ผ่าตัดใส่สายฟอกเลือดกึ่งถาวรที่คอเพื่อฟอกไต (Perm Cath)
เหมาะกับคนที่ทำเส้นฟอกไตที่แขนไม่ได้
ทำเส้นฟอกไตโดยคุณหมอศัลยกรรมหลอดเลือด
หลังทำเส้นฟอกไตเสร็จ ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องรอ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ถ้าต้องฟอกไต ควรเลือกเทคนิคการใส่สายฟอกเลือดที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด
- เส้นเลือดฟอกไต โดยใช้เส้นเลือดจริง (AVF) เปิดแผลเดียว (ข้อมือหรือข้อศอก) ขนาดแผลประมาณ 3 ซม. ต้องรอประมาณ 1-6 เดือนถึงใช้งานได้ และมีอายุการใช้งานถึง 10 ปี ขึ้นกับการดูแลในแต่ละคน
- เส้นเลือดฟอกไต โดยใช้เส้นเลือดปลอม (AVG) เปิด 2 แผลคือ ที่ข้อศอกและที่รักแร้ เส้นเลือดเทียมจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับเครื่องฟอกไต คนไข้ไม่ต้องเชื่อมกับเส้นเลือดจริง รอแค่ 2-3 สัปดาห์ก็ใช้งานได้เลย มีอายุการใช้งานสั้นกว่าเส้นฟอกไตแบบใช้เส้นเลือดจริง คืออยู่ที่ประมาณ 1-3 ปี
- สายฟอกเลือดกึ่งถาวรที่คอ (Perm Cath) เปิด 2 แผลคือ ที่คอและที่หน้าอกใช้สำหรับคนไข้ทำเส้นฟอกไตที่แขนไม่ได้เท่านั้น ใส่แล้วใช้งานได้ทันที และมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มมีการอุดตัน (ขึ้นกับแต่ละคน)
ไม่ว่าจะฟอกไตแบบไหน แพทย์จาก HDcare ก็พร้อมดูแล
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักโรคนี้
โรคไตเรื้อรัง คือภาวะที่ไตทำหน้าที่ได้น้อยลง วัดจากการกรองของเสียเกิน 3 เดือนขึ้นไป ทำให้ร่างกายมีของเสียตกค้าง ความดันโลหิตสูง สมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกายได้รับผลกระทบ
โรคไตเรื้อรังแบ่งเป็น 5 ระยะ
- ระยะแรก ไตยังกรองของเสียได้ แต่เริ่มมีภาวะไตผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ต้องงดสูบบุหรี่ รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไต โรคไตเรื้อรัง
- ระยะที่ 2 ไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น ไตทำงานแค่ 60-90% ต้องจำกัดความเค็ม
- ระยะที่ 3 ไตเรื้อรังระยะปานกลาง ไตทำงานแค่ 30-60% ต้องจำกัดอาหารโปรตีน
- ระยะที่ 4 ไตเรื้อรังรุนแรง ไตทำงานแค่ 15-30% ต้องจำกัดการกินผลไม้
- ระยะที่ 5 ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไตทำงานน้อยกว่า 15% จำเป็นต้องรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ซึ่งวิธีที่ทำกันมากที่สุดคือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือที่เรียกกันว่า “ฟอกไต”
การฟอกไต คือ การใช้เครื่องไตเทียมกรองของเสียจากเลือด แล้วให้เลือดไหลกลับสู่ร่างกายคนไข้ทางหลอดเลือดแดง
ก่อนใช้เครื่องไตเทียม จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดทำเส้นฟอกไตเพื่อเป็นทางให้เลือดไหลเข้า-ออกเครื่องไตเทียม เทคนิคหลักที่ใช้ทำเส้นฟอกไต คือทำที่แขน โดยใช้เส้นเลือดของตัวคนไข้เอง รองลงมาเป็นการทำเส้นฟอกไตโดยใช้เส้นเลือดเทียม
