ผ่าตัดใส่แกนองคชาติเทียม รักษาอาการอวัยวะเพศไม่แข็งหรือโรคเสื่อมสมรรถภาพ
การผ่าตัดช่วยแก้ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวอย่างตรงจุด
แกนองคชาตเทียมแบบ 3 ชิ้น สามารถทำให้แข็งตัวและหดตัวได้ตามสั่ง
มีเพศสัมพันธ์ได้หลังผ่าตัด 1 เดือน
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพ หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดขึ้นกับผู้ชายทุกช่วงวัย ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว
- กินยาไวอากร้า เสี่ยงความดันโลหิตต่ำและไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัว
- แกนองคชาตเทียมเป็นวัสดุทางการแพทย์ ไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
- แกนองคชาตเทียมมีสองแบบคือ แบบชิ้นเดียว ใส่แล้วแข็งค้างอยู่แบบนั้น กับแบบ 3 ชิ้น ที่มีกลไกทำให้แข็งตัวและอ่อนตัวเมื่อไม่ได้ใช้งาน
- หลังผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม พักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2 วัน
ไม่แน่ใจว่าวิธีนี้จะเหมาะกับเราไหม
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction) คือ ปัญหาอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่สามารถเสร็จกิจในการมีเพศสัมพันธ์ จนเกิดเป็นปัญหาบั่นทอนความมั่นใจ รวมถึงส่งผลต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีสาเหตุหลักมาจากเลือดไหลไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศไม่เพียงพอ และพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ชายที่มีเงื่อนไขสุขภาพดังต่อไปนี้
- ผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคซึมเศร้า
- ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดูแลสุขภาพ เช่น ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้ที่เคยผ่าตัดต่อมลูกหมาก ผ่าตัดท่อปัสสาวะ หรือเคยได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหรืออวัยวะเพศ
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศยังสามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับ ได้แก่
- ระดับอาการเล็กน้อย: อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ แต่เมื่อมีเพศสัมพันธ์ก็จะไม่เสร็จกิจทุกครั้ง หรือไม่สามารถถึงจุดสุดยอดได้ในบางครั้ง
- ระดับอาการปานกลาง: อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ แต่มักแข็งได้ไม่นานนัก ทำให้ไม่เสร็จกิจบ่อยขึ้น และอาจมีอารมณ์หงุดหงิดร่วมด้วยในระหว่างหรือหลังไม่ถึงจุดสุดยอด
ระดับอาการรุนแรง: อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้ และไม่สามารถเสร็จกิจได้เลย
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ นอกจากจะอวัยวะเพศจะไม่สามารถแข็งตัว ยังรวมถึงภาวะแข็งตัวไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ และมีปัญหาการหลั่งอสุจิเร็วหรือช้าเกินไป
ระดับความแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย หรือ EHS (The Erection Hardness Score) แบ่งได้ 4 ระดับ ดังนี้
- ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศรุนแรง อวัยวะเพศตื่นตัว ขยายตัวขึ้น แต่ไม่แข็ง
- ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศปานกลาง อวัยวะเพศแข็งตัว แต่ไม่แข็งพอที่จะมีเพศสัมพันธ์
- ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศระยะเริ่มต้น อวัยวะเพศแข็งตัวไม่เต็มที่ แต่แข็งตัวพอที่จะมีเพศสัมพันธ์
- ไม่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพ (EHS) อวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่ มีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
