สลายนิ่ว ด้วยวิธีส่องกล้องคล้องนิ่วในไต (ผ่านท่อปัสสาวะ)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
นิ่วในไตอาจไม่มีอาการจนกระทั่งมีการติดเชื้อ หรือก้อนนิ่วไปอุดดันทางเดินปัสสาวะ เช่น
- ปวดเอว หลัง หรือช่องท้องช่วงล่าง ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย ถ้าเป็นมากอาจร้าวไปจนถึงขาหนีบ
- ปวดเสียด ปวดบิดเป็นพักๆ
- ปวดบิดในท้องรุนแรงถ้าก้อนนิ่วตกลงมาที่ท่อไต
- มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน
- ปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีสีขุ่นแดง มีเลือดปน เป็นเม็ดทราย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะน้อย
อย่ารอจนเกิดอาการ แนะนำตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
ให้แอดมินช่วยหาโปรตรวจคัดกรองให้วันนี้
นิ่วในไต รักษาได้หลายแบบ แนะนำศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ
- ผ่าตัดแบบเปิด ทำได้กับนิ่วทุกขนาด ทุกประเภท
- เสี่ยงเกิดพังผืดจากแผลเป็น ไตทำงานได้ลดลง
- เจ็บกว่าการรักษาแบบอื่น และใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน เปรียบเทียบกับการสลายนิ่วหรือการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
- ใช้เครื่องสลายนิ่ว (ESWL) ไม่เหมาะกับนิ่วลักษณะแข็งหรือมีขนาดใหญ่เกิน 2 ซม. และคนที่รูปร่างใหญ่
- ใช้คลื่นกระแทก (Shock wave) ส่งผ่านผิวหนังไปทำให้ก้อนนิ่วแตกตัวและขับออกได้ทางปัสสาวะ
- ไม่มีแผล แต่อาจทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึงไตช้ำ เกิดแผลภายใน
- กล้องคล้องนิ่วในไตผ่านผิวหนัง (PCNL) เหมาะกับก้อนนิ่วมีขนาด 2 ซม. ขึ้นไป
- ตำแหน่งของนิ่วขวางกั้นระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วอยู่ในท่อเชื่อมระหว่างไตกับกระเพาะปัสสาวะ
- แพทย์จะเปิดแผลที่หลังประมาณ 1 ซม. ทะลุผ่านเนื้อไต แล้วสอดอุปกรณ์เข้าไปผ่าตัด
- รักษานิ่วในไตที่กำจัดนิ่วได้ทุกขนาด ทุกระดับความแข็ง แผลเล็ก เจ็บน้อย พักฟื้นไม่นานเท่ากับการผ่าตัดแบบเปิด
- ส่องกล้องสลายนิ่วผ่านท่อไตผ่านท่อปัสสาวะ (Flexible Ureterorenoscopy) เหมาะกับนิ่วขนาดไม่เกิน 3 ซม.
- กล้องส่องผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจนถึงท่อไต
- ใช้เลเซอร์ทำให้นิ่วมีขนาดเล็กลงหรือแตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใช้เครื่องมือนำนิ่วออกมา
- เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด
- เหมาะกับการรักษานิ่วในท่อปัสสาวะส่วนบน
คุณเหมาะกับแบบไหน? ปรึกษาคุณหมอ HDcare วันนี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย
*แพ็กเกจนี้เป็นการส่องกล้องสลายนิ่วผ่านท่อไตผ่านท่อปัสสาวะ
รู้จักโรคนี้
นิ่วในไตคืออะไร เกิดจากอะไร?