คนไข้ทำเส้นฟอกไตที่แขนไม่ได้ แพทย์จะทำเส้นฟอกไตบริเวณใกล้ไหปลาร้า เรียกว่าเส้นฟอกไตกึ่งถาวร (Permcath Catheter Insertion) ซึ่งจะมีอุปกรณ์ลักษณะเป็นท่อสอดเข้าเส้นเลือดดำที่คอ และเชื่อมเข้ากับเครื่องไตเทียมได้เลย
สัญญาณที่ต้องตรวจ
สัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจเป็นโรคไต หรือไตมีความผิดปกติ ได้แก่
- ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
- ความดันโลหิตสูง
- มีอาการบวมตามร่างกาย
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
วิธีการตรวจโรคไต
- ตรวจซักประวัติโดยแพทย์ เพื่อสอบถามอาการผู้ที่สงสัยว่าตัวเองอาจเป็นโรคไต
- ตรวจเลือด เพื่อดูอัตราการกรองของเสียที่ไต
- ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ถ้ามีภาวะโปรตีนรั่วจะบ่งบอกถึงการทำงานของไตที่ผิดปกติ
- ตรวจอัลราซาวด์ช่องท้อง เพื่อดูลักษณะของไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) เป็นหนึ่งในวิธีรักษาโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้หมด โดยจะนำเลือดออกจากทาง “เส้นฟอกเลือด” ที่แขน หรือคอ ผ่านเข้าเครื่องไตเทียมไปยังตัวกรองเพื่อขจัดของเสียและน้ำส่วนเกินที่คั่งอยู่ในร่างกาย
คนไข้ไตวายเรื้อรังมักต้องฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมสม่ำเสมอ สัปดาห์ละประมาณ 3 ครั้ง การที่ต้องใช้เข็มเปิดเส้นเลือดอยู่เรื่อยๆ เส้นเลือดจะพยายามสมานแผลตัวเอง พอทำซ้ำๆ จะเกิดการตีบตันที่เส้นเลือด ทำให้เลือดไหลออกเข้าสู่เครื่องไตเทียมได้น้อยลง การกำจัดของเสียออกจากเลือดก็มีประสิทธิภาพน้อยลง
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเส้นเลือดฟอกไตตีบ เช่น ติดเชื้อ เส้นเลือดเสื่อมสภาพ
ทางให้เลือดเข้าออกดังกล่าวเรียกว่า เส้นเลือดฟอกไตหรือเส้นฟอกไต ทำได้ 3 เทคนิค ได้แก่
1. AVF (Arteriovenous Fistula)
เป็นการผ่าตัดเส้นเลือดของคนไข้แล้วเชื่อมหลอดเลือดแดงเข้ากับหลอดเลือดดำ จะทำให้ได้หลอดเลือดที่แข็งแรง หนา และใหญ่ สำหรับเปิดเชื่อมกับเครื่องฟอกไต
ตามปกติแล้วการทำเส้นเลือดฟอกไตแบบ AVF จะมีภาวะแทรกซ้อนต่ำ โอกาสติดเชื้อน้อย มีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ซึ่งถือว่ายาวนานกว่าเส้นเลือดฟอกไตแบบอื่น
2. AVG (Arteriovenous Bridge Graft)
เป็นการเชื่อมเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำด้วยเส้นเลือดเทียม ข้อดีคือตัวเส้นเลือดเทียมนี้จะเป็นส่วนที่เชื่อมกับเครื่องฟอกไต คนไข้ไม่ต้องเชื่อมกับเส้นเลือดจริง
แต่การทำเส้นเลือดฟอกไตด้วยเส้นเลือดเทียมมีราคาสูง มีโอกาสติดเชื้อสูง และมีอายุการใช้งานสั้นกว่าเส้นฟอกไตแบบใช้เส้นเลือดจริง คืออยู่ที่ประมาณ 2 ปี
3. ผ่าตัดใส่สายฟอกเลือดกึ่งถาวรที่คอเพื่อฟอกไต (Perm Cath)
สำหรับคนไข้ทำเส้นฟอกไตที่แขนไม่ได้ แพทย์จะทำเส้นฟอกไตบริเวณใกล้ไหปลาร้า เรียกว่า เส้นฟอกไตกึ่งถาวร ซึ่งจะมีอุปกรณ์ลักษณะเป็นท่อสอดเข้าเส้นเลือดดำที่คอ และเชื่อมเข้ากับเครื่องไตเทียมได้เลย
