
สำหรับริดสีดวงระยะ 2 และ 3 (มีก้อนเนื้อออกมาตอนถ่ายที่กลับเข้าไปได้)
เทคนิค RFA ไม่มีแผลผ่าตัดเลย เจ็บน้อยกว่า หายเร็วกว่า
หมอด้วงเป็นหนึ่งในแพทย์ผู้บุกเบิกเทคนิค RFA ในประเทศไทย
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
อย่างแรกที่ต้องรู้... ริดสีดวงคุณระยะอะไร?

- ระยะที่ 1 ริดสีดวงทั้งหมดยังอยู่ในทวารหนัก มีเลือดออกหลังถ่ายอุจจาระ
- ระยะที่ 2 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่ขณะขับถ่ายมีหัวริดสีดวงโผล่ยื่นออกไปนอกทวารหนัก หลังถ่ายแล้วแล้วจึงหดกลับเข้ามาเอง
- ระยะที่ 3 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่ขณะขับถ่ายกลับมีหัวริดสีดวงโผล่ยื่นออกไปนอกทวารหนัก หลังถ่ายแล้วเนื้อเยื่อไม่หดกลับเอง ต้องใช้นิ้วดันกลับถึงจะเข้าได้
- ระยะที่ 4 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่มีหัวริดสีดวงโผล่ออกออกนอกทวารหนักตลอดเวลา และไม่สามารถดันกลับเข้าในทวารหนักอีกต่อไป
รู้จักโรคนี้
ริดสีดวงทวารคืออะไร?
ริดสีดวงทวาร คือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักหรือลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโป่งบวม อาจเกิดเฉพาะภายในรูทวาร หรือยื่นออกไปภายนอกรูทวารก็ได้
สาเหตุของการเกิดริดสีดวงยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่เกิดจากแรงกดหรือความดันในช่องท้องหรือช่องปอด ซึ่งมักมาจากผู้มีปัญหาท้องผูก หรืออาจเกิดจากอุจจาระที่มีลักษณะแข็งครูดผ่านหลอดเลือดดำในช่องทางขับถ่ายบ่อยๆ
ในบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ อาจเป็นริดสีดวงทวารเนื่องจากเนื้อเยื่อหรือหลอดเลือดดำเสื่อมตามอายุ หรือในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ก็อาจเป็นริดสีดวงขึ้นได้
หากเป็นริดสีดวงทวารจะรู้สึกเจ็บ ปวด คัน และพบว่ามีเนื้อยื่นออกจากทวารหนักขณะอุจจาระ หรือมีเลือดออกหลังจากอุจจาระ
แม้ว่าริดสีดวงทวารจะไม่ใช่โรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่หากอาการรุนแรงแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้
ระดับความรุนแรงของริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงแบ่งออกกว้างๆ เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ริดสีดวงภายใน กับ ริดสีดวงภายนอก มีรายละเอียดดังนี้
-
ระยะที่ 1 ริดสีดวงทั้งหมดยังอยู่ในทวารหนัก ระยะนี้ผู้ป่วยอาจสังเกตพบว่ามีเลือดออกหลังถ่ายอุจจาระ หรือเมื่อใช้กระดาษชำระทำความสะอาดพบว่ามีเลือดติดกระดาษออกมา
-
ระยะที่ 2 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่ขณะขับถ่ายกลับมีหัวริดสีดวงโผล่ยื่นออกไปนอกทวารหนัก หลังถ่ายแล้วแล้วจึงหดกลับเข้ามาเอง
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
แพทย์จะซักประวัติ สอบถามอาการ รวมถึงตรวจบริเวณทวารหนัก หากเป็นริดสีดวงภายนอกจะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ถ้าไม่เห็นรอยโรค และมีข้อสันนิษฐานว่าจะเป็นริดสีดวงภายใน แพทย์อาจใช้วิธีคลำหาสิ่งผิดปกติภายในช่องทวารหนัก
นอกจากนี้หากพบสัญญาณของโรคทางเดินอาหารอื่นๆ แพทย์อาจใช้อุปกรณ์ส่องกล้องตรวจลำไส้เพิ่มเติม
รู้จักการผ่าตัดนี้
ขั้นตอนการผ่าตัดริดสีดวงด้วยคลื่นความถี่สูง
ขั้นตอนการผ่าตัดริดสีดวงด้วยคลื่นความถี่สูง จะเริ่มจากแพทย์ฉีดยานอนหลับให้ผู้ป่วย จากนั้นใช้อุปกรณ์เปิดให้เห็นริดสีดวงชัดเจน แล้วใช้เข็มขนาดเล็กจิ้มไปที่หัวริดสีดวง และทำการปล่อยคลื่นความถี่สูงเข้าไปทำลายเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงริดสีดวง ทำให้หัวริดสีดวงยุบตัวลงและฝ่อตัวไปในที่สุด