นิ่วในไต เป็นก้อนแข็งที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดจากการตกตะกอนสะสมของแร่ธาตุบางชนิดจากน้ำปัสสาวะ มีชนิดและขนาดต่างๆ กัน คนไข้บางรายอาจมีก้อนนิ่วหลายก้อนหลายขนาดในเวลาเดียวกัน
เมื่อเกิดนิ่วในไต ก้อนนิ่วที่มีขนาดเล็กอาจถูกขับถ่ายออกจากร่างกายได้เองทางการถ่ายปัสสาวะ หรืออาจเคลื่อนที่จากบริเวณเดิมไปอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น
การเกิดนิ่วในไตเกี่ยวข้องกับการมีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติจากปัจจัยต่างๆ เช่น
- รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียม วิตามินซี โปรตีน เกลือ และน้ำตาล มากเกินไป
- ดื่มน้ำน้อยเกินไป
- รับประทานอาหารที่มีสารออกซาเลตยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม จำพวกถั่ว หน่อไม้ ช็อกโกแลต ผักปวยเล้ง มันเทศ มากเกินไป
นอกจากนี้นิ่วในไตยังอาจเป็นผลมาจากต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป หรือเป็นโรคแทรกซ้อนจากอาการเกาต์
อาการนิ่วในไต
คนไข้นิ่วในไตบางรายอาจไม่มีอาการจนกระทั่งมีการติดเชื้อ หรือก้อนนิ่วไปอุดดันทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการแสดง เช่น
- ปวดเอว หลัง หรือช่องท้องช่วงล่าง ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย ถ้าเป็นมากอาจร้าวไปจนถึงขาหนีบ
- ปวดเสียด ปวดบิดเป็นพัก ๆ
- มีไข้ หนาวสั่น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปัสสาวะผิดปกติ เช่น น้ำปัสสาวะมีลักษณะขุ่นแดง มีเลือดปน ปัสสาวะเป็นเม็ดทราย ปัสสาวะแล้วเจ็บ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะน้อย
- ปวดบิดในท้องรุนแรงถ้าก้อนนิ่วตกลงมาที่ท่อไต
ความรุนแรงของอาการมักขึ้นอยู่กับขนาดของนิ่ว ขนาด และบริเวณที่เกิดก้อนนิ่ว
กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดนิ่วในไต
โรคนิ่วในไตเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 30-40 ปี ส่วนใหญ่พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ผู้มีพฤติกรรมเหล่านี้ อาจเสี่ยงเกิดนิ่วได้มากขึ้น
- ดื่มน้ำน้อยเกินไป
- นิยมบริโภคอาหารที่มีสารก่อนิ่ว เช่น ยอดผัก ผักโขม ผักกระเฉด ถั่ว ชา ช็อกโกแลต พริกไทยดำ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล อาหารที่มีสารซีสทีนสูง เช่น นม ไก่ เป็ด
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีภาวะเบาหวาน หรือมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนิ่วในไต ก็มีความเสี่ยงจะเกิดนิ่วในไตได้มากเช่นกัน
อาการนิ่วในไต
คนไข้นิ่วในไตบางรายอาจไม่มีอาการจนกระทั่งมีการติดเชื้อ หรือก้อนนิ่วไปอุดดันทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการแสดง เช่น
- ปวดเอว หลัง หรือช่องท้องช่วงล่าง ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย ถ้าเป็นมากอาจร้าวไปจนถึงขาหนีบ
- ปวดเสียด ปวดบิดเป็นพักๆ
- มีไข้ หนาวสั่น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปัสสาวะผิดปกติ เช่น น้ำปัสสาวะมีลักษณะขุ่นแดง มีเลือดปน ปัสสาวะเป็นเม็ดทราย ปัสสาวะแล้วเจ็บ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะน้อย
- ปวดบิดในท้องรุนแรงถ้าก้อนนิ่วตกลงมาที่ท่อไต
ความรุนแรงของอาการมักขึ้นอยู่กับขนาดของนิ่ว ขนาด และบริเวณที่เกิดก้อนนิ่ว
กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดนิ่วในไต
โรคนิ่วในไตเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 30-40 ปี ส่วนใหญ่พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ผู้มีพฤติกรรมเหล่านี้ อาจเสี่ยงเกิดนิ่วได้มากขึ้น
- ดื่มน้ำน้อยเกินไป
- นิยมบริโภคอาหารที่มีสารก่อนิ่ว เช่น ยอดผัก ผักโขม ผักกระเฉด ถั่ว ชา ช็อกโกแลต พริกไทยดำ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล อาหารที่มีสารซีสทีนสูง เช่น นม ไก่ เป็ด
นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีภาวะเบาหวาน หรือมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนิ่วในไต ก็มีความเสี่ยงจะเกิดนิ่วในไตได้มากเช่นกัน
สัญญาณที่ต้องตรวจ
คนไข้นิ่วในไตบางรายอาจไม่มีอาการจนกระทั่งมีการติดเชื้อ หรือก้อนนิ่วไปอุดดันทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการแสดง เช่น
- ปวดเอว หลัง หรือช่องท้องช่วงล่าง ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย ถ้าเป็นมากอาจร้าวไปจนถึงขาหนีบ
- ปวดเสียด ปวดบิดเป็นพัก ๆ
- มีไข้ หนาวสั่น
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปัสสาวะผิดปกติ เช่น น้ำปัสสาวะมีลักษณะขุ่นแดง มีเลือดปน ปัสสาวะเป็นเม็ดทราย ปัสสาวะแล้วเจ็บ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะน้อย
- ปวดบิดในท้องรุนแรงถ้าก้อนนิ่วตกลงมาที่ท่อไต
ความรุนแรงของอาการมักขึ้นอยู่กับขนาดของนิ่ว ขนาด และบริเวณที่เกิดก้อนนิ่ว
กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดนิ่วในไต
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
- ตรวจปัสสาวะ ซึ่งหากพบเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก แพทย์อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นนิ่วในไต
- ตรวจเลือด พบว่าผู้ป่วยนิ่วในไตมักมีปริมาณแคลเซียมหรือกรดยูริกในเลือดมากเกินไป
- เอกซเรย์ช่องท้อง ช่วยให้แพทย์เห็นก้อนนิ่ว ขนาดนิ่ว และตำแหน่งที่เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ช่วยให้แพทย์เห็นก้อนนิ่วขนาดเล็กที่การเอกซเรย์ทั่วไปอาจไม่เห็นชัดเจน
- อัลตราซาวนด์ไต ช่วยตรวจหาก้อนนิ่วในไตได้ชัดเจน
- ตรวจเอกซเรย์ไตด้วยการฉีดสี (IVP) วิธีนี้จะช่วยวิเคราะห์สาเหตุการเกิดนิ่วในไตและช่วยให้สามารถวางแผนเพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไตซ้ำ
รู้จักการผ่าตัดนี้
สลายนิ่ว ด้วยวิธีส่องกล้องคล้องนิ่วในไต ผ่านท่อปัสสาวะ (Flexible Ureterorenoscopy) เป็นเทคนิครักษานิ่วในไต โดยสอดอุปกรณ์ที่ยืดหยุ่นได้เข้าไปทางท่อปัสสาวะ ผ่านกระเพาะปัสสาวะ เข้าไปยังท่อไต แล้วปล่อยพลังงานเลเซอร์ออกมาทำให้ขนาดนิ่วเล็กลงหรือแตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำเศษนิ่วออกมานอกร่างกาย
นิ่วในไตส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยเทคนิคนี้ โดยเมื่อทำเสร็จก็สามารถกลับบ้านได้เลย ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นวิธีรักษาที่มีความเสี่ยงของการเกิดความซับซ้อนระหว่างทำหัตถการต่ำ สามารถรักษานิ่วได้ทุกขนาดและทุกตำแหน่ง
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างส่องกล้องคล้องนิ่วในไต
สิ่งที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างบ่อย เช่น พบว่าท่อไตคนไข้มีขนาดเล็ก แคบ จึงเป็นต้องใส่ขดลวดชนิดพิเศษเข้าไปก่อน เพื่อให้ท่อไตคลายตัว จากนั้นแพทย์จะนัดให้เข้ามาส่องกล้องรักษานิ่วในไตภายหลัง
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดนำก้อนนิ่วในไตออกแบบเปิด
- ผ่าตัดผ่านผิวหนังเพื่อเอาก้อนนิ่วออก แล้วเย็บปิดแผล
- ทำได้กับนิ่วทุกขนาด ทุกประเภท
- เสี่ยงที่ไตจะเกิดพังผืดจากแผลเป็น ไตทำงานได้ลดลง
- เจ็บกว่าการรักษาแบบอื่น และใช้ระยะเวลาพักฟื้นนาน เปรียบเทียบกับการสลายนิ่วหรือการผ่าตัดแบบส่องกล้อง
รักษานิ่วในไตด้วยเครื่องสลายนิ่ว (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL)
- ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรือที่เรียกว่าคลื่นกระแทก (Shock wave) ส่งผ่านผิวหนังไปยังก้อนนิ่ว ทำให้ก้อนนิ่วแตกตัวและสามารถขับออกได้ทางปัสสาวะ
- ไม่ทำให้เกิดแผล แต่อาจทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึงไตช้ำ เกิดแผลภายใน หรือสูญเสียเซลล์ไตไปบางส่วน
- คนไข้ที่รูปร่างใหญ่ คลื่นกระแทกอาจส่งเข้าไปไม่ถึงก้อนนิ่ว
- ไม่เหมาะกับนิ่วลักษณะแข็งหรือมีขนาดใหญ่เกิน 2 ซม.