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
หากคุณเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นต้นไป แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการผ่าตัดเส้นฟอกเลือดตั้งแต่เนิ่นๆ
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดใส่สายฟอกเลือดกึ่งถาวรที่คอเพื่อฟอกไต ชื่อภาษาอังกฤษ Permanent Catheter Insertion หรือ Perm Cath จะทำในผู้ที่ผ่าตัดเส้นฟอกไตที่แขนไม่ได้ โดยจะเปลี่ยนมาทำเส้นฟอกไตบริเวณไหปลาร้า หรือบางกรณีอาจทำที่หน้าอกหรือที่คอ
ขั้นตอนการผ่าตัดใส่สายฟอกเลือดกึ่งถาวรที่คอเพื่อฟอกไต (Perm Cath)
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยยาชา
- แพทย์เปิดแผลขนาด 1 ซม. เพื่อใส่ท่อ และลวดนำการผ่าตัด โดยจะทำร่วมกับการอัลตราซาวด์เพื่อดูตำแหน่งที่ถูกต้อง
- การใส่สายฟอกไตจะอ้อมขึ้นไปด้านบนผ่านผิวหนัง แล้วค่อยวนกลับเข้าหลอดเลือดที่คอ (จากจุด A ไปจุด B) เพื่อให้เชื้อโรคที่อาจอยู่ที่ผิวหนัง มีโอกาสผ่านเข้าไปถึงหลอดเลือดได้น้อยลง
- สายฟอกไตยาวประมาณ 10 ซม. ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งจะอยู่นอกร่างกาย โดยสายฟอกไตใต้ผิวหนังจะมีกระเปาะเล็กๆ หุ้มอยู่ เมื่อเวลาผ่านไป ร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อเข้ามาหุ้มจนกลายเป็นส่วนป้องกันเชื้อโรค และช่วยยึดสายฟอกไตให้อยู่ในตำแหน่งเดิมแน่นขึ้น
- หลังผ่าตัดแพทย์จะเย็บปิดแผล แล้วปิดผ้าปิดแผลเพื่อรักษาความสะอาด และเอกซเรย์ช่องอกเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าการผ่าตัดเป็นไปอย่างเรียบร้อย ถ้าไม่มีอาการผิดปกติแทรกซ้อนใดๆ แพทย์จะให้คนไข้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน
- สายฟอกไตนี้สามารถใช้ได้เลยหลังผ่าตัดเสร็จ
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต โดยใช้เส้นเลือดจริง AVF (Arteriovenous Fistula)
- ผ่าตัดเพื่อเชื่อมหลอดเลือดแดงเข้ากับหลอดเลือดดำ จะทำให้ได้หลอดเลือดที่แข็งแรง หนา และใหญ่ สำหรับเปิดเชื่อมกับเครื่องฟอกไต
- เปิดแผลเดียว (ข้อมือหรือข้อศอก) ขนาดแผลประมาณ 3 ซม.
- ภาวะแทรกซ้อนต่ำเพราะไม่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย โอกาสติดเชื้อน้อย
- ต้องรอประมาณ 1-6 เดือนถึงใช้งานได้ และมีอายุการใช้งานถึง 10 ปี ขึ้นกับการดูแลในแต่ละคน
- ดูรายละเอียดผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต โดยใช้เส้นเลือดจริงที่นี่
ผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต โดยใช้เส้นเลือดปลอม AVG (Arteriovenous Bridge Graft)
- ผ่าตัดเพื่อเชื่อมเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำด้วยเส้นเลือดปลอมหรือเส้นเลือดเทียม
- เปิด 2 แผลคือ ที่ข้อศอกประมาณ 2 ซม. และที่รักแร้ประมาณ 3 ซม.
