ผ่าตัดไตออก (แบบเจาะผ่านหน้าท้อง)
ผ่าตัดแบบเจาะหน้าท้อง แผลเล็ก 0.5-1 ซม. ประมาณ 3-4 จุดเท่านั้น เทียบกับผ่าตัดแบบเปิดจะมีแผลยาวตั้งแต่ลิ้นปี่ไปจนถึงสะดือหรือหัวหน่าว
ผ่าตัดแบบเจาะทำให้เสียเลือดน้อย และแทบไม่ต้องมีการถ่ายเลือดเลย
แผลผ่าตัดเล็ก ทำให้ฟื้นตัวไว กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ไวกว่าผ่าตัดแบบเปิด
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ผ่าตัดไตทั้งสองข้างด้วยการเจาะผ่านหน้าท้อง
- แผลเล็ก 0.5-1 ซม. ประมาณ 3-4 จุดเท่านั้น เทียบกับผ่าตัดแบบเปิดจะมีแผลยาวตั้งแต่ลิ้นปี่ไปจนถึงสะดือหรือหัวหน่าว
- เสียเลือดน้อย และแทบไม่ต้องมีการถ่ายเลือดเลย
- ฟื้นตัวไว กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ไวกว่าผ่าตัดแบบเปิด
ผ่าตัดกับ HDcare ดูแลแบบใกล้ชิดโดยผู้ช่วยส่วนตัว
ปรึกษาฟรีผ่านทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจผ่าตัด
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจ CT Scan เพื่อดูภาพเนื้อเยื่ออ่อนที่สร้างจากรังสีเอกซเรย์
- ตรวจ MRI เพื่อดูภาพ 3 มิติจากหลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นความถี่วิทยุ
- ตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อดูภาพเนื้อเยื่ออ่อนที่สร้างขึ้นจากคลื่นเสียง
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
แพทย์จะเป็นผู้ประเมินความจำเป็นของการผ่าตัด และพิจารณาว่าสามารถผ่าตัดด้วยการเจาะผ่านหน้าท้องได้หรือไม่ โดยพิจารณาจากระยะของโรค การทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด และความต้องการของคนไข้
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดไต (Nephrectomy) เป็นการผ่าตัดไตออกจากร่างกาย ซึ่งมีการผ่าตัดไตหลายชนิด เช่น
- ตัดบางส่วนของเนื้อไต (Partial Nephrectomy)
- ตัดไตหนึ่งข้าง รวมต่อมหมวกไตและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง (Radical Nephrectomy)
- ตัดไตข้างใดข้างหนึ่งออกทั้งหมด (Total Nephrectomy)
- ตัดไตทั้งสองข้าง (Bilateral Nephrectomy)
การผ่าตัดไตทั้งข้างออกด้วยการเจาะผ่านหน้าท้อง (Laparoscopic Radical Nephrectomy) แพทย์จะเปิดแผลขนาดประมาณ 0.5-1 ซม. 3-4 รู ที่หน้าท้อง เพื่อใช้อุปกรณ์เข้าไปผ่าตัดไตออก หลังการผ่าตัดสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 3-4 สัปดาห์
ถ้าเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด การผ่าตัดด้วยการเจาะผ่านหน้าท้องเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา โดยการผ่าแบบเปิดจะมีแผลความยาวประมาณ 20-30 ซม. บริเวณหลังหรือหน้าท้อง ในบางคนอาจต้องผ่าเอากระดูกซี่โครงบางส่วนออกไปด้วย
การผ่าตัดไตทั้งข้างออกด้วยการเจาะผ่านหน้าท้อง ทำให้ประสิทธิภาพการควบคุมโรคมะเร็งเทียบเท่าการผ่าตัดแบบเปิด แต่การเจาะผ่านหน้าท้องจะเสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยกว่า และแทบไม่ต้องมีการถ่ายเลือดเลย
ขั้นตอนการผ่าตัดไตทั้งข้างออกด้วยการเจาะผ่านหน้าท้อง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลขนาดประมาณ 0.5-1 ซม. 3-4 รู ที่หน้าท้อง เพื่อใส่อุปกรณ์เข้าไปผ่าตัด เมื่อผ่าตัดไตเสร็จแล้ว แพทย์จะพิจารณาเปิดแผลอีกตำแหน่งเพื่อเอาไตออกจากร่างกาย
- คนไข้จะถูกใส่สายระบายน้ำเหลืองและเศษเลือดออกทางหน้าท้องประมาณ 7 วันและใส่สายสวนปัสสาวะประมาณ 1 วัน
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดคนไข้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันแผลติดเชื้อรวมถึงผลข้างเคียงอื่นๆ อันไม่พึงประสงค์
ถ้าเป็นการผ่าตัดไตออกข้างเดียว แพทย์อาจให้คำแนะนำถึงการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิตเพื่อให้ไตข้างที่ยังเหลืออยู่มีสุขภาพดี เช่น ให้เลือกรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย หรือรับการตรวจไตอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อตรวจพบโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่ อาจทำให้คุณเป็นกังวล ควรสอบถามถึงทางเลือกอื่นๆ ในการรักษา รวมถึงข้อดี-ข้อเสียของวิธีต่างๆ เปรียบเทียบกัน เช่น ผลลัพธ์ ระยะเวลารักษา ความเสี่ยง ผลข้างเคียง ค่าใช้จ่าย ความคุ้มครองของแผนประกันสุขภาพที่คุณมีอยู่ ถ้าเป็นไปได้อาจปรึกษาแพทย์คนอื่นเพิ่มเพื่อฟังความเห็นที่สอง แล้วค่อยเลือกการรักษาที่เหมาะกับคุณเองมากที่สุด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดไตทั้งข้างออกด้วยการเจาะผ่านหน้าท้อง ถือเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ทุกการผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยงได้ เช่น
- การผ่าตัดอาจกระทบอวัยวะภายในที่อยู่ใกล้เคียงกับไต เช่น ลำไส้ ม้าม ตับอ่อน
- อาจเกิดรอยรั่วเข้าไปในช่องปอดระหว่างผ่าตัด ทำให้ปอดแฟบ
- อาจมีเลือดออกในช่องท้อง หรือออกจากแผลผ่าตัด
- อาจเกิดแผลติดเชื้อ
- อาจเกิดความซับซ้อนระหว่างผ่าตัด ซึ่งทำให้ต้องเปลี่ยนเป็นผ่าตัดแบบเปิดแทน
สาขาศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
นพ. อัสพล ตันตะราวงศา (หมออัส)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ รพ. รามาธิบดี
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร
- แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