ผ่าตัดรักษาภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไต (แบบส่องกล้อง)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับเจอบ่อยในเด็กแรกเกิดประมาณ 40% และในเด็กโตประมาณ 25%
- ถ้าเป็นไม่รุนแรง ปัสสาวะจะไหลขึ้นสู่ท่อไตช่วงล่าง
- ถ้าเป็นรุนแรง ปัสสาวะจะไหลขึ้นย้อนสูง อาจทำให้ไตบวม เกิดพังผืดในไต
- ถ้าไม่รักษา ร้ายแรงอาจทำให้ไตวายถาวร ที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
รีบผ่าตัดก่อนอาการจะรุนแรง
ให้ทีม HDcare ดูแลทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ
การผ่าตัดไม่น่ากลัวและยุ่งยากอย่างที่คิด
- ผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็กแค่ 2-3 มม. ประมาณ 2-3 รู
- พักฟื้นไม่นาน กลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็ว
ไม่แน่ใจว่าจะผ่าตัดที่ไหนดี
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักโรคนี้
ภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับ คืออะไร สาเหตุเกิดจากอะไร?
เมื่อไตกรองของเสียจากเลือดออกมาในรูปน้ำปัสสาวะ ปัสสาวะควรไหลสู่ท่อไตไปพักอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ แล้วจึงไหลออกจากร่างกายผ่านทางท่อปัสสาวะ เป็นการเดินทางเดียว ไม่ไหลย้อนกลับ
แต่เด็กบางคนอาจเกิดมาพร้อมความผิดปกติของท่อไต คือ ความยาวของท่อไตใต้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะสั้นกว่าปกติ หรือลิ้นปิด-เปิดหรือท่อไตผิดปกติ ทำให้ปัสสาวะไหลย้อนท่อไตขึ้นมา
ในคนไข้ปัสสาวะไหลย้อนกลับบางราย สาเหตุของโรคอาจมาจากกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ ทำให้มีความดันกระเพาะปัสสาวะสูงขึ้น ปัสสาวะจึงไหลย้อนกลับไปทางท่อไต
ภาวะปัสสาวะไหลย้อนกลับมักพบในเด็กแรกเกิดประมาณ 40% ในเด็กโตประมาณ 25%
กรณีไม่รุนแรง ปัสสาวะจะไหลย้อนขึ้นสู่ท่อไตช่วงล่าง ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรง ปัสสาวะไหลย้อนขึ้นเกินกว่านั้น อาจเกิดอาการไตบวม หรืออาจทำให้เกิดพังผืดในไต ซึ่งส่งผลให้ไตวายถาวรได้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ติดเชื้อในระบบปัสสาวะขึ้นซ้ำๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ สังเกตจากปัสสาวะมีสีหรือกลิ่นผิดปกติ เช่น ปัสสาวะขุ่น มีตะกอน มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ
- แสดงอาการเจ็บ ปวด ในช่องท้อง ท้องน้อย หลัง หรือบั้นเอว
- กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ร้องเวลาปัสสาวะ
- บางรายอาจมีไข้สูง
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
เมื่อสังเกตพบความผิดปกติ ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย วิธีการตรวจที่มักใช้สำหรับภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไต คือ การตรวจ VCUG (Voiding Cystourethrogram)
- การตรวจ VCUG นี้รวมเอาเทคนิคการเอกซเรย์กับฉีดสีเข้าด้วยกัน ทำให้แพทย์สามารถเห็นกระเพาะปัสสาวะในมุมมองต่างๆ ได้
- การตรวจ VCUG นี้ทำให้ได้ข้อมูลเพียงพอต่อการวินิจฉัยและรักษาโรค เป็นวิธีที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อไต และไม่ค่อยก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดส่องกล้องแก้ไขภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไต (Laparoscopic Ureterocystostomy หรือ Re-Implant Ureter) เป็นการรักษาหลักของภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไต โดยการผ่าตัดจะทำเพื่อซ่อมแซมท่อที่เชื่อมระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับไต หรือย้ายตำแหน่งท่อไตตรงจุดเชื่อมต่อกับกระเพาะปัสสาวะ
ขั้นตอนการผ่าตัดส่องกล้องแก้ไขภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไต
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลขนาดเล็กที่ช่องท้องส่วนล่าง แล้วใส่อุปกรณ์ผ่าตัดพร้อมกล้องเข้าไปทำการผ่าตัดซ่อมแซมไตให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
- เย็บปิดแผล
การดูแลหลังผ่าตัด
การนัดตรวจติดตามผลหลังผ่าตัดส่องกล้องแก้ไขภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไต
ปกติแพทย์จะนัดตรวจหลังจากผ่าตัดไปแล้ว 1 สัปดาห์ แล้วเว้นระยะไปประมาณ 4-6 สัปดาห์จึงนัดมาตรวจติดตามอาการอีกครั้ง ครั้งนี้อาจมีตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบปัสสาวะมีภาวะอุดตันหรือไม่
หลังจากผ่าตัด 4-6 เดือน แพทย์มักนัดตรวจ VCUG อีก เพื่อตรวจสอบทิศทางการไหลของปัสสาวะ
ถ้าการตรวจอัลตราซาวนด์และ VCUG ให้ผลปกติ แพทย์อาจให้เว้นระยะแล้วค่อยตรวจอีกภายใน 1 ปี โดยมักเป็นการตรวจความดันเลือดเพื่อดูการทำงานของไต และตรวจอัลตราซาวนด์อีกครั้งหนึ่ง
ความผิดปกติที่มักพบในเด็กอย่าง ภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไต ควรได้รับการสังเกตและรักษาอย่างทันท่วงที ถ้าผู้ปกครองสังเกตเห็นความผิดปกติเกี่ยวกับการปัสสาวะของเด็กแล้วไม่แน่ใจว่าเป็นภาวะนี้หรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและรับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็วที่สุด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
หลังจากผ่าตัดส่องกล้องแก้ไขภาวะปัสสาวะไหลย้อนท่อไตประมาณ 2-3 สัปดาห์ คนไข้อาจรู้สึกเกร็งกระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย เป็นตะคริว ปัสสาวะกะปริบกะปรอย หรือปัสสาวะเล็ด
แม้ว่าการผ่าตัดนี้จะค่อนข้างปลอดภัย และแพทย์มักมีกระบวนการป้องกันเพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างเรียบร้อยที่สุด เช่น ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดโอกาสติดเชื้อ แต่การผ่าตัดใดๆ ก็อาจเกิดความซับซ้อนขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรสังเกตอาการเหล่านี้ ถ้าพบควรติดต่อแพทย์ทันที
- ปัสสาวะไม่ออก
- มีไข้
- อาเจียน
- อารมณ์เปลี่ยนโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
สาขาศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
นพ. ธัชชัย พิพิธพันธ์พิพิท (หมอปี๊บ)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2552 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- 2555 ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- วุฒิบัตร Advanced Laparoscopic Urologic Surgery, The Chinese University of Hong Kong (Hong Kong)
- วุฒิบัตร Kidney Transplantation, University de Barcelona (Spain)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะโดยการส่องกล้องแบบแผลเล็กและแบบไร้แผล
-Endourology & Minimal Invasive Urologic Surgery: Less is More (การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบรุกล้ำน้อย)