ส่องกล้องคล้องนิ่วในไตผ่านผิวหนัง (Percutaneous Nephrolithotomy: PCNL)
- เหมาะกับก้อนนิ่วมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. ขึ้นไป ตำแหน่งของนิ่วขวางกั้นระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วอยู่ในท่อเชื่อมระหว่างไตกับกระเพาะปัสสาวะ
- เปิดแผลขนาดเล็กที่หลังประมาณ 1 ซม. ทะลุผ่านเนื้อไต แล้วสอดอุปกรณ์เข้าไปผ่าตัด
- ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่ แพทย์จะทำให้นิ่วแตกเป็นชิ้นเล็กแล้วค่อยคล้องนิ่วออกมาผ่านผิวหนัง
- รักษานิ่วในไตที่กำจัดนิ่วได้ทุกขนาด ทุกระดับความแข็ง
- แผลเล็ก เจ็บน้อย พักฟื้นไม่นานเท่ากับการผ่าตัดแบบเปิด
รักษานิ่วในไตด้วยการส่องกล้องสลายนิ่วผ่านท่อไตผ่านท่อปัสสาวะ (Flexible Ureterorenoscopy)
- เหมาะกับนิ่วขนาดไม่เกิน 3 ซม.
- กล้องส่องผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจนถึงท่อไต
- ใช้เลเซอร์ทำให้นิ่วมีขนาดเล็กลงหรือแตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใช้เครื่องมือนำนิ่วออกมา
- เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิด
- เหมาะกับการรักษานิ่วในท่อปัสสาวะส่วนบน
การดูแลหลังผ่าตัด
เมื่อส่องกล้องคล้องนิ่วในไตเสร็จ และแพทย์ให้กลับไปพักฟื้นที่บ้าน คนไข้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษาเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และไม่กลับมาเป็นนิ่วซ้ำอีก
ในช่วง 24-72 ชั่วโมงแรกหลังจากรักษาอาจมีอาการเจ็บบริเวณไตเป็นปกติ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ (โดยไม่เกินกว่าที่แพทย์แนะนำ) หลัง 72 ชั่วโมงไปแล้ว อาการเหล่านี้ควรค่อยๆ หายไปเอง
โดยทั่วไปร่างกายจะฟื้นตัวอย่างเต็มที่หลังจากพักฟื้นประมาณ 10 วัน
ถ้าหลังจากรักษาแล้วอาการยิ่งแย่ลง หรือมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออก มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะปริมาณมาก ฯลฯ หรืออาการอื่นใดที่ทำให้รู้สึกกังวลใจ ควรติดต่อแพทย์ทันที
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
อาการที่พบได้เป็นปกติ คือ อาการเจ็บแสบหรือมีเลือดออกเล็กน้อยปนออกมาทางปัสสาวะหลังจากส่องกล้องคล้องนิ่วในไตใหม่ๆ หรือเมื่อรักษาไปแล้วยังเกิดนิ่วซ้ำอีก
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่บ่อยครั้ง เช่น
- ส่องกล้องเข้าไปแล้วพบว่าไม่สามารถกำจัดนิ่วออกได้หมดภายในครั้งเดียว ต้องนัดมาทำซ้ำภายหลัง
- นิ่วเคลื่อนไปยังตำแหน่งอื่นที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยเทคนิคส่องกล้อง
- ไตเกิดความเสียหายหรือติดเชื้อ จำเป็นต้องรักษาเพิ่มเติม
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้จากการส่องกล้องคล้องนิ่วในไต แต่โอกาสเกิดน้อยมาก เช่น
- เกิดความเสียหายต่อท่อไตจนทำให้ต้องเปลี่ยนไปผ่าตัดรักษาด้วยเทคนิคเปิด
- พบพังผืดหรือภาวะบางอย่างในท่อไต ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนหรือเพิ่มขั้นตอนการรักษา
สาขาศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
นพ. ธัชชัย พิพิธพันธ์พิพิท (หมอปี๊บ)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2552 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- 2555 ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- วุฒิบัตร Advanced Laparoscopic Urologic Surgery, The Chinese University of Hong Kong (Hong Kong)
- วุฒิบัตร Kidney Transplantation, University de Barcelona (Spain)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะโดยการส่องกล้องแบบแผลเล็กและแบบไร้แผล
-Endourology & Minimal Invasive Urologic Surgery: Less is More (การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบรุกล้ำน้อย)