ผ่าตัดรักษากระดูกข้อเท้าหัก
รักษากระดูกหักให้กลับมาเชื่อมต่ออีกครั้ง
พักฟื้นประมาณ 3-12 เดือน (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสุขภาพ)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
**กระดูกบางส่วนในร่างกายรักษาตัวเองได้ แต่อาจเป็นไปแบบไม่เหมาะสม การทำ ORIF จะทำให้กระดูกกลับคืนแบบเดิมได้อย่างที่ควรจะเป็น **
- ใช้วิธีดามกระดูกที่แตกหักด้วยโลหะที่ปลอดภัยต่อร่างกาย กระดูกจะกลับมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และค่อยๆ สมานตัวเชื่อมติดกัน
- รักษาได้แทบทั่วร่างกาย ส่วนมากรักษาบริเวณกระดูกข้อต่อ เช่น กระดูกข้อไหล่ ข้อแขน ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า
ข้อดีของการผ่าตัดรักษากระดูกหักแบบ ORIF
- กระดูกสมานตัวเร็วกว่าปล่อยให้ร่างกายฟื้นตัวเอง
- กระดูกที่แตกร้าวสมานตัวเองอย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่ผิดรูป
- ลดความเสี่ยงกระดูกแตกร้าวและแทงทะลุผิวหนัง
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
การผ่าตัดแบบ Open Reduction Internal Fixation ส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดแบบฉุกเฉิน โดยแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดจากข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
- กระดูกหักบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็นส่วนที่สำคัญ
- กระดูกหักแบบที่มีการเคลื่อนตัวของไขข้อด้วย
- กระดูกหักแบบไม่มั่นคง
- กระดูกหักสร้างความเสียหายต่อระบบหลอดเลือดและเส้นประสาท
- ภาวะกระดูกไม่ติด กระดูกติดผิดรูป กระดูกติดช้า
- ไม่สามารถรักษาแบบจัดกระดูกเข้าที่แบบปิด หรือ Closed Reduction ได้
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดรักษากระดูกแบบ Open Reduction Internal Fixation เป็นการผ่าตัดรักษาข้อกระดูกภายในร่างกายส่วนที่หักให้กลับมาเชื่อมกันอีกครั้งและสามารถใช้งานได้ตามปกติ ด้วยวิธีใส่เครื่องมือยึดแนวกระดูกส่วนที่เสียหายใหม่ ด้วยอุปกรณ์โลหะที่ปลอดภัยต่อร่างกาย
ขั้นตอนการผ่าตัดกระดูก
แพทย์จะตรวจดูความเสียหายและลักษณะการบาดเจ็บของกระดูกที่หักอย่างละเอียด โดยอาจส่งตัวคนไข้ไปเอกซเรย์ (X-Ray) หรือทำซีทีสแกน (CT Scan) เพื่อตรวจดูความเสียหายของกระดูก จากนั้นจึงพิจารณาแนวทางการผ่าตัดแบบ ORIF ซึ่งมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
- ระงับความรู้สึกด้วยการบล็อกหลัง ในบางรายอาจได้รับยาสลบในปริมาณที่ทำให้หลับตลอดการผ่าตัด หรือบางรายอาจได้รับยาสลบในระดับเพียงให้รู้สึกผ่อนคลายและไม่วิตกกังวลระหว่างการผ่าตัดเท่านั้น
- แพทย์ทำความสะอาดผิวในตำแหน่งทำการผ่าตัด จากนั้นจะเริ่มกรีดเปิดแผลผ่านชั้นผิวหนัง ชั้นกล้ามเนื้อ ลงลึกไปถึงชั้นกระดูก
- แพทย์ปรับแนวกระดูกส่วนที่หักออกจากกันให้กลับไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
- แพทย์ใส่ชิ้นส่วนอุปกรณ์โลหะที่จัดเตรียมไว้เข้าไปยังแนวกระดูกที่หัก เพื่อตรึงยึดกระดูกให้กลับมาติดแน่นเข้าหากันอีกครั้ง
- แพทย์เย็บปิดแผลให้เรียบร้อย
- ระยะเวลาในการผ่าตัดกระดูกอยู่ที่ประมาณ 2 ชม. หรือขึ้นกับความเสียหายของกระดูก
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
- ถ้ามีอาการเจ็บระบมแผลหลังการผ่าตัด ให้รับประทานยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบที่แพทย์จ่ายให้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- รับประทานยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้หมดอย่างเคร่งครัด
- นอนวางอวัยวะส่วนที่ผ่าตัดให้สูงกว่าหัวใจเป็นระยะเวลา 48 ชม. เพื่อลดอาการบวม และอาจต้องใส่เครื่องช่วยพยุงเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหว
- เมื่อแผลเริ่มสมานแล้ว ให้หมั่นเคลื่อนไหวร่างกายทีละน้อยแต่ต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ และทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กระดูกกลับมาแข็งแรงโดยเร็ว และป้องกันข้อติดแข็ง
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ต้องเป็นลักษณะการออกกำลังกายที่แพทย์ประเมินแล้วว่าปลอดภัยเท่านั้น
- เคลื่อนไหวร่างกายอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงอย่าให้ล้ม แผลโดนกระแทก หรือต้องรับน้ำหนักมากๆ อย่างเด็ดขาด
- กินอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมสูงอย่างสม่ำเสมอ โดยแพทย์อาจแนะนำให้กินวิตามินหรือแคลเซียมเสริมเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูของกระดูกส่วนที่รับการผ่าตัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ลึกถึงชั้นกระดูก และมีที่มาจากความเสียหายของเนื้อกระดูกที่หัก การผ่าตัดรักษากระดูกแบบ Open Reduction Internal Fixation จึงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความเสี่ยงบางประการได้ เช่น
- กระดูกที่เชื่อมด้วยวัสดุโลหะเลื่อนออกจากกัน หรืออยู่ในตำแหน่งที่ยังไม่เหมาะสม
- กระดูกเชื่อมตัวช้า
- แผลติดเชื้อหรือเกิดการอักเสบ
- แผลมีเลือดออกมาก
- ระบบประสาทเกิดความเสียหาย
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
- ภาวะลิ่มไขมันอุดกั้น
- โรคไขข้ออักเสบ
- ภาวะเส้นเอ็นอักเสบ
อย่างไรก็ตาม การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดแบบ Open Reduction Internal Fixation มักพบได้น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น
- ตำแหน่งกระดูกที่หัก
- ช่วงอายุของคนไข้
- โรคประจำตัวและสภาพร่างกายคนไข้
- พฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. ชยุตม์ ไชยเพิ่ม (หมอป้อง)
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเชี่ยวชาญทางข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม เกียรตินิยมอันดับ 2 จุฬา
ข้อมูลของแพทย์
-2557 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2)
-2563 วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์
-2563 แพทย์ประจำบ้าน สาขาออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลขอนแก่น
-2564 ประกาศนียบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาศัลยกรรมข้อเข่าและข้อสะโพก
-2564 แพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขาศัลยกรรมข้อเข่าและข้อสะโพก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เชี่ยวชาญทางข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม (Hip and Knee Reconstruction)
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. วัชระ มณีรัตน์โรจน์ (หมอแจ๊ค)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-2005: แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-2012: ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
-2017: ศัลยศาสตร์บูรณสภาพในข้อสะโพกและข้อเข่า, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
-ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม โดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดหรือคอมพิวเตอร์นำวิถี
-ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโดยใช้เทคนิคเข้าทางด้านหน้า ไม่ตัดกล้ามเนื้อ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและข้อเข่าเทียมโดยใช้เทคนิคแผลเล็กบาดเจ็บน้อย
-การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วนโดยใช้เทคนิคและข้อเทียมชนิดอ๊อกซฟอร์ด
-การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ และคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด
-การผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บและกระดูกหัก
สาขาออร์โธปิดิกส์