ผ่าตัดทำเส้นฟอกไต ชนิดเส้นเลือดเทียม
การทำเส้นฟอกไตจะช่วยให้คุณฟอกไตได้สะดวก ลดความเจ็บ และลดความเสี่ยงต่างๆ ได้
ทำเส้นฟอกไตโดยคุณหมอศัลยกรรมหลอดเลือด
หลังทำก็ใช้งานได้ภายใน 2-3 สัปดาห์
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ผู้ที่เป็นไตวายเรื้อรังและต้องฟอกเลือดล้างไตตลอดชีวิตจะต้องทำเส้นฟอกไต ซึ่งจะช่วยนำเลือดออกจากร่างกายไปฟอกที่เครื่องไตเทียม เพื่อล้างของเสียแทนไตเดิม
การทำเส้นฟอกไตจะช่วยให้ฟอกไตได้สะดวกขึ้น ไม่ต้องมีสายคาอยู่ที่คอหรือขาเวลาล้างไต ลดอาการเจ็บแผล ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และลดความเสี่ยงเส้นเลือดดำที่คอและช่องอกตีบตันอีกด้วย
ทำเส้นฟอกไตกับคุณหมอศัลยกรรมหลอดเลือดของ HDcare
คุณหมอจะเลือกทำเส้นฟอกไตแบบใช้เส้นเลือดจริง (AVF, Arteriovenous Fistula) ก่อน เพราะเป็นวิธีที่นอกจากจะใช้งานได้นานที่สุดประมาณ 4-5 ปีแล้ว ยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและติดเชื้อน้อยที่สุดอีกด้วย
ถ้าเส้นเลือดของคุณทำเส้นฟอกไตแบบใช้เส้นเลือดจริงไม่ได้ แพทย์จึงจะทำเส้นฟอกไตแบบใช้เส้นเลือดเทียม (AVG, Arteriovenous Graft) ที่มีอายุการใช้งานสั้นกว่าเฉลี่ยประมาณ 2 ปีและมีราคาสูงกว่า
คุณเหมาะกับแบบไหน? ปรึกษาคุณหมอ HDcare วันนี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย
ผ่าตัดเล็ก แป๊บเดียวก็เสร็จ
คุณหมอจะผ่าตัดทำเส้นฟอกไตบริเวณข้อมือหรือข้อพับข้างที่ไม่ถนัด โดยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง คุณจะได้ยาชาลดอาการปวดและสามารถกลับบ้านได้เลยหลังผ่าตัด ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
คำถามที่พบบ่อย
หลังผ่าตัดเส้นฟอกเลือดที่แขนชนิดเส้นเลือดจริงแล้ว สามารถออกกำลังกายได้ไหม?
สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ เช่น การเดิน การวิ่ง หรือการออกกำลังกายแบบแรงต้าน (Resistance Training) แต่ไม่แนะนำให้เล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทก ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล รวมไปถึงการว่ายน้ำด้วย และไม่ควรออกกำลังกายหลังฟอกเลือดเสร็จทันที เพราะจะเป็นตะคริวได้ง่ายกว่าปกติ
สาเหตุที่ทำให้เส้นฟอกเลือดดับ ไม่สามารถใช้งานได้ มีอะไรบ้าง?
สาเหตุที่ทำให้เส้นฟอกเลือดดับ ได้แก่ เส้นฟอกเลือดหมดอายุ หรือเสื่อมสภาพ มีการติดเชื้อรุนแรง หรือมีการอุดตันจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การบาดเจ็บของเส้นฟอกเลือดจากการแทงเข็ม ผลข้างเคียงของภาวะความดันต่ำ หรือได้รับการวัดความดันในข้างที่ทำเส้นฟอกเลือด
เส้นฟอกเลือดที่แขนชนิดเส้นเลือดจริง อายุการใช้งานเท่าไหร่?
เส้นฟอกเลือดที่แขนชนิดเส้นเลือดจริง จะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 4-5 ปี แต่ในคนที่ดูแลเส้นฟอกเลือดของตนเองเป็นอย่างดี อาจมีอายุการใช้งานได้นานหลาย 10 ปี
ทำไมถึงควรรีบทำเส้นฟอกเลือดที่แขน?
