ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหน้า
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ช่วงแรกจะปวดรุนแรง แต่ถ้าไม่รักษาอาจเกิดการกดทับที่ไขสันหลัง และเสี่ยงเป็นอัมพาตได้
- เกิดจากใช้คอผิดท่าสะสมตั้งแต่วัยรุ่น และมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ก้มคอ พับคอ เงยคอ หรือก้มเล่นโทรศัพท์มากเกินไป
- เกิดจากใช้คออย่างรุนแรง เช่น สะบัดคอ โยกคอ วางของไว้บนศีรษะ หรือไปคอนเสิร์ตแล้วโยกคอแรงจนเกินไป
- เกิดจากโครงสร้างไม่สมดุลตั้งแต่เกิด เช่น กระดูกคอคด
- เกิดจากข้อกระดูกเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น
อาการแบบไหนคือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- ปวดคอ และปวดมากขึ้นหรือถึงขั้นเจ็บถ้าขยับคอ
- คอเกร็งอย่างควบคุมไม่ได้ ขยับคอได้ลำบากขึ้น
- ปวดคอร้าวลงแขน
- กล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง
- มีอาการชาที่แขน
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองให้คุณวันนี้
การรักษาที่เห็นผลคือการผ่าตัด ทำได้ 2 แบบคือ
- ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหน้า เข้าไปตัดหมอนรองกระดูกที่ปลิ้น เป็นการผ่าตัดมาตรฐานที่แพทย์นิยมใช้เพราะไม่ต้องหลบแนวเส้นประสาททางด้านหลัง แผลขนาดประมาณ 3-4 ซม. ที่ลำคอด้านหน้า
- ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหลัง เสี่ยงส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในคอหอยได้น้อยกว่า แผลขนาดประมาณ 3-4 ซม. ที่ท้ายทอย
รู้จักโรคนี้
โรคหมอนรองกระดูกคอกดทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท (Cervical Radiculopathy) เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลังส่วนต้นคอ จนทำให้ “หมอนรองกระดูก” ที่คั่นกลางระหว่างข้อกระดูกแต่ละข้อ ปลิ้นตัวออกจนไปกดทับเส้นประสาทจนเกิดอาการต่างๆ ตามมา
สาเหตุที่ทำให้กระดูกเสื่อมมักมาจากการใช้งานอย่างหนัก หรือมีการขยับใช้งานไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน จนทำให้ข้อกระดูกค่อยๆ เสื่อมและกลายเป็นการกดทับเส้นประสาท โดยปัจจัยทำให้เกิดความเสื่อมที่พบได้บ่อย ได้แก่
- ทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ในท่าเดิมนานๆ
- ก้มคอหรือเงยหน้าขึ้นจนสุด โยกหรือขยับคอแรงๆ
- ก้มหน้าทำกิจกรรมต่างๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น เล่นโทรศัพท์ อ่านหนังสือ
- อายุที่มากขึ้น ทำให้ข้อกระดูกเสื่อมความแข็งแรงลง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดคอ และปวดมากขึ้นหรือถึงขั้นเจ็บถ้าขยับคอ
- คอเกร็งอย่างควบคุมไม่ได้ ขยับคอได้ลำบากขึ้น
- ปวดคอร้าวลงแขน
- กล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง
- มีอาการชาที่แขน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ตรวจสแกนร่างกายด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มข้นสูงร่วมกับคลื่นวิทยุความถี่ ทำให้แพทย์มองเห็นความผิดปกติของเส้นประสาทในกระดูกสันหลังได้ชัดเจน
- ทำ CT Scan ตรวจสแกนร่างกายด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้แพทย์มองเห็นภาพความผิดปกติของกระดูกหรืออวัยวะต่างๆ ได้ในรูปแบบ 3 มิติ
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- กินยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ
- ทำกายภาพบำบัด
- ฉีดสเตียรอยด์เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบของเส้นประสาท
- ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอ
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีอาการชาจนเริ่มใช้งานคอหรือแขนได้ยาก
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหน้า หรือการผ่าตัดแบบ ACDF (Anterior Cervical Discectomy And Fusion) เป็นการผ่าตัดเพื่อคลายการกดทับของเส้นประสาทและไขสันหลังด้วยการเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนคอเข้าหากัน แพทย์จะเปิดแผลที่ด้านหน้าของลำคอ เพื่อตัดแต่งเอาหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออก แล้วใส่วัสดุทดแทนหมอนรองกระดูกเข้าไปทดแทน
ข้อดีของการผ่าตัดแบบ ACDF
- เพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงหลังผ่าตัดได้มากขึ้น
- แผลเล็กประมาณ 3 ซม.
- โอกาสเสียเลือดระหว่างผ่าตัดได้น้อย
- เจ็บแผลน้อยลง
- พักฟื้นหลังผ่าตัดไม่นาน
ขั้นตอนการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหน้า
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลที่ลำคอด้านหน้า และสอดอุปกรณ์เพื่อเข้าไปผ่าตัดที่หมอนรองกระดูกสันหลัง
- แพทย์ใช้อุปกรณ์ยึดข้อกระดูกสันหลังส่วนที่มีหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมา แล้วเอาหมอนรองกระดูกส่วนที่ปลิ้นออก จากนั้นใส่วัสดุทดแทนแล้วยึดด้วยเหล็กหรือน็อต
- เย็บปิดแผล
การผ่าตัดแบบ ACDF ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2-3 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหน้า
- เข้าไปตัดหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นง่ายกว่า
- เป็นการผ่าตัดมาตรฐานที่แพทย์นิยมใช้มากกว่า
- เสี่ยงส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในคอหอย เช่น กล่องเสียง หลอดอาหาร และอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น เสียงแหบ เจ็บคอ หลอดเลือดได้รับบาดเจ็บหรืออักเสบ
- มีแผลเป็นเส้นแนวนอนยาว 3-4 ซม. ที่ลำคอด้านหน้า
การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหลัง
- เสี่ยงส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในคอหอยได้น้อยกว่า
- ต้องเบี่ยงแนวเส้นประสาทเพื่อให้สามารถสอดเครื่องมือผ่าตัดเข้าไปถึงหมอนรองกระดูก อาจส่งผลกระทบจนเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทหลังผ่าตัด
- มีแผลเป็นเส้นแนวตั้งยาว 3-4 ซม. อยู่ที่หลังคอหรือท้ายทอย ไม่เป็นที่สังเกต
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์แนะนำ
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัด ต้องพักฟื้นนานเท่าไหร่?
หลังผ่าตัดใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3 วัน หากไม่มีสัญญาณอาการผิดปกติก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน และเริ่มทำกิจวัตรประจำวันเบาๆ ได้
- ใส่อุปกรณ์พยุงคอตามคำแนะนำของแพทย์
- เคลื่อนไหวคอให้น้อย งดการก้มหรือเงยหน้าจนสุด งดการโยกคอแรงๆ หากต้องการหันหน้า ให้ค่อยๆ หันช้าๆ เบาๆ รวมถึงอย่าหันจนสุด เพื่อไม่ให้แผลกระทบกระเทือน
- งดนั่งอยู่กับที่นานๆ เกิน 1-2 ชม. ให้หมั่นลุกเดินอยู่เรื่อยๆ ประมาณ 3-5 นาที
- งดให้แผลโดนน้ำจนกว่าแผลจะหายสนิท หรือจนกว่าแพทย์จะอนุญาต
- 2 สัปดาห์แรกห้ามยกของที่น้ำหนักเกิน 2 กก. ในสัปดาห์ถัดไปสามารถเพิ่มน้ำหนักได้ แต่ห้ามเกิน 5 กก.
- 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด งดเล่นกีฬา งดออกกำลังกาย งดทำงานบ้าน งดทำกิจกรรมหนักๆ โดยเฉพาะการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ต้องขยับหรือเกร็งคอมากๆ
- 2 สัปดาห์แรกอย่าเพิ่งขับรถทางไกล หรือหากต้องขับรถเป็นระยะเวลานาน หรือจำเป็นต้องเดินทางไกล ให้หมั่นจอดพักเพื่อขยับร่างกายอยู่เรื่อยๆ
- 3-4 สัปดาห์หลังผ่าตัด สามารถเริ่มออกกำลังกายเน้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อหรือเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ และในเดือนที่ 2-3 หลังผ่าตัด กลับไปออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่ห้ามหักโหมเกินไป
- ทำกายภาพบำบัดเพื่อบริหารกล้ามเนื้อคอตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- มีไข้สูง
- เจ็บแผลมากผิดปกติ กินยาแก้ปวดแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น
- แผลบวมแดง
- มีเลือดไหลออกจากแผลในปริมาณมาก
- แผลมีน้ำหนองไหลหรือมีกลิ่นเหม็น
- คลื่นไส้อาเจียนผิดปกติ
- หายใจไม่ออก หรือแน่นหน้าอก
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่แขนหรือขา
- อาการเจ็บคอ เสียงแหบจากการเบี่ยงอวัยวะในคอหอยเพื่อเข้าไปผ่าตัดหมอนรองกระดูก แต่เป็นเพียงชั่วคราว
สาขาออร์โธปิดิกส์
ผศ.นพ. ปิลันธน์ ใจปัญญา (หมอปัน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2551 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เกียรตินิยมอันดับ 1) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ University of Nottingham (United Kingdom) (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- 2558 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2562 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- Graduate School of Medicine, Akita University (Japan)
- แพทย์ประจำบ้าน (Residency) Tohoku Medical and Pharmaceutical University (Japan)
- Certificate in Orthopaedic Spine surgery
- Certificate in Spinal Uniportal Endoscopic Surgery
- Certificate in OLIF surgery
- Certificate in Biportal Endoscopic Spine Surgery
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาออร์โธปิดิกส์ (สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)
-General orthopaedic surgery
-Spine surgery (deformity correction, minimally invasive surgery, endoscopic surgery)
-Memberships in Professional Societies
-Thai Medical Association
-Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand
-Spine Society of Thailand