ผ่าตัดหมอนรองกระดูกข้อมือ (แบบส่องกล้อง)
ผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก ฟื้นตัวไว
หลังผ่าตัดกลับมาเป็นปกติภายใน 3 เดือน
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
อาการแบบไหนควรผ่าตัด?
- แรงบีบมือลดลง
- รู้สึกข้อมือไม่มั่นคง
- เคลื่อนไหวข้อมือลำบาก
- มีเสียงคลิกๆ เวลาเคลื่อนไหวข้อมือ
- ปวดข้อมือทางด้านนิ้วก้อย มีอาการตอนอยู่เฉยๆ หรือบิดหมุนมือก็ได้
- บวมที่ข้อมือด้านนิ้วก้อย
ผ่าตัดหมอนรองกระดูกข้อมือโดยการส่องกล้องแผลเล็ก 2-3 แผล (ประมาณ 5 มม.) ที่ข้อมือ
- แพทย์มองเห็นความผิดปกติได้ดีกว่าตาเปล่า เพราะกล้องมีความละเอียดสูง ทำให้กระทบเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อย แผลหายเร็ว ฟื้นตัวเร็ว
- กลับมาเป็นปกติภายใน 3 เดือน
คำถามที่พบบ่อย
เราจำเป็นที่จะต้องผ่าตัดหมอนรองกระดูกข้อมือไหม?
ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ในกรณีที่มีอาการปวดไม่มาก อาจรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ร่วมกับทำกายภาพบำบัดและรับประทานยาแก้อักเสบได้ แต่ถ้ามีอาการปวดรุนแรง แนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดจะดีกว่า เพราะเป็นวิธีการรักษาที่เห็นผล สามารถช่วยลดอาการปวดอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
รู้จักโรคนี้
TFCC (The Triangular Fibrocartilage Complex) เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น และกระดูกที่อยู่บริเวณข้อมือทางด้านนิ้วก้อย ทำหน้าที่คอยพยุงข้อมือ รับแรงด้านนิ้วก้อย ช่วยหมุนข้อมือ กระดกข้อมือ และเอียงข้อมือไปทางด้านนิ้วก้อย
อาการบาดเจ็บหรือฉีกขาดที่ TFCC เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องผ่าตัดหมอนรองกระดูกข้อมือด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic TFCC Repair) เพราะเมื่อ TFCC ได้รับการบาดเจ็บก็จะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวข้อมือ ทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างยากลำบาก
ตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ TFCC
- เคลื่อนไหวแบบบิดข้อมืออย่างรุนแรง
- อุบัติเหตุบริเวณข้อมือ เช่น หกล้มแล้วเอามือรับน้ำหนักตัว
- บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
นอกจากการบาดเจ็บที่ TFCC แล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น
- ปวดข้อมือเรื้อรัง โดยเฉพาะการปวดข้อมือด้านในฝั่งกระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย (กระดูกอัลน่า)
- โรคข้อมืออักเสบเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆ
- โรคถุงน้ำในข้อมือ (Ganglion)
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- แรงบีบมือลดลง
- รู้สึกข้อมือไม่มั่นคง
- เคลื่อนไหวข้อมือลำบาก
- มีเสียงคลิกๆ เวลาเคลื่อนไหวข้อมือ
- ปวดข้อมือทางด้านนิ้วก้อย มีอาการตอนอยู่เฉยๆ หรือบิดหมุนมือก็ได้
- บวมที่ข้อมือด้านนิ้วก้อย
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
การรักษาอาการปวดข้อมือ แพทย์จะให้พักการใช้งานร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการ และรับประทานยาแก้อักเสบ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจะพิจารณาให้ฉีดยาเพื่อลดการอักเสบ
หากฉีดยา 2 ครั้งแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาให้เข้ารับการผ่าตัด
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- พักการใช้งานร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการ และกินยาแก้อักเสบ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจะพิจารณาให้ฉีดยาเพื่อลดการอักเสบ
- ถ้าฉีดยา 2 ครั้งแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาให้เข้ารับการผ่าตัด
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกข้อมือด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic TFCC Repair) แพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็ก 2-3 แผล (ขนาดประมาณ 5 มม.) ที่ข้อมือ แล้วใช้อุปกรณ์ผ่าตัด สอดเข้าไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น หรือกระดูกที่บาดเจ็บ
ขั้นตอนการรักษาจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ โดยแพทย์อาจจะผ่าตัดเนื้อเยื่อที่ตาย หรือเสียหายออก ทำการเย็บและติดกลับเข้าไปใหม่ หรือใส่สกรูเข้าไปเพื่อทำให้บริเวณนั้นมั่นคงขึ้นจนกว่าจะหายดี
หลังจากผ่าตัดหมอนรองกระดูกข้อมือด้วยการส่องกล้องเสร็จแล้ว แพทย์จะใส่เฝือกที่บริเวณข้อมือ เพื่อพยุงเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น และกระดูกที่จัดเข้าที่แล้วไม่ให้มีการเคลื่อนไหวผิดรูป รวมถึงลดอาการปวด ลดบวม และลดกล้ามเนื้อหดเกร็งด้วย
ผ่าตัดหมอนรองกระดูกข้อมือด้วยการส่องกล้องต้องพักฟื้นกี่วัน?
หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ตามปกติ ใน 2-3 วันแรก แพทย์จะให้ใส่ผ้าคล้องแขนไว้และจะต้องใส่เฝือกประมาณ 2-6 สัปดาห์ หลังจากที่ถอดเฝือกแล้ว จะต้องบริหารข้อมือตามที่แพทย์แนะนำ โดยส่วนใหญ่จะฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติภายใน 3 เดือน
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดหมอนรองกระดูกข้อมือแบบเปิด (Open TFCC Repair)
- เปิดแผลขนาดใหญ่ที่บริเวณข้อมือเพื่อให้เห็นอวัยวะด้านใน และสามารถเข้าถึงบริเวณที่บาดเจ็บได้
- มีความเสี่ยงต่อการที่เส้นประสาทและเอ็นได้รับความเสียหายมากขึ้น
- แผลผ่าตัดมีขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน และอาจปวดบวมตึงที่แผล
ผ่าตัดหมอนรองกระดูกข้อมือแบบส่องกล้อง (Arthroscopic TFCC Repair)
- แผลเล็ก 2-3 แผล (ประมาณ 5 มม.) ที่ข้อมือ
- มองเห็นความผิดปกติได้ดีกว่าตาเปล่า เพราะกล้องมีความละเอียดสูง
- กลับมาเป็นปกติภายใน 3 เดือน
การดูแลหลังผ่าตัด
- รับประทานยาฆ่าเชื้อ และยาบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์สั่ง
- สามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการบวมได้
- หมั่นออกกำลังกายและบริหารข้อมือตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและฟื้นฟูระยะการเคลื่อนไหวของข้อมือให้กลับมาเป็นปกติ
- งดขับรถเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือนหลังผ่าตัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- เส้นประสาทและเอ็นได้รับความเสียหาย
- มีอาการบวม ตึง และปวด บริเวณแผลผ่าตัด
สาขาออร์โธปิดิกส์
พ.ต.ต.นพ. วรพล เจริญพร (หมอพั้นช์)
คุณหมอชำนาญด้านการผ่าตัดแผลเล็กรักษาข้อและกระดูก เจ้าของ TikTok dr.punch ที่มีคนไลค์กว่า 3 ล้านครั้ง แถมยังเป็นกรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทยด้วย
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2560 แพทย์ประจำบ้านออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2561 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยามหิดล
- 2565 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดการผ่าตัดระยางค์ส่วนบน Massachusetts General Hospital, Harvard Medical School (USA)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิกทางจุลศัลยกรรม Osaka Hospital (Japan)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิคด้านการผ่าตัดส่องกล้อง Sanno Hospital (Japan)
- ปัจจุบัน กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม
-ชำนาญการพิเศษด้านการผ่าตัดส่องกล้องและการผ่าตัดแผลเล็กรักษาข้อและกระดูก
-กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
-ชำนาญด้านการผ่าตัดอาการมือชาจากพังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือเเละข้อศอก ผ่าตัดนิ้วล็อค ผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอกาเเวง) ผ่าตัดโรคข้อศอกเทนนิส ผ่าตัดรักษาโรคข้อเสื่อม
-ประสบการณ์ผ่าตัดและดูแลคนไข้จากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
สาขาออร์โธปิดิกส์