ผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหัก
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
1 ใน 5 ของผู้สูงอายุที่หกล้มสะโพกหัก จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี!!!
7-27% เสียชีวิตภายใน 3 เดือน จากภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ได้รักษา
รีบปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
อาการที่คาดว่าเกิดจากภาวะกระดูกสะโพกหัก
- อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดแรงกระแทกต่อกระดูกสะโพก เช่น หกล้ม ตกจากที่สูง หรืออุบัติเหตุทางจราจร
- ปวดมากที่สะโพก หรือขาหนีบ
- ขยับขาข้างที่หักไม่ได้
- ยืนลงน้ำหนักในขาข้างที่สะโพกหักไม่ได้
- ลุก หรือเดินไม่ปกติ
- ช้ำบริเวณที่สะโพกหัก
- สะโพกช้ำ บวม หรือปลายเท้าเย็น
- มีภาวะผิดรูป โดยปลายเท้าข้างที่สะโพกหักจะหมุนออกด้านนอก หรือขาข้างที่หักอาจจะสั้นลง
ถ้ามีอาการเสี่ยงหรือสงสัยว่ากระดูกหัก
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักโรคนี้
กระดูกสะโพกหัก อันตรายในผู้สูงอายุที่ต้องระมัดระวัง
กระดูกสะโพกหักเป็นภาวะที่มักพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากข้อต่อกระดูกสะโพกไม่ค่อยแข็งแรงจากการที่ความหนาแน่นของกระดูกและมวลกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพลงไปตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
จัดเป็นภาวะที่ต้องให้ความระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากข้อสะโพกเป็นข้อต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและกระดูกต้นขา มีหน้าที่ช่วยให้เราสามารถนั่ง เดิน ยืน หรือนอนได้อย่างคล่องตัว ถ้าหากเกิดปัญหากระดูกสะโพกหักก็จะทำให้มีอาการปวดสะโพกมาก จนไม่สามารถลุกขึ้นยืน หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้
ประเภทของกระดูกสะโพกหัก
กระดูกสะโพกหักจะแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้
1. คอกระดูกต้นขาหัก
เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดบริเวณต้นขา ประมาณ 1-2 นิ้ว นับจากตำแหน่งเบ้าของสะโพก มักมีสาเหตุมาจากการได้รับอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงมาก เช่น ตกจากที่สูง รถชน หรือได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีม
2. ข้อสะโพกเคลื่อน
จัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะอาจเกิดร่วมกับการแตกหักของกระดูกส่วนอื่น เช่น กระดูกต้นขาและเส้นเลือดใหญ่ฉีกขาด ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
3. กระดูกสะโพกหักชนิด Subtrochanteric fracture
เป็นการหักของกระดูกต้นขาตั้งแต่ระดับ lesser trochanter ตํ่าลงมาไม่เกิน 5 เซนติเมตร โดยจะส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม และขาผิดรูปได้
4. กระดูกหักสะโพกชนิด Intertrochanteric fracture
เป็นการหักของข้อต่อสะโพกที่อยู่ระหว่างกระดูก Greater และ Lesser Trochanters มักพบในผู้ที่โรคกระดูกพรุน ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยจะทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เลย เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดอย่างมาก
สัญญาณที่ต้องตรวจ
อาการที่คาดว่าเกิดจากภาวะกระดูกสะโพกหัก
- อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดแรงกระแทกต่อกระดูกสะโพก เช่น หกล้ม ตกจากที่สูง หรืออุบัติเหตุทางจราจร
- ปวดมากที่สะโพก หรือขาหนีบ
- ขยับขาข้างที่หักไม่ได้
- ยืนลงน้ำหนักในขาข้างที่สะโพกหักไม่ได้
- ลุก หรือเดินไม่ปกติ
- ช้ำบริเวณที่สะโพกหัก
- สะโพกช้ำ บวม หรือปลายเท้าเย็น
- มีภาวะผิดรูป โดยปลายเท้าข้างที่สะโพกหักจะหมุนออกด้านนอก หรือขาข้างที่หักอาจจะสั้นลง
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติอาการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย โดยซักประวัติถึงสาเหตุของการล้ม ประวัติเกี่ยวกับการปวดข้อสะโพก โรคประจำตัว การเดินและชีวิตประจำวันก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ
- การเอกซเรย์สะโพก
- การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การตรวจ MRI ในกรณีที่เอกซเรย์แล้วไม่เห็นกระดูกหักชัดเจน แต่ยังสงสัยภาวะกระดูกหัก
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- รักษาโดยไม่ผ่าตัด เป็นทางเลือกสำหรับคนมีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูงหรือผู้ป่วยติดเตียงและไม่มีอาการเจ็บปวดจากกระดูกหัก
- รักษาโดยการผ่าตัด โดยแพทย์จะเป็นคนพิจารณาถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
- ผ่าตัดยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะ (Internal Fixation)
- ผ่าตัดเปลี่ยนหัวกระดูกต้นขา (Unipolar/Bipolar Hemiarthroplasty)
- ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (Total Hip Replacement)
*แพ็กเกจนี้เป็นการดามกระดูกด้วยโลหะ
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
เมื่อไหร่ที่ต้องผ่าตัดดามกระดูกหักบริเวณสะโพก?
เมื่อมีอาการที่เข้าข่ายภาวะกระดูกสะโพกหักจะต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
ตัวอย่างอาการที่คาดว่าเป็นภาวะกระดูกสะโพกหัก
- อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดแรงกระแทกต่อกระดูกสะโพก เช่น หกล้ม ตกจากที่สูง หรืออุบัติเหตุทางจราจร
- มีอาการปวดมากบริเวณสะโพก หรือขาหนีบ
- ไม่สามารถขยับขาข้างที่หักได้
- ไม่สามารถยืนลงน้ำหนักในขาข้างที่มีสะโพกหักได้
- ไม่สามารถลุก หรือเดินได้อย่างปกติ
- มีรอยช้ำบริเวณที่สะโพกหัก
- มีอาการสะโพกช้ำ บวม หรือปลายเท้าเย็น
- มีภาวะผิดรูป โดยปลายเท้าข้างที่สะโพกหักจะมีการหมุนออกด้านนอก หรือขาข้างที่หักอาจจะสั้นลง
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหัก
การผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหักด้วยการดามโลหะ แพทย์จะจัดเรียงกระดูกให้เข้าที่ แล้วใช้สกรู แผ่นโลหะ หรือแท่งโลหะเป็นตัวยึดเพื่อเสริมความแข็งแรงกับข้อต่อ และยึดกระดูกให้อยู่กับที่จนกว่ากระดูกที่หักจะสมานกัน
การผ่าตัดดามกระดูกหักต้องทำร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ให้กลับมาลุก ยืน เดิน และเคลื่อนไหวร่างกายได้อีกครั้ง และช่วยป้องกันการติดเตียงในอนาคต
ขั้นตอนการผ่าตัดดามกระดูกหักบริเวณสะโพก
- ให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือดดำ 1 ชม. ก่อนผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึก โดยใช้วิธีการดมยาสลบ
- แพทย์ผ่าตัดดามกระดูกหักบริเวณสะโพก โดยใช้เตียงพิเศษเพื่อช่วยดึงขาและจัดแนวกระดูกให้เข้าที
- เปิดแผลผ่าตัดเพื่อใช้เครื่องมือเข้าไปช่วยจัดกระดูกให้เข้าที่อย่างสมบูรณ์ และทำการยึดกระดูกด้วยโลหะ
- เย็บปิดแผลให้เรียบร้อย ถ้าหากไม่มีอาการผิดปกติ จะส่งคนไข้ไปที่ห้องพักฟื้น
การผ่าตัดดามกระดูกหักบริเวณสะโพกใช้ระยะเวลาเท่าไหร่?
การผ่าตัดดามกระดูกหักบริเวณสะโพกจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ชม.
ต้องดามกระดูกนานแค่ไหน?
การผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหักด้วยการดามโลหะ แพทย์จะพิจารณาตามปัญหาของแต่ละคน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1-2 ปี
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหักด้วยการดามโลหะ
- เป็นการยึดตรึงกระดูกที่หักด้วยโลหะเพื่อให้สมานกันเอง
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
- เป็นการผ่าตัดเอาข้อสะโพกหรือกระดูกที่เสื่อมออก ทั้งเบ้าสะโพกและหัวกระดูกต้นขา แล้วใส่ข้อสะโพกเทียมทดแทน
- คนที่ข้อสะโพกเสื่อม มีอาการปวดมากหรือผิดรูปจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
ถ้ากระดูกสะโพกหัก ต้องพาผู้ป่วยไปรักษาทันที ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ญาติหรือคนสนิทควรเตรียมข้อมูลสุขภาพของคนไข้ไว้ให้แพทย์ เช่น โรคประจำตัว ยา หรือวิตามินอาหารเสริมที่กินเป็นประจำ
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากผ่าตัด แพทย์จะให้นอนพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 3 วัน หากไม่มีอาการผิดปกติจะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
คนไข้จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย
- กินยาตามที่แพทย์สั่ง
- ห้ามลุกเดิน หรือลงน้ำหนัก จนกว่าแพทย์จะอนุญาต
- ระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดถูกน้ำ หรือของสกปรก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- งดกิจกรรมที่จะทำให้กระดูกที่ดามไว้แล้วหัก เช่น ขับรถมอเตอร์ไซค์ ลดน้ำหนักก่อนเวลาอันควร ออกกำลังกายหนัก หรือยกของหนัก
- ทำกายภาพบำบัดตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดอย่างเคร่งครัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดดามกระดูกหักบริเวณสะโพก อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- เจ็บและปวดแผลบริเวณที่ผ่าตัด
- อาจเกิดรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติแผลเป็นคีลอยด์
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะซีด ภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ แผลกดทับ และการติดเชื้อทางเดินหายใจ และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
อาการที่ควรเฝ้าระวัง
- การรับความรู้สึกลดลง
- ปลายแขนขาเย็น
- บวมมากขึ้น
- ปวดมาก กินยาแล้วไม่ดีขึ้น
- มีไข้สูงเกิน 24 ชม.
หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. วัชระ มณีรัตน์โรจน์ (หมอแจ๊ค)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-2005: แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-2012: ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
-2017: ศัลยศาสตร์บูรณสภาพในข้อสะโพกและข้อเข่า, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
-ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม โดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดหรือคอมพิวเตอร์นำวิถี
-ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโดยใช้เทคนิคเข้าทางด้านหน้า ไม่ตัดกล้ามเนื้อ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและข้อเข่าเทียมโดยใช้เทคนิคแผลเล็กบาดเจ็บน้อย
-การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วนโดยใช้เทคนิคและข้อเทียมชนิดอ๊อกซฟอร์ด
-การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อข้อสะโพกและข้อเข่าเทียมโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ และคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด
-การผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บและกระดูกหัก