รักษากระดูกสันหลังหัก ทรุด หรือยุบ ด้วยการฉีดซีเมนต์
รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด แผลเล็ก พักฟื้นไม่นาน
หลังฉีดซีเมนต์ 1 คืน สามารถลุก นั่ง ยืน เดินได้
ฉีดครั้งเดียวอยู่ได้นาน 10-20 ปี
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นโรคกระดูกพรุน และเสี่ยงกระดูกสันหลังหัก ทรุด หรือยุบตัว เมื่อล้มหรือได้รับอุบัติเหตุ
- คนอายุน้อยก็เป็นได้ถ้าเกิดอุบัติเหตุที่กระทบต่อกระดูกสันหลังรุนแรง
- ถ้าการหักยุบหรือทรุดของกระดูกสันหลังเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทและไขสันหลัง จะทำให้ขาอ่อนแรง ขาชา หรือควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้
- ถ้ากระดูกสันหลังยุบจะทำให้หลังโก่งงอ หรือกระดูกหลังคด ปริมาตรของช่องท้องและช่องทรวงอกลดลง ทำให้ท้องอืดแน่นและหายใจลำบาก
**การที่กระดูกสันหลังยุบ อาจเกิดจากโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจาย, โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา หรือการติดเชื้อระดับรุนแรงในกระดูกสันหลัง **
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
การฉีดซีเมนต์ที่ใช้ทางการแพทย์ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดการปฏิเสธของร่างกาย และยังช่วยให้เนื้อกระดูกปล้องที่เปราะบาง หรือกำลังทรุดตัว มีความหนาแน่นที่แข็งแรงอีกครั้ง
- การฉีดซีเมนต์จะฉีด 1 ครั้งต่อปล้องกระดูกสันหลัง 1 ข้อ
- ภายใน 1 คืน อาการจากภาวะกระดูกสันหลังยุบก็จะดีขึ้น ไม่ต้อกลับมาฉีดซ้ำ
- ผลลัพธ์จากการฉีดซีเมนต์อยู่ได้นานประมาณ 10-20 ปี
ผู้สูงอายุปวดหลังบ่อยๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพราะอาจกำลังอยู่ในภาวะกระดูกสันหลังหักยุบหรือทรุดจากโรคกระดูกพรุนก็ได้
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักโรคนี้
ภาวะกระดูกสันหลังยุบ คืออะไร?
ภาวะกระดูกสันหลังยุบ (Vertebral compression fracture: VCF) คือ ภาวะที่ความแข็งแรงของปล้องกระดูกสันหลังลดลงจนเปราะบาง ส่งผลให้เกิดแรงกดอัดสะสมขึ้นที่แนวกระดูกสันหลังส่วนหน้า จนเกิดเป็นการยุบหรือทรุดตัวลงของข้อกระดูกสันหลัง ในผู้ป่วยบางรายอาจพบกระดูกสันหลังมีรอยร้าว นำไปสู่อาการไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น
- อาการปวดหลังส่วนกลาง
- ปวดหลังรุนแรงเวลายืน เดิน หรือนั่ง แต่หากนอนลงในแนวราบจะไม่ปวด
- อาการชาตามมือ ขา หรือเท้า
- ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ควบคุมการปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้
- กระดูกสันหลังนูนหรือดูพับหัก ไม่ได้ดูเป็นแนวตรงเหมือนกระดูกสันหลังทั่วไป
- หายใจลำบาก หรือมีอาการท้องอืด ที่เกิดจากกระดูกสันหลังไปเบียดพื้นที่ในช่องท้องและทรวงอก
ภาวะกระดูกสันหลังยุบ เป็นหนึ่งในภาวะของโรคกระดูกพรุน พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ก็พบได้ในผู้ที่ทำกิจกรรมจนกระดูกสันหลังได้รับแรงกระแทกบ่อยๆ จนเกิดการยุบตัว เช่น ผู้ที่ต้องก้มยกของหนักเป็นประจำ ผู้ที่หกล้มก้นกระแทกพื้นแรงๆ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือผู้ที่ขับรถทางไกลและรถตกหลุมบ่อบ่อยๆ
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดกลางหลังตรงตำแหน่งที่เกิดการหักหรือยุบของกระดูกสันหลัง
- ปวดรุนแรงและเป็นมากขึ้นเวลาขยับ หรือ นั่ง ยืน เดิน
- ถ้าการหักยุบหรือทรุดของกระดูกสันหลังเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทและไขสันหลัง จะทำให้ขาอ่อนแรง ขาชา หรือควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้
- ถ้ากระดูกสันหลังยุบจะทำให้หลังโก่งงอ หรือกระดูกหลังคด ปริมาตรของช่องท้องและช่องทรวงอกลดลง ทำให้ท้องอืดแน่นและหายใจลำบาก
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- แพทย์ซักประวัติจากอาการปวดที่เกิดขึ้น พร้อมกับการตรวจร่างกายบริเวณกระดูกสันหลัง
- อาจจะพิจารณาตรวจเพิ่มเติม เช่น การเอกซเรย์กระดูกสันหลัง การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค ในคนที่มีอาการไม่รุนแรง หรือมีแค่อาการปวดหลังเพียงอย่างเดียว ไม่มีภาวะของกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท ไม่ได้หักอย่างรุนแรง
- รักษาด้วยยาบรรเทาอาการปวด
- ใส่เครื่องพยุงหลังเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังยุบหรือทรุดมากขึ้น
ถ้าใช้ยาบรรเทาอาการปวดแล้วไม่ดีขึ้น อาจจะต้องพิจารณาให้การรักษาด้วยการฉีดซีเมนต์เพื่อเสริมโครงกระดูกสันหลัง (Vertebroplasty and Balloon Kyphoplasty)
รู้จักการผ่าตัดนี้
การฉีดซีเมนต์กระดูกสันหลัง (Vertebroplasty) คือ การรักษาภาวะกระดูกสันหลังยุบด้วยการฉีดสารซีเมนต์เข้าไปยังปล้องกระดูกสันหลังส่วนที่ยุบตัว ทำให้เนื้อกระดูกปล้องที่เปราะบาง หรือกำลังทรุดตัว มีความหนาแน่นที่แข็งแรงอีกครั้ง
ข้อดีของการฉีดซีเมนต์กระดูกสันหลัง
- เป็นวิธีรักษาที่เห็นผลได้เร็ว
- ผลลัพธ์เห็นได้อย่างยาวนานหลายปี โดยไม่ต้องกลับมารักษากระดูกตำแหน่งเดิมซ้ำอีก
- แผลเล็ก พักฟื้นไม่นาน นอน รพ. เพียง 1 คืนก็สามารถกลับบ้านได้
ใครเหมาะกับการฉีดซีเมนต์กระดูกสันหลัง
- คนที่มีภาวะกระดูกสันหลังยุบแบบเฉียบพลัน และต้องการหยุดอาการข้างเคียงโดยเร็ว
- ผู้ป่วยภาวะกระดูกสันหลังยุบเรื้อรังที่ใช้วิธีรักษาอื่นแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น
ขั้นตอนการฉีดซีเมนต์ที่กระดูกสันหลัง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์จัดท่าให้ผู้เข้ารับบริการนอนคว่ำลงกับเตียงผ่าตัด
- แพทย์เปิดผิวบริเวณกระดูกสันหลังส่วนที่ยุบในความยาวประมาณ 2-3 มม.
- แพทย์สอดเข็มบรรจุซีเมนต์เหลวเข้าไปฉีดยังปล้องกระดูก ในขั้นตอนนี้อาจมีการใช้เครื่องเอกซเรย์ เครื่องแสกนภาพ หรือเครื่องถ่ายภาพสำหรับผ่าตัดช่วยนำทางให้การฉีดซีเมนต์แม่นยำขึ้น
- หลังจากฉีดซีเมนต์เหลวลงไปที่กระดูก เนื้อซีเมนต์จะค่อยๆ กลายสภาพมาเป็นของแข็ง ซึ่งช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกได้
- แพทย์ใช้พลาสเตอร์ปิดแผล ไม่จำเป็นต้องเย็บปิดแผล เนื่องจากแผลมีขนาดเล็กมาก
- การฉีดซีเมนต์กระดูกสันหลังใช้เวลาประมาณ 2 ชม.
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากฉีดซีเมนต์ที่กระดูกสันหลัง ผู้เข้ารับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันที ไม่ต้องพักฟื้นอยู่กับบ้าน แต่ยังต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษ มีการงดเว้นบางกิจวัตรไว้ก่อนชั่วคราว เพื่อไม่ให้ภาวะกระดูกสันหลังยุบกลับมาเกิดซ้ำอีก เช่น
- กินยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
- งดให้แผลโดนน้ำใน 24 ชม. แรก หลังจากนั้นสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ และซับแผลให้แห้งเสมอ
- งดยกของหนัก การก้มหลังบ่อยๆ การเดินเร็วๆ การทำกิจกรรมที่ต้องบิดเอวหรือแอ่นหลัง โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนอยู่แล้ว
- งดการนั่งอยู่กับที่นานเกิน 20-30 นาที หากจำเป็นต้องนั่งทำงานอยู่กับที่นานๆ ให้ตั้งนาฬิกาจับเวลาสำหรับพักเบรก แล้วลุกเดินบ้างเป็นระยะๆ
- หมั่นเดินบ่อยๆ วันละ 2-3 ครั้งต่อวัน เพื่อเสริมสมรรถภาพร่างกายให้กลับมาแข็งแรง
- งดขับรถเป็นเวลา 2 สัปดาห์
- เวลาล้มตัวลงนอนและต้องการลุกขึ้น ให้หันไปนอนตะแคงก่อนแบบทั้งตัว แล้วค่อยลุกขึ้น
- แพทย์อาจแนะนำให้ใส่เครื่องพยุงหลังหรือสายรัดเอวไว้ก่อนเวลายืนหรือเดิน
- สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ แต่ให้ระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
หากมีอาการเจ็บระบมแผลเบาๆ ถือเป็นอาการที่พบได้ตามปกติจากการฉีดซีเมนต์ แต่หากมีอาการไม่พึงประสงค์ให้กลับมาพบแพทย์โดยทันที
- มีไข้สูงกว่า 38 องศา
- แผลบวมแดงหรือมีของเหลวไหลออกมาในปริมาณมาก
- เคลื่อนไหวร่างกายลำบากขึ้น
- ควบคุมการปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้
- ปวดหลังมากกว่าเดิม
- เจ็บแน่นหน้าอก
- หายใจลำบาก
สาขาออร์โธปิดิกส์
ผศ.นพ. ปิลันธน์ ใจปัญญา (หมอปัน)
หมอออร์โธปิดิกส์ (หมอกระดูกและข้อ) เกียรตินิยมอันดับ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รพ. รามา
ข้อมูลของแพทย์
- 2551 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เกียรตินิยมอันดับ 1) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ University of Nottingham (United Kingdom) (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- 2558 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2562 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- Graduate School of Medicine, Akita University (Japan)
- แพทย์ประจำบ้าน (Residency) Tohoku Medical and Pharmaceutical University (Japan)
- Certificate in Orthopaedic Spine surgery
- Certificate in Spinal Uniportal Endoscopic Surgery
- Certificate in OLIF surgery
- Certificate in Biportal Endoscopic Spine Surgery
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาออร์โธปิดิกส์ (สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)
-General orthopaedic surgery
-Spine surgery (deformity correction, minimally invasive surgery, endoscopic surgery)
-Memberships in Professional Societies
-Thai Medical Association
-Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand
-Spine Society of Thailand