ส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป
ถ้าตรวจเจอความผิดปกติ ก็เก็บตัวอย่างส่งตรวจได้เลย
ตรวจเจอความผิดปกติก็ไม่ต้องกลัว เพราะรู้เร็วรักษาได้
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
แนะนำผู้หญิงทุกคนตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี
- มะเร็งปากมดลูกเจอบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย
- ฉีดวัคซีน HPV 3 เข็ม ก็ป้องกันได้ [ให้แอดมินดูโปรฉีดวัคซีน HPV ใกล้บ้าน]
- ตรวจเจอในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาได้เร็ว ไม่ต้องตัดมดลูก
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้คุณวันนี้
ส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป ไม่เจ็บ ใช้เวลาแป๊บเดียวก็กลับบ้านได้
- ถ้าตรวจเจอสารคัดหลั่งผิดปกติ หรือตกขาวก็จะเก็บตัวอย่างส่งตรวจได้เลย
- ถ้าตรวจพบความผิดปกติ จะตัดชิ้นเนื้อ หรือขูดเนื้อเยื่อภายในปากมดลูกส่งตรวจได้เลย
ตรวจเจอความผิดปกติก็ไม่ต้องกลัว
HDcare มีบริการผ่าตัดมะเร็ง พร้อมดูแลกันทุกขั้นตอน
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ถ้าผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว หรือมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี
- มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือเวลาที่มีเพศสัมพันธ์
- ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมามากกว่าปกติ ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง ประจำเดือนมานานเกิน 7 วัน หรือประจำเดือนมากะปริบกะปรอย
- ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่น หรือมีเลือดปน
- เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีอาการปวดหน่วงท้องน้อย
- ปัสสาวะ หรืออุจจาระมีเลือดปน
- ปัสสาวะไม่ค่อยออก
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกจะขึ้นอยู่ระยะของโรคที่ตรวจพบ เช่น ถ้าพบมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกก่อนเป็นมะเร็ง อาจรักษาได้ด้วยการตัดปากมดลูกออก ร่วมกับการทำรังสีรักษา หรือการให้ยาเคมีบำบัด
รู้จักการผ่าตัดนี้
การส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป (Colposcopy Cervix) คือ การใช้กล้องส่องตรวจเยื่อบุผิวภายในบริเวณปากมดลูก ช่องคลอด ปากช่องคลอด เพื่อหารอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง หรือเซลล์มะเร็ง และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
การส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป ช่วยให้แพทย์แยกพยาธิสภาพออกจากเนื้อเยื่อที่ปกติได้อย่างชัดเจน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากยิ่งขึ้น
การตรวจด้วยวิธีนี้เหมาะกับใคร
- คนที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปเสมียร์ (Pap Smear) หรือ ตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test) แล้วพบความผิดปกติ
- คนที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA testing แล้วได้ผลบวก 2 ครั้งจากการตรวจห่างกัน 12 เดือน
- คนที่มีอาการที่เข้าข่ายเป็นมะเร็งปากมดลูก
- คนที่ต้องการตรวจติดตามผลหลังการรักษารอยโรคมะเร็งปากมดลูก
- คนที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หูดหงอนไก่ หนองใน หรือซิฟิลิส
ขั้นตอนการส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป
- แพทย์ใช้เครื่องถ่างขยายช่องคลอด เพื่อให้เห็นปากมดลูกและผนังช่องคลอดโดยรอบทั้งหมด
- แพทย์ตรวจดูด้วยตาเปล่า ถ้ามีสารคัดหลั่งผิดปกติ หรือตกขาวก็จะเก็บตัวอย่างส่งตรวจ
- แพทย์จะใช้คอลโปสโคป หรือกล้องขยาย ส่องตรวจรอยโรคที่ผิดปกติบริเวณปากมดลูก และใช้น้ำยาทาเพื่อทำให้เห็นเซลล์ผิดปกติได้ชัดเจนขึ้น
- ถ้าแพทย์ตรวจพบความผิดปกติ จะตัดชิ้นเนื้อ หรือขูดเนื้อเยื่อภายในปากมดลูกส่งตรวจด้วยเช่นกัน
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ตรวจแปปเสมียร์ (Pap Smear)
- เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปาดมดลูกแบบดั้งเดิม
- ใช้เครื่องมือสอดและถ่างบริเวณปากมดลูก แล้วใช้แปรงเล็กๆ ป้ายเซลล์จากบริเวณมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- มีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 50%
ตรวจลิควิดเบส (Liquid based) หรือ ตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test)
- เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่นิยม
- ใช้แปรงเก็บตัวอย่างเซลล์ไว้ในน้ำยาที่มีคุณสมบัติรักษาเซลล์ ทำให้เก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากกว่า และสามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนอย่างพวกมูก หรือเม็ดเลือดแดงได้ด้วย
- มีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 70-85%
ตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีจากดีเอ็นเอ (HPV DNA Test)
- คล้ายกับการตรวจลิควิดเบส แต่แพทย์จะเก็บตัวอย่างในน้ำยาสำหรับ HPV DNA test โดยเฉพาะ และส่งตรวจหาเชื้อไวรัส HPV โดยตรงด้วยเทคนิคด้านชีวโมเลกุล
- สามารถตรวจดูได้ว่าติดเชื้อไวรัสเอสพีวีสายพันธุ์อะไร
ตรวจแบบคู่ (Co-testing)
- เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการนำวิธีตรวจลิควิดเบส และ HPV DNA Test มาร่วมกัน เพื่อความแม่นยำสูงสุด
- มีความไวในการตรวจเจอรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 99%
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- งดการมีสัมพันธ์ การใช้ผ้าอนามัยชนิดสอด การสวนล้างช่องคลอด รวมถึงการใช้ยาทา ยาสอด หรือเจลหล่อลื่นบริเวณอวัยวะเพศ 1-2 วันก่อนเข้ารับการตรวจ
- หากมีประจำเดือน แนะนำให้รอประจำเดือนหมดก่อน แล้วค่อยรับการตรวจ
- ไม่ควรอยู่ในระยะตั้งครรภ์ ยกเว้นบางรายที่มีความจำเป็น
- ไม่มีอาการติดเชื้อบริเวณปากมดลูก
- ในวันที่ตรวจ แนะนำให้พกผ้าอนามัยมาด้วย เพราะหลังตรวจแล้ว อาจมีเลือดออกเล็กน้อย หรือมีตกขาวได้
การดูแลหลังผ่าตัด
- แนะนำให้ใส่ผ้าอนามัยไว้ในช่วงแรก เพราะอาจมีเลือดออกเล็กน้อย หรือมีตกขาวได้
- การส่องกล้องปากมดลูกด้วยคอลโปสโคปอาจทำให้เกิดแผลได้เล็กน้อย ควรดูแลความสะอาดแผลให้ดี หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล รวมถึงงดการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ยาทา ยาสอด เจลหล่อลื่น อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
- หากมีอาการปวด สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- อาจทำให้มีเลือดออกเล็กน้อย หรือตกขาวมีสีเข้มขึ้นได้ ซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกังวลแต่อย่างใด
- หากมีอาการไข้ หนาวสั่น ตกขาวมีสีเหลือง ตกขาวมีกลิ่นเหม็น มีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ หรือปวดท้องน้อยรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ต.หญิง พญ. อุษาพรรณ รุ่งพิสุทธิพงษ์ (หมอป้อ)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-2553 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-2558 วุฒิบัตร สูติ-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
-2560 แพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขามะเร็งวิทยานรีเวช คณะแพทยศาสตร์
รามาธิบดี
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช ( มะเร็งนรีเวชวิทยา )