ถ้ามีความผิดปกตินานกว่า 2-3 สัปดาห์จนเกิดความกังวลหรือไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและหาทางรักษาดังนี้
- ซักประวัติและตรวจร่างกาย
- ตรวจเลือด
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจอัลตร้าซาวด์
- ตรวจการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นกับปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละคน ดังนี้
- กินยา เพื่อขยายหลอดเลือดที่อวัยวะเพศชาย แต่ไม่ควรซื้อยามากินเอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุ เพราะยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศและขยายหลอดเลือดอาจมีผลข้างเคียงที่อันตรายถึงชีวิต
- ถ้าเกิดจากระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้ปกติ
- อุปกรณ์สุญญากาศ ลักษณะเป็นกระบอกสุญญากาศ แพทย์จะแนะนำในคนที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล มีทั้งแบบใช้ไฟฟ้าและใช้มือเพื่อปั๊มให้อากาศออกจากกระบอก ทำให้หลอดเลือดขยายตัวจนอวัยวะเพศแข็งตัวจนมีเพศสัมพันธ์ได้
- ใช้ยาฉีดเข้าที่องคชาตโดยตรง โดยจะเป็นยาที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพื่อให้เลือดเข้าสู่อวัยวะเพศชายจนแข็งตัวได้
- ผ่าตัดใส่แกนอวัยวะเพศเทียม แพทย์มักใช้เมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม (Penile Prosthesis Implantation) รักษาอาการอวัยวะเพศไม่แข็งหรือโรคเสื่อมสมรรถภาพ คือการผ่าตัดใส่แกนองคชาตที่มีลักษณะเป็นแท่งยาวเท่ากับองคชาตของผู้รับบริการเข้าไปด้านใน
แท่งองคชาตเทียมสามารถอ่อนตัว ขยายตัว และแข็งเป็นแท่งตรงตามที่ต้องการได้ แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- แกนองคชาตเทียมแบบชิ้นเดียว มีลักษณะเป็นแท่งยาว ไม่มีกลไกการทำงาน ไม่สามารถหดขยายตามที่ต้องการได้ ซ่อนรูปได้ยาก ส่งผลกระทบต่อการแต่งตัวหรือออกไปใช้ชีวิตประจำวัน
- แกนองคชาตเทียมแบบ 3 ชิ้น ประกอบไปด้วยแกนองคชาต ถุงของเหลว และที่ปั๊มถุงซึ่งจะอยู่ใกล้กับลูกอัณฑะ เมื่อไหร่ที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์สามารถบีบที่ตัวปั๊มเพื่อดันของเหลวในถุงไปยังแกนองคชาต ทำให้องคชาตแข็งเป็นแท่งพร้อมต่อการสอดใส่ หรือถ้าไม่ต้องการใช้งานก็สามารถบีบที่ตัวปั๊มเพื่อให้แกนองคชาตหดและพับลงได้
ขั้นตอนการผ่าตัดใส่แกนองคชาตเทียม
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ หรืออาจเป็นการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง และอาจใส่สายสวนปัสสาวะด้วย
- แพทย์ผ่าเปิดแผลขนาดประมาณ 2-5 ซม. ที่โคนองคชาตซึ่งจะอยู่ระหว่างลูกอัณฑะเพื่อใส่แกนอวัยวะเพศเทียมและที่ปั๊มเข้าไป ส่วนถุงของเหลวจะใส่ซ่อนไว้ด้านในกระดูกเชิงกราน
- เย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย ผู้เข้ารับบริการอาจนอนพักดูอาการที่โรงพยาบาล 2 วัน แล้วแพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
เพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายด้วยการฉีดฟิลเลอร์ Neuramis
- เนื้อฟิลเลอร์ยืดหยุ่น คงตัวได้ดี มีความแน่นปานกลาง มีส่วนผสมของยาชา
- หลังฉีดทรงขององคชาตดูสวย
- ฟิลเลอร์อยู่ได้ 2-3 ปี โดยจะเริ่มสลายหลัง 1 ปี แต่สลายหมดใน 3 ปี
เพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายด้วยการฉีดฟิลเลอร์ Mesoestetic
- ผลิตขึ้นมาเพื่อฉีดที่องคชาตโดยเฉพาะ ช่วยซ่อมแซมและกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อ รองรับแรงกระแทกจากการทำกิจกรรมได้ดี
- หลังฉีดทรงจะอยู่ตัวมากที่สุด บวมน้อย
- ฟิลเลอร์อยู่ได้ 2-3 ปี โดยจะเริ่มสลายหลัง 1 ปี แต่สลายหมดใน 3 ปี
เพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายด้วยการฉีดไขมันตัวเอง