หลังจากที่ทำเส้นฟอกเลือดที่แขนเสร็จแล้ว จะต้องใช้ระยะเวลารอให้เส้นฟอกเลือดมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะใช้งานได้ ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลารออย่างน้อย 6 สัปดาห์ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้รอประมาณ 3 เดือนเป็นอย่างต่ำ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าเส้นฟอกเลือดเติบโตอย่างเต็มที่ มีความแข็งแรง ทนทาน และแตกยาก ทำให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน
สัญญาณที่ต้องตรวจ
สัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจเป็นโรคไต หรือไตมีความผิดปกติ ได้แก่
- ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
- ความดันโลหิตสูง
- มีอาการบวมตามร่างกาย
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
วิธีการตรวจโรคไต
- ตรวจซักประวัติโดยแพทย์ เพื่อสอบถามอาการผู้ที่สงสัยว่าตัวเองอาจเป็นโรคไต
- ตรวจเลือด เพื่อดูอัตราการกรองของเสียที่ไต
- ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ถ้ามีภาวะโปรตีนรั่วจะบ่งบอกถึงการทำงานของไตที่ผิดปกติ
- ตรวจอัลราซาวด์ช่องท้อง เพื่อดูลักษณะของไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) เป็นหนึ่งในวิธีรักษาโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้หมด โดยจะนำเลือดออกจากทาง “เส้นฟอกเลือด” ที่แขน หรือคอ ผ่านเข้าเครื่องไตเทียมไปยังตัวกรองเพื่อขจัดของเสียและน้ำส่วนเกินที่คั่งอยู่ในร่างกาย
คนไข้ไตวายเรื้อรังมักต้องฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมสม่ำเสมอ สัปดาห์ละประมาณ 3 ครั้ง การที่ต้องใช้เข็มเปิดเส้นเลือดอยู่เรื่อยๆ เส้นเลือดจะพยายามสมานแผลตัวเอง พอทำซ้ำๆ จะเกิดการตีบตันที่เส้นเลือด ทำให้เลือดไหลออกเข้าสู่เครื่องไตเทียมได้น้อยลง การกำจัดของเสียออกจากเลือดก็มีประสิทธิภาพน้อยลง
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเส้นเลือดฟอกไตตีบ เช่น ติดเชื้อ เส้นเลือดเสื่อมสภาพ
ทางให้เลือดเข้าออกดังกล่าวเรียกว่า เส้นเลือดฟอกไตหรือเส้นฟอกไต ทำได้ 3 เทคนิค ได้แก่
1. AVF (Arteriovenous Fistula)
เป็นการผ่าตัดเส้นเลือดของคนไข้แล้วเชื่อมหลอดเลือดแดงเข้ากับหลอดเลือดดำ จะทำให้ได้หลอดเลือดที่แข็งแรง หนา และใหญ่ สำหรับเปิดเชื่อมกับเครื่องฟอกไต
ตามปกติแล้วการทำเส้นเลือดฟอกไตแบบ AVF จะมีภาวะแทรกซ้อนต่ำ โอกาสติดเชื้อน้อย มีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ซึ่งถือว่ายาวนานกว่าเส้นเลือดฟอกไตแบบอื่น
2. AVG (Arteriovenous Bridge Graft)
เป็นการเชื่อมเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำด้วยเส้นเลือดเทียม ข้อดีคือตัวเส้นเลือดเทียมนี้จะเป็นส่วนที่เชื่อมกับเครื่องฟอกไต คนไข้ไม่ต้องเชื่อมกับเส้นเลือดจริง
แต่การทำเส้นเลือดฟอกไตด้วยเส้นเลือดเทียมมีราคาสูง มีโอกาสติดเชื้อสูง และมีอายุการใช้งานสั้นกว่าเส้นฟอกไตแบบใช้เส้นเลือดจริง คืออยู่ที่ประมาณ 2 ปี
3. ผ่าตัดใส่สายฟอกเลือดกึ่งถาวรที่คอเพื่อฟอกไต (Perm Cath)
