ผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบเปิดและคลื่นความถี่สูง RFA
สำหรับริดสีดวงระยะ 2 และ 3 (มีก้อนเนื้อออกมาตอนถ่ายที่กลับเข้าไปได้)
เทคนิค RFA ไม่มีแผลผ่าตัด เจ็บน้อยกว่า หายเร็วกว่า
หมอด้วงเป็นหนึ่งในแพทย์ผู้บุกเบิกเทคนิค RFA ในไทย
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
อย่างแรกที่ต้องรู้… ริดสีดวงคุณระยะอะไร?
https://hd.co.th/system/redactor2assets/images/23513/contentริดสีดวงคุณระยะไหน.png>
- ระยะที่ 1 ริดสีดวงทั้งหมดยังอยู่ในทวารหนัก มีเลือดออกหลังถ่ายอุจจาระ
- ระยะที่ 2 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่ขณะขับถ่ายมีหัวริดสีดวงโผล่ยื่นออกไปนอกทวารหนัก หลังถ่ายแล้วแล้วจึงหดกลับเข้ามาเอง
- ระยะที่ 3 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่ขณะขับถ่ายกลับมีหัวริดสีดวงโผล่ยื่นออกไปนอกทวารหนัก หลังถ่ายแล้วเนื้อเยื่อไม่หดกลับเอง ต้องใช้นิ้วดันกลับถึงจะเข้าได้
- ระยะที่ 4 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่มีหัวริดสีดวงโผล่ออกออกนอกทวารหนักตลอดเวลา และไม่สามารถดันกลับเข้าในทวารหนักอีกต่อไป
ถ้ามีก้อนเนื้อออกมาตอนถ่าย ยังไงก็ต้องผ่า!
- ถ้าเป็นระยะ 3 การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาเดียว
- ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา อาจใช้ชีวิตประจำวันลำบาก เลือดออก อักเสบ เน่า เนื้อตายได้
ไม่แน่ใจว่าผ่าตัดแบบไหนดี ปรึกษา HDcare ก่อนได้!
ผ่าริดสีดวง เบิกประกันได้มั้ย?
- ถ้ามีประกันสุขภาพ ให้ HDcare เช็กความคุ้มครองให้ได้ ทักเราเลย! [คลิกที่นี่]
- ถ้าไม่มีประกันสุขภาพ เลือกผ่อน 0% ด้วยบัตรเครดิตกับ HDcare ได้
รู้จักโรคนี้
ริดสีดวงทวารคืออะไร?
คือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักหรือลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโป่งบวม อาจเกิดเฉพาะภายในรูทวาร หรือยื่นออกไปภายนอกรูทวารก็ได้
โรคริดสีดวง ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้แน่ชัด แต่ส่วนใหญ่เกิดจากแรงกด หรือความดันในช่องท้องหรือช่องปอด เจอบ่อยในคนที่เป็นท้องผูก หรืออุจจาระแข็งครุดผ่านหลอดเลือดดำในทวารหนักบ่อยๆ
ในบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ อาจเป็นริดสีดวงเพราะเนื้อเยื่อหรือหลอดเลือดดำเสื่อมตามอายุ หรือผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ฮอร์โมนเปลี่ยนก็อาจเป็นริดสีดวงได้
ถ้าเป็นริดสีดวงจะรู้สึกเจ็บ ปวด คัน และพบว่ามีเนื้อยื่นออกจากทวารหนักขณะอุจจาระ หรือมีเลือดออกหลังจากอุจจาระ
แม้ว่าริดสีดวงจะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าอาการรุนแรงแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่รักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
อาการของริดสีดวงที่พบบ่อย
- ถ่ายเป็นเลือด โดยเลือดจะมีสีสด
- อาจมีก้อนหรือติ่งเนื้อยื่นออกมาที่ขอบรูทวาร
- มีอาการเจ็บก้น คันที่ก้นหรือก้นแฉะ
- อาจมีไข้ต่ำๆ
- ถ่ายมีมูกปนหนอง หรือน้ำเหลืองมีกลิ่นเหม็น
- ถ้าริดสีดวงยื่นออกมา และถูกรัดด้วยหูรูดทวารหนัก จะทำให้ขาดเลือด ริดสีดวงจะบวมเป็นสีม่วงคล้ำ เจ็บตึง อาจอักเสบทำให้เป็นแผล
ไม่แน่ใจว่าที่เป็นอยู่ใช่ริดสีดวงไหม ติดต่อ HDcare เพื่อประเมินกับแพทย์ได้ [คลิกที่นี่]
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
แพทย์จะซักประวัติ สอบถามอาการ รวมถึงตรวจบริเวณทวารหนัก หากเป็นริดสีดวงภายนอกจะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ถ้าไม่เห็นความผิดปกติ และมีข้อสันนิษฐานว่าจะเป็นริดสีดวงภายใน แพทย์อาจใช้วิธีคลำหาความปกติภายในช่องทวารหนัก
ถ้าพบสัญญาณของโรคทางเดินอาหารอื่นๆ แพทย์อาจใช้อุปกรณ์ส่องกล้องตรวจลำไส้เพิ่มเติม
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
ริดสีดวงทวาร รักษาได้ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด
- รักษาโดยไม่ผ่าตัด ใช้รักษาริดสีดวงทวารระยะที่ 1 และระยะที่ 2 คือขนาดไม่ใหญ่มาก ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การเหน็บยา การฉีดยา การใช้ยางรัด
- รักษาโดยการผ่าตัดริดสีดวง ใช้รักษาริดสีดวงระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นนอกจากผ่าตัด
https://hd.co.th/system/redactor2_assets/images/23513/content_ริดสีดวงคุณระยะไหน.png
ระดับความรุนแรงของริดสีดวงทวาร
- ระยะที่ 1 ริดสีดวงทั้งหมดยังอยู่ในทวารหนัก มีเลือดออกหลังถ่ายอุจจาระ
- ระยะที่ 2 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่ขณะขับถ่ายมีหัวริดสีดวงโผล่ยื่นออกไปนอกทวารหนัก หลังถ่ายแล้วแล้วจึงหดกลับเข้ามาเอง
- ระยะที่ 3 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่ขณะขับถ่ายกลับมีหัวริดสีดวงโผล่ยื่นออกไปนอกทวารหนัก หลังถ่ายแล้วเนื้อเยื่อไม่หดกลับเอง ต้องใช้นิ้วดันกลับถึงจะเข้าได้
- ระยะที่ 4 ขั้วริดสีดวงอยู่ในทวารหนัก แต่มีหัวริดสีดวงโผล่ออกออกนอกทวารหนักตลอดเวลา และไม่สามารถดันกลับเข้าในทวารหนักอีกต่อไป
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA (Radiofrequency Ablation) เป็นวิธีรักษาโรคริดสีดวงระยะที่ 2-3 ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยแพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กประมาณ 2 มม. ปล่อยคลื่นความถี่ RFA เข้าไปทำให้เกิดพลังงานความร้อน เพื่อทำลายเส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวริดสีดวง ทำให้หัวริดสีดวงฝ่อและยุบตัวลงได้โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดแผล
ข้อดีของการผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA
- เจ็บปวดน้อยกว่า ฟื้นตัวได้ไวกว่า กลับไปทำงานได้เร็วกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีปกติ
- ไม่มีแผลผ่าตัด มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือการติดเชื้อได้น้อยกว่า
- ไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหูรูด ไม่ทำให้เกิดภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรือภาวะรูทวารตีบจากเยื่อพังผืด
ขั้นตอนผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกให้กับผู้ป่วย สามารถเลือกได้ระหว่างบล็อกหลัง และดมยาสลบ
- ใช้อุปกรณ์เปิดให้เห็นริดสีดวงชัดเจน แล้วใช้เข็มขนาดเล็กจิ้มไปที่หัวริดสีดวงเพื่อปล่อยคลื่นความถี่สูงเข้าไปทำลายเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง หัวริดสีดวงจะยุบตัวและฝ่อตัวลงในประมาณ 2 สัปดาห์
ผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA ไม่จำเป็นต้องนอนค้างที่ รพ. โดยการผ่าตัดในรูปแบบไม่นอนค้างจะเป็นการผ่าตัดภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ ไม่มีการใช้ยาสลบ หลังจากที่ผ่าตัดเสร็จสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้เลย
โดยการผ่าตัดในรูปแบบไม่นอนค้างป็นการผ่าตัดภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ ไม่มีการใช้ยาสลบ หลังจากที่ผ่าตัดเสร็จ ผู้เข้ารับบริการสามารถเดินทางกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้เลย
ข้อดีของการผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA แบบไม่นอนค้าง
- ไม่ต้องดน้ำและงดอาหารล่วงหน้า