- ต้องเก็บไขมันของตัวเองมาฉีด (ต้นขาหรือหัวหน่าว) ลดโอกาสการอักเสบ แพ้ ติดเชื้อได้ เพราะเป็นไขมันจากร่างกายตัวเอง
- หลังฉีดจะอยู่ได้ถาวร หรือขึ้นกับการดูแลของแต่ละบุคคล
- หลังฉีดใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ไขมันที่ฉีดเข้าไปถึงจะติดได้ดี
เพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายด้วยเนื้อเยื่อตัวเอง
- เป็นการผ่าตัดโยกเนื้อเยื่อของตัวเองมาปลูกถ่ายที่อวัยวะเพศ
- ต้องทำคู่กับขริบด้วยเลเซอร์ปมไหม และเพิ่มความยาวด้วยการผ่าตัด
- เนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายจะติดอยู่ถาวร
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา ยาประจำตัว วิตามินเสริม อาหารเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิดกับแพทย์ล่วงหน้า
- ตรวจสุขภาพและตรวจร่างกายตามรายการที่แพทย์แนะนำ
- งดน้ำและงดอาหารล่วงหน้า 6-8 ชั่วโมง
- งดยาและวิตามินเสริมบางชนิดล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันหรือตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด
- งดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล่วงหน้าอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อนวันผ่าตัด
- งดใส่คอนแทคเลนส์ งดทาเล็บ งดใส่แว่นตา งดใส่ฟันปลอม
- ถอดของมีค่าเก็บไว้ที่บ้านเสียก่อน เช่น ต่างหู แหวน รวมถึงถอดอุปกรณ์ที่เจาะตามร่างกาย เช่น จิวจมูก จิวสะดือ จิวที่เจาะบริเวณอวัยวะเพศ
- ทำความสะอาดผิวเพื่อเตรียมผิวหนังบริเวณอัณฑะให้พร้อมต่อการผ่าตัดเสียก่อน รวมถึงโกนขนบริเวณรอบองคชาต
- ควรพาญาติมาด้วยในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
- แพทย์อาจแนะนำให้หยุดงานเพื่อพักฟื้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติและเริ่มทำกิจกรรมเบาๆ ได้
- สามารถขับรถได้หลังผ่าตัดประมาณ 2 วัน
- งดให้แผลโดนน้ำจนกว่าแพทย์จะอนุญาต หากต้องการอาบน้ำ ให้ใช้วิธีเช็ดตัวและระวังอย่าให้แผลกระทบกระเทือน
- งดมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงงดออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมหนักๆ งดยกของหนัก งดการทำกิจกรรมที่ทำให้ลูกอัณฑะได้รับแรงเสียดสีหรือแรงกระแทก เช่น ปั่นจักรยาน เตะฟุตบอล ขี่ม้าเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์
- กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- หลังผ่าตัดประมาณ 1 เดือน ควรมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมออย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดือน เพื่อกระตุ้นการทำงานของแกนองคชาตเทียม
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
โดยทั่วไปโอกาสเกิดผลข้างเคียงหลังผ่าตัดใส่องคชาตเทียมมีค่อนข้างต่ำ และผู้เข้ารับบริการเกิน 90% มักพึงพอใจกับผลลัพธ์ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงบางประการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด เช่น
- อาการข้างเคียงจากการวางยาสลบ เช่น คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ
- แผลติดเชื้อ ซึ่งมักทำให้เกิดอาการแผลบวม มีกลิ่นเหม็น หรือมีของเหลวไหลออกจากแผล
- ภาวะเลือดไหลไม่หยุด
- มีไข้สูง
- การไหลเวียนเลือดที่องคชาตผิดปกติ ทำให้อาจต้องถอดแกนองคชาตเทียมออก
- ชิ้นส่วนขององคชาตเทียมเสียหาย
- การผ่าตัดสร้างความเสียหายต่อท่อปัสสาวะ
สาขาศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
นพ. อัสพล ตันตะราวงศา (หมออัส)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ รพ. รามาธิบดี
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร
- แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