ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังแบบแผลเล็ก
ปล่อยไว้นานจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และระบบขับถ่ายมีปัญหา
แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัด 1 วันสามารถลุกเดินได้
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
กระดูกสันหลังเคลื่อน ถ้าปล่อยไว้จะกดทับเส้นประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและระบบขับถ่ายมีปัญหา
- ปวดหลังส่วนล่าง ถ้ายืนนาน เดินไกล นั่งนาน หรือก้มตัวไปเก็บของอาการปวดจะแย่ลง
- ปวดหลังร้าวลงก้นหรือต้นขา
- ปวดหลังชา หรือเสียวเหมือนไฟช็อต ร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
สงสัยว่ากระดูกสันหลังเคลื่อน
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ข้อดีของการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังแบบแผลเล็ก
- เปิดแผลเล็ก ไม่ได้ตัดเลาะเปิดกล้ามเนื้อ ทำให้เสียเลือดน้อย โอกาสติดเชื้อน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด
- เหมาะกับคนไข้ที่สูงอายุ
- ฟื้นตัวเร็วขึ้น หลังผ่าตัด 1 วันสามารถลุกเดินได้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดหลังเรื้อรังนานกว่า 3-4 สัปดาห์ โดยเฉพาะเวลาเดินหรือยืนนานๆ
- กินยาแก้ปวดแล้วยังไม่หาย
- ปวดหลังจนร้าวลงมาถึงสะโพกหรือขา
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- รู้สึกชาที่ขาหรือเท้า
- ยืนหรือเดินไกลๆ ไม่ได้
- ทรงตัวไม่ค่อยได้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักอาการกับแพทย์ร่วมกับตรวจร่างกาย แพทย์อาจให้ทดสอบการเหยียดขา เพราะคนที่กระดูกสันหลังเคลื่อนจะเหยียดขาตรงไปด้านหน้าไม่ได้ หรือทดลองลุกยืนจากท่านั่ง เพราะอาการปวดจากกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนนั้นเจอได้บ่อยในท่ายืน
- ตรวจสแกนร่างกาย เช่น การถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ (X-Ray) การทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging) หรือการทำ CT Scan และยังตรวจสอบระดับความรุนแรงของกระดูกสันหลังที่เคลื่อนตัว ซึ่งแบ่งได้ 5 ระดับ ได้แก่
- ระดับที่ 1 กระดูกสันหลังเคลื่อนไม่เกิน 25%
- ระดับที่ 2 กระดูกสันหลังเคลื่อนไม่เกิน 50%
- ระดับที่ 3 กระดูกสันหลังเคลื่อนไม่เกิน 75 %
- ระดับที่ 4 กระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่ 76-100%
- ระดับที่ 5 กระดูกสันหลังเคลื่อนทั้งหมด 100%
การเอกซเรย์กระดูกสันหลัง ทำได้ทั้งเอกซเรย์ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง รวมถึงท่าก้มหลังของคนไข้เพื่อตรวจดูว่ามีการเคลื่อนหรือไม่ เกิดที่กระดูกสันหลังส่วนใด
ตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI ในกรณีที่คนไข้มีอาการปวดร้าวลงขา ชา อ่อนแรงร่วมด้วย สามารถตรวจดูได้ว่ากระดูกสันหลังส่วนใดไปกดทับเส้นประสาท
ตรวจด้วย CT Scan ในกรณีกระดูกสันหลังเคลื่อนจากการประสบอุบัติเหตุ เพื่อตรวจสอบว่ามีการบาดเจ็บ มีกระดูกแตกหักหรือไม่ และดูว่ากระดูกสันหลังส่วนไหนที่เคลื่อนตัวผิดปกติ
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
1. รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
- เลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนเพิ่ม เช่น ยกของหนัก
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ เพื่อไม่ให้กระดูกสันหลังส่วนเอวรับน้ำหนักมากเกินไป
- ใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non–Steroidal Anti–Inflammatory: NSAIDs)
- ทำกายภาพบำบัด เพื่อเสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
- ใส่อุปกรณ์พยุงหลัง สายรัดเอว หรือ LS support
- ฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง รักษาอาการปวดหลังหรือคอ [ดูรายละเอียดคลิกที่นี่]
2. รักษาด้วยการผ่าตัด
- ผ่าตัดขยายโพรงเส้นประสาทกระดูกสันหลังที่ถูกกดทับ ถ้าคนไข้ปวดไม่มาก แต่ปวดร้าวลงขา หรือชาอ่อนแรง สามารถผ่าตัดแบบเปิด หรือผ่าตัดส่องกล้องแบบ Microscope หรือ Endoscope ได้
- ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง ถ้าคนไข้ปวดหลังมาก และมีภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดขยายโพรงเส้นประสาทและผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง โดยจะใส่โลหะดามกระดูกสันหลังบริเวณที่มีปัญหา
- ผ่าตัดผ่านทางด้านข้าง (OLIF: Oblique Lumbar Interbody Fusion และ DLIF: Direct Lateral Interbody Fusion)
- ผ่าตัดผ่านทางด้านหน้า (ALIF: Anterior Lumbar Interbody Fusion)
- ผ่าตัดผ่านทางด้านหลัง (TLIF: Transforaminal Lumbar Interbody Fusion และ PLF: Posterior Lumbar Interbody Fusion) โดยวิธีการผ่าตัดผ่านทางด้านหลังนั้น อาจจะใช้วิธีเจาะรูใส่โลหะตามกระดูกสันหลังและใช้กล้อง Microscope หรือ Endoscope เข้ามาช่วย จะเรียกวิธีนี้ว่า MIS TLIF หรือ Endoscopic TLIF
*แพ็กเกจนี้เป็นการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังแบบแผลเล็ก หรือ MIS TLIF
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ปวดหลังส่วนล่าง ถ้ายืนนาน เดินไกล นั่งนาน หรือก้มตัวไปเก็บของอาการปวดจะแย่ลง
- ปวดหลังร้าวลงก้นหรือต้นขา
- ปวดหลังชา หรือเสียวเหมือนไฟช็อต ร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
- ถ้าเส้นประสาทถูกกดทับนานจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และทำให้เกิดปัญหาในระบบขับถ่าย
อาการเหล่านี้อาจเป็นแค่อย่างเดียว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะหลายคนอาจเข้าใจผิดว่ากระดูกสันหลังเคลื่อนเป็นอาการเดียวกับหมอนรองกระดูกปลิ้น ซึ่งทั้งสองโรคนี้มีอาการและสาเหตุที่ต่างกัน
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Transforaminal Lumbar Interbody Fusion: MIS TLIF) คือ การผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกและข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวที่มีการทรุดหรือเคลื่อนจนกดทับเส้นประสาท และเชื่อมข้อกระดูกใหม่ด้วยวัสดุเทียม โดยแผลการผ่าตัดเล็กแค่ 1 ซม. ประมาณ 4-5 แผล
การผ่าตัดกระดูกสันหลังในรูปแบบของ MIS หรือ Minimally Invasive Surgery ทำให้แผลเล็ก เจ็บน้อย เสียเลือดน้อย กล้ามเนื้อบาดเจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็วมากขึ้น แพทย์จะใช้กล้อง Microscopes ในการผ่าตัด ช่วยเพิ่มความแม่นยำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ข้อดีของการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังแบบแผลเล็ก
- เป็นการเปิดแผลเล็ก ไม่ต้องเสียเลือดจากการผ่าตัดมาก และไม่เจ็บปวดมาก
- ไม่ได้มีการตัดเลาะเปิดกล้ามเนื้อ ทำให้เสียเลือดน้อย โอกาสติดเชื้อน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด
- เหมาะกับคนไข้ที่สูงอายุ
- ฟื้นตัวเร็วขึ้น หลังผ่าตัด 1 วันสามารถลุกเดินได้
ขั้นตอนการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังแบบแผลเล็ก
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ และจัดท่าคนไข้ให้นอนคว่ำ
- แพทย์เปิดแผลที่หลังส่วนล่าง แล้วสอดอุปกรณ์เข้าไปผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกและกระดูกที่เคลื่อนที่ออก
- แพทย์เชื่อมกระดูกสันหลัง โดยใส่หมอนรองกระดูกเทียมและข้อกระดูกของคนไข้กลับเข้า จากนั้นใส่ที่ดามโลหะ
- เย็บปิดแผล
ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังแบบแผลเล็กใช้เวลาเท่าไหร่?
ผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังแบบแผลเล็กใช้เวลาประมาณ 2-3 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
- ผ่าตัดข้อกระดูกสันหลังแบบ Posterolateral Fusion เป็นการผ่าตัดเปิดกระดูกสันหลังแบบดั้งเดิมที่แพทย์จะผ่าเปิดแผลขนาดใหญ่เพื่อใส่อุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกสันหลังและกระดูก ช่วยกระตุ้นการเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลังด้านข้าง (Transverse Process) แต่ปัจจุบันไม่นิยมเพราะมีโอกาสเสียเลือดมาก ฟื้นตัวหลังผ่าตัดนานและมีโอกาสที่ข้อกระดูกจะไม่เชื่อมตัวหลังผ่าตัดสูง
- ผ่าตัดขยายโพรงเส้นประสาท (Decompression Alone) เป็นการผ่าตัดเพื่อขยายโพรงเส้นประสาท แก้ปัญหาหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนไปทับเส้นประสาท แต่ไม่ได้แก้ไขข้อกระดูกที่เคลื่อนที่ เหมาะกับคนไข้ที่ปวดเพียงเล็กน้อย
- ผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกออกและไม่เชื่อมข้อ คล้ายกับการผ่าตัดแบบ MIS TLIF แต่จะเอาหมอนรองกระดูกที่เคลื่อออกเท่านั้น ไม่ได้เชื่อมกระดูกข้อต่อเพราะไม่ได้เอากระดูกออกตั้งแต่แรก เหมาะกับคนที่มีอาการปวดหลังจนร้าวลงขา แต่กระดูกไม่ได้เคลื่อนที่ ไม่ทรุด
- ผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังทางด้านหลัง เป็นเทคนิคที่ผ่าเปิดแผลที่กระดูกสันหลังทางด้านหลังแบบดั้งเดิม ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นการผ่าตัดเทคนิค MIS TLIF โดยเทคนิคแบบดั้งเดิมนี้จะเปิดแผลขนาดใหญ่กว่า และต้องเลาะชั้นกล้ามเนื้อเพื่อให้เข้าถึงแนวกระดูกสันหลัง แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
- ผ่าตัดแบบ PLIF (Posterior Lumbar Interbody Fusion) เป็นการผ่าตัดเพื่อเปิดโพรงเส้นประสาทจากทางด้านหลัง และใส่ข้อกระดูกเทียมแทนที่หมอนรองกระดูกส่วนเดิม
- ผ่าตัดแบบ TLIF (Transforaminal Lumbar Interbody Fusion) เป็นการผ่าตัดขยายโพรงเส้นประสาทและใส่ข้อกระดูกเทียม และเพิ่มขั้นตอนตัดข้อต่อกระดูกสันหลังเพื่อใส่ข้อกระดูกเทียมโดยไม่รบกวนเส้นประสาทเท่ากับการผ่าตัดแบบ PLIF
- ผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังทางด้านหน้า (Anterior Lumbar Interbody Fusion: ALIF) เป็นการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกออกเพื่อใส่ข้อกระดูกเทียม แต่ตำแหน่งที่เปิดแผลจะอยู่บริเวณหน้าท้อง เอาหมอนรองกระดูกออกได้ง่าย ช่วยรักษาภาวะกระดูกสันหลังผิดรูปได้ แต่ต้องระวังการบาดเจ็บของหลอดเลือดมากกว่าเทคนิคอื่น
- ผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังส่วนเอวผ่านผิวหนังทางด้านข้าง เป็นการผ่าตัดเปิดแผลทางด้านข้างหรือที่เอวเพื่อนำหมอนรองกระดูกออก แบ่งออกได้ 2 เทคนิค ได้แก่
- ผ่าตัดแบบ DLIF (Direct Lateral Lumbar Interbody Fusion) เป็นการผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกออกผ่านกล้ามเนื้อด้านข้างที่อยู่ติดกับกระดูกสันหลัง (Psoas Muscle)
- ผ่าตัดแบบ OLIF (Oblique Lumbar Interbody Fusion) เป็นการผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกออกด้วยการเจาะรูด้านข้างลำตัว เลาะผ่านชั้นไขมันเข้าไปยังกระดูกสันหลัง ช่วยลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และรบกวนเส้นประสาทน้อยกว่า
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์แนะนำ
- ถ้ามีโรคประจำตัวที่อาจทำให้แผลหายช้า เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาโรคให้อยู่ในระดับอาการที่ประคองได้เสียก่อน เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัด ต้องพักฟื้นนานเท่าไหร่?
หลังการผ่าตัดใช้เวลาพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 3-4 วัน ถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้
- งดยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่ต้องก้มหลังตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
- อาจไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการประเมินจากแพทย์ แต่ต้องหมั่นออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง
- หมั่นเดินอยู่เรื่อยๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด อย่านั่งอยู่กับที่นานเกิน 1 ชม.
- กินยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
- หมั่นประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมของแผล
- งดสูบบุหรี่เพื่อการฟื้นตัวของแผลที่เร็วขึ้น และเพื่อความแข็งแรงของร่างกายในระยะยาว
- งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 2-4 สัปดาห์เพื่อให้แผลฟื้นตัวเร็วขึ้น
- งดขับรถเองชั่วคราว จนกว่าแพทย์จะอนุญาต
- อย่าให้แผลโดนน้ำ 2 สัปดาห์หรือตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผู้เข้ารับบริการอาจมีอาการปวดแผล มีสะเก็ดเลือดที่แผล หรือแผลบวมช้ำได้เล็กน้อยหลังผ่าตัด ซึ่งจัดเป็นผลข้างเคียงที่พบได้ปกติและจะเป็นอยู่เพียงชั่วคราว แต่หากพบอาการข้างเคียงอื่นๆ ดังต่อไปนี้ซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย ให้รีบเดินทางกลับมาพบแพทย์ทันที
- มีไข้สูง
- แผลบวมแดงผิดปกติ
- มีของเหลวไหลออกจากแผล
- แผลมีกลิ่นเหม็น
- เวียนศีรษะ
- หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก
- คลื่นไส้อาเจียน
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีอาการชาที่ขา
สาขาออร์โธปิดิกส์
ผศ.นพ. ปิลันธน์ ใจปัญญา (หมอปัน)
หมอออร์โธปิดิกส์ (หมอกระดูกและข้อ) เกียรตินิยมอันดับ 1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รพ. รามา
ข้อมูลของแพทย์
- 2551 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เกียรตินิยมอันดับ 1) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ University of Nottingham (United Kingdom) (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- 2558 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2562 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- Graduate School of Medicine, Akita University (Japan)
- แพทย์ประจำบ้าน (Residency) Tohoku Medical and Pharmaceutical University (Japan)
- Certificate in Orthopaedic Spine surgery
- Certificate in Spinal Uniportal Endoscopic Surgery
- Certificate in OLIF surgery
- Certificate in Biportal Endoscopic Spine Surgery
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาออร์โธปิดิกส์ (สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)
-General orthopaedic surgery
-Spine surgery (deformity correction, minimally invasive surgery, endoscopic surgery)
-Memberships in Professional Societies
-Thai Medical Association
-Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand
-Spine Society of Thailand