- ประหยัดเวลาในการรักษามากกว่า หลังผ่าตัดก็กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้เลย
- ระยะเวลาผ่าตัดสั้น แค่ 15-20 นาทีก็เสร็จ
- โอกาสเจ็บแผลน้อย ไม่ต่างจากวิธีการวางยาสลบ
เลือกได้อย่างไรว่าจะผ่าตัดแบบนอนค้างหรือไม่นอนค้าง?
แพทย์จะผู้ประเมินรูปแบบการผ่าตัดที่เหมาะกับคนไข้แต่ละราย ส่วนใหญ่การผ่าตัดแบบนอนค้างจะนิยมทำในผู้สูงอายุ ผู้มีที่โรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงจะเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด จึงให้นอนค้างเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
ถ้าคนไข้ไม่สามารถดมยาสลบได้ แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดแบบไม่นอนค้าง โดยใช้เป็นยาชาเฉพาะจุด
ผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA เหมาะกับริดสีดวงระยะไหน?
ผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA เหมาะกับริดสีดวงระยะเริ่มต้น หรือระยะ 2-3 มากที่สุด แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงวิธีรักษาที่เหมาะกับระยะของโรคริดสีดวงในผู้ป่วยแต่ละคนด้วยตัวเอง
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA
- เหมาะสำหรับรักษาริดสีดวง ระยะที่ 2-3
- ใช้เข็มขนาดเล็กจิ้มไปที่หัวริดสีดวงเพื่อปล่อยคลื่นความถี่สูง RFA เข้าไปทำลายเส้นเลือดที่มาเลี้ยง ทำให้หัวริดสีดวงค่อยๆ ฝ่อตัวลงไปเอง
- เจ็บปวดน้อยกว่า ฟื้นตัวได้ไวกว่า กลับไปทำงานได้เร็วกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีปกติ
- ไม่มีแผลผ่าตัด มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือการติดเชื้อได้น้อยกว่า
- ไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหูรูด ไม่ทำให้เกิดภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรือภาวะรูทวารตีบจากเยื่อพังผืด
ผ่าตัดริดสีดวงแบบจี้ไฟฟ้า
- เหมาะสำหรับรักษาริดสีดวง ระยะที่ 3-4
- ใช้อุปกรณ์ Harmonic Scalpel หรือ Ligasure ตัดริดสีดวงออกพร้อมปิดแผลได้เลยในครั้งเดียว
- เสียเลือดและเจ็บหลังผ่าตัดน้อย โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัดแบบธรรมดา
- เจ็บปวดน้อยกว่า ฟื้นตัวได้ไวกว่า กลับไปทำงานได้เร็วกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีปกติ
ผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบเปิด
- ผ่าตัดรักษาริดสีดวงได้ทุกรูปแบบ ทุกระยะ ทั้งริดสีดวงภายในและภายนอก
- ตัดริดสีดวงออกโดยตรง แล้วเย็บปิดแผล
- โอกาศกลับมาเป็นซ้ำได้น้อยกว่าวิธีอื่น
- ใช้ระยะเวลาพักฟื้นประมาณ 2-3 สัปดาห์
ผ่าตัดริดสีดวงด้วยเลเซอร์
- เหมาะสำหรับรักษาโรคริดสีดวงภายใน ระยะที่ 2 และ 3
- ปล่อยพลังงานไปทำลายเส้นเลือดที่เลี้ยงริดสีดวง ทำให้หัวริดสีดวงฝ่อและยุบตัว
- แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ประมาณ 2-3 มม. ไม่ต้องเย็บแผลหลังผ่าตัด
- พักฟื้นไว ไม่กระทบกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก
*แพ็กเกจนี้เป็นการผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA โดยเลือกแบบนอนหรือไม่นอนค้างก็ได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดริดสีดวง
- แจ้งยาประจำตัวเพื่อให้แพทย์ตรวจเช็กรายการยาที่ต้องดก่อนผ่าตัด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด
- ถ้าผ่าตัดแบบดมยาสลบ จะต้องงดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- สวนรูทวารให้สะอาดตามคำแนะนำของแพทย์ก่อนผ่าตัด เพื่อไม่ให้มีอุจจาระค้างก่อนผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA ต้องพักฟื้นประมาณกี่วัน?
- ผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA แบบนอน รพ. แพทย์จะให้พักฟื้นและตรวจดูอาการ 1-2 คืน จากนั้นกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
- ผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA แบบไม่นอน รพ. สามารถกลับไปพักฟื้นที่ต่อบ้านได้เลย
- โดยส่วนใหญ่แพทย์แนะนำให้พักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 3-4 วัน จากนั้นก็กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
หลังผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ กินยาให้ครบ โดยแพทย์มักจ่ายยาระบายหรือยาที่มีฤทธิ์ทำให้อุจจาระอ่อนเพื่อให้ไม่มีปัญหาการขับถ่ายในช่วงหลังผ่าตัดใหม่ๆ
- ระมัดระวังเรื่องการกินที่จะมีผลต่อการขับถ่าย
- ควรกินอาหารที่มีกากใยสูง และดื่มน้ำมากๆ
- ปรับพฤติกรรม ไม่นั่งห้องน้ำนานเกินจำเป็น
- พยายามไม่เบ่งอุจจาระแรงๆ
- งดมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ให้แผลหายสนิทเสียก่อน
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดริดสีดวง ด้วยคลื่นความถี่สูง RFA อาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- มีเลือดออกจากแผลตั้งแต่หลังผ่าตัดจนถึงประมาณวันที่ 10
- อาจมีน้ำเหลืองซึมที่ขอบทวาร (กรณีไม่ได้เย็บแผล)
- ปัสสาวะลำบาก ทำให้อาจต้องสวนปัสสาวะ
- ถ่ายอุจจาระไม่ออกในช่วงแรก ทำให้อาจต้องสวนทวาร
หากมีอาการเหล่านี้ควรกลับมาพบแพทย์ทันที
- มีเลือดออกมาก หรือเกินวันที่ 10 นับจากวันผ่าตัด
- แผลมีอาการบวม แดง
- เจ็บแผลมากและอาการไม่ดีขึ้น
- มีหนองหรือน้ำเหลืองไหลออกจากแผลมากผิดปกติ
- มีไข้สูง
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
ผศ.นพ. ปุณวัฒน์ จันทรจํานง (หมอด้วง)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- วุฒิบัตร ศัลยศาตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- ประกาศนียบัตร การผ่าตัดส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักขั้นสูง ประเทศญี่ปุ่น
- ประกาศนียบัตร เทคนิคการผ่าตัดริดสีดวงด้วยคลื่นความถี่สูง (RFA) ประเทศเยอรมัน
- ประกาศนียบัตร ศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ประเทศเกาหลี
- ประกาศนียบัตร การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ ประเทศเกาหลี
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ชำนาญการเรื่องการผ่าตัดส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักขั้นสูง
- เป็นผู้บุกเบิกการผ่าตัดริดสีดวงโดยใช้ Technique RFA