ผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก รักษาแผลขอบทวาร (Lateral Internal Sphincterotomy)
เป็นการผ่าตัดคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
หลังการผ่าตัดมีโอกาสหายขาดสูงถึง 95%
สามารถรักษาริดสีดวงทวารหนักพร้อมกันได้ในการผ่าตัดครั้งเดียว
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ท้องผูกบ่อย เจ็บตอนขับถ่าย หรือมีเลือดออกที่ทวารหนัก เจ็บจนน้ำตาไหลจนไม่อยากเข้าห้องน้ำ คุณอาจเป็นแผลที่ขอบทวาร
- แผลที่ขอบทวารเกิดจากเบ่งอุจจาระแรง ท้องผูก อุจจาระมีก้อนแข็งมาก ติดเชื้อหรือการอักเสบที่ทวารหนัก มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก กล้ามเนื้อหูรูดหดตัวมากเกินไป
- ถ้าปล่อยไว้นานอาจเกิดภาวะฝีคัณฑสูตรแทรกซ้อน
- ถ้าเป็นแผลขอบทวารชนิดเรื้อรัง อาจมีการบวมอักเสบจนกลายเป็นติ่งเนื้อ (Sentinel Pile) ที่ขอบแผลได้
ไม่แน่ใจอาการที่เป็นคืออะไร
รีบทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
การที่กล้ามเนื้อหูรูดทวารบีบรัดตัวและขับถ่ายเป็นประจำทำให้แผลไม่หาย ถ้าเป็นมากหรือเกิดซ้ำๆ ต้องผ่าตัดหูรูดทวารหนักเพื่อขยายกล้ามเนื้อที่บีบรัดหรือหดเกร็งมากเกินจนทำให้แผลหายช้า
- การผ่าตัดจะตัด ตกแต่ง หรือขยายกล้ามเนื้อหูรูดชั้นในให้ระดับความดันของกล้ามเนื้อหูรูดกลับมาบีบตัวและขยายตัวในระดับปกติ
- แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นแผลออก เพื่อให้แผลที่เนื้อเยื่อทวารหนักฟื้นตัวเร็วขึ้น
ไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่ต้องผ่าตัดไหม
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- เจ็บที่ทวารหนักเวลาถ่ายอุจจาระแข็ง และเจ็บแสบมากเมื่อเทียบกับขนาดแผลที่มีขนาดเล็ก อาจเจ็บและแสบหลังจากถ่ายได้อีกเป็น ชม. ถ้าแผลลึก
- มีเลือดออกที่ทวารหนัก เป็นเลือดสดติดกระดาษชำระ บางคนอาจมีเลือดออกมาก
- มีติ่งหรือก้อนที่ขอบทวารหนัก
- แสบๆ คันๆ ที่ทวารหนัก อาจมีกลิ่นผิดปกติ
- ถ้าปวดมากอาจปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออก
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติและตรวจร่างกายบริเวณทวารหนัก โดยแพทย์อาจจะใช้นิ้วสอดเข้าไปในช่องทวารหนักหรือใช้กล้องส่องตรวจ
- ตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาโรคร่วม เช่น ตรวจเลือดหาการติดเชื้อซิฟิลิส เชื้อเอชไอวี
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
- ปรับพฤติกรรมการกินและดื่มน้ำ
- กินยาแก้ภาวะท้องผูก ให้อุจจาระนิ่ม
- แช่ก้นด้วยน้ำอุ่น
- ทายาที่แผลภายนอก
- ฉีดโบทูลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) ที่กล้ามเนื้อหูรูดเพื่อคลายกล้ามเนื้อและทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
การรักษาโดยการผ่าตัด
- ผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก (Lateral Internal Sphincterotomy)
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชั้นใน (Lateral Internal Sphincterotomy) คือ การผ่าตัดเพื่อรักษาบาดแผลตรงตำแหน่งเนื้อเยื่อบุทวารหนัก (Anal Fissure) ผ่านการตัด ตกแต่ง หรือขยายกล้ามเนื้อหูรูดชั้นในส่วนที่มีการบีบตัวหรือหดเกร็งมากเกินไป จนทำให้แผลตรงเนื้อเยื่อหายช้า หรือเกิดการอักเสบลุกลามเป็นแผลเรื้อรัง
หลังการผ่าตัด ระดับความดันของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักจะกลับมาบีบตัวและขยายตัวในระดับปกติอีกครั้ง ส่วนที่มีการบีบตัวมากเกินไปจะเริ่มขยายตัวหรือเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงขึ้นชั่วคราว แผลตรงเนื้อเยื่อจึงจะสมานตัวได้รวดเร็วขึ้น หรือในระหว่างที่กล้ามเนื้อหูรูดอ่อนแรงลงนั้น แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นแผลออกไปเพิ่มโอกาสให้แผลที่เนื้อเยื่อทวารหนักฟื้นตัวเร็วขึ้น
ขั้นตอนการผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชั้นใน
- พยาบาลจัดท่าทางให้คนไข้นอนในท่าที่แพทย์สามารถผ่าตัดที่ทวารหนักได้ถนัด อาจเป็นท่านอนคว่ำและยกสะโพกขึ้น หรือนอนหงายและยกขาสูงบนเตียงขาหยั่ง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสุขภาพที่แพทย์จะประเมินก่อนผ่าตัด
- แพทย์เปิดแผลระหว่างกล้ามเนื้อหูรูดส่วนในและส่วนนอก
- แพทย์ทำการผ่าตัดแต่งกล้ามเนื้อหูรูดภายในส่วนที่หดเกร็งมากเกินไปให้คลายความดันในการบีบตัวลง
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
ถึงแม้จะเป็นการผ่าตัดที่ไม่ต้องพักฟื้นต่อที่โรงพยาบาล แต่คนไข้ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมต่อการผ่าตัดล่วงหน้า ได้แก่
- ตรวจสุขภาพกับแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายพร้อมต่อการเข้าผ่าตัด
- แจ้งโรคประจำตัว ยาประจำตัว วิตามินเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิด และประวัติการแพ้ยาทุกชนิดก่อนผ่าตัด เนื่องจากอาจต้องมีการงดยาบางชนิดก่อนผ่าตัด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- งดยา วิตามินเสริม และสมุนไพรเสริมสุขภาพตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
- งดกินอาหารและงดดื่มน้ำประมาณ 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด หรือตามคำแนะนำของแพทย์ ในคนไข้บางรายอาจยังกินอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ
- งดสูบบุหรี่และงดบริโภคแอลกอฮอล์อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
- พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ร่างกายฟื้นตัวหลังการผ่าตัดเร็วขึ้นและเพื่อลดอาการท้องผูก
- ให้ญาติหรือคนสนิทขับรถมาเป็นเพื่อนในวันผ่าตัดและอยู่รับกลับ เนื่องจากหลังผ่าตัด คนไข้อาจยังมีอาการระบมจากแผลจนขับรถเองไม่ถนัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากผ่าตัด คนไข้ต้องดูแลแผลอย่างระมัดระวัง ร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อเอื้ออำนวยให้แผลการผ่าตัดซึ่งอยู่ด้านในทวารหนักสมานตัวเร็วขึ้น เช่น
- งดขับรถกลับบ้านเองในวันผ่าตัดและตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
- งดทำกิจกรรมที่ทำให้แผลกระทบกระเทือน เช่น ออกกำลังกายหนักๆ ยกของหนัก ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ในคนไข้บางราย แพทย์อาจแนะนำให้ทำงานอยู่กับบ้านในช่วงเวลานี้
- ออกกำลังกายเป็นประจำ หลังจากแพทย์อนุญาตให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
- ดื่มน้ำให้มากๆ และกินอาหารที่มีกากใยและมีไฟเบอร์สูง เพื่อลดโอกาสท้องผูกและอุจจาระแข็ง
- กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ และยาอื่นๆ ตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
- งดเบ่งอุจจาระแรงๆ ในระหว่างที่ถ่ายหนักให้ปล่อยตัวตามสบาย อย่าเบ่งหรือออกแรงดันมาก
- แช่ก้นในน้ำอุ่นหลังเบ่งอุจจาระ เพื่อเพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อหูรูดหลังถ่ายหนัก
- ดูแลสุขอนามัยร่างกายให้สะอาดเสมอ และงดการใช้กระดาษชำระเปียกที่มีส่วนประกอบของน้ำหอมเช็ดในตำแหน่งทวารหนัก เนื่องจากอาจทำให้ระคายเคืองผิวใกล้แผลผ่าตัดได้
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
หลังจากผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชั้นใน คนไข้อาจเผชิญอาการข้างเคียงหลังการผ่าตัดได้ เช่น
- อาการปวดเจ็บแผลผ่าตัด โดยเฉพาะระหว่างขับถ่าย แต่โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งจ่ายยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการให้หลังผ่าตัด
- พบเลือดออกจากแผลผ่าตัดในช่วง 1 สัปดาห์แรก สามารถใช้ทิชชู่สะอาดซับเลือดออกได้
- ความเสี่ยงอื่นๆ (พบได้น้อย) เช่น แผลติดเชื้อ แผลบวมแดง มีเลือดคั่งที่แผลผ่าตัด อาการแพ้ยาชา แพ้ยาสลบ
- กลั้นอุจจาระไม่อยู่ (พบได้น้อย)
- เป็นฝีคัณฑสูตร (พบได้น้อย)
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. วิบูลย์ ชัยยะมงคล (หมอแบน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2536 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2540 ศัลยศาสตร์ กรมการแพทย์ราชวิถี
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ทั่วไปประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 20 ปี
-หัตถการที่ชำนาญ: ผ่าตัดริดสีดวงทวาร ผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อน ผ่าตัดรักษานิ่วถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. บัณฑวิช พลกล้า (หมอปี)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-
-ปี 2553: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ปี 2558: วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
-ปี 2564: วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. วรัญญู จิรามริทธิ์ (หมอเต้ย)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-
-แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลตำรวจ
-วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-
-แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ: การผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง, การส่องกล้องทางเดินอาหาร