที่ในกระเพาะอาหาร ทำให้กินได้น้อยลง
- ทำให้รู้สึกอิ่มตลอดเวลา และฮอร์โมนเกี่ยวกับความหิวหลั่งน้อยลง
- เพิ่มประสิทธิภาพในการคุมอาหาร ลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็ว
- ภายใน 1 ปี สามารถลดดัชนีมวลกายได้ประมาณ 10-30% จากดัชนีมวลกายเดิม
บอลลูนในกระเพาะอาหารอยู่ได้นานแค่ไหน?
บอลลูนจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ช่วงที่ใกล้ครบกำหนด แพทย์จะนัดหมายให้เข้ามาตรวจติดตามอาการ และนำบอลลูนลูกเดิมออก ถ้าอยากใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารอีก ก็ใส่เข้าไปแทนบอลลูนลูกเดิมได้เลย
ใครที่สามารถใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักได้?
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือมีภาวะอ้วน
- ผู้ที่ลองควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีการอื่นแล้ว ไม่ได้ผล
- ผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) มากกว่า 27 ขึ้นไป
ข้อจำกัดในการใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
- ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์
- คนที่มีความผิดปกติของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีการติดเชื้อที่กระเพาะอาหาร มีการอักเสบที่ระบบทางเดินอาหาร เป็นกรดไหลย้อนรุนแรง หรือเคยผ่าตัดรัดกระเพาะอาหารและหลอดอาหารมาก่อน
- คนที่มีภาวะเลือดออกง่าย
- คนที่ต้องกินยาละลายลิ่มเลือดเป็นประจำ
- คนที่มีโรคประจำตัวที่มีอาการรุนแรง เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ไม่เสถียร หรือโรคหลอดเลือดหัวใจรุนแรง
- คนที่มีภาวะเกี่ยวกับตับ
- คนที่เป็นโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- คนที่เป็นโรคมะเร็ง
- คนที่มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
ขั้นตอนการใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
- พ่นยาชาที่ลำคอ หรือกลั้วปากด้วยยาชา และให้ยานอนหลับ เพื่อช่วยคลายความกังวลในระหว่างใส่บอลลูน
- แพทย์ใส่อุปกรณ์ช่วยในการอ้าปาก แล้วส่องกล้องใส่บอลลูนเข้าไป โดยบอลลูนจะค่อยๆ ถูกส่งผ่านไปยังหลอดอาหารจนกระทั่งถึงกระเพาะอาหาร
- เมื่อบอลลูนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แพทย์จะเติมน้ำเกลือที่ผสมสารเมทิลีน บลู (Methylene Blue) 400-500 cc ทำให้บอลลูนมีขนาดใหญ่ขึ้น แล้วค่อยๆ ดึงอุปกรณ์ออกมา
- แพทย์จะให้นอนพักสังเกตอาการประมาณ 1 ชม. ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ ก็อาจให้กลับบ้าน หรือนอนพักฟื้นที่ รพ. 1 คืน
ใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักใช้ระยะเวลาเท่าไหร่?
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร
- ใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหาร แล้วใส่น้ำเกลือเข้าไปในบอลลูนให้ขยายตัว เพื่อลดพื้นที่ในกระเพาะ ทำให้รู้สึกอิ่มตลอดเวลา
- กระเพาะอาหารมีขนาดเท่าเดิม หลังเอาบอลลูนออก ถ้าไม่ปรับพฤติกรรมน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นอีกได้
- เหมาะกับคนที่มี BMI เกิน 30 (หากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หยุดหายใจขณะหลับ)
- ใช้เวลาทำประมาณ 15-20 นาที และพักฟื้นที่ รพ. 1 วัน
- ใส่บอลลูน 6-12 เดือน ลดน้ำหนักได้ประมาณ 20 กก. ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ เพื่อลดน้ำหนัก [คลิกดูรายละเอียด]
- ตัดเอากระพุ้งกระเพาะอาหาร (Fundus) ซึ่งเป็นที่ผลิตฮอร์โมนความหิวออก เพื่อให้กระเพาะเล็กลงและหิวน้อยลง
- เปิดแผลเล็กๆ เพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปผ่าเอากระเพาะออกประมาณ 80%
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 2 วัน
- ซับซ้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าลดกระเพาะเทคนิคอื่น
- ส่วนใหญ่ลดน้ำหนักได้ 40-50% ภายใน 2 ปี
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ตรวจร่างกายโดยละเอียด เช่น ตรวจเลือด อัลตราซาวด์ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสมรรถภาพปอด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง ในบางคน แพทย์อาจพิจารณาให้ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารก่อน
- งดสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และอาหารหมักดอง
- กินยาลดกรดก่อนอาหารเช้าและเย็น 14 วันก่อนใส่บอลลูน
- งดอาหาร 12 ชม. และงดน้ำ 6 ชม. ก่อนใส่บอลลูน
การดูแลหลังผ่าตัด
ใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักต้องพักฟื้นนานเท่าไหร่?
แพทย์อาจให้นอนพักฟื้นที่ รพ. 3 คืน หากมีความผิดปกติก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
หลังใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้
- 3 วันแรกหลังทำ แนะนำให้กินอาหารเหลว
- 3 สัปดาห์หลังทำ เปลี่ยนมาเป็นอาหารอ่อน
- เลี่ยงอาหารรสชาติเผ็ดจัด มีไขมัน หรืออาหารที่ย่อยยาก
- ควรกินอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อไก่ ผักต้ม ช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ทำงานหนักเกินไป
- ควรกินอาหารชิ้นเล็กๆ ช้าๆ และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อลดการเกิดอาการกรดไหลย้อนจากการใส่บอลลูน
- ใช้ชีวิตและออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันมากๆ อย่างรวดเร็ว เช่น ดำน้ำ ฟุตบอล และมวยไทย
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
หลังใส่บอลลูนในกระเพาะ พื้นที่กระเพาะอาหารที่เหลือน้อยอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ในช่วงเดือนแรกที่ยังปรับตัวไม่ได้ ส่วนอาการแทรกซ้อนอื่นๆ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย ดังนี้
- 1-2 สัปดาห์แรก จะมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน กินยาเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
- อาจเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการส่องกล้องได้
- อาจเกิดแผลที่ท่ออาหารจากกรดไหลย้อน ป้องกันได้ด้วยยาตามแพทย์สั่ง
- บอลลูนอาจมีการยุบตัว หรือแตก โดยในน้ำในบอลลูนจะออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ และพลาสติกของบอลลูนจะออกมาในรูปแบบของอุจจาระ
- ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่พบได้น้อย เช่น เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร อาเจียนมากจนทำให้หลอดอาหาร หรือกระเพาะอาหารปริ หรือลำไส้อุดตัน
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. พรรควุธ จันทร์สว่างภูวนะ (หมอโอ๊ค)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญการส่องกล้องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
ข้อมูลของแพทย์
-วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป
-ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาการผ่าตัดผ่านกล้อง
-ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญการส่องกล้องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
อายุรแพทย์
นพ. กุลเทพ รัตนโกวิท (หมอเดฟ)
อายุรแพทย์ชำนาญการด้านโรคระบบทางเดินอาหาร
ข้อมูลของแพทย์
2545: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2553: อายุรศาสตร์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
2555: อนุสาขา อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
Neurogastroenterology and GI Motility, Medical College of Georgia Augusta University