ผ่าตัดหมอนรองกระดูกปลิ้น (แบบส่องกล้องเอ็นโดสโคป)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ใครบอกว่าเป็นได้แค่ในผู้สูงอายุ วัยทำงานก็เป็นได้!
- เจอบ่อยในวัย 21-50 ปี
- ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง
- 90% จะปลิ้นที่หลังส่วนล่าง
- พนักงานออฟฟิศทำงานท่าเดียวติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ไม่ลุกขยับไปไหน ทำให้โครงสร้างกระดูกสันหลังทรุดตัวจนไปเบียดทับเส้นประสาท
กิจวัตรง่ายๆ ก็ทำให้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้
- การก้มหลังยกของหนัก ทำกิจกรรมที่ต้องก้มๆ เงยๆ หลังเป็นประจำ
- อุบัติเหตุโดยตรงจากการชอบก้มหลังพร้อมบิดตัว
- ความเสื่อมตามอายุ จนทำให้เส้นใยของหมอนรองกระดูกสันหลังฉีกขาดและค่อยๆ ดันตัวและปลิ้นออกมาจนไปกดเบียดเส้นประสาทด้านหลัง
ไม่แน่ใจ อาการที่เป็นอยู่ต้องผ่าตัดไหม
ปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคปเปิดแผลขนาดเล็กไม่เกิน 1 ซม. ต่างจากผ่าตัดแบบเปิดที่แผลขนาดใหญ่ 7-8 ซม.
- เจ็บแผลน้อย ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลัง และกระดูกสันหลัง
- กลับมาลุกยืนเดินได้ทันทีหลังผ่าตัดในวันแรก
- กลับไปทำงานและใช้ชีวิตประจำวันได้เร็ว
อย่าปล่อยให้อาการรุนแรงจนถึงขั้นเดินไม่ไหว!
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักโรคนี้
หมอนรองกระดูกปลิ้นคืออะไร?
ภาวะหมอนรองกระดูกปลิ้น (Herniated Disc) คือ ภาวะที่ “เนื้อเยื่อหมอนรองกระดูก” ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักของปล้องกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นให้ทำงานได้อย่างมั่นคงและยืดหยุ่นปลิ้นตัวออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลัง จนทำให้เกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น
- ปวดคอ
- ปวดหลังล่าง
- ปวดสะโพกและก้น
- ปวดหลังร้าวลงถึงขาและน่อง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มือเท้าชา
- มีอาการเสียวแปล๊บที่แขนหรือขา อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง
- ทรงตัวไม่ได้
- ควบคุมการปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- มีอาการปวดหลังร้าวลงขา
- ปวดหลังขณะไอ หรือจาม
- มีอาการชา โดยเฉพาะระหว่างการเบ่งขับถ่าย
- ถ้าปวดหรือชารุนแรง อาจมีอาการขาหรือเท้าอ่อนแรง
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติกับแพทย์ร่วมกับตรวจร่างกาย
- ตรวจเอกซเรย์
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- ปรับพฤติกรรม และทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
- กินยาแก้ปวดในกลุ่ม NSADs ตามแพทย์สั่ง
- ผ่าตัดหมอนรองกระดูก ทำได้ทั้งแบบเปิดและแบบส่องกล้อง
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
ถ้ามีอาการปวดหลังและกินยาแก้ปวดนานเกิน 1 เดือนแต่อาการไม่ดีขึ้น ฉีดยา หรือทำกายภาพบำบัดแล้วยังไม่หายดี แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดให้เป็นวิธีรักษาถัดไป
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic Discectomy) คือ การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหมอนรองกระดูกปลิ้น ด้วยการใช้กล้องเอ็นโดสโคปซึ่งเป็นกล้องผ่าตัดขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นลำกล้องผ่าตัดขนาดยาว มีจุดศูนย์กลางเพียง 8 มม. เป็นตัวช่วยในการผ่าตัดซ่อมแซมเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูกส่วนที่ปลิ้นออกมา
ข้อดีของผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
- มีความแม่นยำสูง โดยภาพจากกล้องจะฉายขึ้นจอในห้องผ่าตัดให้แพทย์สามารถผ่าตัดแก้ไขหมอนรองกระดูกได้ง่ายขึ้นและถูกจุด
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก โดยอาจมีขนาดไม่ถึง 1 ซม.
- ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน ประมาณ 45-60 นาที ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนในการผ่าตัด
- มีโอกาสเจ็บแผลหลังผ่าตัดได้น้อย
- โอกาสเสียเลือดระหว่างผ่าตัดน้อย
- ลดโอกาสสร้างความเสียหายต่อกระดูกหรือเนื้อเยื่อข้างเคียง
- ระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าตัดสั้นและเร็วกว่า
- โอกาสเกิดผลข้างเคียงหลังผ่าตัดหรือความเสี่ยงที่เป็นอันตรายค่อนข้างน้อย
ขั้นตอนการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลขนาดเล็ก แล้วสอดอุปกรณ์ผ่าตัดพร้อมกล้องเอ็นโคสโคปเข้าไป ช่วยให้เห็นตำแหน่งของหมอนรองกระดูกส่วนที่ปลิ้นออกมา
- แพทย์เลือกตัดเฉพาะส่วนที่มีการกดทับเส้นประสาทออกได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะกดทับจากหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือการบีบรัดจากกระดูกข้อต่อ และเส้นเอ็น
- แพทย์เย็บปิดแผล
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดหมอนรองกระดูกแบบเปิด (Open Discectomy)
- เปิดแผลประมาณ 7-8 ซม. ตรงจุดที่หมอนรองกระดูกถูกกดทับ
- พักฟื้นนาน
- มีแผลเป็นชัดเจน
ผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้อง Endoscope (Endoscopic Discectomy)
- เปิดแผลขนาดเล็ก ไม่เกิน 1 ซม.
- ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลัง และกระดูกสันหลัง
- เสียเลือดน้อย เจ็บหลังผ่าตัดน้อย
- กลับมาลุกยืนเดินได้ทันทีหลังผ่าตัดในวันแรก กลับไปทำงานและใช้ชีวิตประจำวันได้เร็ว
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์แนะนำ รวมถึงตรวจ MRI เพื่อให้แพทย์มองเห็นตำแหน่งของหมอนรองกระดูกส่วนที่ปลิ้นอย่างชัดเจน ในผู้ป่วยอาจได้รับคำแนะนำให้ตรวจ CT Scan หรือมีรายการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
- แจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว รายการยาประจำตัวที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน รายการวิตามินเสริม อาหารเสริม รวมถึงสมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิด
- งดยาและวิตามินตามรายการที่แพทย์สั่ง เช่น ยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด
- งดสูบบุหรี่และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล่วงหน้าอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
- ลางานล่วงหน้าประมาณ 1-3 วัน หรือตามระยะเวลาที่แพทย์ให้คำแนะนำ
- งดน้ำและงดอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ควรพาญาติหรือคนสนิทมาด้วย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในช่วงก่อนและหลังผ่าตัด
- อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายก่อนเดินทางมาผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
การผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคปช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก และผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้ทันหลังผ่าตัดก็จริง แต่ก็ยังต้องมีการดูแลตนเองอย่างระมัดระวัง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีการฟื้นตัวกลับมาแข็งแรงโดยเร็ว ผ่านการปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- งดการทำกิจกรรมหนักๆ และการยดของหนักอย่างน้อย 1-3 สัปดาห์แรก
- หมั่นเคลื่อนไหวร่างกายตามคำแนะนำของแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อที่อ่อนแอจากการกดทับของเส้นประสาทกลับมาแข็งแรงโดยเร็ว โดยต้องทำอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ
- กินยาทุกรายการตามที่แพทย์สั่งจ่ายอย่างเคร่งครัด
- สวมที่พยุงหลังไว้จนกว่าแพทย์จะสั่งให้ถอด แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่จำเป็นต้องใส่
- ระวังอย่าให้แผลโดนน้ำจนกว่าแพทย์จะอนุญาต โดยอาจใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน
- หมั่นเดินบ่อยๆ เพื่อเร่งสมรรถภาพร่างกายให้กลับมาแข็งแรง
- หลีกเลี่ยงการนั่งอยู่ที่นานเกิน 15-20 นาที หากจำเป็นต้องทำงานอยู่กับที่นานๆ ให้หมั่นจับเวลาแล้วลุกขึ้นเดินบ่อยๆ
- ไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่มีการกระเทือนแรงๆ หรือทำให้หลังได้รับแรงกระแทก
- หลังผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ สามารถขับรถยนต์ได้ แต่อย่าเพิ่งเดินทางไกลที่ต้องขับรถนานติดกันหลายชั่วโมง
- หลังครบ 2-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถเริ่มกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้เบาๆ เช่น นั่งทำงาน ขับรถ เดินรดน้ำต้นไม้ เดินออกกำลังกายช้าๆ ปั่นจักรยาน และเมื่อครบประมาณ 6 สัปดาห์ โดยส่วนมากจะกลับไปทำกิจวัตรได้ตามปกติทุกอย่าง
- งดสูบบุหรี่และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดโอกาสแผลอักเสบ หรือหากเป็นไปได้ ควรงดอย่างถาวร เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงในระยะยาว
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
อาการผิดปกติหลังผ่าตัดที่อาจพบได้จากการผ่าตัดหมอนรองกระดูกปลิ้น ซึ่งผู้ป่วยจะต้องกลับมาพบแพทย์โดยเร็วหากพบอาการเหล่านี้ ได้แก่
- ปวดเจ็บแผลมาก
- แผลมีรอยแยก หรือฉีกขาด
- แผลบวมแดง หรือมีของเหลวไหลออกมา
- มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปวดหลังมากกว่าเดิม
- ชาตามปลายมือและเท้า
- ควบคุมการปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้
สาขาออร์โธปิดิกส์
ผศ.นพ. ปิลันธน์ ใจปัญญา (หมอปัน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2551 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เกียรตินิยมอันดับ 1) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ University of Nottingham (United Kingdom) (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- 2558 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2562 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- Graduate School of Medicine, Akita University (Japan)
- แพทย์ประจำบ้าน (Residency) Tohoku Medical and Pharmaceutical University (Japan)
- Certificate in Orthopaedic Spine surgery
- Certificate in Spinal Uniportal Endoscopic Surgery
- Certificate in OLIF surgery
- Certificate in Biportal Endoscopic Spine Surgery
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาออร์โธปิดิกส์ (สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)
-General orthopaedic surgery
-Spine surgery (deformity correction, minimally invasive surgery, endoscopic surgery)
-Memberships in Professional Societies
-Thai Medical Association
-Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand
-Spine Society of Thailand