สำหรับคนไข้ทำเส้นฟอกไตที่แขนไม่ได้ แพทย์จะทำเส้นฟอกไตบริเวณใกล้ไหปลาร้า เรียกว่า เส้นฟอกไตกึ่งถาวร ซึ่งจะมีอุปกรณ์ลักษณะเป็นท่อสอดเข้าเส้นเลือดดำที่คอ และเชื่อมเข้ากับเครื่องไตเทียมได้เลย
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
หากคุณเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นต้นไป แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการผ่าตัดเส้นฟอกเลือดตั้งแต่เนิ่นๆ
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต โดยใช้เส้นเลือดปลอม หรือ AVG (Arteriovenous Bridge Graft) คือ การผ่าตัดเปิดแผลขนาดเล็กที่แขนเพื่อหาหลอดเลือดแดงและดำ จากนั้นจะทำการเชื่อมต่อกันระหว่างเส้นเลือดทั้งสองเข้ากับหลอดเลือดปลอมหรือหลอดเลือดเทียม และใช้เป็นเส้นทางในการนำเลือดเข้าสู่เครื่องไตเทียม
สำหรับการผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต โดยใช้เส้นเลือดปลอม หลังทำแล้วจะใช้งานได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1-3 ปี ขึ้นกับการดูแลในแต่ละบุคคล
ขั้นตอนผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต โดยใช้เส้นเลือดปลอม (AVG)
- ทำความสะอาดแขนข้างที่จะผ่าตัด และระงับความรู้สึกด้วยยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลขนาดเล็กที่ข้อศอกประมาณ 2 ซม. และที่รักแร้ประมาณ 3 ซม. เพื่อเชื่อมหลอดเลือดดำและแดงเข้ากับหลอดเลือดปลอม
- หลังการผ่าตัด แพทย์จะให้ไปนอนพักที่ห้องพักฟื้น ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ แพทย์อาจให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้เลย
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต โดยใช้เส้นเลือดจริง AVF (Arteriovenous Fistula)
- ผ่าตัดเพื่อเชื่อมหลอดเลือดแดงเข้ากับหลอดเลือดดำ จะทำให้ได้หลอดเลือดที่แข็งแรง หนา และใหญ่ สำหรับเปิดเชื่อมกับเครื่องฟอกไต
- เปิดแผลเดียว (ข้อมือหรือข้อศอก) ขนาดแผลประมาณ 3 ซม.
- ภาวะแทรกซ้อนต่ำเพราะไม่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย โอกาสติดเชื้อน้อย
- ต้องรอประมาณ 1-6 เดือนถึงใช้งานได้ และมีอายุการใช้งานถึง 10 ปี ขึ้นกับการดูแลในแต่ละคน
- ดูรายละเอียดผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต โดยใช้เส้นเลือดจริงที่นี่
ผ่าตัดเส้นฟอกเลือดล้างไต โดยใช้เส้นเลือดปลอม AVG (Arteriovenous Bridge Graft)
- ผ่าตัดเพื่อเชื่อมเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำด้วยเส้นเลือดปลอมหรือเส้นเลือดเทียม
- เปิด 2 แผลคือ ที่ข้อศอกประมาณ 2 ซม. และที่รักแร้ประมาณ 3 ซม.
- เส้นเลือดเทียมจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับเครื่องฟอกไต คนไข้ไม่ต้องเชื่อมกับเส้นเลือดจริง
- รอแค่ 2-3 สัปดาห์ก็ใช้งานได้เลย
- มีอายุการใช้งานสั้นกว่าเส้นฟอกไตแบบใช้เส้นเลือดจริง คืออยู่ที่ประมาณ 1-3 ปี
ผ่าตัดใส่สายฟอกเลือดกึ่งถาวรที่คอเพื่อฟอกไต (Perm Cath)
- ผ่าตัดทำเส้นฟอกไตใกล้ไหปลาร้า ต่อท่อสอดเข้าเส้นเลือดดำที่คอและเชื่อมกับเครื่องไตเทียมได้เลย
- เปิด 2 แผลคือ ที่คอประมาณ 1 ซม. และที่หน้าอกประมาณ 1-2 ซม.