- เส้นเลือดเทียมจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับเครื่องฟอกไต คนไข้ไม่ต้องเชื่อมกับเส้นเลือดจริง
- รอแค่ 2-3 สัปดาห์ก็ใช้งานได้เลย
- มีอายุการใช้งานสั้นกว่าเส้นฟอกไตแบบใช้เส้นเลือดจริง คืออยู่ที่ประมาณ 1-3 ปี
- ดูรายละเอียดผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต โดยใช้เส้นเลือดปลอม
ผ่าตัดใส่สายฟอกเลือดกึ่งถาวรที่คอเพื่อฟอกไต (Perm Cath)
- ผ่าตัดทำเส้นฟอกไตใกล้ไหปลาร้า ต่อท่อสอดเข้าเส้นเลือดดำที่คอและเชื่อมกับเครื่องไตเทียมได้เลย
- เปิด 2 แผลคือ ที่คอประมาณ 1 ซม. และที่หน้าอกประมาณ 1-2 ซม.
- ใช้สำหรับคนไข้ทำเส้นฟอกไตที่แขนไม่ได้เท่านั้น
- ใส่แล้วใช้งานได้ทันที และมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มมีการอุดตัน (ขึ้นกับแต่ละคน)
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะมาใช้ก่อนผ่าตัด เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ
การดูแลหลังผ่าตัด
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้แน่ใจว่าแผลสะอาด และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
- งดอาบน้ำหรือให้แผลโดนน้ำในวันแรกหลังผ่าตัด
- เปลี่ยนผ้าปิดแผลเมื่อพบว่ามีเลือดซึมออกมาจนเต็มแล้ว โดยต้องทำความสะอาดแผลทุกครั้งก่อนใช้ผ้าปิดแผลผืนใหม่
- ระมัดระวังอย่าให้สายฟอกไตขยับออกจากดำแหน่งเดิม
- ถ้าสายฟอกไตหลุด ให้กดผิวหนังบริเวณที่ใส่สายฟอกไตให้แน่นด้วยมือหรือผ้าขนหนูที่สะอาด และติดต่อแพทย์หรือห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล
อาการที่อาจบอกว่าการผ่าตัดเกิดปัญหา หรือมีการติดเชื้อ ดังนี้
- มีไข้ หนาวสั่น
- สายฟอกไส้เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมหรือหลุดออกจากช่องอก
- มีเลือดหรือของเหลวไหลออกจากแผลผ่าตัดต่อเนื่องเกิน 20 นาที
- สายฟอกไตแตกหรือรั่ว
หากพบอาการผิดปกติ ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
โดยทั่วไปการผ่าตัดใส่สายฟอกไตชนิดกึ่งถาวรค่อนข้างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม เป็นธรรมดาของการผ่าตัดที่อาจมีความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงขึ้นได้ เช่น
ผ่าตัดใส่สายฟอกเลือดกึ่งถาวรที่คอเพื่อฟอกไต (Perm Cath) อาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้ได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย
- ระหว่างผ่าตัด มีความเสี่ยงที่สายฟอกไตจะทิ่มทะลุปอด แต่โอกาสเกิดน้อย
- เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาท
- การเต้นของหัวใจถูกรบกวน
- รู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่ผ่าตัดในช่วง 2-3 วันแรก
- มีเลือดออกจากแผลผ่าตัด
- สายฟอกไตเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม
- สายฟอกไตทำให้เกิดเลือดออกในอวัยวะภายใน
- เกิดการติดเชื้อ
- เกิดลิ่มเลือด
หากพบอาการผิดปกติ ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. วัชระ อัครชลานนท์ (หมอตี๋)
แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์หลอดเลือดหรือ "หมอเส้นเลือด"
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศัลยศาสตร์ทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด
ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
นพ. ชินะภูมิ วุฒิวณิชย์ (หมอบอส)
ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก เกียรตินิยมอันดับ 1 จุฬา
ข้อมูลของแพทย์
-2558 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 1)
-2564 วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ชินะภัทร์ วุฒิวณิชย์ (หมอเบส)
คุณหมอเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด (หรือที่เรียกว่า หมอเส้นเลือด) เกียรตินิยมอันดับ 1 มหิดล
ข้อมูลของแพทย์
-2558 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (เกียรตินิยมอันดับ 1)
-2563 วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด