รักษาอาการปวดหลังหรือคอ ด้วยการฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ปวดหลังและคอระดับไหน ต้องฉีดยา?
- ปวดจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้
- ปวดรบกวนการนอนหลับ หรือปวดจนนอนไม่หลับ
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลังจะใช้เครื่องอัลตราซาวด์แสดงผล มีความแม่นยำ ไม่มีรังสี
- ใช้เวลาฉีดยาประมาณ 15-30 นาที
- หลังฉีดยาจะลดอาการปวดได้ 60-70% นาน 3-6 เดือน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติลักษณะการเจ็บปวด เวลาที่ปวด
- ตรวจ MRI หรือ CT Scan
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นกับระดับอาการ
แพทย์มักเริ่มจากการใช้ยา การทำกายภาพบำบัด ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีข้อบ่งชี้ เช่น ขาชาหรืออ่อนแรงมากขึ้น ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่ควรต้องรีบรับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
รู้จักการผ่าตัดนี้
รักษาอาการปวดหลังหรือคอ ด้วยการฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง (Epidural Steroid Injection: ESI) คือ การฉีดยาสเตียรอยด์ผสมยาชาไปที่ช่องเหนือเยื่อไขสันหลังชั้นนอก (เยื่อดูรา) เพื่อลดอาการอักเสบของเส้นประสาทหลังที่มาเลี้ยงแขน หรือขา และบรรเทาอาการเจ็บปวด
ยาสเตียรอยด์เป็นยาที่สร้างขึ้นมาจากการเลียนแบบสเตียรอยด์ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ มีประโยชน์ในการรักษามากมาย เช่น มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในโรคปวดข้อรูมาตอยด์ ลดอาการปวดต่างๆ รักษาโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ หรือใช้ลดภูมิคุ้มกันในผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง
หลังจากฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง จะช่วยลดอาการปวดได้อย่างน้อย 60-70% เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน
การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง มี 2 แบบ
- ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลังโดยใช้เครื่องเอกซเรย์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีในการยืนยันตำแหน่งของยา เป็นวิธีฉีดแบบเก่า ซึ่งผู้เข้ารับการรักษาจะต้องรับความเสี่ยงจากการได้รับรังสีในขั้นตอนเอกซเรย์ด้วย
- ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลังโดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์นำฉีดยา เป็นวิธีการฉีดยาแบบใหม่ที่มีความปลอดภัยจากรังสี และมีความแม่นยำมากกว่า สามารถแสดงผลให้เห็นแบบเรียลไทม์ ทำให้ประหยัดเวลาในการฉีดยาได้มาก
ฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง (ESI) ร่วมกับการระงับความปวดด้วยการฉีดยาบล็อกเส้นประสาท (SNRB) คืออะไร?
การฉีดยาบล็อกเส้นประสาท หรือ “การทำ SNRB” เป็นการฉีดยาที่เป็นได้ทั้งวิธีรักษาและวิธีวินิจฉัยเพื่อตรวจหาตำแหน่งของเส้นประสาทที่อักเสบหรือถูกกดทับ และไม่สามารถตรวจหาได้อย่างชัดเจนด้วยการเอกซเรย์หรือทำ MRI
หลังจากแพทย์ฉีดยาบล็อกเส้นประสาทให้ในตำแหน่งที่มีอาการปวดแล้ว ถ้าอาการปวดหลังดีขึ้น แพทย์ก็จะรู้ได้จากตำแหน่งที่ฉีดยาว่าเส้นประสาทส่วนใดที่มีปัญหา และวางแผนการรักษาในลำดับถัดไปได้แม่นยำ
การทำ SNRB ยังช่วยเลี่ยงการผ่าตัดในกลุ่มผู้ที่ปวดหลังจากการกดทับของหมอนรองกระดูกได้ เพราะหลังฉีดยาบล็อกเส้นประสาทร่างกายจะดูดซึมและย่อยสลายปล้องกระดูกที่กดทับหรือปลิ้น ทำให้สาเหตุของอาการปวดหลังหายไปเองโดยไม่ต้องผ่าตัด
ใครเหมาะกับการรักษาด้วยวิธีฉีดยาสเตียรอยด์ข้าโพรงกระดูกสันหลัง?
- คนที่ปวดหลังร้าวลงขาจากการกดทับของเส้นประสาท ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
- คนที่ปวดหลังและกินยาหรือทำกายภาพบำบัดแล้วไม่หาย
- คนที่ปวดหลัง แต่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดได้
- คนที่ปวดหลังจากการอักเสบของข้อต่อแฟเซท (Facet Joint Syndrome)
- ผู้ที่มีอาการปวดหลังมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติหรือนอนหลับได้
- ผู้ที่ต้องการหาสาเหตุของอาการปวดหลัง
ข้อจำกัดในการเข้ารับการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง
- คนที่มีอาการอักเสบเรื้อรัง หรือมีอาการอักเสบนานกว่า 3 เดือน เพราะอาจส่งผลให้เอ็นกล้ามเนื้ออ่อนแอลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อได้
- คนที่มีการติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่จะทำการฉีด
- คนที่มีภาวะเลือดออกง่าย
- คนที่มีแพ้สารทึบรังสีที่ฉีด
- คนที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้
- คนที่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้
ขั้นตอนการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง
- แพทย์หาจุดที่จะฉีดยาโดยการใช้เครื่องเอกซเรย์ร่วมกับสารทึบรังสี หรือใช้เครื่องอัลตราซาวด์
- อาจฉีดยาคลายกังวล ในกรณีที่ผู้เข้ารับการรักษารู้สึกกังวล หรือเกร็งมากกว่าปกติ
- แพทย์ฉีดยาสเตียรอยด์ที่ผสมกับยาชาเข้าไปที่โพรงกระดูกสันหลัง ตำแหน่งที่มีการกดทับเส้นประสาท
- คนไข้นั่งพักฟื้นสังเกตอาการประมาณ 20-30 นาที
- ทดสอบอาการปวดหลังฉีดยาด้วยการกระตุ้นคนไข้ เช่น ยืน เดิน
การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลังใช้ระยะเวลาเท่าไหร่?
การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลังใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนรับบริการ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- หากมีการตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการรักษา
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง ต้องพักฟื้นนานเท่าไหร่?
หลังจากที่ฉีดยาแล้ว หากไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คนไข้ควรทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำควบคู่ไปด้วย
หลังจากฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง ควรเดินอย่างระมัดระวัง เพราะอาจมีอาการขาชาหรืออ่อนแรงในช่วงแรกได้ แต่ถ้าไม่มีอาการผิดปกติอะไร ก็สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ยกเว้นการขับรถด้วยตัวเอง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการฉีดยา เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ หรือเลือดออก
- อาจมีอาการแพ้สารทึบรังสีได้
- อาจมีอาการเวียนศีรษะชั่วคราวหลังฉีดยาได้
- 1-2 วันแรกหลังฉีดยา อาจมีอาการปวดและระบมบริเวณที่ฉีด สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการประคบเย็น
- ผลข้างเคียงจากสเตียรอยด์ เช่น ประจำเดือนมาผิดปกติ มีสิวมากขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือมีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นชั่วคราว
- หากมีอาการปวดบวมบริเวณที่ฉีดยา มีไข้ ไม่สามารถปัสสาวะ หรือขับถ่ายได้ตามปกติ หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ จะต้องกลับไปพบแพทย์ทันที
- อาจทำให้เกิดอาการสะอึกได้ (พบได้น้อย) โดยจะเป็นหลังจากที่ฉีดยาไปแล้ว 3 วัน
- เกิดการบาดเจ็บที่เส้นประสาท หรือไขสันหลังที่เกิดจากการแทงเข็ม (พบได้น้อย) จนทำให้เกิดอาการขาอ่อนแรง
สาขาออร์โธปิดิกส์
ผศ.นพ. ปิลันธน์ ใจปัญญา (หมอปัน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2551 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เกียรตินิยมอันดับ 1) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ University of Nottingham (United Kingdom) (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- 2558 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2562 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- Graduate School of Medicine, Akita University (Japan)
- แพทย์ประจำบ้าน (Residency) Tohoku Medical and Pharmaceutical University (Japan)
- Certificate in Orthopaedic Spine surgery
- Certificate in Spinal Uniportal Endoscopic Surgery
- Certificate in OLIF surgery
- Certificate in Biportal Endoscopic Spine Surgery
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาออร์โธปิดิกส์ (สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)
-General orthopaedic surgery
-Spine surgery (deformity correction, minimally invasive surgery, endoscopic surgery)
-Memberships in Professional Societies
-Thai Medical Association
-Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand
-Spine Society of Thailand