ข้อดีของการผ่าตัดริดสีดวงด้วยคลื่นความถี่สูง
- ไม่มีแผลผ่าตัด
- เจ็บปวดน้อยกว่า
- ไม่ต้องบล็อกหลัง
- ฟื้นตัวได้ไวกว่า ทำให้สามารถกลับไปทำงานได้เร็วกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีปกติ
- มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือการติดเชื้อได้น้อยกว่า เนื่องจากไม่มีแผลผ่าตัด
- ขั้นตอนการรักษาไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหูรูด จึงไม่ทำให้เกิดภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรือภาวะรูทวารตีบจากเยื่อพังผืด
บางกรณี การผ่าตัดริดสีดวงด้วยคลื่นความถี่สูงก็ไม่ต้องนอนค้าง
การผ่าตัดริดสีดวงด้วยคลื่นความถี่สูง ไม่จำเป็นต้องนอนค้างที่สถานพยาบาลเสมอไป โดยการผ่าตัดในรูปแบบไม่นอนค้างจะเป็นการผ่าตัดภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ ไม่มีการใช้ยาสลบ หลังจากที่ผ่าตัดเสร็จ ผู้เข้ารับบริการสามารถเดินทางกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้เลย
ขั้นตอนการผ่าตัดแบบไม่นอนค้าง จะมีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการผ่าตัดแบบนอนค้าง แต่จะแตกต่างกันในส่วนของการวางยาสลบกับวางยาชาเท่านั้น โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- แพทย์ใช้กล้องส่องไปที่ทวารหนักเพื่อหาตำแหน่งของก้อนริดสีดวง
- แพทย์ฉีดยาชาเฉพาะที่ที่ทวารหนักตรงที่พบก้อนริดสีดวง
- แพทย์ใช้หัวปล่อยพลังงานคลื่นความถี่สูงยิงลงไปที่ก้อนริดสีดวง
- แพทย์ใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือสะอาดประคบผิวทวารหนักที่สัมผัสคลื่นความถี่สูง
- ผู้เข้ารับบริการพักฟื้นที่สถานพยาบาลต่อประมาณ 3-4 ชั่วโมง หากไม่พบสัญญาณข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อน ก็สามารถเดินทางกลับบ้านได้เลย
หลังจากผ่าตัดเสร็จสิ้น ก้อนริดสีดวงจะค่อยๆ ยุบและฝ่อตัวลงภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
ข้อดีของการผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบไม่นอนค้าง
เนื่องจากการผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบไม่นอนค้างไม่มีการใช้ยาสลบ ดังนั้นจึงสามารถให้ข้อได้เปรียบหลายอย่างที่มากกว่าการผ่าตัดแบบใช้ยาสลบ เช่น
- ไม่มีขั้นตอนการเตรียมตัวที่ซับซ้อนมากนัก ไม่ต้องดน้ำและงดอาหารล่วงหน้า
- ประหยัดเวลาในการรักษามากกว่า หลังผ่าตัดก็กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้เลย
- มีระยะเวลาทำหัตถการที่สั้น เพียง 15-20 นาทีก็เสร็จ
- ยังคงมีโอกาสเจ็บแผลได้น้อย ไม่ต่างจากวิธีการวางยาสลบ
จะเลือกได้อย่างไรว่าจะผ่าตัดแบบนอนค้างหรือไม่นอนค้าง?
แพทย์จะเป็นผู้ประเมินรูปแบบการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการแต่ละท่าน โดยส่วนมากการผ่าตัดแบบนอนค้างมักจะนิยมใช้ในผู้เข้ารับบริการที่เป็นวัยสูงอายุ มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ แพทย์จึงจะให้นอนค้างเพื่ออยู่ติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย
แต่ในกรณีที่ผู้เข้ารับบริการไม่สามารถผ่าตัดโรคริดสีดวงด้วยการวางยาสลบได้ หรือไม่จำเป็นต้องผ่าตัดด้วยการวางยาสลบ แพทย์ก็จะพิจารณาให้ผ่าตัดแบบวางยาชาเฉพาะที่ก็เพียงพอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเมินจากแพทย์เป็นรายบุคคลไป
ผ่าตัดริดสีดวงด้วยคลื่นความถี่สูง เหมาะกับโรคริดสีดวงทวารระยะไหน?
การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่สูงนิยมใช้ในการรักษาโรคริดสีดวงในระยะเริ่มต้น หรือระยะ 1-3 มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารระยะที่ 4 บางรายที่รักษาด้วยคลื่นความถี่สูงแล้วอาการของโรคดีขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงวิธีรักษาที่เหมาะกับระยะของโรคริดสีดวงทวารในผู้เข้ารับบริการแต่ละท่านเอง
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การผ่าตัดริดสีดวงแบบ RFA
- แพทย์ฉีดยานอนหลับให้ และใช้อุปกรณ์เปิดให้เห็นริดสีดวงชัดเจน แล้วใช้เข็มขนาดเล็กจิ้มไปที่หัวริดสีดวงเพื่อปล่อยคลื่นความถี่สูงเข้าไปทำลายเส้นเลือดที่มาเลี้ยงริดสีดวง ทำให้หัวริดสีดวงยุบตัวลงและฝ่อตัวไปในที่สุด
- ข้อดีคือไม่มีแผลผ่าตัด จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย เช่น ติดเชื้อ ภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ เป็นต้น
- เจ็บน้อยกว่า ฟื้นตัวไวกว่า และกลับไปทำงานได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบปกติ
การผ่าตัดริดสีดวงแบบจี้ไฟฟ้า
- แพทย์จะฉีดยาชาเข้าไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึก และใช้อุปกรณเปิดให้เห็นริดสีดวง จากนั้นใช้อุปกรณ์ที่สามารถตัดริดสีดวงออกพร้อมเย็บได้เลยในครั้งเดียว ก่อนจะปิดแผลโดยการเย็บหรือปิดด้วยพลาสเตอร์
- ข้อดีคือเสียเลือดและเจ็บหลังผ่าตัด และโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัดแบบธรรมดา
- อาจมีเลือดออกจากแผลตั้งแต่หลังผ่าตัดจนถึงประมาณวันที่ 10 หรือหากมีน้ำเหลืองซึมรอบทวารในกรณีที่ไม่ได้เย็บแผล
- ปัสสาวะและอุจจาระลำบาก ช่วงแรกๆ อาจต้องสวนปัสสาวะและอุจจาระ
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
โดยทั่วไปผู้ป่วยเตรียมผ่าตัดริดสีดวงต้องเตรียมตัวดังนี้
- งดน้ำ งดอาหาร 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำหรืออาหารลงปอดระหว่างอยู่ภายในฤทธิ์ยานอนหลับ
- งดยาละลายลิ่มเลือด 5-7 วัน หรือตามดุลยพินิจของแพทย์ เพื่อไม่ให้มีผลต่อแผลผ่าตัด
- ไม่จำเป็นต้องงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรืองดสูบบุหรี่
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากผ่าตัดริดสีดวงด้วยวิธีนี้ โดยทั่วไปแล้วหลังจากนอนพักสังเกตอาการที่โรงพยาบาลประมาณ 1 คืน หลัง หากไม่มีอาการแทรกซ้อน แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว ผู้ป่วยก็มักกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง เดิน นอน ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย เพียงแต่ให้ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารที่จะมีผลต่อการขับถ่าย เช่น
- รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำมากๆ และปรับพฤติกรรมโดยไม่นั่งห้องน้ำนานเกินจำเป็น พยายามไม่เบ่งอุจจาระแรงๆ
- หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ควรเว้นระยะไปก่อนประมาณ 1-2 สัปดาห์ ให้แผลหายสนิทเสียก่อน
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานยาให้ครบ โดยแพทย์มักจ่ายยาระบายหรือยาที่มีฤทธิ์ทำให้อุจจาระอ่อนเพื่อให้ไม่มีปัญหาการขับถ่ายในช่วงหลังผ่าตัดใหม่ๆ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
โดยทั่วไปแล้ว การผ่าตัดริดสีดวงด้วยเครื่องมือด้วยคลื่นความถี่สูงมักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่เป็นธรรมดาของการผ่าตัดจึงอาจมีผลข้างเคียงบ้าง เช่น
- มีเลือดออกจากแผลตั้งแต่หลังผ่าตัดจนถึงประมาณวันที่ 10
- อาจมีน้ำเหลืองซึมที่ขอบทวาร (กรณีไม่ได้เย็บแผล)
- ปัสสาวะลำบาก ทำให้อาจต้องสวนปัสสาวะ
- ถ่ายอุจจาระไม่ออกในช่วงแรก ทำให้อาจต้องสวนทวาร
ผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองหลังผ่าตัด หากมีอาการเหล่านี้ควรกลับมาพบแพทย์ทันที เพราะอาจแสดงถึงอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย
- มีเลือดออกมาก หรือเกินวันที่ 10 นับจากผ่าตัดแล้วยังมีเลือดออก
- แผลมีอาการบวม แดง
- เจ็บแผลมากและอาการไม่ดีขึ้น
- มีหนองหรือน้ำเหลืองไหลออกจากแผลมากผิดปกติ
- มีไข้สูง