- ใช้สำหรับคนไข้ทำเส้นฟอกไตที่แขนไม่ได้เท่านั้น
- ใส่แล้วใช้งานได้ทันที และมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มมีการอุดตัน (ขึ้นกับแต่ละคน)
- ดูรายละเอียดผ่าตัดใส่สายฟอกเลือดกึ่งถาวรที่คอเพื่อฟอกไตที่นี่
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- เข้ารับการตรวจร่างกายและตรวจอัลตราซาวด์เพื่อประเมินความพร้อมของหลอดเลือด
- ดูแลรักษาโรคประจำตัวต่างๆ ให้อยู่ในระดับปกติ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้
- งดการใช้ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัด เช่น ยาแอสไพริน ยาวาร์ฟาริน หรือยาในกลุ่มระงับอาการปวด (แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนงดใช้ยา)
- งดการใช้ยาสมุนไพร อาหารเสริม หรือวิตามินบางประเภท ที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น น้ำมันปลา โอเมก้า 3 น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส หรือโคเอนไซม์คิวเทน เป็นต้น (แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนงดใช้ยา)
- ควรหมั่นบริหารเส้นเลือดข้างที่จะทำเส้นฟอกเลือด โดยการบีบ และคลายลูกบอลสลับไปมา ครั้งละ 10-15 นาที หรือประมาณ 400 ครั้งต่อวัน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือด
- งดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ยกเว้นยาที่รับประทานประจำ
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- หมั่นสังเกตแผลผ่าตัด หากมีเลือดออกมาผิดปกติ หรือผิวหนังบริเวณผ่าตัดบวมโป่ง หรือมีเลือดซึมไม่หยุด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- รับประทานยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- ควรยกแขนสูง โดยเฉพาะ 2-3 วันแรกหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้มีเลือด หรือน้ำเหลืองคั่งใต้ผิวหนังรอบ ๆ บริเวณข้างที่ทำการผ่าตัด
- ระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำ 7-14 วัน หรือจนกว่าจะตัดไหม
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดการกระทบกระแทกแขนที่ผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก รวมไปถึงการซาวน่า และว่ายน้ำด้วย
- ห้ามเจาะเลือด วัดความดัน หรือแทงเข็มเพื่อให้น้ำเกลือ หรือยา ข้างที่ทำการผ่าตัด
- หมั่นออกกำลังฝ่ามือและแขน โดยการกำลูกเทนนิส หรือลูกบอลเล็ก ๆ แล้วทำการเกร็ง และปล่อย ทำสลับไปมาประมาณ 400 ครั้งต่อวัน เพื่อให้เส้นฟอกเลือดมีความแข็งแรงหลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- หมั่นสังเกตแผลผ่าตัด หากมีเลือดออกมาผิดปกติ หรือผิวหนังบริเวณผ่าตัดบวมโป่ง หรือมีเลือดซึมไม่หยุด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- รับประทานยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- ควรยกแขนสูง โดยเฉพาะ 2-3 วันแรกหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้มีเลือด หรือน้ำเหลืองคั่งใต้ผิวหนังรอบ ๆ บริเวณข้างที่ทำการผ่าตัด
- ระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำ 7-14 วัน หรือจนกว่าจะตัดไหม
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดการกระทบกระแทกแขนที่ผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก รวมไปถึงการซาวน่า และว่ายน้ำด้วย
- ห้ามเจาะเลือด วัดความดัน หรือแทงเข็มเพื่อให้น้ำเกลือ หรือยา ข้างที่ทำการผ่าตัด
- หมั่นออกกำลังฝ่ามือและแขน โดยการกำลูกเทนนิส หรือลูกบอลเล็ก ๆ แล้วทำการเกร็ง และปล่อย ทำสลับไปมาประมาณ 400 ครั้งต่อวัน เพื่อให้เส้นฟอกเลือดมีความแข็งแรง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดเส้นฟอกเลือดที่แขนชนิดเส้นเลือดจริง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- เจ็บและปวดแผลบริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวดให้
- เส้นฟอกเลือดที่ต่อไว้อุดตันจากการที่มีก้อนเลือด
- มีอาการขาดเลือดไปเลี้ยงที่มือ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยมาก
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. วัชระ อัครชลานนท์ (หมอตี๋)
แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์หลอดเลือดหรือ "หมอเส้นเลือด"
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศัลยศาสตร์ทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด
ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
นพ. ชินะภูมิ วุฒิวณิชย์ (หมอบอส)
ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก เกียรตินิยมอันดับ 1 จุฬา
ข้อมูลของแพทย์
-2558 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 1)
-2564 วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ชินะภัทร์ วุฒิวณิชย์ (หมอเบส)
คุณหมอเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด (หรือที่เรียกว่า หมอเส้นเลือด) เกียรตินิยมอันดับ 1 มหิดล
ข้อมูลของแพทย์
-2558 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (เกียรตินิยมอันดับ 1)
-2563 วุฒิบัตร สาขาศัลยศาสตร์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แพทย์เฉพาะทางด้านสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด