ผ่าตัดเนื้องอกในไตออก (แบบเจาะผ่านหน้าท้อง)
ผ่าตัดแบบเจาะหน้าท้อง แผลเล็ก 0.5-1 ซม. ประมาณ 3-4 จุดเท่านั้น เทียบกับผ่าตัดแบบเปิดจะมีแผลยาวตั้งแต่ลิ้นปี่ไปจนถึงสะดือหรือหัวหน่าว
ผ่าตัดแบบเจาะทำให้เสียเลือดน้อย และแทบไม่ต้องมีการถ่ายเลือดเลย
แผลผ่าตัดเล็ก ทำให้ฟื้นตัวไว กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ไวกว่าผ่าตัดแบบเปิด
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ผ่าตัดไต ตัดเฉพาะเนื้องอกด้วยการเจาะผ่านหน้าท้อง
- แผลเล็ก 0.5-1 ซม. ประมาณ 3-4 จุดเท่านั้น เทียบกับผ่าตัดแบบเปิดจะมีแผลยาวตั้งแต่ลิ้นปี่ไปจนถึงสะดือหรือหัวหน่าว
- เลือกตัดแค่เนื้องอก ทำให้ไม่สูญเสียไต
- เสียเลือดน้อย และแทบไม่ต้องมีการถ่ายเลือดเลย
- ฟื้นตัวไว กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ไวกว่าผ่าตัดแบบเปิด
รีบผ่าตัดก่อนจะลุกลาม
ปรึกษาฟรีผ่านทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจผ่าตัด
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจอัลตร้าซาวด์
- ทำ CT Scan ช่องท้อง
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
เมื่อพบเนื้องอก ก้อน หรือถุงน้ำที่ผิดปกติในไต ทางที่จะรู้ได้ว่าจำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ โดยแพทย์อาจสั่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจอัลตร้าซาวด์หรือทำ CT Scan ซึ่งสามารถแยกแยะเนื้องอก ก้อน หรือถุงน้ำในไตที่อันตรายกับไม่อันตรายออกจากกันได้
เนื้องอก ก้อน ถุงน้ำ ที่มีลักษณะผิวเรียบมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งต่ำ ไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ต้องคอยตรวจซ้ำเป็นระยะ ถ้าเป็นเนื้องอก ก้อน หรือถุงน้ำที่ผิวไม่เรียบและมีผนัง ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งสูง จึงมักต้องผ่าตัดออก
ขั้นตอนการตรวจมักเริ่มจากแพทย์ซักประวัติ สอบถามถึงยา อาหารเสริม และสมุนไพรที่รับประทานอยู่ ซึ่งอาจมีผลต่อการเกิดความผิดปกติในไต จากนั้นจึงตรวจร่างกาย ส่งตรวจเลือดและปัสสาวะในห้องปฏิบัติการ รวมถึงอาจสั่งทำ CT Scan เพื่อการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดเนื้องอกในไตออก แบบเจาะผ่านหน้าท้อง (Laparoscopic Partial Nephrectomy) มักทำเมื่อแพทย์เห็นแนวโน้มว่าเนื้องอกอาจพัฒนาเป็นมะเร็งได้ในอนาคต ทำให้ไม่ต้องสูญเสียเนื้อไตมากเท่ากับการผ่าตัดเมื่อเนื้องอกกลายเป็นมะเร็งแล้ว และยังมีประโยชน์ในกรณีที่พบเนื้องอกในไตทั้ง 2 ข้าง เพราะทำให้รักษาเนื้อไตไว้ทำหน้าที่กรองของเสียต่อไปได้
เทคนิคผ่าตัดแบบส่องกล้องเจาะผ่านหน้าท้อง เป็นเทคนิคที่ทำให้มีแผลผ่าตัดเล็ก เสียเลือดน้อย เจ็บน้อย และคนไข้ฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดซึ่งเป็นวิธีรักษาแบบดั้งเดิม แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดคือสามารถทำได้สำหรับเนื้องอกที่มีขนาดไม่เกิน 4 ซม. เท่านั้น
กรณีที่ผ่าตัดไตเพื่อตัดเฉพาะเนื้องอกออกด้วยการเจาะผ่านหน้าท้อง คนไข้จะยังเหลือเนื้อไตไว้ทำหน้าที่ได้ แต่อาจมีประสิทธิภาพน้อยลง หลังจากตัดไตไปแล้ว ยังมีทางเลือกในการบำบัดทดแทนไต เช่น ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร (Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis: CAPD)
การผ่าตัดไตเพื่อตัดเฉพาะเนื้องอกออกด้วยการเจาะผ่านหน้าท้องถือเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดแล้ว การผ่าตัดแบบส่องกล้องทำให้เสียเลือดน้อยกว่า แผลเล็กกว่า เจ็บน้อยกว่า ช่วยลดระยะเวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลลง แต่กลับมาทำกิจกรรมปกติได้เร็วขึ้น
ขั้นตอนการผ่าตัดเนื้องอกในไตออก (แบบเจาะผ่านหน้าท้อง)
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลขนาดประมาณ 0.5-1 ซม. 3-5 รู ที่หน้าท้อง เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปในท้อง
- แพทย์จะตัดเนื้องอกแยกออกจากเนื้อไต แล้วนำเนื้องอกนั้นออกมาทางแผลขนาดเล็กที่เปิดเอาไว้
- แพทย์เย็บปิดแผลคนไข้
- คนไข้จะถูกใส่สายระบายน้ำเหลืองและเศษเลือดออกทางหน้าท้อง คาไว้ประมาณ 7 วันจึงถอดออก ส่วนสายสวนปัสสาวะจะคาไว้ประมาณ 1 วัน
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดใหม่ๆ คนไข้จะมีอาการเจ็บแผลหรือรู้สึกชาบริเวณที่ผ่าตัดได้ เป็นอาการปกติ คนไข้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อรวมถึงผลข้างเคียงอื่นๆ อันไม่พึงประสงค์
ถ้าเป็นการผ่าตัดไตออกข้างเดียว แพทย์อาจให้คำแนะนำถึงการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิตเพื่อให้ไตข้างที่ยังเหลืออยู่มีสุขภาพดี เช่น ให้เลือกรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย หรือรับการตรวจไตอย่างสม่ำเสมอ
แพทย์มักนัดให้ทำ CT scan ติดตามผลการรักษาเป็นระยะ โดยครั้งแรกอยู่ในช่วง 3-12 เดือนหลังผ่าตัด จากนั้นติดตามอาการทุกปี เป็นระยะเวลา 3 ปี รวมถึงให้เอกซเรย์ปอดทุกปีเป็นเวลา 3 ปีเช่นกัน
นอกจากนี้คนไข้และบุคคลใกล้ชิดควรสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกถึงอาการไตวาย ได้แก่
- ปัสสาวะเปลี่ยนไปจากปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อยหรือน้อยกว่าปกติ สีปัสสาวะเปลี่ยน
- เหงื่อออกบริเวณขา หลังช่วงล่าง หรือใบหน้า
- ความดันสูงขึ้น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- สมองล้า
หากพบอาการใดอาการหนึ่งข้างต้น ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที
เมื่อตรวจพบโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่ อาจทำให้คุณเป็นกังวล ควรสอบถามถึงทางเลือกอื่นๆ ในการรักษา รวมถึงข้อดี-ข้อเสียของวิธีต่างๆ เปรียบเทียบกัน เช่น ผลลัพธ์ ระยะเวลารักษา ความเสี่ยง ผลข้างเคียง ค่าใช้จ่าย ความคุ้มครองของแผนประกันสุขภาพที่คุณมีอยู่ ถ้าเป็นไปได้อาจปรึกษาแพทย์คนอื่นเพิ่มเพื่อฟังความเห็นที่สอง แล้วค่อยเลือกการรักษาที่เหมาะกับคุณเองมากที่สุด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดไตเพื่อตัดเฉพาะเนื้องอกออกด้วยการเจาะผ่านหน้าท้อง ถือเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ทุกการผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยงได้ เช่น
- การผ่าตัดอาจกระทบอวัยวะภายในที่อยู่ใกล้เคียงกับไต เช่น ลำไส้ ม้าม ตับอ่อน
- อาจเกิดรอยรั่วเข้าไปในช่องปอดระหว่างผ่าตัด ทำให้ปอดแฟบ
- อาจมีเลือดออกในช่องท้อง หรือออกจากแผลผ่าตัด
- อาจเกิดแผลติดเชื้อ
- อาจรู้สึกแปลกๆ เวลาหายใจลึกๆ เนื่องจากบริเวณแผลผ่าตัดอยู่ใกล้กล้ามเนื้อที่อยู่ใกล้เคียงกับปอด
- อาจเกิดความซับซ้อนระหว่างผ่าตัด ซึ่งทำให้ต้องเปลี่ยนเป็นผ่าตัดแบบเปิดแทน
นอกจากนี้การผ่าตัดไตทั้งข้างออกยังทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เช่น
- มีอาการความดันโลหิตสูง
- เป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney)
สาขาศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
นพ. อัสพล ตันตะราวงศา (หมออัส)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ รพ. รามาธิบดี
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร
- แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